จาก ชาย IP:203.146.104.32
พุธที่ , 17/6/2552
เวลา : 16:13
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
29 เรื่องเข้าใจผิด ของคนใช้รถ
อ่านเจอมาคับ เหมาะมากสำหรับมือใหม่เพิ่งมีรถเป็นของตัวเอง
29 เรื่องเข้าใจผิด ของคนใช้รถ
Source - ฟอร์มูลา (Th)
EDITOR : ธนสาร เสาวมล thanasan@autoinfo.co.th
โปรย : การใช้รถอย่างถูกต้อง และดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
ช่วยให้ประหยัดและยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น
พฤติกรรมผิดๆ ของผู้ใช้รถ ซึ่งอาจส่งผลเสียกับรถยนต์ทันที หรือแสดงผลในภายหลัง
ส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจผิด โดยเฉพาะใน 29 เรื่องต่อไปนี้
ผิด 1. "สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง"
ถูก...อุ่นเครื่องยนต์สักหน่อยก่อนออกรถจะดีกว่า
เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง "เย็น" อยู่ เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า
หรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ
และ ละลายปนกับฟีล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ
นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้
ยังละลายปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย
ผิด 2. "รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน"
ถูก...รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน
รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอิน
และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป
การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง
หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 รตน. ได้ก็จะดี
และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด พูดถึงเรื่องนี้ เคยมีผู้ใช้รถบางคน
ไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเชค โดยให้เหตุผลว่า เสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้
อย่างนี้ "น่าเสียดาย" แทนจริงๆ เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์จะเรียกร้องเอากับใคร
ผิด 3. "ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดช่วยยืดอายุใบปัด"
ถูก...สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น
ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด
แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี
หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม
อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์
ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา
อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด
ผิด 4. "รถติดไฟแดงค้างเกียร์ D ไว้ดีกว่าเปลี่ยนเกียร์ว่าง"
ถูก...หยุดรถก็โอเค แต่ถ้าติดไฟแดงนานก็ต้องระวังชนคันหน้า
ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่าง และเหยียบเบรคป้องกันรถไหล
คงจะไม่มีใครเหยียบคลัทช์ และเบรค ใส่เกียร์คาไว้ ให้เมื้อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ
กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มแรก เหยียบเบรคโดยค้างเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง "D" กลุ่มที่ 2
เบรคเหมือนกัน แต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง "N" กลุ่มสุดท้าย ดันคันเกียร์มาอยู่ที่ "P"
ไม่เหยียบเบรค
ถ้าติดไฟแดงนานๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุด เพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรค
รถอาจพุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ 2 เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้าย สบายใจได้
แต่อาจจะไม่สะดวกกับการใช้งาน วิธีดีที่สุด คือ ใช้เกียร์ว่าง และดึงเบรคมือ
ผิด 5. "เดินทางไกลลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง"
ถูก...ลมน้อย ยางมีโอกาสระเบิดได้มาก
คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่า
ผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2-
3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล
ลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว
ยังอาจส่งผลเสียกับโครงสร้างยางได้ และมีโอกาสเกิด "ยางระเบิด"
มากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่มีแรงดันลมยางเกินกำหนด
เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี
ผิด 6. "ฝนตกใส่ขับ 4 ล้อเกาะกว่า...2 ล้อ"
ถูก...อย่าใช้ระบบขับเคลื่อนผิดประเภท จะได้ไม่ต้องเสียใจ
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นอาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ
แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์หรือ "ตามต้องการ" ในรถพิคอัพ หรือพีพีวี
ที่มีชุดส่งกำลังแยกเพื่อส่งกำลังไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมายังล้อหน้า อาการท้ายปัด
หรือล้อหลังฟรีก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูง
ล้อหน้าที่ถูกลอคให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้น
จึงมีรถประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกันเป็นประจำ
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดานได้ง่ายขึ้น
ต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือ "ตลอดเวลา" ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะถนน
ผิด 7. "ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ"
ถูก...ทุกล้อมีความสำคัญ ตั้งศูนย์ล้อควรทำทั้ง 4 ล้อ
เชื่อหรือไม่ว่า ศูนย์ล้อหลังมีความสำคัญพอๆ กับศูนย์ล้อหน้า หรืออาจจะมากกว่า
เพราะมุมที่ล้อหลังเอียงไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลเมื่อเบรค หรือเลี้ยว
และทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่คิด
รถ ยนต์ส่วนใหญ่จะปรับตั้งศูนย์ล้อได้หน้า/หลัง ยกเว้นรถขับเคลื่อนหน้าบางรุ่นที่ปรับได้แต่เฉพาะล้อหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตั้งศูนย์ล้อหลัง ก็ต้องทำใจ
ผิด 8. "ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเวลาข้ามแยก"
ถูก...เวลาข้ามแยก รอให้รถว่าง และไม่ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน
ถ้าคุณเปิดไฟฉุกเฉิน รถทั้งด้านซ้าย/ขวา ต่างก็จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
รถทางขวาอาจจะจอดให้ไป แต่สำหรับทางซ้ายอาจคิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้ายจึงไม่หยุดให้ อุบัติเหตุ
จึงเกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจผิด จากการใช้สัญญาณไฟแบบผิดที่...ผิดทาง
ผิด 9. "ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัดต้องเปิดไฟฉุกเฉิน"
ถูก...อาจสร้างความสับสนให้ผู้ร่วมทาง ไฟฉุกเฉินใช้เวลาจอดฉุกเฉิน
ในสภาพอากาศที่ไม่ดี และมีทัศนวิสัยแย่มาก จนมองแทบไม่เห็นรถคันหน้า การชะลอความเร็ว
เปิดไฟหน้า และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น เป็นสิ่งที่ควรทำ
แต่การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ทำให้ที่วิ่งสวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ามีรถจอดเสียอยู่ทางซ้ายริมถนน
และ หักหลบไปทางขวา ซึ่งเป็นไหลทาง กว่าจะเห็นอาจจะสายเกินไป ไม่ลงไปข้างทางก็อาจพุ่งข้ามช่องทางมาชน หรือถ้าหยุดรถก็ขวางทาง และเกิดอุบัติเหตุ
การใช้ สัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟผ่าหมาก ควรใช้เฉพาะเวลาที่รถเสีย และต้องจอดอยู่ริมถนน
เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมทางที่สัญจรผ่านไปมา ใช้ความระมัดระวัง และชะลอความเร็วในจุดที่รถจอดเสียอยู่
ผิด 10. "ผ้าเบรคแข็ง หรือ ผ้าเบรคเนื้อแข็ง ไม่ดี"
ถูก...ไม่แน่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ
ความเข้าใจผิดๆ เรื่อง "ผ้าเบรค" ที่ว่าผ้าเบรคอ่อนดีกว่าแข็ง
เกิดจากบรรดาช่างซ่อมรถที่ไม่ได้อธิบายให้เจ้าของรถเข้าใจ
การผสมเนื้อผ้าเบรคให้ใช้งานได้ดี เป็นศาสตร์ชั้นสูง ใช้วัสดุนานาชนิด และมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน
ซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติของผ้าเบรค และมักจะขัดแย้งกันเอง ถ้าเน้นข้อดีข้อใดขึ้นมา
ก็มักจะมีข้ออื่นด้อยลงไป เช่น การใช้ส่วนผสมที่เบรคหยุดดี ก็จะกินเนื้อจานเบรคมาก หรือร้อนจัด
หรือไม่เนื้อผ้าเบรคก็สึกเร็ว พอทำให้สึกช้า ก็แข็ง เบรคไม่ค่อยอยู่ หรือมีเสียงรบกวน ส่วนผ้าเบรค
"เนื้ออ่อน" ที่มีจุดเด่นเรื่องไม่กัดกินเนื้อจานเบรค ก็จะมีข้อด้อยตรงจุดอื่น
ผิด 11. "เอนนอนขับแบบนักแข่ง...สบายที่สุด"
ถูก...นั่งขับแบบไม่ต้องชะเง้อ จะได้ไม่เมื่อย และไม่อันตราย
ท่าขับแบบนักแข่ง ตัวจริง ต่างกับการปรับเบาะเอนนอนขับมาก
การนั่งท่านี้จะรู้สึกว่าจะหลุดจากเบาะนั่งทุกครั้งที่เบรคแรงๆ แขนที่เหยียดตึงตลอดเวลา
นอกจากจะทำให้เมื่อยล้า ยังต้องยกตัวขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลี้ยว เพราะไม่มีแรงหมุนพวงมาลัย
และ มองทางข้างหน้าไม่เห็น เช่นเดียวกับเวลาถอยหลังจอด สายเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าการนั่งขับแบบปกติ อาจจะรั้งคอแทนที่จะเป็นไหล เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ท่านั่งที่ถูกต้องเอาหลังพิงพนักจนสนิทแล้วเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่ง
ไปวางบนส่วนบนสุดของพวงมาลัยแล้ว ตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัทช์จนจม
โดยไม่ต้องเหยียดข้อเท้าสุดแบบนักบัลเลท์ ส่วนใต้ของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้า
จนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงตรงสะโพกพอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง
ผิด 12. "นั่งชิดพวงมาลัยเพื่อให้มองเห็นหน้ารถ"
ถูก...อันตราย ตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ
ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับรถนัก
และได้รับการสอนท่านั่งมาแบบผิดๆ ลำตัวที่อยู่ชิดกับพวงมาลัย
นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัดเพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวผู้ขับ
ที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับพวงมาลัย และแรงระเบิดจากถุงลมนิรภัย
ผิด 13. "สอดมือหมุนพวงมาลัยถนัด เบาแรง และปลอดภัย"
ถูก...ไม่ถนัดจริง และอันตรายไม่ควรทำ
การหงายมือล้วงหรือสอดมือจับพวงมาลัย เพื่อเลี้ยวรถ เป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว
จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือหมุน แต่การทำแบบนั้นมี "อันตราย" มาก
ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหิน และเกิดมือหลุดจากพวงมาลัย ดึงมือออกมาไม่ทันก้านพวงมาลัยจะตีมืออย่างแรง
การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องควรจับในตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย
และเพียงพอที่หมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ เมื่อต้องเลี้ยวรถมากกว่าหนึ่งรอบ
จะปล่อยมือที่อยู่ด้านหลัง เพื่อมาจับในตำแหน่งเดิม โดยทำในลักษณะนี้ทั้งเลี้ยวซ้าย/ขวา
ผิด 14. "เกียร์ ซีวีที ขับยากและกินน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป"
ถูก...ขับง่ายและประหยัดน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป
การไม่สามารถเข้าใจเหตุผล ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ ผู้ที่ขับรถใช้เกียร์ ซีวีที
บอกว่าขับแล้วรู้สึกเหมือนขับรถที่เกียร์ หรือระบบขับเคลื่อน "มีปัญหา" ให้ความรู้สึกที่ไม่ดี
โดยเฉพาะตอนที่ขับด้วยความเร็วคงที่แล้วกดคันเร่งเพิ่ม เกียร์จะเลือกอัตราทดที่เหมาะ
ทำให้ความเร็วเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นทันที แต่ความเร็วรถยังเท่าเดิม ให้ความรู้สึกเหมือนรถคลัทช์ลื่น
การขับแบบประหยัดเชื้อเพลิง ให้เหยียบคันเร่งไม่ลึกนักขณะออกรถและรักษาระยะที่เหยียบไว้
ช่วงแรกเครื่องยนต์จะส่งกำลังผ่านทอร์คคอนเวอร์เตอร์ พอล้อรถหมุนเร็วพอสมควร
และ ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากทอร์คคอนเวอร์เตอร์แล้ว ระบบต่อตรงส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังจานทรงกรวยตัวขับก็จะทำงาน จากนั้นระบบควบคุมจะลดระยะห่างของจานทรงกรวยคู่ที่เป็นตัวขับ เป็นการลดอัตราทด เพื่อเพิ่มความเร็วรถ โดยที่ความเร็วของเครื่องยนต์ค่อนข้างคงที่ ยกตัวอย่างเช่น ประมาณ 1,800 รตน. ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเดียวกับที่อัตราทดของเกียร์ลดลง จนได้ความเร็วประมาณ 60-70 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดของการเหยียบคันเร่งของเราเท่านี้ เยี่ยมไหมครับ ?
ผิด 15. "ต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง"
ถูก...ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้ง แต่ถ้าเปลี่ยนได้ก็ดี
ผู้ผลิตรถยนต์จากยุโรป แนะนำให้เปลี่ยนพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง
แต่โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อย แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรอง หรือหม้อกรองทุกๆ ครั้งที่ 2
ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
ถ้าคำนึงถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่องยุคปัจจุบันแล้ว น้ำมันเครื่องหมดอายุแล้ว
ใน หม้อกรองน้ำมันเครื่องจำนวนหนึ่งปนเปื้อน ไม่ถึงกับให้โทษในด้านการหล่อลื่นหรือทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์ แต่เมื่อคำนึงถึงราคาหม้อกรอง หรือไส้กรอง ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมันเครื่องแล้ว
ควรเปลี่ยนทุกครั้งเพื่อให้น้ำมันเครื่องสะอาดที่สุด และทำหน้าที่รักษาเครื่องยนต์ของเราจะดีกว่า
ผิด 16. "ควรเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพื่อถนอมเครื่องยนต์"
ถูก...อาจจะหนืดไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว
เราแบ่งหัวเชื้อน้ำมันเครื่องได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำมันเครื่อง
และ ประเภทที่ช่วยเพิ่มความหนืดของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงในปัจจุบันมีส่วนผสมของสารต่างๆ อยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม จึงไม่ควรใส่สารอื่นเข้าไปทำลายสัดส่วนสารเคมีเหล่านี้ให้เสียสมดุล และกลับให้โทษแก่เครื่องยนต์ ประเภทแรกจึงไม่จำเป็น
ส่วนหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเพิ่มความหนืด
อาจช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ที่หมดสภาพแล้วได้บ้าง
แต่เมื่อคำนึงถึงราคาแล้ว ก็ไม่น่าจะช่วยประหยัดได้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย
วิธีที่ถูกต้องคือ การซ้อมใหญ่ หรือ โอเวอร์ฮอล เพื่อให้เครื่องยนต์กลับคืนสู่สภาพดีปกติ
ผิด 17. "เติมน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงปนกับน้ำมันเครื่องทั่วไปจะได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น"
ถูก...การผสมไม่ได้ช่วยให้คุณภาพดีขึ้น ใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพมาตรฐานจะดีกว่า
การนำน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุดสักครึ่งลิตร มาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพปานกลาง
ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้ เอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่า
เช่นเดียวกับการเอาน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปน้ำมันเครื่องชั้นดีราคาสูง
ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเสียสมดุลไป
เท่ากับน้ำมันเครื่องทั้งหมดคุณภาพต่ำไป
การเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายนั้น
ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งานเพียงระยะสั้น
ทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า
ผิด 18. "ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ทุกๆ 5,000 กม."
ถูก...ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำมันเครื่องและความต้องการของเครื่องยนต์
ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เครื่องยนต์แต่ละรุ่นต้องการใช้
อยู่ในคู่มือประจำรถ และกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไว้แตกต่างกันด้วย
รถยนต์ของค่ายญี่ปุ่น จะมีกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นระยะทางที่สั้นกว่ารถยุโรป เช่น ทุกๆ 5,000
กม. และ 10,000 กม. ส่วนรถค่ายยุโรปส่วนใหญ่ที่เครื่องยนต์ใหญ่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำ
และมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องไว้สูง เช่น ระดับ SJ สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
จะกำหนดระยะทางถึง 15,000 กม. หรือมากกว่านั้น
ปัจจุบันกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่มีระยะมากที่สุด เป็นของรถ เปอโฌต์ คือ ทุกๆ 30,000 กม.
แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนก่อนเวลาก็ไม่ได้ทำให้เสียหาย เพียงแต่เปลืองเงินกว่าที่ควร เท่านั้นเอง
ผู้ใช้รถควรใช้วิจารณญาณในการร่นระยะเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามสภาพการใช้งาน เช่น
กรณีที่ใช้งานในสภาพการจราจรติดขัดเป็นส่วนใหญ่ เหลือ 70 % ที่กำหนดในคู่มือ
หรือถ้าต้องสตาร์ทเครื่องยนต์บ่อยๆ และ "รถติด" เป็นประจำด้วย เหลือเพียง 50 %
.
ถ้าใช้น้ำมันเครื่อง "ธรรมดา" คุณภาพสูง แล้วใช้งานหนักมาก เปลี่ยนทุก 5,000 กม.
ถ้าใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % เปลี่ยนทุก 10,000 กม. หากใช้งานเบากว่านี้
เพิ่มระยะทางได้ตามความเหมาะสม ไม่ใช่กำหนดที่ปั๊มน้ำมัน หรือศูนย์บริการ ฯ ลดทอน
เพราะต้องการขายน้ำมันเครื่อง
ผิด 19. "เครื่องยนต์ดีเซลมีระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเท่ากับเบนซิน"
ถูก...อุณหภูมิภายในไม่เท่ากัน อายุการใช้งานก็ต่างกันด้วย
การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ก่อให้เกิดเขม่ามากกว่าในเครื่องยนต์เบนซิน
ผงเขม่าขนาดเล็กสามารถลอดผ่านกระดาษกรองของหม้อกรองน้ำมันเครื่องได้
เมื่อสะสมแขวนลอยอยู่ในน้ำมันเครื่องมากขึ้น จะทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูงขึ้น
คุณสมบัติในการหล่อลื่นจึงลดลง
เครื่องยนต์ดีเซลระบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้
หรือไดเรคท์อินเจคชันยุคใหม่มีเขม่าน้อยกว่าแบบพรีแชมเบอร์มาก เราจึงสังเกตได้ว่า
กำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แบบนี้ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์เบนซินแล้ว
ผิด 20. "น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา"
ถูก...ราคาแพงกว่าใช้ได้นานกว่า แต่จะคุ้มหรือไม่อยู่ที่ใจ
จุดเด่นแรกของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์อยู่ที่ค่าความหนืดต่ำที่อุณหภูมิต่ำ จึงไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ
ของเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ในสภาพเย็นจัด เช่น ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
ซึ่งสภาวะเช่นนี้ไม่มีในประเทศไทย
ข้อดีประการที่ 2 คือทนต่อความร้อนสูงที่ผนังกระบอกสูบได้ดีกว่า
จึงมีอัตราการระเหยเป็นไอได้น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง "ธรรมดา"
อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องอาจน้อยกว่าเล็กน้อย
.
จุดเด่นอีกข้อของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ คือ การมีค่าดัชนีความหนืดสูง จึงไม่ "ใส"
เกิน ไปเมื่อถูกความร้อนจัด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีสารปรับดัชนีความหนืดผสมอยู่ในอัตราที่น้อย กว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา เนื่องจากสารปรับดัชนีความหนืดนี้เสื่อมสภาพได้ง่ายตามอายุใช้งาน
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีอายุใช้งานยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดามาก
เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % กับราคาน้ำมันเครื่อง "ธรรมดา"
ระดับคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคาสูงกว่าราว 2 ถึง 4 เท่า จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า
"คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา" ยกเว้นพวกชอบใช้ของแพง ได้จ่ายเงินมากแล้วมีความสุข
ผู้ที่ต้องการถนอมให้เครื่องยนต์สึกหรอน้อยที่สุด โดยไม่คำนึงถึงราคาว่าคุ้มหรือไม่
|