WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


เทคโนโลยีการกำจัดคราบสกปรกในระบบน้ำหล่อเย็น
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:115.67.253.119

ศุกร์ที่ , 26/6/2552
เวลา : 01:28

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       น้ำเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง นำมาใช้ได้สะดวกที่สุด
และมีค่าความร้อนแฝงที่สูง จึงเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ในการระบายความร้อน


ในสมัยก่อน ระบบความเย็นไม่ว่าจะเป็นห้องเย็น โรงน้ำแข็ง เครื่องปรับอากาศ
ผู้ออกแบบมักจะเผื่อเอาไว้ค่อนข้างมาก เนื่องจากแอร์เย็นคนไม่ด่า ถ้าร้อนเมื่อไหร่มีปัญหาแน่นอน

แต่ในยุคนี้ ไม่สามารถทำเหมือนสมัยก่อนได้ เพราะค่าการลงทุนที่สูงโดยไม่จำเป็น
และค่าพลังงานที่นับวันจะมีแต่แพงขึ้นเรื่อย ๆ การที่เราสามารถจัดการบริหารการใช้งาน
อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่สูงสุดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก


กระทู้นี้คิดว่าจะพอที่จะช่วยนายช่าง(เถอะ) ทั้งหลาย ตลอดจนเจ้าของกิจการ
ให้ตระหนักถึงการปรับปรุงคุณภาพของน้ำหล่อเย็นว่ามีความจำเป็นมาก
เพราะว่าจะเป็นผลสืบเนื่องถึงประสิทธิภาพโดยรวม ของระบบทำความเย็น
แน่นอนว่าเมื่อประสิทธิภาพสูง พลังงานที่ใช้ก็ย่อมลดลง










 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       มีหลายบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ และ ไม่มีความเชี่ยวชาญ ที่ดำเนินดำเนินธุรกิจ
ในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพของน้ำหล่อเย็น ที่ผมบอกว่ามีความเชี่ยวชาญคือ

- รู้จริงถึงปัญหาของระบบแต่ละประเภท
- รู้ถึงสาเหตุของการเกิดตะกรันแต่ละประเภท
- รู้ถึงเทคโนโลยีแต่ละแบบว่ามีจุดดี จุดด้อยอย่างไร
- รู้ถึงวิธีการคิดตั้งอย่างถูกวิธี ฯลฯ
และแน่นอนที่สุดคือ การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับลูกค้า

ปัญหาของน้ำหล่อเย็นในระบบทำความเย็นนั้นไม่ได้มีแค่เพียงคราบหินปูนหรือตะกรัน(เกลือของแคลเซียม,แมกนีเซียม) เท่านั้น

ปัญหาทั้งหมดท้งคราบต่าง ๆ และการกัดกร่อน มีศัพท์ที่เรียกว่า "Fouling"



ที่เราต้องรู้จัก Fouling แต่ละประเภท ก็เพื่อที่จะได้เข้าใจสาเหตุการเกิด
และเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่การนำมาใช้งานนั่นเอง

ในหลักสากลแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 Sediment พวกตะกอนต่าง ๆ เช่นฝุ่น ขี้โคลน สนิมเหล็ก
ดูเหมือนจะเอาออกได้ง่ายครับ แต่........ ลองดูได้ครับ รถที่วิ่งบนถนนลูกรัง จะเห็นคราบลูกรัง
ติดอยู่ที่กระป๋องพักน้ำ ล้างเฉย ๆ คราบเหล่านี้ไม่ออกนะครับ ต้องมีตัวช่วยถึงจะเอาออกได้

สำหรับน้ำใน Cooling Tower อย่าคิดว่าไม่มีฝุ่นนะครับ ไม่ว่าจะตั้งที่ไหนอย่างไรก็หนีไม่พ้น

2 Crystalization ผลึกเกลือที่เกิดจาก แคลเซียม แมกนีเซียม พูดรวม ๆ ก็หินปูนหรือที่ภาษาฝรั่งใช้คำว่า Scale นั่นแหละครับ
ตัวนี้เป็นตัวป้องกันได้ง่ายที่สุด คือ ปรับสภาพน้ำที่จะมาใช้ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม และ มีการถ่ายน้ำออกบ้าง

3 Corrosion การกัดกร่อน ไม่ว่าจะจากสารเคมี หรือจาก ออกซิเจนหรือกาซที่ละลายอยู่ในน้ำ ไปทำปฏิกิริยากับโลหะ
แบ่งออกเป็นอีก 5 ประเภทคือ
-Uniform Corrosion
-Pitting Corrosion
-Galvanic Corrosion
-Concentration Corrosion
-Erosion Corrosion
ผมจะกล่าวทีหลังว่าแต่ประเภทเป็นอย่างไร

4 Bio Fouling คราบที่เกิดจากสิ่งมีชิวิต ไม่ว่าจะเป็นสาหร่ายเซลเดียว เชื้อรา และเชื้อโรคต่าง ๆ
เชื้อบางประเภทดำรงค์ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ใช้ออกซิเจน แต่ไปดึงออกซิเจนจากซัลเฟท
(ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า Path of Sulfer) แล้วปล่อยอิออนของซัลไฟด์ ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ











 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.253.119 ศุกร์, 26/6/2552 เวลา : 02:25  IP : 115.67.253.119   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43396

คำตอบที่ 2
       คราวนี้เรามาดูกันว่าตะกรันก่อปัญหาอะไร ??

ตัวตะกรันนี้เป็นฉนวนความร้อน ทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนลดลง

ต้องขออ้างข้อมูลจาก Phillip Kotz ซะหน่อย


จะเห็นได้ว่าแค่มีคราบหินปูนหนาเพียง 0.3 มิลลิเมตร ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนลดไปถึง 21%
เพื่อที่จะให้ระบบมีความเย็นเช่นเดิม คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานที่แรงดันสูงกว่าเดิม มอเตอร์ขับต้องรับภาระมากขึ้น

แน่นอนว่าเปลืองพลังงานมากกว่าเดิม วัดแรงดันน้ำยาเอาไปพล๊อตใน P-h Diagram ได้เลยว่ารับประทานพลังงาน
ไปอีกกี่ %





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.253.119 ศุกร์, 26/6/2552 เวลา : 09:51  IP : 115.67.253.119   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43400

คำตอบที่ 3
      
หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าปัญหาใหญ่ของการถ่ายเทความร้อนไม่ดีเกิดจาก Fouling ประเภท ตะกรัน

นี่ซิครับตัวแสบของจริง เจ้า Bio Fouling ต่างหาก

ค่าการนำความร้อนของ Bio-Film ที่เกิดจากเชื้อโรคต่าง ๆ ในน้ำนั้น ต่ำมาก

ค่าการนำความร้อนของทองแดงคือ 406
หินปูน 2.93
เมือก 0.63

โอ้แม่เจ้า น้อยกว่าหินปูนถึง 4.6 เท่า






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.253.119 ศุกร์, 26/6/2552 เวลา : 09:52  IP : 115.67.253.119   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43401

คำตอบที่ 4
       กระทู้ดีมีประโยชน์ครับ....ท่าน วมต. จัดไว้อยู๋ด้านบนเป็นกระทู้พิเศษก็ดีครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

mop จาก MOP 58.11.97.215 อังคาร, 14/7/2552 เวลา : 19:42  IP : 58.11.97.215   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43852

คำตอบที่ 5
       ช่วงพักฟื้นจากการผ่าตัดครับ

จึงยังไม่ได้เขียนต่อ หายดีเมื่อไหร่จะกลับมาเขียนครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.147.88 อังคาร, 14/7/2552 เวลา : 20:31  IP : 115.67.147.88   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43853

คำตอบที่ 6
       มาแต่ละหัวข้อยังมีประโยชน์เหมือนเดิมเลยนะครับ พี่หนุ่ม ผมไม่ได้เข้าเว็บมานานมากเลย ตอนนี้ไม่ได้อยู่โคราชแล้ว เปลี่ยนมาทำงานขุดเจาะน้ำมันที่ ปตท.สผ. แล้วครับ ไม่ได้อยู่ซีเกทแล้ว ยังคิดถึงพี่หนุ่ม อาจารย์วอน และพี่ๆทุกคนเหมือนเดิมครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้อย โนนสูง 202.44.4.62 พุธ, 15/7/2552 เวลา : 11:58  IP : 202.44.4.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43875

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,21 พฤศจิกายน 2567 (Online 7924 คน)