คำตอบที่ 8
คุณชายครับ อาชีพผมไม่ได้เป็นครูสอนหนังสือครับ
พอดีว่าแต่ก่อนผมชอบไปโต๋เต๋ แถว ๆ ท้องฟ้าจำลองเอกมัย อาจารย์ที่นั่นคงเห็นผมชอบกินฝอยทอง
ก็เลยชวนผมไป "ฝอย" ให้ข้าราชการ xxx สังกัด กระทรวงศึกษาฟัง เท่านั้นเองครับ
ห้องที่ไป "ฝอย" ก็อยู่ชั้นล่าง ไม่ยอมให้ผม "ฝอย" ที่ชั้นสองซักกะที
ส่วนไอ้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมไม่เชื่อเลยแม้แต่น้อยครับ เหตุผลของผมก็คือ
1 ไอ้ตัวเข็มที่เอาเข้าไปเสียบ มันสร้างประจุเฉย ๆ โดยอาศัยหลักที่ว่า ปลายแหลมจะทำให้เกิดความเครียดทางสนามไฟฟ้ามากกว่าปกติ
ถ้าไม่เข้าใจก็นึกถึงสายล่อฟ้า ที่ทำเป็นปลายแหลม ๆ แต่ไอ้ตัวนี้มีวงจรแปลงไฟตรงเป็นไฟสลับที่มีแรงดันสูงขึ้น แล้วใช้วงจร
ประเภท Voltage Doubler (ทวีแรงดัน) หลาย ๆ ชุดต่อกัน ให้เกิดแรงดันสูง ๆ เหตุที่ไม่แปลงแรงดันให้สูงทีแรกเพราะว่า
หม้อแปลงจะต้องพันขดลวดหลายรอบ และ ฉนวนของขดลวดไม่สามารถทนแรงดันสูง ๆ ได้ จึงต้องอาศัยตัวช่วยสองแบบ
คือหม้อแปลง และ วงจรทวีแรงดัน
วงจร Voltage Doubler ก็เป็นเป็นเพียงไอโอดต่อกับ คาปาซิเตอร์ เท่านั้นเองจริง ๆ
ใครที่มีพื้นฐานวงจรไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ ร้องอ๋อ เลยครับ
แท่งแหลม ๆ สองสามแท่ง เท่านี้บอกว่าสร้างจำนวนอิเลคตรอนมหาศาล อ่านแล้วน่าหัวร่อ
คราวนี้ไอ้ประจุมันไปเพิ่มออกซิเจน ตรงไหนผมก็ไม่ทราบ ปริมาณมันก็เท่าเดิมเห็น ๆ กันอยู่
แล้วไอ้ประจุลบที่สร้างขึ้นมา ถ้ามันใช้งานได้จริง หนังสือเกี่ยวกับเรื่อง Combustion ทั้งหลาย
คงเขียนออกมานานแล้วครับ
จำเรื่องที่ วว. หน้าแตกได้หรือเปล่าครับ ตอนนั้น กร ทัพพะรังสี เป็น รมต วิทยาศาสตร์
เรื่องคราวนั้น ถ้าจำไม่ผิด ผอ. วว. ถึงกับต้องลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
2 ไอ้แท่งอุ่นน้ำมัน ที่เอาไปเกาะไว้กับท่อน้ำมันใกล้หัวฉีด ผมก็ยังไม่เห็นว่ามันจะได้ประโยชน์อะไร เนื่องจากว่า
ถ้าเคยวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ ก็จะรู้ว่ามันประมาณ 80-90 องศา อยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะอุ่นไปเพื่ออะไรอีก
อีกประการหนึ่งของเหลวที่ถูกอัดด้วยแรงดันสูง ๆ ย่อมจะเกิดความร้อนขึ้นด้วย
ถ้ามันช่วยได้จริง ๆ บริษัทผู้ผลิตคงทำมาแล้วครับ เพราะว่ากลายเป็นจุดแข็งของสินค้าตัวเอง ในเรื่องการประหยัดน้ำมัน
ซึ่งสมัยนี่ยุคนี้ ชอบว่าโฆษณา "หนึ่งถังยังเหลือ"
OXIDATION เป็นปฏิกิริยาที่สูญเสียอิเลคตรอน
ซึ่งจะมาคู่กับ ปฏิกิริยาที่ได้รับอิเลคตรอน ซึ่งเรียกว่า Reduction
ตัวอย่างเช่น 2Na + Cl2 -> 2NaCl
โซเดียม(Na) เกิด Oxidize เสียอิเลตรอนให้แก่ คลอรีน(Cl)
คลอรีน(Cl) เกิด Reduced ได้รับอิเลคตรอนเพิ่ม
ถ้าพูดแบบภาษาเคมี ก็จะพูดว่า โซเดียม ออกซิไดซ์ ,คลอรีน รีดิวส์
555 ยิ่งเขียนยิ่งงง
เอ้อ อยากลองใช้ตัวทำประจุ ไปซื้อไม้ตียุงมารื้อดูครับ