WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


เพราะเสียงหวาน ๆ เป็นเหตุ
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:111.84.191.45

จันทร์ที่ , 13/6/2554
เวลา : 14:27

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้วผมได้รับโทรศัพท์จากน้องคนหนึ่งว่า

"พี่ xx ขา าาาาาาาาา ช่วยเขียนบทความ อะไรก็ได้ค่า ที่มันเกี่ยวกะเรื่องการประหยัดพลังงาน
ให้หนูซักเรื่องนึง เอาแบบสั้น ๆ ซัก 1 หน้ากระดาษ หนูจะเอาไปลงใน ......"

แค่ได้ยินเสียงหวาน ๆ หัวเข่าก็อ่อนระทวย ตอบรับแบบไม่ต้องคิด
"ได้ครับ ๆ แล้วกำหนดต้องส่งให้วันไหนล่ะครับ"

ผลจากการตอบโดยไม่คิดเพราะเสียงหวาน ๆ นั่นเอง ทำให้ผมต้องปวดกระโหลกอยู่หลายวัน

เพราะคิดไม่ออกว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี การประหยัดพลังงานแบบสั้น ๆ หาอ่านได้ทั่วไป
ดังนั้นจึงควรต้องแปลกและแหวกแนวซักหน่อย แต่ได้ประโยชน์พอควร

ไอ้เรามันก็ถนัดแต่พ่นน้ำลาย ไม่ถนัดเรื่องขีด ๆ เขียน ๆ มีหลายเรื่องที่ผมเขียนค้างคา ลบแล้วลบอีกอยู่หลายรอบ
ตั้งแต่เรื่องแอลกอฮอล์ เรื่องเฟือง จิปาถะ ฯลฯ

ศุกร์ที่ผ่านมาได้รับโทรศัพท์จากพี่ชาย คุยกันเรื่องหม้อเป็ดตุ๋นใบนั้นแหละ

ก็เลยเกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมา ว่าเขียนเรื่องการอบแห้งดีว่า แต่เป็นการอบแห้งที่เกี่ยวกับ "เซรามิค" เพราะพี่ชายผมทำ เซรามิค นั่นเอง

ไอ้ที่ส่งให้เขาน่ะไม่เยอะด๊อก ในนี้ผมเขียนเสริมเติมแต่งใส่ไข่ลงไปอีกหน่อย




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       มีปรมาจารย์ท่านหนึง ชื่อว่า Dr. Gilbert Robinson ได้อุทิศชีวิตในเรื่อง เทคโนโลยีวิศวกรรมเซรามิค
ได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Clemson University ตั้งแต่ปี 1946 โน่นแน่ะ เริ่มบุกเบิกการเรียนการสอนด้านนี้
ตั้งแต่ตั้งไข่ ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรเลย เปิดสอนคอร์สสั้น ๆ ให้แก่กลุ่มผู้สนใจในด้านนี้
จนในที่สุดมูลนิธิ Olin ได้มอบเงินสนับสนุนสร้างตึกเพื่อการเรียนการสอนในด้าน Ceramic Engineering โดยเฉพาะ

เพื่อเป็นเกียรติแก่่ท่าน ในปี 1990 Clemson University ได้เปลี่ยนชื่อ "Department of Ceramic Engineering"
เป็น "The Gilbert C. Robinson Department of Ceramic Engineering”

Dr. Gilbert ได้เริ่มเขียนหนังสือเรื่องการอบแห้งเซรามิคเอาไว้ แต่ยังไม่สำเร็จเสร็จสิ้น
ก็ได้เสียชีวิตลงไปเสียก่อน ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1996 ลูกศิษย์ที่ชื่อว่า Denis Brosnanได้มาสานงานที่คงค้างไว้จนเสร็จ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.191.45 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 14:32  IP : 111.84.191.45   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54013

คำตอบที่ 2
       ปูเสื่อรอ... น้ำแข็ง ขนม พร้อม....


อิอิอิ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

mp32a จาก ปาตากลม 203.155.133.99 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 14:45  IP : 203.155.133.99   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54014

คำตอบที่ 3
      
ความรู้เรื่องเซรามิคของผมมีแค่หางอึ่ง ของที่เปราะ ๆ แตกหักง่ายผมไม่ค่อยจะชอบมันซักเท่าไหร่
อย่างชามไก่ ทำแตกเป็นโหล ๆ แก้วก็แตกไปหลายสิบใบ ในที่สุดเครื่องใช้ของผมส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติค

พอดีว่าผมเป็นคนที่ชอบสอดรู้สอดเห็น แถมยังมีโอกาสไปเห็นของจึง มีความสามารถรู้เรื่องการคำนวณอยู่บ้าง
เพราะว่ามีเครื่องคิดเลขอยู่ข้าง ๆ ตัว ก็เลยถือโอกาสศึกษาหาความรู้จากตำราของ Dr. Gilbert มาบ้าง

จากการพลิกไปพลิกมาหลายรอบ และเอาหนุนหัวนอนเพื่อให้ความรู้ได้ ออสโมซิสซึมเข้าสู่เซลเซลล์สมอง
ก็ขอสรุปเป็นเนื้อที่ทีน้ำปนอยู่บ้าง แบบที่ไม่ต้องอาศัยการคำนวนใด ๆ
ให้เป็นที่ชวนเวียนหัว





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.191.45 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 15:45  IP : 111.84.191.45   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54015

คำตอบที่ 4
       การอบแห้งของเซรามิคคือการดึงน้ำหรือความชื้นที่อยู่ในผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานที่ยังไม่ได้เผา (green body) ออกไป
ซึ่งเป็นกระบวนการทางกายภาพ ถ้าเทียบกับการอบแห้งในงานอื่น ๆ แล้วค่อนข้างจะซับซ้อนกว่ามาก
เพราะว่าเซรามิคมีการหดตัวและเกิดการเสียหายจากการแตกร้าวได้ง่ายกว่า

ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงในภาคทฤษฏีและการคำนวณก็ค่อนข้างจะมีเนื้อหามาก
ผมจะเขียนเขียนอย่างกว้าง ๆ และใช้วิธีการวัดที่ง่าย ๆ โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการคำนวณแต่อย่างใด







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.191.45 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 16:02  IP : 111.84.191.45   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54016

คำตอบที่ 5
       คำนิยามของอัตราการแห้งคือการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักของน้ำในผลิตภัณฑ์ดิบ(ก่อนเผา) ต่อหน่วยของเวลา
เมื่อนำค่ามาพล็อตกราฟระหว่างน้ำหนักของผลิตภัณฑ์กับเวลา โดยให้ น้ำหนักอยู่ในแนวแกน Y และเวลาอยู่ในแนวแกน X
จะได้ลักษณะของกราฟเป็นไปตามรูปที่ 1







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.191.45 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 16:09  IP : 111.84.191.45   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54017

คำตอบที่ 6
       จากรูปกราฟที่ได้มาจะเห็นได้ว่าความชันของเส้นกราฟในช่วงแรกจาก จุด A ถึงจุด B มีค่าคงที่
ช่วงต่อไปจากจุด B ถึงจุด C มีความชันลดลงเรื่อย ๆ โดยที่อัตราการการลดลงของความชันของกราฟจะคงที่
ช่วงเวลานี้ เรียกว่า first declining rate

และช่วงเวลาต่อไป จากจุด C ถึงจุด D อัตราลดลงของความชันของกราฟจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
จนเส้นกราฟเกือบจะเป็นเส้นขนานกับแกน X
ช่วงนี้เรียกว่า second declining rate คือสรุปได้ว่าช่วงเวลาของการอบแห้งสามารถแบ่งออกได้เป็นสามช่วงคือ


1. ช่วงอัตราคงที่ (Constant rate period )
2. ช่วงอัตราการลดลงของความชันคงที่ (First declining rate period )
3. ช่วงอัตราการลดลงของความชันเพิ่มขึ้น (Second declining rate period )








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.191.45 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 16:42  IP : 111.84.191.45   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54018

คำตอบที่ 7
       อ๊ะ ๆ อย่าเพิ่ง งง กับกราฟรูปแรก

เพื่อที่จะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เรามาเขียนกราฟในอีกรูปแบบหนึ่ง ในรูปของอัตราของการระเหยของน้ำ กับเวลาที่ผ่านไป

จากข้อมูลที่ได้มาตามกราฟรูปที่ 1 สามารถนำมาเขียนเป็นกราฟแบบใหม่ ตามกราฟตามรูปที่ 2 ข้างล่าง








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.191.45 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 16:48  IP : 111.84.191.45   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54020

คำตอบที่ 8
       คำอธิบายความหมายของกราฟในรูปที่ 2


เริ่มจากจุด A ถึงจุด B จะเป็นช่วงเวลาที่อัตราการระเหยคงที่ (constant rate)
หลังจากจุด B อัตราการระเหยของน้ำจะลดลงอย่างคงที่จนกว่าจะถึงจุด C
จากนั้นจะช้าลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งชิ้นงานนั้นแห้งอย่างสมบูรณ์

จากกราฟรูปที่ 2 ทำให้เราสามารถแบ่งช่วงเวลาของการอบแห้งออกเป็นสองช่วงใหญ่ ๆ คือ

1 ช่วงแรกเป็นช่วงอัตราการระเหยคงที่ และ

2 ช่วงที่สองที่มีอัตราการระเหยลดลงคือรวมช่วง First และ Second declining rate period เข้าด้วยกัน







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.154.115 จันทร์, 13/6/2554 เวลา : 18:43  IP : 111.84.154.115   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54021

คำตอบที่ 9
       ความชื้นในเนื้อวัสดุของผลิตภัณฑ์ที่จุด B เป็นจุดที่เรียกว่า critical moisture content , MC

เนื่องจากในระหว่าการอบแห้งผลิตภัณฑ์จะมีการหดตัวเรื่อย ๆ จนถึงจุด MC ซึ่งเป็นจุดที่เรียกว่า Leather hard
จุดนี้เป็นจุดที่ถือว่าแห้งพอที่จะยกได้โดยไม่ทำให้รูปทรงเสียไปแต่ยังไม่สามารถรับน้ำหนักได้

อัตราการระเหยของน้ำในช่วงที่ 1 นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือจะต้องไม่สูงเกินไป
จนทำให้เกิดความเครียดขึ้นที่ชิ้นงานซึ่งจะทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้
เพื่อที่จะควบคุมไม่ให้อัตราการระเหยสูงเกินไป จึงจำเป็นที่ต้องใช้อุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก

แต่ด้วยความรู้ทางวิชาการเซรามิคปัจจุบัน ยังไม่สามารถทำนายค่าอัตราการระเหยสูงสุดที่ยังไม่ทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ (critical drying rate)
ยังคงต้องใช้วิธีการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ควบคุมความชื้น เพื่อหาค่าที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ในแต่ละชนิด
แต่ในทางปฏิบัติแล้วสำหรับโรงงานในประเทศไทยคงจำทำได้ยากด้วยสาเหตุหลาย ๆ ประการ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 1.47.31.123 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 00:54  IP : 1.47.31.123   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54022

คำตอบที่ 10
      
โอ๊ะ โอ๋ .....ผมมันเป็นพวกประเภทนี้ด้วยสิครับ ฮือ ฮือ....





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kz wanzer จาก KZ Wanzer 182.52.64.93 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 08:59  IP : 182.52.64.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54023

คำตอบที่ 11
       รออ่านจะได้เผาพระพิมพ์ใส่เจดีย์สักชุด



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.9.135 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 17:08  IP : 125.24.9.135   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54025

คำตอบที่ 12
       ถ้าจะแบ่งเครื่องอบแห้งในอุตสาหกรรมเซอรามิคออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะ
ของการหมุนวนของอากาศที่ไหลผ่านผลิตภัณฑ์ ก็แบ่งออกได้ป็นสามอย่างคือ

1 Countercurrent อากาศร้อนกับผลิตภัณฑ์ไหลสวนทางกัน

อัตราการระเหยในช่วงแรกจะน้อย และ มากขึ้นในช่วงหลัง
เพราะว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนแบบสวนทางกัน ได้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อนสูง

ส่วนใหญ่เครื่องอบแบบต่อเนื่องมักจะเป็นแบบนี้








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.29.136 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 17:43  IP : 115.67.29.136   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54027

คำตอบที่ 13
       2 Parallelcurrent อากาศร้อนกับผลิตภัณฑ์ไหลไปในทิศทางเดียวกัน

ชนิดนี้ให้ผลกลับกับชนิดแรกคือ ในช่วงเวลาช่วง ๆ แรก ๆ อัตราการระเหยจะสูงมาก และ ลดลงไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ
ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนต่ำกว่าชนิดแรก

เท่าที่ผมเคยเห็นมายังเคยเห็นใครใช้วิธีนี้ครับ เข้าใจว่าคงขึ้นอยู่กับประเภทของเซรามิค หรือ ว่าเป็นงานเฉพาะอย่าง










 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.29.136 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 17:51  IP : 115.67.29.136   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54028

คำตอบที่ 14
       3 Crosscurrent อากาศร้อนไหลกับตัดผ่านกับผลิตภัณฑ์ที่อยู่กับที่ ส่วนใหญ่การอบแห้งแบบนี้
จะทำเป็นแบบกะ (Batch)





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.29.136 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 18:14  IP : 115.67.29.136   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54029

คำตอบที่ 15
       รูปนี้เป็น Dryer ของจริงตามแบบที่ 3 ใช้อบแม่พิมพ์





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.29.136 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 18:24  IP : 115.67.29.136   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54030

คำตอบที่ 16
       นี่เป็นห้องอบแม่พิมพ์แบบทำงานเป็นกะ ของโรงงานแห่งหนึง ในจังหวัดราชบุรี









 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.29.136 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 18:32  IP : 115.67.29.136   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54031

คำตอบที่ 17
       ห้องอบในรูปที่แล้วถูกออกแบบมาผิด ประสิทธิภาพต่ำ

สิ้นเปลืองพลังงานสูง เพราะว่าการไหลเวียนของอากาศมันไม่ดีเลย

จะต้องทำเป็นแบบนี้ถึงจะถูกต้องตามหลักวิชาการ


ไม่รู้ว่าเขาแก้ไขหรือยัง







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.29.136 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 18:36  IP : 115.67.29.136   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54032

คำตอบที่ 18
       ยังมีเครื่องอบแบบกะที่มีประสิทธิภาพสูงมากอีกชนิดหนึ่ง ใช้ไมโครเวฟไล่ความชื้น

เครื่องอบนี้ราคาสูงมากหลายสิบล้าน คาดว่าในเมืองไทยยังไม่มีใครใช้

ผมก็ยังไม่เคยเห็นของจริง รูปถ่ายก็ไม่เคยเห็น เคยถามพี่ชายเขาก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.29.136 อังคาร, 14/6/2554 เวลา : 18:42  IP : 115.67.29.136   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54033

คำตอบที่ 19
       หลาย ๆ คนอ่านแล้วคง งง ว่า มันเกี่ยวอะไรกับการประหยัดพลังงานด้วยฟะ !

บทสรุปของเรื่องนี้ก็คือ เมื่อเรารู้ลักษณะเฉพาะของการอบไล่ความชื้น เราจะนำมันมาประยุกต์ใช้ต่อ
ตัวอย่างเช่น การอบแม่พิมพ์ แทนที่จะทำกันแบบปกติ ที่ทำต่อ ๆ กันมาว่าต้องสามวัน
เพราะเขาทำกันมาอย่างนี้นานแล้วว่ามันไม่มีปัญหา เราก็คิดใหม่ ทำใหม่ดังนี้


1. ปฏิบัติงานตามปกติ โดยนำแม่พิมพ์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วมาชั่งน้ำหนักก่อนอบไล่ความชื้น
และชั่งน้ำหนักหลังจากที่ไล่ความชื้นเสร็จแล้ว

เนื่องจากแม่พิมพ์ของผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันอาจจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน
จึงต้องทำการทดลองวัดกับแม่พิมพ์หลายตัวหรือทำกับทุกตัวก็ได้

2. จดน้ำหนักของแม่พิมพ์ตัวที่พร้อมใช้งานไว้ที่ตัวแม่พิมพ์เลย เพื่อความสะดวกในการเช็คน้ำหนักแม่พิมพ์ในครั้งต่อ ๆ ไป

3. จากข้อ 2 ทำให้เราทราบถึง น้ำหนักที่แท้จริงของแม่พิมพ์

4. นำแม่พิมพ์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วและต้องการอบแห้งในห้องอบมาชั่งน้ำหนักอาจจะเป็นทุกชั่วโมง
หรือทุกครึ่งชั่วโมง ตามความเหมาะสม ในการทดลองวัดค่าอาจใช้วิธีวางแม่พิมพ์ไว้บนตาชั่งระหว่างการอบเลยก็ได้

จดค่าน้ำหนักที่ได้แล้วนำมาพล็อตกราฟ ตามรูปที่ 1 หรือ รูปที่ 2 ตามแต่จะถนัด
กราฟที่ได้จะเป็นเป็นแค่บางส่วนของรูปที่ 1 หรือ รูปที่ 2 เท่านั้น

5. ผลที่ได้จากข้อ 4 ทำให้เราทราบ

5.1 เวลาที่เหมาะสมในการอบแม่พิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะวางไว้เกินเวลา ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
หากต้องการอบโดยใช้เวลาเท่าเดิมเพราะกะการทำงานของคนงานไม่ตรง ก็ใช้วิธีหรี่ Burner
เพื่อที่จะยืดเวลาในการอบให้เท่าเดิม แต่ใช้พลังงานน้อยลง

5.2 อัตราการระเหยของน้ำในแม่พิมพ์ที่อุณหภูมิและความชื้นของห้องอบนั้น ๆ (กรณีที่มีห้องอบหลายห้อง)
ทำให้ทราบลักษณะคุณสมบัติของห้องอบนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ห้องไหนที่อบได้เร็วก็จะเป็นตัวเลือกในการใช้งานก่อน

5.3 กราฟที่ได้มา สามารถนำมาใช้ช่วยตัดสินใจเวลาแท้จริงที่เหมาะสมในการอบ
จากรูปที่ 1 และรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าช่วงโค้งของกราฟหลังจุด C เป็นจุดที่พอเพียงแล้ว
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทิ้งไว้จนถึงจุด D ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานมาก

ถ้าใครมีโอกาส ลองไปทำการบ้านตามที่แนะนำก่อนแล้วจะรู้ว่า
เราใช้พลังงานกันอย่างทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ โดยไม่รู้ตัวอย่างน่าตกใจ
และแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุ

อย่างในรูปตามคำตอบที่ 8 เป็นตัวอย่าง
จะเห็นลักษณะของเปลวไฟที่พุ่งไกล เนื่องจากแกสเผาไหม้ไม่หมด
เนื่องจากใช้ลมแรงเกินไป จึงต้องเร่งแกสออกมาให้มากเพราะไม่เช่นนั้นเปลวจะดับ ทำให้สิ้นเปลืองแกสเป็นอย่างมาก
แทนที่จะเร่งแกส จะต้องแก้ไขด้วยการหรี่ความแรงของลมให้ลดลง จึงเป็นการแก้ที่ถูกต้อง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ได้ยินเสียงหวาน ๆ เมื่อไหร่ จงใจแข็งไว้อย่างเดียว อย่างอื่นห้าม ...








โรงงานนี้คุ้นๆ ใช่ ราชาเซรามิค ไหมครับพี่หนุ่ม
จาก : Freewind(Freewind) 16/6/2554 9:26:01 [203.170.251.102]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.90.193 พุธ, 15/6/2554 เวลา : 15:25  IP : 111.84.90.193   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54038

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพุธ,4 ธันวาคม 2567 (Online 7237 คน)