จาก bint IP:110.49.225.40
เสาร์ที่ , 11/2/2555
เวลา : 12:02
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
เห็นตามข้อมูลนี้บอกว่าเครื่อดีเซลส่วนผสมหนาแล้วร้อน หากส่วนผสมบางจะเย็นครับ
"ยังมีอีกคนรักรถอีกหลายคน รวมถึงช่างอู่บางคน ยังสับสนเรื่องความร้อนผิดปกติของเครื่องยนต์ ที่เกิดจากส่วนผสมหนาบางของน้ำมัน โดยคิดว่า ส่วนผสมที่บางเป็นสาเหตุของเครื่องร้อน ทั้งเครื่องเบนซินและดีเซล
จริงๆ แล้วเป็นความจริงเฉพาะเบนซินเท่านั้น ส่วนดีเซลนั้นตรงกันข้ามเลย
ทั้งนี้เหตุผลก็คือ เบนซินผสมกับอากาศในรูปของไอ นอกห้องเผาไหม้ และจุดระเบิดจากจุดหนึ่งที่หัวเทียน แล้วขยายการเผาไหม้ออกไปแบบ chain reaction หากโมเลกุลของเบนซินอยู่ชิดกันมาก และมีออกซิเยนเพียงพอ ก็จะเผาไหม้ไว และพลังการเผาไหม้ก็เปลี่ยนไปเป็นพลังงานกลอย่างรวดเร็วตามการเคลื่อนที่ของลูกสูบ หากโลเลกุลอยู่ห่างกันเนื่องจากใส่บางไป เผาไหม้ช้า แรงจุดระเบิดไปดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ไม่พอดี ความร้อนจึงสูง เกิดอาการเดียวกับองศาจุดระเบิดที่อ่อนไป
ส่วนดีเซล ถูกฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้ แล้ว "ลุกไหม้พร้อมๆ กันทันที" เมื่อเจอความร้อนและมีออกซิเจนเพียงพอ แต่หากมีดีเซลมาก มีการเผาไหม้ช้าลง ทำให้การเผาไหม้ไม่อยู่ในจังหวะงานพอดี ความร้อนจึงหลงเหลืออยู่ในระบบ โดยเพาะมันเผาไหม้ในจังหวะที่กำลังคายไอเสีย เพราะปกติแล้ว ดีเซลฉีดหนายังไงก็ยังต่ำกว่า Stoichiomatric มีออกซิเจนเหลือ แต่กว่ามันจะเจอกันก็ช้าหน่อย
ดังนั้นอันตรายนะครับ หากลงน้ำมันดีเซลหนาๆ แล้วคิดว่าได้กำลังมาก และเครื่องไม่ร้อน เทอร์โบพังมาเยอะแล้วครับ"
Stoichiometric หมายถึง การเผาไหม้ทางทฤษฏี ที่จำนวนไฮโดรคาร์บอนในเชื้อเพลิง ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้หมดพอดีทั้งคู่
ในความเป็นจริง ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ จะต้องเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์แน่นอนเพราะความไม่สมบูรณ์ของสภาวะแวดล้อมในห้องเผาไหม้ ที่อุณหภูมิ และความดันไม่เท่ากันทั้งหมด ไอดีที่อยู่ใกล้ๆ เสื้อสูบมักจะไม่ค่อยติดไฟเพราะมันเย็นเกินไป
แน่นอนว่า ออกซิเจน เป็นส่วนสำคัญในการเผาไหม้ แต่เบนซิน จะลุกติดไฟด้วยประกายไฟเช่นหัวเทียน หรือประกายไฟจากโมเลกุลใกล้ๆ ที่ติดไฟก่อน
ความดันก็มีส่วนทำให้เบนซินลุกไหม้ได้ไว เพราะโมเลกุลอยู่ชิดกันมากขึ้น แต่การที่ส่วนผสมบางหมายความว่า โมเลกุลของเบนซิน ก็อยู่ห่างกันด้วย จึงทำให้เผาไหม้ช้ากว่า ลงหนา
การลงน้ำมันเบนซินหนากว่า stoichiometric แปลว่า โมเลกุลที่ติดออกซิเจน ก็ยังลุกไหม้ แต่พอออกซิเจนหมด เผาไหม้ต่อไม่ได้ โมเลกุลของเบนซิที่เหลือจึงขโมยความร้อนจากการเผาไหม้ไป กำลังเครื่องจึงตก และห้องเผาไหม้เย็น
ในดีเซล ออกซิเจนมีเหลือเฟือตลอดเวลา แต่มีเวลาเหลือไม่พอในการเผาไหม้ เพราะดีเซลอยู่ในรูปของเหลว เป็นหยดเล็กๆ ไม่ได้เป็นไอในจังหวะฉีดเข้าห้องเผาไหม้ ดีเซลจะติดไฟก็ต่อเมื่อมันกลายเป็นไอก่อนแล้วลุกไหม้ และจะลุกไหม้พร้อมๆ กันทุกหยด ด้วยความร้อนรอบๆ ตัวมัน
เมื่อลงน้ำมันบาง ความร้อนจากการอัดเหลือเยอะ มันจึงเผาไหม้ได้เร็วมาก (อย่าลืมว่าต่างจากเบนซินตรงที่มันติดไฟได้เองไม่ต้องการประกายไฟจากหัวเทียน) แต่พลังงานที่ปลดปล่อยมีน้อยเนื่องจากมีจำนวนน้อย และมันปล่อยในจังหวะงานพอดี ความร้อน จึงเปลี่ยนเป็นพลังงานกลได้เยอะ
พอลงหนา ทุกหยด ต้องการความร้อนมาทำให้ตัวเองระเหยแล้วติดไฟ แย้งความร้อนในจังหวะอัด จนเผาไหม้ช้าลง ทั้งๆ ที่ยังมีออกซิเจนเหลือเฟืออยู่ พอมีการเริ่มเผาไหม้ ความร้อนเพิ่ม โมเลกุลที่เหลือก็ติดไฟตามๆ กันมา ด้วยออกซิเจนที่ยังเหลือเฟืออยู่ แม้ว่าจะหนามากก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่า ดีเซลปัจจุบัน ทำงานที่ประมาณ ครึ่งหนึ่งของ Stoichiometric เท่านั้น เราต้องใส่น้ำมันเพิ่มอีกเท่าตัว ถึงจะใช้ออกซิเจนได้หมดตามทฤษฎี แต่ก็ไม่มีทาง
น้ำมันที่เหลือ และออกซิเจนที่เหลือ จากจังหวะดันลูกสูบลง ก็จะยังสามารถเผาไหม้ได้ต่อไป แต่ความดัน และ ความร้อนในกระบอกสูบลดลงมากมายหลังจากผ่านช่วงกลางๆ ระยะชักมาแล้ว ซึ่งยิ่งทำให้เผาไหม้ได้ช้าลงไปอีก
ซึ่งการเผาไหม้หลังจากลูกสูบผ่านกลางระยะชักมาแล้ว มันได้งานน้อยกว่าจังหวะบนๆ เพราะลูกสูบเริ่มเบรคตัวเองก่อนถึง จุด0ตายล่าง ความร้อนหรือพลังงานไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานกล ก็จะกลายเป็นความร้อนค้างๆ อยู่ในไอเสีย ในจังหวะคายไอเสีย มันก็ปล่อยความร้อนให้ทุกส่วนที่มันผ่านไป เครื่องยนต์จึงร้อนมาก วาวล์ไอเสียอาจร้อนเกินจนละลาย เทอร์โบก้อาจร้อนจนทนไม่ไหว
สรุปนะครับ หากมองภาพออกว่า เบนซิน กับ ดีเซ, จุดระเบิด หรือ ลุกไหม้ต่างกันอย่างไร และเข้าใจว่า การเปลี่ยนพลังงานระหว่างความร้อนและพลังงานกลเป็นอย่างไร ก็จะเข้าใจทันทีครับ หาอ่านได้อย่างละเอียด ในทฤษฏี เทอร์โมไดนามิคส์ ครับ
|