คำตอบที่ 22
พระปริตต์ "มังคลสูตร"
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(การไม่คบคนพาล, การคบบัณฑิต ,การบูชาบุคคลที่ควรบูชา นี้เป็นอุดมมงคล)
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี ,ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน, การตั้งตนไว้ชอบ , นี้เป็นอุดมมงคล)
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(พหูสูตรเล่าเรียนศึกษามาก ,มีศิลปวิทยา, มีระเบียบวินัย, วาจาสุภาสิต นี้เป็นอุดมมงคล)
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะ ทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(การบำรุงมารดาบิดา , การสงเคราะห์บุตร, การสงเคราะห์ภรรยา , การงานอันไม่อากูล นี้เป็นอุดมมงคล)
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(รู้จักให้ทาน , การประพฤติธรรม ,การสงเคราะห์ญาติ การงานไม่มีโทษ นี้เป็นอุดมมงคล)
อาระตี วิระติ ปาปา มัชชะปานา จะ สังยะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(การงดการเว้นจากบาป , เว้นจาการดื่มน้ำเมา , ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย นี้เป็นอุดมมงคล)
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐิ จะ กะตัญญุตา
กาเลนนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(ความเคารพ , ความประพฤติถ่อมตน, ความสันโดษ ,ความกตัญญู , การฟังธรรมโดยกาล นี้เป็นอุดมมงคล)
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(มีความอดทน , เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย , การได้เห็นสมณะทั้งหลาย , การสนทนาธรรมโดยกาล นี้เป็นอุดมมงคล)
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(มีความเพียรเผากิเลส , ประพฤติพรหมจรรย์ , การเห็นอริยสัจ , การกระทำนิพพานให้แจ้ง นี้เป็นอุดมมงคล)
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว , ไม่เศร้าโศก , จิตปราศจากธุลี , เป็นจิตเกษม นี้เป็นอุดมมงคล)
เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
(เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสร้างสื่งที่เป็นมงคลชั้นอุดมทั้ง 38 ประการ เห็นปานฉะนี้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในทุกสถานที่ บรรลุถึงซึ่งความสวัสดีในกาลทุกเมื่อ)
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ
(จัดป็นมงคลชั้นอุดมของเทพยดาและมนุษย์เหล่านั้นฉะนี้แล)