คำตอบที่ 7
....ก๊อปปี้ให้มาอ่านกันจากเวปนี้ครับ....
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=45754.15
การถูกตั้งข้อหานี้ ก็หมายความว่าถูกตรวจค้นจับกุม อาวุธปืนได้ ในฐานพกพาโดยไม่มีป.๑๒ ก่อน
หรือพกพาโดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ตามความใน มาตรา 8 ทวิ ก่อน
ดังนั้น ถ้าเราซุกซ่อนดีๆ ก็จะไม่ถูกจับกุม และไม่มีข้อหาใดๆเกิดขึ้นตามมา
กรณีก็เหมือนกับ การปฏิบัติแบบที่เคยทำมาแต่เดิม ที่แอบพกซ่อนกันนั่นแหละ
ไม่ต่างกัน อย่าให้ถูกจับกุมเป็นใช้ได้ เพราะไม่ว่าข้อหาพกพาปืนไปโดยไม่มีป. 12
หรือข้อหาซองกระสุนเกิน 10 นัด ใครก็ไม่อยากถูกจับทั้งนั้น ดังนั้นจึงไม่อยากให้ตกใจกันมากนัก
แต่ถ้าเกิดถูกจับกุมขึ้นมาจริง ๆ แล้วแถมถูกตั้งข้อหานี้พ่วงมาด้วย
อยากจะให้ปฏิเสธ ไม่รับสารภาพกับตำรวจในข้อหานี้ เพราะส่วนตัวแล้วเห็นว่า
สามารถต่อสู้ได้ถึง 2 ประการ คือ
1. สู้ว่าขาดเจตนา ตาม ปอ. มาตรา 59
หรือ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง ว่าซองกระสุนนั้นถูกต้อง ไม่ยังงั้นร้านปืนคงไม่เอามาขาย
และนายทะเบียนต้องโต้แย้ง ไม่ออกป. 4 ให้เรา ตาม ปอ. มาตรา 62 ประกอบ มาตรา 59
2 สู้ว่า การออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 ( พศ 2491 ) ข้อ 2 ( 12 ) เรื่องห้ามซองกระสุนเกิน 10 นัดนั้น
ต้องออกโดยอาศัยอำนาจ ตาม มาตรา 55 เเห่ง พรบ.อาวุธปืน ฯ ซึ่งจะต้องทำตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน
มาตรา 6 วรรค 1 ( 1 ) และ มาตรา 6 วรรค 2 คือ รมต. มหาดไทย+รมต.กลาโหม ต้องร่วมกันลงนาม
ในกฎกระทรวงนั้น ถึงจะชอบด้วยกฎหมายและมีอำนาจ+ผลบังคับใช้ได้โดยสมบูรณ์
ทั้งนี้โดยดูจากมาตรา 24 , 38 และ 55 ประกอบเข้าด้วยกัน
แต่กฎกระทรวงฉบับนี้กลับไปออกตาม มาตรา 56 และลงนามโดย รมต.มหาดไทยเพียงคนเดียว
อันทำให้ไปขัดกับ มาตรา 6 วรรค 1 ( 1 ) และ มาตรา 6 วรรค 2 ประกอบมาตรา 24 , 38 และ 55
โดยสิ้นเชิง
ส่วนตัวจึงเห็นว่า กฎกระทรวงเรื่องซองกระสุนนี้ ออกมาโดยผิดขั้นตอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่มีผลบังคับได้หากเรื่องขึ้นไปถึงศาลให้วินิจฉัย ...........