WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


คาถาพาหุงฯ
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:202.91.19.206

จันทร์ที่ , 5/5/2551
เวลา : 09:27

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ถ้ากล่าวว่า คาถาพาหุงฯ หลาย ๆท่านคงรู้จัก

แต่ถ้า บอกว่า "พุทธชัยมงคลคาถา" อาจจะไม่รู้จัก


พุทธชัยมงคล เป็นเรื่องราวชัยชนะ 8 ครั้งของพระพุทธเจ้า

เริ่มด้วยชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ณ โพธิบัลลังก์ ในวันที่พระองค์ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

และเรื่องสุดท้ายที่ทรงชนะพกาพรหมผู้มีมิจฉาทิฐิ ทรงโปรดให้เห็น เป็นสัมมาทิฐิได้


เมื่อมีการสวดมนต์ ทำบุญมงคลอย่างใดอย่างหนึ่งที่บ้าน พระจะสวดพุทธชัยมงคล 8 บทนี้ด้วยเสมอ

เพื่ออวยพรให้เราได้ชัยมงคล โดยอ้างพระเดชแห่งพระพุทธองค์ที่ทรงชนะในครั้งนั้น ๆ เป็นที่ตั้ง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  

คำตอบที่ 1
       การที่เราสวดบทสวด "พุทธชัยมงคล" นั้น
เราควรจะถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบอย่าง ว่าในเหตุการณ์นั้น ๆ พระองค์ทรงเอาชนะด้วยวิธิการอย่างไร
การที่เราสวดไปด้วยพร้อมกับรู้ความหมาย เป็นการเตือนใจให้เราสามารถชนะอุปสรรคต่าง ๆด้วยวิธีการอันแยบคาย
เฉกเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ที่พระองค์ทรงเคยเอาชนะมาแล้ว ดีกว่าที่จะสวดมนต์โดยไม่รู้เรื่องมุ่งหวังเพียงแต่ว่า
จะเอาความขลังศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์นั้นเป็นสำคัญ

บทสวดนี้มีความไพเราะจับใจเป็นอย่างยิ่ง ปรากฎในหนังสือหลายเล่ม ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
เช่น วัน วิสาขบูชา มาฆบูชา ฯลฯ ก็มีการสวดกัน ส่วนใหญ่จะสวดกันในแค่บทแรกเท่านั้น
สมัยที่ผมยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนเทศบาล ทุกวันศุกร์ก็มีการสวดบทนี้ เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่าตามโรงเรียนต่าง ๆ
ยังมีการสวดมนต์ไหว้พระกันหรือไม่อย่างไร ??



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 จันทร์, 5/5/2551 เวลา : 09:28  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25668

คำตอบที่ 2
       บทที่ 1

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

บทที่ 2

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

บทที่ 3

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

บทที่ 4

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

บทที่ 5

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

บทที่ 6

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

บทที่ 7

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

บทที่ 8

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ


บทสรุป

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
(บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุก ๆ
วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นคือ พระนิพพานอันบรมสุขแล ฯ)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.204 จันทร์, 5/5/2551 เวลา : 10:13  IP : 202.91.18.204   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25670

คำตอบที่ 3
      
" การที่เราสวดไปด้วยพร้อมกับรู้ความหมาย เป็นการเตือนใจให้เราสามารถชนะอุปสรรคต่าง ๆด้วยวิธีการอันแยบคาย
เฉกเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ที่พระองค์ทรงเคยเอาชนะมาแล้ว ดีกว่าที่จะสวดมนต์โดยไม่รู้เรื่องมุ่งหวังเพียงแต่ว่า
จะเอาความขลังศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์นั้นเป็นสำคัญ "


ยอมรับว่าบางครั้งผมเองลืมหัวใจที่เเท้จริงข้อนี้โดยสิ้นเชิง ขอบพระคุณคุณหนุ่มกระโทกที่ช่วยชี้ทางสว่างให้ครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree จันทร์, 5/5/2551 เวลา : 11:04  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25671

คำตอบที่ 4
       คาถาบทที่ 1 ชนะมาร



พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง

ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ


คำแปล

พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบทุกมือ
ขี่ช้างครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น)
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ


คาถาบทแรก กล่าวถึงเรื่องราวที่พระพุทธองค์ทรงชนะมาร ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
ว่ามีพญามารพร้อมด้วยเหล่าเสนามากมาย มีอาวุธ
คำว่า "สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง" คือมีพันมือ พร้อมอาวุธ มีเสียงกึกก้อง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ขี่ช้างคีรีเมขเท้าหน้าจรดโพธิบัลลังก์ เท้าหลังจรดจักรวาฬ
เพื่อที่จะทำลายพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ก็ทรงเอาชนะด้วยพระบารมีที่ทรงไดบำเพ็ญมา อันมีทานเป็นต้น
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท คือพระจอมมุนี ทรงเอาชนะด้วยทาน บารมี

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า ขอชัยมงคลจงมีแด่ท่าน

หากเราสวดให้ตัวเอง ก็สวดว่า ภะวะตุ เม แทนที่จะเป็น ภะวะตุ เต
ก็จะมีความหมายว่า ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า ขอชัยมงคลจงมีแด่เรา


พุทธปูชา มหาเตโช บูชาพระพุทธเจ้า มีเดช
ธรรรมปูชา มหาปัญโญ บูชาพระธรรม มีปัญญา
สังฆปูชา มหาลาโภ บูชาพระสงฆ์ มีลาภ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 จันทร์, 5/5/2551 เวลา : 14:25  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25675

คำตอบที่ 5
       คาถาบทที่ 2 ทรงชนะอาฬกวยักษ์ด้วยขันติบารมี



มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง

โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ


คำแปล

พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน
มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง
ด้วยวิธีทรมานอันดี คือขันติความอดทน
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ


มีเรื่องย่อ ๆ ว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยของพวกอาฬกวยักษ์ (อ่านว่า อา-ละ-กะ-วะ)
ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่เมืองอาฬวี ว่าพอที่จะทรงโปรดสั่งสอนให้หายจากความดุร้ายได้
พระองค์จึงทรงเสด็จไปที่เมืองนั้น ขณะนั้น พวกอาฬากวยักษ์ไม่อยู่ พระองค์ก็เสด็จขึ้นไปนั่งบน
บัลลังก์ของเขา

เมื่ออาฬกวยักษ์กลับมา เห็นพระพุทธเจ้านั่งอยู่อย่างนั้น จึงโกรธมากไล่ให้พระองค์ลงจากบัลลังก์
พระองค์ก็ทรงเสด็จลงมาโดยดี เหล่าอาฬกวยักษ์นึกอยู่ว่า สมณะนี้ว่าง่าย จึงเรียกกลับให้นั่งใหม่
พระพุทธเจ้าก็ทรงทำตาม อย่างนี้ถึงสามครั้ง

พอครั้งที่สี่ พระพุทธเจ้าทรงไม่ทำตาม ประทับนิ่งเฉย เหล่าอาฬากวยักษ์จึงได้ทูลถามปัญหาอยู่หลายข้อ
พระพุทธเจ้าทรงแก้ได้หมด จนพวกยักษ์เกิดความเลื่อมใส ยอมพ่ายแพ้ต่อพระองค์
กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง หมายถึง สู้กันทั้งคืน
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท แต่พระพุทธองค์ทรงเอาชนะได้ด้วยขันติที่พระองค์ทรงฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว

เรื่องที่น่าสนใจคือ ปัญหาของพวกอาฬกวยักษ์ที่ทูลถามพระพุทธเจ้าหลายข้อ แล้วพระพุทธเจ้าทรงตอบได้หมด
ปัญหาเหล่านี้ดีมาก ดังปรากฏอยู่ในอาฬกวยักษ์สูตร สังยุตินิกาย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 จันทร์, 5/5/2551 เวลา : 15:30  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25677

คำตอบที่ 6
       ขอบคุณครับพี่หนุ่ม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

cotto จาก cotto 203.130.145.67 อังคาร, 6/5/2551 เวลา : 07:36  IP : 203.130.145.67   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25701

คำตอบที่ 7
       ปัญหาที่ อาฬากวยักษ์ทูลถามคือ

1 อะไรเป็นทรัพย์อันประเสริฐของคนในโลกนี้

2 อะไรที่บุคคลที่ประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้

3 อะไรที่เป็นรสที่เลิศกว่ารสทั้งหลาย

4 ชีวิตอย่างไรจึงเป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด

5 บุคคลจะ ข้ามโอฆะได้อย่างไร ข้ามอรรณพได้อย่างไร ล่วงทุกข์ได้อย่างไร บริสุทธิ์ได้อย่างไร



พระพุทธเจ้าตรัสตอบเอาไว้ดังนี้

1 ศรัทธาเป็นทรัพย์อันประเสริฐของคนในโลกนี้

2 ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้

3 ความสัตย์เป็นรสเลิศกว่ารสทั้งหลาย

4 ชีวิตของผู้ที่อยู่ด้วยปัญญานับว่าเป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด

5 บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ด้วยปัญญา



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.204 อังคาร, 6/5/2551 เวลา : 09:14  IP : 202.91.19.204   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25704

คำตอบที่ 8
       ยักษ์เจ้าปัญหา จึงได้ทูลถามต่อว่า

ทำอย่างไรจึงจะได้ปัญญา ทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อเสียง ทำอย่างไรจึงจะได้ทรัพย์
ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้

และทำอย่างไรจึงจะละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นโดยไม่โศกเศร้า


พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า

บุคคลที่เชื่อธรรมของพระอรหันต์ ไม่ประมาทในชีวิต พิจารณาธรรมอย่างถ่องแท้ย่อมได้ปัญญา

เพื่อบรรลุพระนิพพาน ไม่โศกเศร้า

ผู้ขยันไม่ทอดธุระ ทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้

บุคคลย่อมได้ช่อเสียงเพราะสัจจะ บุคคลผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.204 อังคาร, 6/5/2551 เวลา : 09:23  IP : 202.91.19.204   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25705

คำตอบที่ 9
       ผมขอขยายความอีกซักเล็กน้อยโดย ยกคำขยายความจากท่านอาจารย์ "วศิน อินทสระ"
ปราชญ์ทางพุทธศาสนาอีกผู้หนึ่ง ท่านกล่าวเอาไว้ว่าในบทบรรยายที่อัดเอาไว้ในเทปคาสเซ็ท
เมื่อหลายปีก่อน แต่ผมจะขอย่อ ๆ ออกมา หาผิดพลาดประการใดคงไม่ได้เกิดจากท่านอาจารย์
แต่จากผมเองที่ย่อความได้ไม่ดี

คนเรามีสิ่งปลื้มใจหลายอย่าง บางคนก็จากทรัพย์ บางคนก็จากเกียรติ บุตร ถรรยา มิตรสหาย ฯลฯ
ความปลื้มเหล่านั้น วันหนึ่งอาจจะนำความทุกข์มามาก พอ ๆ กับที่ทำให้เราปลื้มได้ สำรวจให้ดี
ใช้โยนิโสมนสิการให้ดี (คือการ การเอาใจใส่พิจารณาโดยแยบคาย) เราจะเห็นความจริงข้อนี้

เทวดามาทูลพระพุทธเจ้าว่า คนมีโคก็บันเทิงเพราะโค มีลูกก็บันเทิงเพราะลูก พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า
มีลูกก็เศร้าโศกเพราะลูก มีโคก็เศร้าโศกเพราะโค คนเรานั้นเดือดร้อนเพราะกิเลส

ขอให้เราระลึกอยู่เสมอว่าในโลกียวิสัยนั้น สิ่งใดนำความสุขชื่นใจให้แก่เราได้ สิ่งนั้นก้จะให้ความเจ็บปวด
ทุกข์ทรมานแก่เราไดเชนกัน เมื่อใจของเราไปผูกพันกับสิ่งเหล่านั้นเข้า มันก็จะทำอันตรายให้แก่เราเอง

ศรัทธาของบุคคลที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ไม่เคยสร้างความเจ็บปวด
ความผิดหวัง มีแต่ทำให้เกิดความศรัทธาและความปลื้มใจเพิ่มขึ้น
ถ้าเราศรัทธาในความดี เรื่องกรรมและผลของกรรม ปลงใจได้ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมมีกรรมเป็นของตน
ใครจะทำดีทำชั่วอ่งไร ก็ย่อมได้รับผลของกรรมอย่างนั้น ความคิดแยยนี้ทำให้ไม่ริษยาใคร ไม่เกลียดชังใคร เพราะจิตใจ
มีหลักยึด ไม่เลื่อนลอย ไม่เคว้งคว้าง สุขใจปลื้มใจอยู่ได้ด้วยการประกอบกรรมดี เพื่อเป็นเสบียงช่วยเหลือตน
ในการเดินทางในวัฏสงสารอันยาวนาน

นี่คือเรื่องศรัทธาที่เป็นทรัพย์อันเป็นเครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐ


ลักษณะของผู้มีศรัทธา จะทราบตามพุทธพจน์ที่ว่า ผู้ใดใครเห็นผู้มีศีล ปารถนาจะฟังธรรมของท่านผู้มีศีลนั้น

นำมลทินหรือความตระหนี่ออก กำจัดความตระหนี่ออกเสียได้ เราเรียกบุคคลนั้นว่า "เป็นผู้มีศรัทธา"
นี่คือข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสในพระไครปิฎกเล่มที่ 29 ข้อ 481 ใคร่เห็นผู้มีศีล ตรงข้ามกับผู้ไม่มีศรัทธา
ไม่ปรารถนาจะพบปะผู้มีศีล

ผู้มีศรัทธาเช่นนี้ก็มีพระ โสดาบันเป็นตัวอย่ง มั่นในพระรัตนตรัย พร้อมที่จะให้อยู่เสมอ
พระพุทธเจ้าจึงทรงมีบัญญัติวินัย ห้ามภิกษุไปบิณฑบาตรที่บ้านของอริยบุคคล (ถ้ารู้นะครับ)
เว้นแต่จะได้รับนิมนต์ เพราะว่าท่านเป็นผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา ถ้าเผื่อท่านไม่มีของ ท่านจะลำบากใจ

อย่างไรก็ตามการที่มีศรัทธาในพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่ท่านสอนให้เชื่อโดยไม่ต้องใช้ปัญญา
ปัญญาเป็นคณธรรมที่สำคัญที่ต้องมี เพื่อควบคุมศรัทธาให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ศรัทธาที่ถูกต้อง
ต้องอาศัยปัญญาเป็นที่เกาะก็จะสำเร็จเป็นประโยชน์ เป็นอริยทรัพย์ ศรัทธาจึงเป็นทรัพย์ที่ปลื้มใจ
ที่เป็นประโยชนืของคนในโลกนี้ เป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดทรัพย์ภายนอกที่บริสุทธิ์ด้วย
ถ้าไม่มีศรัทธาเป็นพื้นอยู่ในใจ อกุศลอย่างอื่นก็จะเข้ามายึดครอง เหมือนที่ว่างเปล่าถ้าไม่ปลูกต้นไม้
ที่ทำประโยชน์ วัชชพืชอย่างอื่นก็ย่อมจะงอกงามขึ้นมาแทน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.204 อังคาร, 6/5/2551 เวลา : 11:36  IP : 202.91.19.204   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25709

คำตอบที่ 10
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Rin จาก Rin 202.12.118.61 อังคาร, 6/5/2551 เวลา : 16:47  IP : 202.12.118.61   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25724

คำตอบที่ 11
       วันนี้ต้องก่อนนอนสักหน่อยแล้ว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.51.182 อังคาร, 6/5/2551 เวลา : 19:53  IP : 125.24.51.182   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25763

คำตอบที่ 12
      
ของดีใกล้ตัว ใครทำใครได้ วางไว้หน้าตัก เหลือเเค่หยิบใส่ตัวเรา





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree อังคาร, 6/5/2551 เวลา : 22:11  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25934

คำตอบที่ 13
       ปัญหาข้อที่สอง ที่ว่า อะไรที่บุคคลที่ประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า "ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้"

เรามักได้ยินคนบ่นเสมอว่า ทำไมชีวิตเขาจึงไม่มีความสุข เราไปที่ไหนมักจะได้ยินคนบ่นเรื่องทุกข์ให้ฟัง
ใครที่มีจิตใจอ่อนโยน เมตตากรุณา ฟังความทุกข์ของคนอื่นด้วยความตั้งอกตั้งใจฟังมักจะได้รับ
ความรักใคร่นับถือจากผู้อื่น ซึ่งมาเล่าเรื่องทุกข์ให้ฟัง ฟังแล้วถ้าช่วยให้คำแนะนำที่ดี ให้เขานำไปปฏิบัติได้ประโยชน์
แก้ปัญหาได้ ก็จะยิ่งเป็นีเคารพบูชาของผู้ที่มาปรึกษา

เราเคยเฉลียวใจบ้างหรือไม่ว่า ความทุกข์ ความเดือดร้อน เป็นผลของการทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง บกพร่องในหน้าที่
หรือทำในทิศทางที่ฝนต่อธรรมชาติ ฝืนต่อความจริง ซึ่งรวมเรียกว่ามิได้ประพฤติธรรมให้ถูกต้องนั่นเอง

ถ้าเรายอมรับว่าธรรมคือธรรมชาติ กฏของธรรมชาติ หน้าที่ต่อกฏของธรรมชาติ
และ ผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติต่อกฎธรรมชาตินั้น การปฏิบัติให้ถูกให้ควรต่อกรณี ๆ นั้น นั่นแหละ
คือการประพฤติธรม จะไม่เป็นทุกข์หรือมีทุกข์น้อยที่สุด

ธรรมที่คนประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ คือต้องประพฤติดี ประพฤติธรรมให้ถูกต้อง ไม่ใช่ประพฤติธรรมให้ทุจริต
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พึงประพฤติธรรมให้สุจริต อย่าประพฤติธรรมให้ทุจริต



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 พุธ, 7/5/2551 เวลา : 19:05  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26011

คำตอบที่ 14
       มาถึงปัญหาข้อที่สาม ที่พวกอาฬากวยักษ์ถามพระพุทธเจ้าว่า อะไรที่เป็นรสเลิศยิ่งกว่ารสทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า สัจจะเป็นเลิศกว่ารสทั้งหลาย

สัจจะแปลว่าความจริง แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ จริงทางกาย วาจา และใจ

จริงทางกายก็คือ ทำสิ่งใดที่พิจารณาด้วยปัญญาว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ชอบแล้วทำจริง ไม่จับจด
มีความพากเพียรสม่ำเสมอ ไม่รีบร้อน แต่ก็ไม่หยุดหย่อนไม่ย่อท้อ ถ้าต้องการผลมาก ต้องทำเหตุให้มาก
พระพุทเจ้าท่านตรัสไว้เสมอว่า ภาวิตา พหุลีกตา แปลว่า อบรมให้มาก ทำให้มาก
มหัปผลา โหติ มหานิสสา แปลว่า มีผลมาก มีอานิสงค์มาก

การทำงานเมื่อเริ่ม อาจจะฝืดฝืนใจ พอทำปสักครู่หนึ่ง ก็จะมีรสของการทำงาน อาจจะทำได้นานโดยไม่เบื่อหน่าย
บางคนจึงสามารถหมกตัวอยู่กับงานได้หลายวัน ถ้าทำงานด้วยความเบื่อหน่าย จะไม่เกิดรส แต่ถ้าทำด้วยความพอใจ
จะเกิดรสอย่างยิ่ง ความจริงทางกายจึงเป็นสิ่งมีรสอย่างนี้ ติดใจ จิตใจสดชื่นเบิกบาน

จริงทางวาจา หมายถึงการพูดจริงที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม วาจาจริงประกอบด้วยความอ่อนหวาน
เป็นประโยชน์และเป็นธรรมนั้น เป็นเครื่องดึงดูดใจ เกิดรสในการพูดจาสนทนากันเรียกว่าเสวนารส
ผู้ฟังรู้สึกชื่นใจ หวานหูมิรู้หาย จดจำรำลึกไว้เสมอ ระลึกขึ้นทีไรก็ปลื้มใจและรู้สึกรักผู้พูด

อีกประการหนึ่ง เรารับปากจะทำสิ่งใดกับใครแล้ว ก็ทำให้ได้จริงตามกำหนดเวลา
ไม่บิดพลิ้วแปรผันโดยเหตุที่ไม่สมควร หรือสักแต่ว่ายกขึ้นเป็นข้ออ้าง
เป็นผู้รักษาคำพูด เป็นที่เชื่อถือได้ สัทเธยย วจโส เป็นผู้มีวาจาเชื่อถือได้
ถ้าทำให้เขาไม่ได้ตามที่รับไว้ ก็รีบบอกคืนแต่เนิ่น ๆ หรือหาผู้ที่เหมาะสมทำแทน
ไม่ทำให้เขาเสียเวลารอคอยแล้วก็ไม่ได้อะไร ตามที่ตั้งใจไว้ นี่ก็คือจริงวาจาเป็นรสอย่างหนึ่ง

จริงใจ คือมีความซื่อตรง เที่ยงธรรม ไม่เจตนาจะหลอกลวงให้ผู้ใดเข้าใจผิด
หรือแสร้งกิริยาทำวาจาที่ไม่ตรงกับความรู้สึก แต่การที่บังคับตัวเองให้อดกลั้นอารมณ์ที่ไม่ดีไว้ได้
ไม่แสดงกิริยาวาจาหยาบคาย อย่างนี้สมควรทำ ไม่ถือว่าไม่จริงใจ
อันนี้เป็นโสรัจจะธรรม เราจะต้องแยกให้ได้ว่า อะไรเป็นโสรัจจะธรรม อะไรเป็นความไม่จริงใจ

คนที่คบหาสมาคมควรมีความจริงใจต่อกัน สิ่งนี้เป็นที่ต้องการของคนทุกคน ถ้าใครไม่จริงใจด้วยก็ไม่ชอบ
เราเองก็ไม่ชอบคนที่ไม่จริงใจต่อเรา เราควรจริงใจต่อผู้อื่นเสมอ เพื่อคบกันอย่างริงใจ และเกิดรสในการ
คบหาสมาคม เป็นรสเลิศไม่จืดจาง ซาบซึ้งตรึงใจอยู่ตลอดชีวิต คนที่มีความรักกันอย่างดูดดื่ม เหตุการณ์
จะชักนำพามาให้พบกันครั้งแล้วครั้งเล่า ชาติแล้วชาติเล่า เป็นกัลยณมิตรที่แท้จริง

กล่าวให้สูงขึ้นอีกซักนิด สัจจะคือธรรมของพระพุทธเจ้า นำผู้ปฏิบัติตามให้พ้นทุกข์ได้จริง เมื่อได้ลิ้มรสแห่งสัจจธรรมแล้ว
ก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่าเป็นรสเลิศเพียงใด สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ว่า รสแห่งพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 พุธ, 7/5/2551 เวลา : 22:02  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26018

คำตอบที่ 15
       ปัญหาข้อ 4 ที่อาฬากวยักษ์ถาม ว่าบุคคลมีชีวิตอยู่อย่างไรจึงจะเป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด

พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า ชีวิตผู้ที่อยู่ด้วยปัญญา ย่อมมีชีวิตที่ประเสริฐที่สุด

ทุกชีวิตต้องการความสุข แต่ทำไมสังคมโลกของเราจึงยังจมอยู่ในห้วงทุกข์ คำตอบก็คือ
เพราะว่าเรายังโง่เขลา เพราะอวิชชาคือความไม่รู้ เราไม่มีปัญญาพอที่จะทำให้เราบริสุทธิ์
ที่จะต้องทำตนให้ถูกต้องตามธรรม จนสามารถจะอาชนะความทุกข์ได้ รู้แต่รู้ไม่จริง
ไม่พอที่จะแก้ปัญหาชีวิตได้ อยู่ในกะลาครอบคืออวิชชาซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
ส่วนผู้ที่ปัญญาย่อมประสบสุขได้ แม้ในสภาวะที่น่าจะเป็นทุกข์

ปัญญาสหิโต นโร อิธะ อะปิ ทุกเขสุ สุขานิ วิน หติ แปลว่า ผู้มีปัญญาย่อมประสบสุขได้แม้ในสภาวะที่น่าจะทุกข์

เพื่อจะมีชิวิตที่ประเสริฐ เราต้องพยายามแยกให้ออกว่า อะไรเป็นของจริง อะไรเป็นของสมมุติ
เราเห็นเด็กแย่งของเล่นกันเห็นแล้วอดขำไม่ได้ แต่พอผู้ใหญ่แย่งของกันมันก็ไม่ต่างจากเด็ก

ปัญญานี้แหละทำให้จิตถอยออกมาจากความมัวเมา คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ ชื่อเสียง
ความสุขที่เจือด้วยทุกข์นานาประการ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 พุธ, 7/5/2551 เวลา : 22:26  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26019

คำตอบที่ 16
      
ปัญหาข้อที่ 5 ถามว่าทำอย่างไร เมื่อล่วงลับไปแล้วจึงไม่เศร้าโศก

สำหรบผู้ครองเรือน 4 ประการ เมื่อปฏิบัติให้ครบบริบูรณ์แล้ว อยู่ในโลกนี้ก็อิ่มเอิบมีความสุข
เมื่อล่วงลับไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก

นี่คำคำตอบของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสถึงธรรมของผู้ครองเรือน 4 ประการ เมื่อบุคคลใดปฏิบัติ
ให้บริบูรณ์แล้ว อยู่ในโลกนี้ก็อิ่มเอิบมีความสุข ล่วงลับไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก เพราะต้องไปดี คือสุขคติ

ธรรม 4 ประการดังกล่าวก็คือ

1 สัจจะ คือความจริง จริงกาย จริงวาจา และ จริงใจ
2 ทมะ ฝึกตน ฝึกอินทรีย์ มี ตา หู เป็นต้น
3 ขันติ คือความอดทน
4 จาคะ คือการเสียสละ

ธรรม 4 ประการนี้ เราได้ยินได้ฟังกันโดยมากอยู่แล้ว หลัก 4 ประการนี้ ทำให้เราเป็นคนกล้าทำกล้าพูด
กล้ายอมรับความจริงในสิ่งที่ตนทำและพูดนั้น สัจจะก็คือสัจจะ ทำให้เราลงมือฝึกตนเอง จุดมุ่งหมายที่เราตั้งใจไว้
ไม่ใช่อยากได้ดีอย่างลอย ๆ นี่ก็คือ ทมะ ก็คือการฝึกตนเอง แล้วก็ทำให้เรารู้จักรอคอยผลแห่งการงานที่เราทำไปแล้ว
ด้วยความอดทน สงบนิ่ง ไม่ทำไปบ่นไป เราสันโดษในผล แต่ไม่สันโดษในเหตุ ทำทำเหตุเรื่อยไป แต่ว่าผลจะได้สักเท่าไร
ก็แล้วแต่เหตุจะบันดาลให้เป็นไป มีความตั้งใจแน่วแน่ตามนั้น จนถึงกับว่า มีความรู้สึกไม่ต้องการอะไร
ก็สามารถอยู่เป็นสุขและสงบได้ การไม่ถอยกลับในความเพียร ทำให้เราเสียสละได้ทุกอย่าง เพื่อจะมุ่งหน้า
สู่ความสำเร็จที่มุ่งหวัง อันอะไร ๆ ที่จะมายั่วยวนให้เขวออกนอกทางไม่ได้ เข้มแข็งทนทานเมื่อต้องผจญภัยอันน่ากลัว
เพราะตังใจเสียสละเอาไว้แล้ว นี่คือจาคะ



กว่าจะได้ครบห้าข้อเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกันแฮะ

ความจริงยังมี อรรถกถา ในรายละเอียดเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงไปโปรดเหล่า อาฬากวยักษ์ บุคคลสำคัญในพุทศาสนา
ยังปรากฏใน อาฬากวสูตร ยักขสังยุต หากใครอยากทราบผมก็จะลงรายละเอียดให้ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 พฤหัสบดี, 8/5/2551 เวลา : 10:41  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26033

คำตอบที่ 17
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

BADDOGBADDOG จาก BADDOG 58.10.84.149 พฤหัสบดี, 8/5/2551 เวลา : 13:19  IP : 58.10.84.149   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26065

คำตอบที่ 18
       บทที่ 3

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ


บทนี้ กล่างถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า ที่เกี่ยวข้องกับช้างนาฬาคิรี ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูร่วมกับเทวทัต
ปล่อยออกมาเพื่อจะทำร้ายพระพุทธเจ้า ขณะที่พระองค์เสด็จบิณฑบาต ณ เมื่องราชคฤห์
และครั้งนี้ยังเป็นครั้งที่สาม ที่เทวทัตพยายามจะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า คือ

ในครั้งแรกส่งพลธนู เพื่อจะยิงพระพุทธเจ้าโดยที่ส่งไปเป็นชุด ๆ แรกส่งไปสี่คน
ชุดที่สองส่งไปแปดคน เพื่อฆ่าพลธนูชุดแรก
และส่งชุดที่สามสิบหกคน เพื่อให้ฆ่าพลธนูทั้งแปดในชุดที่สอง เรียกว่าเป็นการฆ่าปิดปากอะไรทำนองนั้นนั่นแหละครับ
ผลปรากฏว่าพลธนูทั้งหลายต่างเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าหมด การมุ่งร้ายครั้งนี้จึงไม่อาจทำร้ายพระพุทธเจ้าได้

ในครั้งที่สองเทวทัตได้ลงมือเองกลิ้งหินลงมาจากเขาคิชกูฏ ในขณะที่พระองค์ทรงเสด็จขึ้นเขา
เพื่อให้หินใหญ่นั้นทับพระพุทธเจ้า แต่จากพุทธบารมีหินใหญ่ก้อนนั้นค้างอยู่ไม่กลิ้งตกลงไป
แต่ไปกระทบเศษหินทำให้สะเก็ดหินไปกระทบพระบาทของพระพุทธเจ้า จนพระโลหิตรห้อ
ตามธรรมดาของพระพุทธเจ้าคือไม่มีใครสามารถทำพระโลหิตของพระองค์ให้ออกจากพระวรกายได้
ความตั้งใจทำร้ายในครั้งนี้จึงไม่ประสบผลเช่นเดิม

เทวทัตยังมีใจเจ็บแค้นพระพุทธองค์คือไม่อยากเห็นมีใครเด่นเกินตัวเอง
คิดแล้วเหมือนในปัจจุบันที่ยังมีพวกสิ้นคิดคอยอิจฉาริษยาผู้ที่เด่นดีกว่าตน
คิดแต่จะทำลาย ถึงกับใช้เด็กเลวมากล่าวกระทบกระเทียบดูถูกผู้ใหญ่บางท่านในนี้
อีเด็กเวรนั่นก็ยังไม่รู้ตัว ไม่กลับตัวกลับใจ ไม่เหมือนช้างที่เป็นสัตว์เดียรัจฉาน
ที่รู้ตัวยอมแทบเท้าพระพุทธองค์ ดังที่ผมจะเล่าให้ฟังต่อไป



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 พฤหัสบดี, 8/5/2551 เวลา : 17:48  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26078

คำตอบที่ 19
       คนคิดชั่วก็ยังคิดชั่วต่อไป ดุจดั่งเทวทัตหลังจากที่วางแผนมาสองครั้งแล้วไม่ได้ผล
จึงวางแผนในครั้งที่สาม คือคิดได้ว่ามีช้างดุร้ายอยู่เชือกหนึ่ง คือช้างนาฬาคิรี
ของพระเจ้าอชาตศัตรู เทวทัตเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอชาตศัตรูอยู่แล้ว
จึงยอมปล่อยช้างนาฬาคิรี เพื่อหวังจะให้มาทำร้ายพระพุทธเจ้า

วันนั้นก่อนที่จะปล่อยช้างออกมา ได้มอมเหล้าช้างด้วยเหล้าถึง 16 หม้อ แล้วปล่อย
ออกมาในตอนเช้า เพื่อจะได้มาทำร้ายพระพุทธเจ้า ซึ่งเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยพระอานนท์
และเหล่าภิกษุสงฆ์

ความจริงข่าวนี้ได้ร่วออกไปแล้ว ใคร ๆ ต่างก็เป็นห่วงพระพุทธเจ้า และห้ามพระพุทธเจ้า
อย่าได้เสด็จออกบิณฑบาต แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงนิ่งเฉยเสีย ออกบิณฑบาตตามปกติ
เมื่อได้เวลา เทวทัตก็ได้ปล่อยช้างออกมา

ทันใดนั้นพระอานนท์ ได้ออกมาขวางด้านหน้าเพื่อป้องกันมิให้ช้างมาทำร้ายพระพุทธเจ้า
ถึงกับยอมสละชีวิตท่านเพื่อปกป้องพระพุทธเจ้าเอาไว้ แสดงถึงความรักและเคารพพระองค์อย่างสูงสุด

พระพุทธเจ้าตรัสห้ามพระอานนท์ถึง 3 ครั้ง ว่า อานนท์ ท่านอย่าทำเช่นนั้น เป็นหน้าที่ของตถาคต
(คำว่าตถาคตเป็นคำกล่าวแทนตัวของพระพุทธเจ้า แปลว่า ท่านผู้ไปตรงตามความจริง)
ที่จะต้องปราบช้างเชือกนี้ด้วยความเมตตา ในบางตำราฉบับบกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้า
ทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ ให้พระอานนท์มาอยู่หลังพระงค์ เมื่อช้างวิ่งมาถึง พระพุทธเจ้าก็แผ่เมตตาไป
ช้างนาฬาคิรีที่กำลังเมาอยู่นั้น ได้กระทบถึงกระแสอานุภาพพระเมตตาของพระพุทธเจ้า
ซึ่งมีพลังแรงมหาศาล รู้สึกตัวมาหมอบแนบแทบเท้าพระองค์

พระพุทธเจ้าทรงให้โอวาทสั่งสอนช้างว่า เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานก็เพราะบาปกรรมที่ได้กระทำมาในอดีต
ชาตินี้อย่าได้ทำบาปอีกเลย ช้างก็เชื่อง ไม่ดุร้ายอีกต่อไป

ความพยายามของเทวทัตในครั้งนี้ก็ไม่ได้ผลอีกตามเคย สู้ความดีของพระพุทธเจ้าไม่ได้

ตอนเย็นนั้นเองมีการประชุมสงฆ์ ต่างกล่วถึงพระอานนท์ว่ามีความกล้าหาญ
เป็นมหามิตรของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ยอมสละชีพเพื่อพระองค์
พระพุทธเจ้าก็ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า พระอานนท์ที่ยอมสละชีวิตแทนพระองค์มิได้เพียงบัดนี้

แม้ในสมัยที่เป็นเดียรัจฉาน พระอานนท์ก็เคยได้สละชีวิตเพื่อพระองค์เช่นกัน
เมื่อภิกษุทั้งหลายการบทูลให้พระองค์ทรงแสดงเรื่องในอดีต

พระองค์ก็ทรงเล่าเรื่องในอดีต ที่พระองค์และพระอานนท์ได้เป็นมิตร ได้ช่วยเหลือกันอย่างไร



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 พฤหัสบดี, 8/5/2551 เวลา : 18:36  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26080

คำตอบที่ 20
      
ในอดีตกาล
มีหงส์ฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำ ณ เขาคิชกูฏ พญาหงส์ชื่อว่า ธตรฐ (ธะ-ตะ-รด) มีหงส์สนิทที่ชื่อว่า สุมุข
คราหนึ่งมีหงส์ไปหากินที่สระบัวหลวง รู้สึกพอใจจึงมาเล่าให้พญาหงส์ฟังว่าเป็นสระที่มีอาหารมาก
เป็นถิ่นของมนุษย์ แต่ก็ยังอยากที่จะไปหากินที่นั่นอีก

พญาหงส์จึงห้ามว่าถิ่นมนุษย์เป็นดินแดนที่อันตรายมากนกเช่นเราไม่ควรจะไป แต่บริวารก็อ้อนวอน
ครั้งแล้วครั้งเล่า จึงยอมอนุโลมและบอกว่าจะไปด้วย ในครานั้นมีหงส์บินตามไปเป็นจำนวนมาก
พอร่นอลงเทานั้น พญาหงส์ก็ติดบ่วงของนายพรานรัดเท้าไว้แน่น คิดจะทำให้บ่วงขาดจึงดึงเท้าอย่างแรง
อยู่หลายครั้ง จนบ่วงกินลึกเข้าไปถึงกระดูก จนเลือดไหลอย่างมากเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส

พญาหงส์จะร้องว่าติดบ่วงก็ห่วงว่าบริวารจะกินไม่อิ่ม จะไม่มีกำลังพอที่จะบินกลับ ก็จะตกทะเลตายเสียหมด
จึงรอเฉยอยู่ให้บริวารกินอาหารจนอิ่ม โดยที่ตนเองยอมทุกข์ทรมานอยู่ด้วยบ่วงที่รัดแน่นนั้น

รอจนเหล่าบริวารกินอาหารจนอิ่มจึงร้องด้วยเสียงอันดังว่าติดบ่วง หงส์บริวารทั้งหลายก็ตกใจ
ต่างพากันบินเป็นกลุ่ม ๆ กลับเขาคิชกูฏด้วยกันทั้งสิ้น

หงส์สุมุขก็บินไปกับบริวารเช่นกัน เพราะได้ยินว่าติดบ่วง แต่ไม่รู้ว่าเป็นใครที่ติด เมื่อบินไปได้ซักครู่หนึง
ก็นึกเฉลียวใจว่าอาจจะเป็นพญาหงส์ก็ได้ที่ติดบ่วง จึงบินด้วยกำลังทั้งหมดสำรวจหงส์ทุกฝูง เมื่อไม่เห็น
พญาหงสืก็คิดว่าอาจจะเกิดอันตรายแก่พญาหงส์ จึบินย้อนกลับมาที่สระ เห็นพญาหงส์ติดบ่วง
จึงปลอบใจว่า อย่ากลัวเลย เราจะอยู่เป็นเพื่อนตาย พญาหวส์จึงกล่าวว่า ขอท่านจงเอาตัวรอดเถิด
ไม่มีประโยชน์อะไรมนการที่จะอยู่ที่นี่ เรายังติดบ่วงอยู่ ความเป็นมิตรสหายจะมีประโยชน์อันใด

หงส์สุมุขกล่าวว่า จะอยู่หรือไปก็ต้องตายอยู่ดี ไม่สามารถหนีความตายได้
เมื่อท่านมีสุข เราก็อยู่ข้างท่าน เมื่อท่านมีทุกข์เราจะหนีหายไปได้อย่างไร ??
การตายพร้อมท่านประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่มีท่าน

พญาหงส์กล่าวว่า ผู้ติดบ่วงเช่นเราต้องเข้าโรงครัวเป็นอาหารแก่มนุษย์ มิมีประโยชน์อันใด
ที่ท่านจะต้องมายอมตายพร้อมเรา เป้นเรื่องที่ไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด

หงส์สุมุขกล่าวว่า เราคำนึงถึงความภักดีในท่าน มิได้เสียดายในชีวิต จึงมิได้เสียดายชีวิต
ธรรมดามิตร ย่อมไม่ละทิ้งมิตรในยามทุกข์ แม้จะต้องสละชีวิตก็ตาม

พญาหงส์กล่าว่า สุมุข ท่านประพฤติดีแล้ว ความภักดีท่านก็ได้แสดงออกมาแล้ว เราขอร้องให้ท่าน
ออกไปจากที่นี่ตามความต้องการของเรา และช่วยดูบริวารของเราให้ด้วย

ขณะที่หงส์ติดบ่วงอยู่นั้น นายพรานเกิดความสงสัยว่าเหตุใดหงส์ตัวที่มิได้ติดบ่วง จึงยืนอยู่ใกล้ ๆ
มิได้บินหนีไปเช่นหงส์ตัวอื่น ๆ นายพรานนั้นตามปกตินิยมความภักดีจึงได้ปล่อยพญาหงส์ออกไป

ความจริงมีรายละเอียดปลีกย่อยที่หงส์ได้สนทนากับนายพราน แต่ผมขอสรุปเลยแล้วกันครับ

เค้าเรื่องนี้มาจาก จุลลหังสชาดก อสีตินิบาต

เรื่องราวของพระอานนท์ยังมีอยู่อีกมาก มีหนังสือธรรมนิยายอิงชีวประวัติในพุทธกาลที่
น่าสนใจเล่มหนึ่งคือ "พระอานนท์ พุทธอนุชา" ที่แต่งโดยท่าน อ.วศิน อินทสระ เช่นกัน
พิมพ์ครั้งที่หนึ่งตั้งแต่ พศ 2509

หนังสือเล่มนี้ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ คือ ได้รับเกียรติเอ่ยอ้าง ไว้ในหนังสือ
Encyclopedia ในส่วนที่ว่าด้วย "วรรณคดีของโลกใน ศตวรรษที่ 20"
(Encyclopedia of World Literature in 20th Century)

โดยในหนังสือ บรรยายว่า

"ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในจิตใจของผู้คน อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วของสังคมและศีลธรรมที่เสื่อมคลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะประสบ
แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสนวุ่นวายเหล่านี้ ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา"
ซึ่งเป็นผลงานของ วศิน อินทสระ ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง
ในผลงานดังกล่าว ท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้
ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้วยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่ว ๆ ไป"


ฉบับที่ผมมีอยู่ตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 7 ในปี 2534 กระดาษเป็นสีน้ำตาลกรอบหมดแล้ว
ฉบับที่พิมพ์ใหม่ยังพอหาซื้อได้ครับ รูปเล่มและกระดาษดีกว่าแต่ก่อน




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 พฤหัสบดี, 8/5/2551 เวลา : 19:45  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26087

คำตอบที่ 21
       บทที่ 4

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

ชัยชนะประการที่ 4 กล่าวถึงชัยชนะต่อ โจรองคุลีมาล หลายท่านคงคงจะพอทราบเรื่องมาแล้ว
แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ผมก็ขอเขียนไว้ซักนิดเลยแล้วกันเผื่อว่าจะมีสมาชิกบางท่าน
ที่ไม่เคยอ่านเรื่องนี้มาก่อน เรื่องนี้ครูสมเกียรติ รอดน้อยเล่าให้ผมฟังสมัยที่ผมยังเรียนชั้น ป.5
ในโรงเรียนเทศบาล ครูสมเกียรติสอนเก่งมาก มีเรื่องราวสนุก ๆ เล่าให้นักเรียนฟังเสมอ
จนผมคิดว่าสมัยนี้จะมีครูดี ๆ ที่สอนเก่ง ๆ แบบครูสมเกียรติอีกหรือเปล่า

โจรองคุลีมาล แต่เดิมชื่อ อหิงสกะกุมารเป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต ถูกส่งไปเรียนที่สำนักตักกสิลา
แต่ถูกอาจารย์หลอกให้ไปฆ่าคนถึงพัน แล้วจะสอนสุดยอดวิชาให้ ความที่เป็นเด็กหัวอ่อน
หลงเชื่ออาจารย์จึงมิได้คิดพิจารณา จึงเที่ยวฆ่าคน พอมาก ๆ รายเข้าจำไม่ได้ว่าฆ่าไปกี่คน
จึงเอานิ้วมือของผู้ที่ถูกสังหารมาร้อยเข้าด้วยกันแล้วแขวนคอไว้ จะได้นับได้ว่าฆ่าไปกี่ราย
จากนั้นจึงถูกเรียกว่า องคุลีมาล หรือ อังคุลีมาลในบาลี แปลว่า มีนิ้วเป็นมาลัย

เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองคทรงใช้พระญาณทรงเล็งเห็นอุปนิสัยขององคุลีมาล ว่าทรงสามารถที่จะ
โปรดสั่งสอนได้ หากไม่เสด็จไปโปรด องคุลีมาลจะสังหารแม่ของตัวเอง ทำให้ตกนรกถึงขั้นอเวจี
(ถือเป็นกรรมหนัก ตกนรกทันที ไม่ว่าจะทำบุญ หรือบำเพ็ญตนมานานขนาดไหน)

พระองทรงคลายพยศขององคุลีมาลด้วย อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ก่อน แล้วจึงทรงโปรดสั่งสอนในภายหลัง


คำแปลในบทนี้ คือ โจรที่มีชื่อว่าองคุลีมาลมีฝีมืออันเก่งกาจ วิ่งเงื้อง่าไล่ตามพระพุทธองค์ไปหลายโยชน์
พระจอมมุนีได้เอาชนะด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ด้วยเดชแห่งพระจอมมุนีพระองค์นั้น ขอชัยจงมีแด่ท่าน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 พฤหัสบดี, 8/5/2551 เวลา : 20:07  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26088

คำตอบที่ 22
       อหิงสกะกุมาร เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล
ว่ากันว่าคืนที่เกิดนั้น อาวุธต่าง ๆ ลุกโพลงขึ้นเป็นอัศจรรย์ เป็นนิมิตรที่ไม่ดี
ผู้เป็นบิดาจึงตั้งชื่อว่า อหิงสกะ แปลว่าผู้ไม่เบียดเบียน เพื่อเป็นการแก้เคล็ด

อหิงสกะเป็นผู้ประพฤติตนเรียบร้อยเสมอมา ไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
เป็นคนใจดี ฉลาดและเชื่อฟังในคำสั่งสอนสองบิดามารดา และครูบาอาจารย์

เมื่อโตจนได้อายุพอที่จะไปศึกษาต่อระดับสูง บิดาจึงได้ส่งไปเรียนที่เมืองตักกสิลา
อยู่ใกล้ชิดอาจารย์ ปรนนิบัติอาจารย์แทนการเสียค่าเล่าเรียน สมัยนั้นมีศิษย์สองจำพวก
คือพวกหนึ่งปรนนิบัติอาจารย์แทนการเสียค่าเล่าเรียน อีกพวกหนึ่งไม่ต้องปรนนิบัติอาจารย์
แต่ต้องจ่ายเงินเป็นค่าเล่าเรียน ความจริงอหิงสกะกุมาร มีฐานะพอที่จะเสียค่าเล่าเรียนได้
แต่ก็ต้องการจะฝึกให้รู้จักการปรนนิบัติอาจารย์ ใกล้ชิดอาจารย์ บิดาก็เลยส่งให้ไปเรียน
ในฐานะธัมมันเตวาสิก ปรนนิบัติอาจารย์แทนการเสียเงิน

ความอิจฉาริษยาเกิดขึ้นกับศิษย์ร่วมสำนัก เนื่องจากความเก่งกาจและความดีของอหิงสกะกุมาร
แทนที่จะให้ดีกว่าเขากลับกลายเป็นการทำลายไม่อยากให้ใครดีเด่นไปกว่าตัว

นี่ก็เป็นแง่คิดว่าแม้ว่าเราไม่ได้ทำชั่ว ทำแต่ความดี เป็นคนเก่ง ก็มีคนทีคิดชั่ว ๆ อิษฉาริษยา
เกลียดเราเข้าไส้ เพราะความเก่งนี่เองเพาะศัตรูโดยไม่รู้ตัวไม่อาจรู้ได้ คนที่มีจิตริษยาแล้วมักจะไม่ชนะมัน
คนดีและคนเก่งจึงมีปัญหาเรื่องนี้เสมอ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยคิดจะแข่งกับใครนี่เป็นเรื่องที่จะต้องระวังเหมือนกัน
แหม ! โชคดีทีผมไม่เก่ง แถมมาอยู่แถว ๆ ดงมันสำปะหลัง ไม่มีปัญญาจะไปแข่งกับใครอยู่แล้ว



แผนการทำลายอหิงสกะก็เกิดขึ้นจากการรวมหัวกันของพวกขี้อิจฉา (เหตุการณ์มันคุ้นๆ แฮะเหมือนเพิ่งผ่านไปหยกๆ)
การจะทำลายใส่ความเรื่องชาติตระกูลก็ไม่ได้ เรื่องความโง่ก็ไม่ได้ จึงมีอยู่ช่องทางเดียวคือ
ยุยงอาจารย์ให้เกลียดชังอหิงสกะกุมาร

พวกแรกก็ยุยงอาจารยืบอกว่า อหิงสกะกุมารคิดจะตีตนเสมออาจารย์ ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง
แต่อาจารย์ก็ยังไม่เชื่อ

"น้ำหยดลงหิน ทุกวันหินมันยังกร่อน แต่หัวใจอ่อน ๆ ของเธอทำด้วยอะไร ?? "

หลาย ๆ ครั้งเข้า อาจารย์ก็เขวเหมือนกันครับ ไม่ได้เรียกอหิงสกะมาถามเลยแม้แต่น้อย อย่างที่
อาจารย์พึงจะถามศิษย์ หรือแบบพ่อลูกพึงจะถามกัน ฐานะลูกศิษย์เปรียบเสมือนลูก จะฆ่าด้วยตนเอง
ก็กลัวคำครหา ไหนกระนั้นเลยยืมดาบฆ่าคนดีกว่า อาจารย์จึงคิดอุบายบอกว่ามีวิชาหนึ่งจะสอนให้
แต่ต้องมีเครื่องมือประกอบคือต้องไปฆ่าคนมา 1000 คน เพื่อเป็นอุปกรณ์และเป็นการบูชาครู

อหิงสกะเป็นคนซื่อ เชื่อมั่นในคุณธรรมของอาจารย์ จึงได้จับอาวุธเข้าป่าฆ่าคน
เพื่อนำมาประกอบการศึกษาตามคำสั่งของอาจารย์ แรก ๆก็ฆ่าไปนับไป พอชักเยอะเข้าจำไม่ได้
ว่าฆ่ามากี่คนแล้วจึงตัดนิ้วมาร้อยเป็นมาลัย จึงโดนเรียกว่า องคุลีมาล มาแต่บัดนั้น

เมื่อคนในป่า ตามทางแพร่ง โดนฆ่าเรียบ ไม่มีคนให้ฆ่า คราวนี้ก้ต้องบุกตามหมู่บ้านแล้วละครับ
ผู้คนต่างกลัวหลบหนี เข้าไปอยู่ในเมือง ทหารที่ส่งไปปราบก็พ่ายแพ้กลับมาจนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่ชาวเมือง
พอบอกว่าองคุลีมาลมาเท่านั้นแหละ เด็ก ๆ ร้องไห้กระจองอแง หรือถ้าเด็กดื้อก็บอกว่าจะส่งให้องคุลิมาล

ปุโรหิตผู้ป็นบิดาขององคุลิมาล ทราบว่าโจรร้ายผูมีนิ้วเป็นมาลัยคงเป็นบุตรของตนเป็นแน่แท้
จึงปรึกษากับภริยาว่า เราต้องไปช่วยลูก มิฉะนั้นวันใดวันหนึ่งจะต้องถูกพระราชาจับมาประหารแน่นอน

แต่พราหมณ์ผู้เป็นบิดาไม่ยอมไป แถมยังอ้างสุภาษิตว่า ไม่ควรวางใจคน 4 จำพวกคือ

1 ไม่ควรไว้ใจโจรว่าเป็นเพื่อนเก่า
2 ไม่ควรไว้ใจเพื่อนว่าคบมานาน
3 ไม่ควรไว้ใจพระราชาว่านับถือหรือโปรดปราน
4 ไม่ควรไว้ใจหญิงว่าเป็นญาติของเรา

พูดง่าย ๆว่า กูไม่ไป (ขอโทษทีใช้คำไม่สุภาพ)

เมื่อสามีไม่ไป ผู้เป็นมารดาก้ต้องไปเอง โดยตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า จะนำบุตรกลับมาให้ได้
โดยไม่หวั่นเกรงต่อภัยอันตรายใด ๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 พฤหัสบดี, 8/5/2551 เวลา : 21:49  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26094

คำตอบที่ 23
       ติดตามครับ ติดตาม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak 117.47.7.208 เสาร์, 10/5/2551 เวลา : 16:04  IP : 117.47.7.208   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26144

คำตอบที่ 24
       เช้าวันเดียวกันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตรวจอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ที่พระองค์พอจะโปรดได้
องคุลีมาลได้เข้าสู่ข่ายพระญาณว่าทรงที่พอจะโปรดได้ พระองค์ทรงมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคต
ว่าผลดีอะไรที่จะเกิดขึ้น มารดาขององคุลิมาลจะปลอดภัย และองคุลิมาลเองจะไม่ประกอบ
อนันตริยกรรม ซึ่งเป็นกรรมหนักที่สุดแก้ไขไม่ได้คือการฆ่าบิดามารดา ตกนรกสถานเดียว ไม่อาจบรรลุธรรมได้

พระองค์จึงเสด็จออกบิณฑบาตไปแต่พระองค์เดียวในเส้นทางที่องคุลิมาลอยู่ ขณะนั้นโจรองคุลิมาล
กำลังมีน้ำโห เนื่องจากหาเหยื่อไม่ได้เป็นเวลานานขาดอีกแค่คนเดียวก็จะครบ 1000 ราย
เห็นใครก่อนก็จะฆ่าพื่อให้ได้เต็มจำนวน เพื่อที่จะได้สุดยอดวิชาจากอาจารย์

องคุลิมาลออกมายืนอยู่ชายป่า เห็นพระพุทธเจ้าแต่ไกลเสด็จมา ท่าทางสง่างามก็นึกสงสัยเป็นกำลังว่า
เหตุใดจึงกล้ามาคนเดียว ขนาดมากันหลายคนยังโดนเราฆ่าเสียหมด เหยื่อรายสุดท้ายนี้ช่างง่ายจริงหนอ

พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภินิหาริย์ เรียกว่า "อิทธาภิสังขาร" แม้ว่าองคุลิมาลจะวิ่งอย่างสุดกำลังก็ไม่สามารถ
ที่จะตามพระองค์ได้ทัน ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงเสด็จไปอย่างปกติ

เมื่อวิงตามไปสักพักหนึ่ง องคุลิมาลเริ่มคิดได้ว่าแม้แต่ ม้าที่กำลังวิ่ง เรายังสามารถตามได้ทัน แต่เหตุไฉนแม้ว่า
เราวิ่งอย่างเต็มกำลัง ไม่ไม่สามารถตามสมณะผู้นี้ได้ทัน จึงหยุด แล้วตะโกนขึ้นว่า

"หยุดก่อน สมณะ ท่านจงหยุดก่อน"

ในพระไตรปิฏกองคุลิมาลสูตร เขียนไว้ว่า ฐิโต อหัง อฺงคุลิมาล ตวญฺจ ติฏฺฐ แปลว่า
"เราหยุดแล้ว ท่านจงจุดด้วยเถิด" พระองค์ตรัสตอบ

องคุมาลแปลกใจว่าเหตุใด สมณะผู้นี้จึงกล่าวเช่นนี้ น่าจะมีความหมายอะไรลึก ๆ อยู่ จึงถามถึงความหมาย
ที่แห่งถ้อยคำนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสตอบว่า

"เราหยุด ฆ่าสัตว์ทั้งหลายได้แล้ว ส่วนท่านยังไม่หยุดฆ่า ดังนั้นท่านจึงชื่อว่ายังไม่หยุด"

องคุลิมาลเป็นผู้มีปัญญา เมื่อได้ฟังดำรัสอันคมคายเช่นนี้ จึงได้ทิ้งดาบ ถวายบังคมที่พระบาทพระพุทธเจ้า
พร้อมทั้งทูลขออุปสมบท เป็นภิกษุ พระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกษุสัมปทาวิธี
แล้วนำองคุลิมาลสู่วัด เชตุวัน กรุงสาวัตถี




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.204 ศุกร์, 16/5/2551 เวลา : 21:40  IP : 202.91.18.204   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26339

คำตอบที่ 25
      

" มาร่วมฟังธรรมครับ "



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree 125.26.123.127 เสาร์, 17/5/2551 เวลา : 06:30  IP : 125.26.123.127   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26354

คำตอบที่ 26
       ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล แม้ว่าจะหวาดหมั่นต่อฝีมือโจรผู้นี้
แต่ด้วยขัตติยะมานะจึงจะเสด็จออกไปปราบโจรองคุลิมาล

ก่อนที่จะเดินทาง จึงไม่ลืมที่จะเสด็จออกไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน
ด้วยคิดว่า หากทรงเห็นเหตุการณ์ที่จะเป็นอันตรายต่อพระองค์ พระพุทธเจ้าก็จะทรงห้าม
และพระองค์ก็จะทรงไม่เสียหน้า หากพระองค์ไม่เสด็จไปปราบโจร จากการห้ามของพระพุทธเจ้า

พระเจ้าปเสนทิโกศล เล่าเรื่องโจรองคุลิมาล และทูลว่าที่เสด็จออกมานี้เพื่อปราบโจรองคุลิมาล

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "มหาบพิตร หากพระองค์ทรงทอดพระเนตรองคุลิมาล ผู้ปลงผมและหนวด
ออกบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการฆ่าสัตว์ มีศีล กัลยาณธรรม มหาบพิตรจะทำเช่นไร"

ประเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า "ข้าพระองค์ก็จะทำความเคารพ กราบไหว้ บำรุงด้วยปัจจัยสี่
แต่โจรอย่างองคุลิมาล จะเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร พระเจ้าข้า"

พระศาสดาจึงยกพระหัตถ์ชีไปที่พระภิกษุรูปหนึ่ง พร้อมทั้งตรัสว่า " มหาบพิตร องคุลิมาลนั่งอยู่ที่นั่น"

พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับตกพระทัยเป็นอย่างมาก ด้วยความเกรงกลัวต่อองคุลิมาล
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสปลอบมิให้กลัว บัดนี้ภัยจากโจรองคุลิมาลไม่มีอีกแล้ว

พระเจ้าปเสนทิโกศล การบทูลพระพุทธองค์ว่า มหัศจรรย์ยิ่งนัก มิเคยมีมาก่อน ที่พระพุทธองค์
ทรงฝึกคนที่ใคร ๆ ฝึกไม่ได้ โดยไม่ต้องใช้การลงโทษ ไม่ต้องใช้กำลัง ไม่ใช้อาวุธ จากนั้นจึงทูลลา

หลังจากบวช พระองคุลิมาลถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ต่อมาไม่นานได้สำเร็จ อรหัตตผล

เช้าวันหนึ่ง พระองคุลิมาลออกบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี หญิงมีครรภ์แก่
ท่าทางลำบากเพราะมีครรภ์ ตกใจกลัวเมื่อเห็นท่าน

เมื่อกลับจากบิณฑบาต ฉันอาหารแล้วจึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลสิ่งที่เห็นและความคิดให้ทรงทราบ

พระศาสดาตรัสว่า ถ้าต้องการช่วยเหลือเขา แล้วกล่าวสัจจะวาจา ว่า
"ตั้งแต่เกิดมาในอริยชาติคือได้บงชแล้ว เรามิเคยจงใจฆ่าสัตว์เลย ด้วยสัจจะวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านและครรภ์ของท่าน"

พระองคุลิมาลทูลรับคำของพระศาสดา แล้วกลับไปหาหญิงมีครรภ์ผู้นั้น ได้กล่าวกับเธอ
ด้วยความปรารถนาดี ตามคำที่พระพุทธเจ้าทรงสอน หญิงมีครรภ์นั้นก็คลอดได้ง่าย

มีคำโบราณาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า บทพระปริตองคุลิมาลสูตรนี้ มีอานุภาพถึงสิ้นกัปป์นี้
ไว้ผมค้นเจอจะเล่าให้ฟังในกระทู้ อานุภาพพระปริตต



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 เสาร์, 17/5/2551 เวลา : 12:30  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26360

คำตอบที่ 27
       บทที่ 5

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

แปลว่า นางจิญจมาณวิกา ใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง
ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์เพื่อกล่าวร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระจอมมุนีทรงเอาชนะด้วยวิธีสงบ ท่มกลางหมู่ชนเป็นอันมาก
ด้วยเหตุแห่งพระพุทธจ้านั้น ขอชัยมงคลจงมีแด่ท่าน


ชัยชนะประการที่ 5 กล่าวถึงเรื่องราวที่พระพุทธเจ้า ทรงชนะนางจิญจมาณวิกา
ที่ได้กลั่นแกล้งใส่ร้ายพระองค์ ว่านางมีท้องกับพระองค์ จนนชาวเมืองสาวัตถีต่างพากันเชื่อ
ว่าเป็นเรื่องจริง ยกเว้นแต่พระอริยบุคคล

เรื่องที่นางใส่ร้ายพระพุทธองค์ สืบเนื่องมาจากการยุยงของพวกเดียรถีย์ นิครนถ์
ที่อิจฉาริษยาพระพุทธเจ้าและหมู่ภิกษุสงฆ์ แต่พระบรมศาสดาก็ทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีสงบ

วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางหมู่พุทธบริษัท นางจิญจมาณวิกาได้ไปยืนด่า
พระพุทธเจ้าว่าดีแต่สอนผู้อื่น แต่ทำนางท้องแล้วไม่ยอมรับ ด้วยพุทธานุภาพ
สิ่งที่นางได้ยัดไว้ที่ท้องได้หลุดออกมา ปรกฏแก่สายตาเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย
ความจริงจึงได้ถูกเปิดเผยออกมา



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 เสาร์, 17/5/2551 เวลา : 20:03  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26365

คำตอบที่ 28
       เรื่องราวเริ่มต้นมีอยู่ว่า
ในสมัยที่เริ่มแห่งการประกาศพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เหล่าเทวดาและมนุษย์
ได้เข้าสู่อริยภูมิเป็นอันมาก คือเป็นพระอริยะนั่นเอง ลาภสักการะและความนับถือ
จึงมีเป็นอันมาก เกิดขึ้นแก่พระบรมศาสดาและเหล่าพระสาวก จนพวกเดียรถีย์นิครนถ์ทั้งหลาย
เสื่อมจากลาภสักการะ เปรียบกับแสงหิ่งห้อยเปรียบเทียบกับแสงอาทิตย์

จนถึงกับมายืนกลางถนนแล้วตะโกนว่าพระโคดมเท่านั้นเหรอที่เป็นพระพุทธเจ้า
พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน ทานที่ทำแด่พระสมณโคดมเท่านั้นหรือที่มีผลมาก
ทานที่ทำแก่พวกเราก็มีผลมากเช่นกัน ดังนั้นท่านทั้งหลายจงให้ทานแก่พวกเราบ้าง

ตะโกนขอกันหน้าด้าน ๆ เลยครับ แต่ไม่สำเร็จ จึงรวมหัวร่มประชุมกันว่าจะทำอย่างไรกันดี
อย่างว่าแหละครับ ยุคไหน ๆ ก็เหมือนกัน เมื่อพวกชั่ว ๆ ได้รวมหัวกันแล้ว
การที่จะคิดดีนั้นไม่มี ไอ้เรื่องเลวทรามต่ำช้านั้นฉลาดนัก ผลการประชุมเรื่องชั่วได้ออกมาว่า

จะต้องหาเรื่องใส่ความพระสมณโคดม เพื่อให้เหล่าชน หมดความเลื่อมใสในพระสมณโคดม
ลาภสักการะต่าง ๆ ความนับถือจะได้เกิดกับพวกเราดังเดิม ( พวกมันนะครับ มิใช่ผม )
ไม่มีช่องทางใดที่จะทำลายชื่อเสียงของพระองค์ได้ นอกจากมีอยู่ทางเดียว
คือต้องแผนหญิงงามเท่านั้น (สมัยสามก๊กยังใช้เตียวเสี้ยน) ทำลายชื่อเสียงพระสมณโคดม

ว่ากันว่านางจิญจมาณวิกา เป็นหญิงรูปงาม นางเป็นผู้ที่นับถือเหล่าเดียรถีย์มาก เมื่อได้ทราบว่า
เหล่าเดียรถีย์มีทุกข์ร้อน จึงรับอาสาที่จะทำหน้าที่นี้ให้เอง

แผนการของนางคือ ทำตัวเสมือนว่านางนั้นอาศัยอยู่ในวัดเชตวันทั้งคืน
ในช่วงเวลาเช้าที่เหล่ามหาชนเดินเข้าวัดนางก็เดินออกมา
พอตอนเย็นนางก็แต่งกายอย่างสวยงามเดินเข้าวัด

เมื่อถูกถามว่าพักที่ไหน นางก็จะตอบว่า นางอาศัยอยู่ในพระคันธกุฎีของพระพุทธองค์
ชาวพุทธทั้งหลายก็พากันสงสัยว่า สิ่งที่นางพูดเป็นความจริงหรือ ส่วนเหล่าพระอริยะบุคคล
นั้นมิมีผู้ใดเชื่อนางเลย

เวลาผ่านล่วงไปสามสี่เดือน นางก็เอาผ้าพันท้องให้หนาขึ้นเพื่อทำให้คนเข้าใจผิดว่านางมีครรภ์
เพราะอยู่ร่วมอภิรมย์กับพระสมณโคดมที่วัดเชตุวัน

พอถึงเดือนที่เก้า นางก็เอาไม้กลม ๆ ผูกไว้ที่ท้องห่มด้วยผ้าทับเอาไว้
เอาไม้ทุบหลังมือหลังเท้าให้บวมขึ้น เพื่อล่อลวงให้คนทั้งหลายเข้าใจว่านางท้องแก่ใกล้จะคลอด

เย็นวันหนึ่ง ขณะที่พระบรมศาสดากำลังแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางเหล่าพุทธบริษัท
นางได้ไปยืนต่อพระภักตร์พระองค์ แล้วกล่าวว่า

"ท่านดีแต่แสดงธรรมต่อเหล่ามหาชน เสียงของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก แต่พระองค์มิได้สนใจ
ดูแลเอาใจใส่ในตัวหม่อมฉันที่ใกล้จะคลอด แม้พระองค์ไม่ทำเอง ก็สมควรที่จะตรัสบอก
ศิษย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ให้ช่วยเหลทอหม่อมฉัน"

"น้องหญิง เรื่องนี้ เราทั้งสองเท่านั้นที่รู้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง" พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบ

นางจิญจมาณวิกาโกรธจัด กระโดโลดเต้นจนเชือกขาด ผ้าและท่อนไม่ที่ยัดเอาไว้หลุดออกมา
นางอับอายมากที่โดนจับได้ว่า รีบวิ่งหนีออกมา จนโดนธรณีสูบที่หน้าวัดไปเกิดในมหาอเวจีนรก
ถ้าจะให้สันนิษฐานแบบยุคปัจจุบัน ผมว่าคงโดน "ตีนแขก" รุมกระทืบจมดินหน้าวัดนั่นเอง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.205 เสาร์, 17/5/2551 เวลา : 20:47  IP : 202.91.18.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26368

คำตอบที่ 29
       ถ้าเล่าตามตำนานในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสกับนางจิญจมาณวิกาแล้ว ก็ร้อนถึงท้าวสักกะเทวราช
ก็พระอินทร์นั่นแหละครับ ร้อนอาสน์ต้องเสด็จลงมาพร้อมกับเทพบุตรอีก 4 องค์
มีนามว่าอะไรบ้างผมก็มิทราบเหมือนกัน เทพบุตรแปลงกายเป็นลูกหนูเข้าไปกัดเชือก
ที่นางผูกไว้ จนขาด ผ้าและท่อนไม้ก็หล่นออกมา

วันรุ่งขึ้น เหล่าภิกษุทั้งหลายสนทนากันถึงเรื่องที่นางจิญจมาณวิกาใส่ร้ายพระบรมศาสดา
แล้วถูกธรณีสูบ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสว่า แม้ในกาลก่อนนางจิญจมาณวิกานี้ ก็เคยหาเรื่อง
ใส่ร้ายตถาคตและก็ถึงความพินาศเหมือนกัน แล้วพระองค์ก็ตรัสใจความสำคัญ
ในมหาปทุมชาดก ว่า

"ผู้เป็นใหญ่ ยังไม่เห็นโทษน้อยใหญ่ของผู้อื่นโดยประการทั้งปวงแล้ว
ไม่พิจารณาด้วยตนเองแล้ว ไม่พึงลงโทษหรืออาชญา"


เรื่องย่อใน "มหาปทุมชาดก" มีอยู่ว่า
ครั้งนั้นนางจิญมาณวิกา เป็นหญิงร่วมสามีกับพระมารดาของพระมหาปทุมกุมาร
นางมีใจปฏิพัทธ์ในพระมหาปทุม จึงยั่วยวนพระองค์ให้ประกอบกามกิจกับนาง
แต่พระโพธิสัตว์ทรงไม่ยินยอมตาม เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร

นางทำอาการเป็นไข้แสร้งว่ามีครรภ์ แล้วใส่ความพระมหาปทุมกุมารว่าเป็นผู้ทำ
พระราชาทรงกริ้ว มีรับสั่งให้นำพระปทุมกุมารไปทิ้งที่หุบเหวที่ทิ้งโจร
เหล่าเทวดาที่สิงสถิตย์อยู่ได้อุ้มพระโพธิสัตว์ไว้ พระยานาคราชนำท่านสู่ภิภพนาค
แบ่งราชสมบัติให้ครองครึ่งหนึ่ง

พระโพธิสัตว์อยู่ในนาคภิภพได้ปีหนึ่ง จึงเสด็จออกอยู่ป่า บวชได้ฌาณและอภิญญา
อันนี้แสดงถึงคนดีเมื่อตกทุกข์ได้ยากก็จะมีผู้ช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นใครก็แล้วแต่
ให้ได้รับความสุขสมควรแก่อัตภาพ

ต่อมาพรานผู้หนึ่งได้พบพระองค์ แล้วจำได้จึงนำความกราบทูลพระราชา
เมื่อพระราชาเสด็จมาเฝ้า ทราบเรื่องความเป็นมาทั้งหมด จึงทรงเชิญให้เสด็จกลับ
แต่พระปทุมกุมารโพธิสัตว์ทรงตอบปฏิเสธ และขอร้องให้พระราชาทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม
อย่าได้มีอคติ

เมื่อพระราชาเสด็จกลับพระนคร จึงให้จับมเหสีผู้กลั่นแกล้งใส่ร้ายพระโพธิสัตว์
ไปทิ้งที่ห้วงเหวโจร แล้วครองแผ่นดินโดยธรรม
ถึงเวลาแห่งกรรมที่ตนเองได้ทำไป ก็ต้องรับผลกรรมนั้นมาสนองเป็นคนไม่ดี ไม่มีใครมาช่วย

พระบรมศาสดาทรงประชุมชาดกว่า หญิงผู้นั้นคือนางจิญจมาณวิกา
ส่วนพระมหาปทุมนั้นคือพระองค์เอง

พระองค์ได้ตรัสในที่สุดว่า
"บุคคลผู้ล่วงธรรมอันเอกเสียแล้วคือสัจจะ มีปกติพูดเท็จ มีปรโลกอันข้ามเสียแล้วไม่ทำบาปเป็นไม่มี"

มีปรโลกอันข้ามเสียแล้ว คือไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า บุคคคลไม่มีสัจจะ มักพูดเท็จ
ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า จะไม่ทำบาปเป็นไม่มี

สันเตนะโส มะวิธินา การชนะด้วยความสงบ
อีกฝ่ายจะเย้ว ๆ เช่นไร ให้ไฟอิจฉา เผาใจมันไป แล้วกัน

เอ้า ผมเผลอใจไปได้อย่างไร อยู่ดี ๆ ก็วกเข้าเรื่องนั้นอีกแล้ว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.204 เสาร์, 17/5/2551 เวลา : 21:38  IP : 202.91.19.204   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26369

คำตอบที่ 30
       บทที่ 6

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้ที่ละทิ้งความสัตว์
ใฝ่ใจและยกย่องถ้อยคำของตนให้สูง ประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้ที่มืดบอด
พระจอมมุนีทรงเอาชนะด้วยปัญญา ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้านั้น
ขอชัยมงคล จงมีแด่ท่าน

บทนี้กล่าวถึง สัจจกนิครนถ์ผู้โอ้อวดหยิ่งทนงในความรู้ของตน เที่ยวโต้วาทีกับศาดาเจ้าลัทธิ
จนใคร ๆ ก็ครั่นคร้ามเกรงกลัว สัจจกนิครนถ์คุยโอ้อวดเสมอ สำคัญว่าตนมีความรู้มาก
จนต้องเอาปลอกเหล็กสวมที่ท้อง


เรื่องนี้มีปรากฏในพระไตรปิฎก จูฬสัจจกสูตร ดังนี้

คราหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่วัดป่ามหาวัน เมืองเวศาลี มีนิครนถ์ผู้หนึ่งชื่อว่าสัจจกะ
อาศัยอยู่ที่เมืองเวศาลี เป็นบุคคลที่มีความรู้ดี เป็นที่ยอมรับของหมู่ชน เรียกตนเองว่าเป็นปราชญ์
ได้ประกาศว่า เขาไม่เห็นผู้ใดที่จะโต้วาทีกับตนเองได้ ไม่ว่าใครถ้าคิดจะโต้วาทะกับตนแล้ว
ต้องหวั่นไหว ครั่นคร้าม

เช้าวันหนึ่งสัจจกนิครนถ์ออกมาเดิน พระอัสสชิ ปัญจวัคคีย์องค์สุดท้าย ที่กำลังบิณฑบาต
จึงเข้าไปหาแล้วถามท่านว่า "พระสมณะโคดมผู้เป็นอาจารย์ของท่าน สอนท่านอย่างไร"

"ศาสดาของพวกเราสอนว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นขันธ์ 5
ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา" พระอัสสชิตอบ

"ท่านคงฟังผิดกระมัง ถ้าท่านสมณโคดมสอนท่านเช่นนี้จริง เราจักต้องสอนท่านสมณโคดม
ให้มีความเห็นเสียใหม่ ที่ถูกต้องมากกว่านี้" สัจจกนิครนถ์กล่าว

จากนั้นสัจจกนิครนถ์จึงได้ไปพบเจ้าลิจฉวีที่กำลังประชุมกันอยู่ นำเรื่องราวที่สนทนากับพระอัสสชิ
ให้เจ้าลิจฉวีฟัง และว่าจะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม เปลี่ยนความคิดให้เหมือนกับหมุนหม้อเปล่า
จากนั้นจึงชักชวนเจ้าลิจฉวีให้ไปด้วยกัน

เหล่าเจ้าลิจฉวีได้ตามสัจจกนิครนถ์ ไปที่วัดป่ามหาวัน เพื่อฟังการโต้วาทะที่เกิดขึ้น
สัจจนิครนถ์ทูลถามพระบรมศาสดาว่า ท่านสั่งสอนสาวกว่าอย่างไร
พระศาสดาตรัสตอบเช่นเดียวกับที่พระอัสสชิได้ตอบ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 18/5/2551 เวลา : 12:59  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 26391

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,21 พฤศจิกายน 2567 (Online 7652 คน)