WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


เราจะได้อะไรจากเครื่องเร่งอนุภาค Large Electron-Positron Collider (LEP)
degsure
จาก degsure
IP:118.174.5.97

ศุกร์ที่ , 5/9/2551
เวลา : 22:15

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       โลกจะเปลี่ยนแปลงหรือเหมือนเดิมจากเครื่องนี้ ทฤษฏี E=MC2 จะถูกพิสูจน์หรือมนุษย์จะต้องเริ่มต้นใหม่ 10 กย นี้จะเดินเครื่องใช่ไหมครับ


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  4  5  

คำตอบที่ 31
       ก่อนที่ผมจะเล่าต่อเรื่อง Weak interaction แรงนิวเคลียร์ชนิดอ่อน Strong interaction แรงนิวเคลียร์ชนิดเข้ม ที่ไม่คุ้นเคยของคนส่วนมาก ผมขอปูพื้นฐานเรื่องของนิวเคลียร์ฟิสิกส์ทั่วไปก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานของของอะตอมและส่วนประกอบต่างๆของทางเดินอันยาวนานของการศึกษานิวเคลียร์ฟิสิกส์


เพราะว่าถ้าผมเดินหน้าต่อต้องมีคนงงว่าชื่อบางชื่อมันคืออะไร มันเป็นอนุภาคนรกอะไรที่อยู่ดีๆก็โผ่ลขึ้นมา หรือเครื่องจักรอะไรสร้างมาทำไม


ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าสิ่งเล็กที่สุดของสสารคืออะตอมมานับพันปีแต่ไม่มีใครสามารถศึกษาสิ่งที่เล็กขนาดนั้นได้จนเขาถึงร้อยปีที่ผ่านมาการศึกษาอะตอมได้พัฒนาขึ้นมาเครื่องมือที่ดีขึ้น แต่เราได้แต่ศึกษาได้เพียงแต่ "เงา" ของมันทิ้งเอาไว้เท่านั้น

ในยุคเริ่มต้นเราได้รู้ว่าอะตอมประกอบด้วย โปรตรอนและนิวตรอนเป็นแกนกลางที่เรียกว่านิวเคลียสและอีเล็กตรอนเป็นวงรอบเหมือนดวงจันทร์โคจรรอบนิวเคลียส






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 17:41  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31941

คำตอบที่ 32
       ผมขอย้อนเวลาไปอีกถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองประมาณสิบปี จำเรื่องฮุ้งปวยเอี้ยงปล่อยพลังไหมฟ้าไปที่โต๊ะโกบ้อเต๊กได้ไหมครับที่ผมบอกว่าการส่งแรงอะไรระหว่างอีกก้อนมวลไปยังมวลอีกก้อนมันต้องมีตัวกลางหนึ่งตัวที่เป็นพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตั้ม


ต่อมามีนักฟิสิกส์อีกคนคือ Hideki Yukawa เสนอว่าการที่นิวตรอนและโปรตรอนมันยึดตัวกันได้มันต้องมีอะไรสักอย่างส่งแรงมายึดมันด้วยกัน และเรียกอนุภาคนี้ว่า ไพเมซอน Pi mezon และคำนวนประกอบว่ามันจะต้องมีมวลประมาณ 200เท่าของอีเล็คตรอน ซึ่งต่อมาอีกก็พบมันจริงๆในรังสีคอสมิก

การที่อยู่ๆมันมีอนุภาคอื่นที่ไม่ใช่ อีเล็คตรอน โปรตรอน นิวตรอน โผล่ขึ้นมาทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้สึกถึงสิ่งใหม่ในโลกของนิวเคลียร์ฟิสิกส์ทำให้ความคิดในรูปแบบอะตอมเก่าๆเปลี่ยนไปสิ้นเชิงจุดนี้แหละที่เปิดประตูเรื่องของอะตอมออกไปกว้างกว่าเดิมจนถึงทุกวันนี้






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 17:51  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31942

คำตอบที่ 33
       จากการศึกษาต่อเนื่องในยุโรปสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองได้พบว่ามันมีอะไรที่เล็กกว่านั้นเกิดขึ้นมาในการศึกษาการแตกตัวของอะตอมแต่ก็ยังไม่มีเครื่องมืออะไรไปวัดค่าได้จะบอกว่าการศึกษาอะตอมในยุคแรกๆนั้นเกิดจากการคำนวนทางคณิตศาสตร์อย่างเดียวก็ว่าได้

ต่อมาการศึกษากระบวนการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ของ Wolfgang pauli ได้พบว่ามีพลังงานหายไปจึงตั้งสมมุติฐานว่ามันต้องเอาพลังงานที่หายไปสร้างอนุภาคใหม่ขึ้นมา ที่เล็กกว่าสามตัวที่รู้จักกันได้ตั้งชื่อว่า นิวตริโน Nutrino ที่นาย Enrico Fermi เจ้าพ่อวงการคนหนึ่งที่ร่วมกันสร้างระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกได้ตั้งชื่ออนุภาคคู่ของอีเล็กตรอนตัวนี้ที่วัดไม่ได้

เพราะนิวตริโนมันไม่มีประจุดังนั้นมันจึงไม่ถูกจับโดยอะตอมข้างเคียงมันจึงมีอำนาจทะลุทะลวงสูงมากคือเกิดแล้ววิ่งหายไปไหนเลยก็ไม่รู้

ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองเราได้สร้างเตาปฎิกรณ์มาหลายๆเตาเพื่อใช้งงานได้มีการศึกษาต่อว่ามันมีอีเล็กตรอนที่วิ่งแปลกๆกว่าชาวบ้านคล้ยกับที่พบในรังสีคลอสมิกในธรรมชาติคือมันวิ่งสวนทางคล้ายกับว่ามันเป็นอีเล็กตรอนที่มีประจุบวก พวกนักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า มิวตรอน Muon

มันมีหน้าตาเหมือนอีเล็กตรอนแต่ไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวลเป็น 300เท่าของอีเล็กตรอน และยังเกิดพร้อมๆกันกับมิวออนนิวตริโนที่มีมวลสูงถึง 3500 ของอีเล็กตรอนออกมาคู่กันอีก ต่อมาได้พบอนุภาคใหม่อีกตัวได้ถูกตั้งชื่อว่า อนุภาคทาว Tua และยังมีอนุภาคทาวนิวตริโนเกิดขึ้นพร้อมกันอีกตัวเพิ่มมาอีก

ตอนนี้มีอนุภาคใหม่ๆเกิดขึ้นสามคู่ นักวิทยาศาสตร์เรียกอนุภาคกลุ่มนี้ว่า เล็ปตรอน Leptons







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 17:59  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31943

คำตอบที่ 34
       ตอนนี้นักฟิสิกส์ชักเริ่มไม่แน่ใจในทฤษฎีของไอสไตน์แล้วว่า E=MC^2 แล้วว่ามันจริงหรือเปล่าตรงที่มันมีอนุภาคที่ตรงข้ามเป็นคู่เสมอ ดังนั้นมันควรจะเป็น E= +-MC^2 เพราะมันมีมวล +- เป็นคู่


การสังเกตุนี้ถูกตั้งข้อสงสัยโดย Paul Dirac ซึ่งไอสไตน์ก็รู้ดีว่ามันจริงตามนั้น แต่ตอนที่ไอสไตน์ตั้งทฤษฎีนี้มันยังไม่อยู่ในยุคที่ค้นพบอนุภาคลบ พลังงานเป็นลบเป็นอย่างไรก็ไม่รู้เพราะสมัยนั้นยังรู้เพียงอะตอมมีเพียง อีเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน เท่านั้น

ต่อมานายCarl Anderson ก็ได้พบว่าเจ้าอีเล็กตรอนที่วิ่งในแนวทางประหลาดๆนั้นมันมีประจุเป็นบวกและทำอะไรตรงข้ามกับอีเล็กตรอนตลอดเวลา มันเลยถูกเรียกว่า antimater หรือปฎิสาร

มันตรงกันข้ามกับสสารที่เรารู้จักโดยสิ้นเชิง ต่อมาก็ถูกเรียกชื่อว่า โปรสิตรอน Positron และมั่นใจว่าถ้ามีอะไรที่ตรงข้ามกับอีเล็คตรอน มันต้องมีอะไรตรงข้ามกับ โปตรอน นิวตรอนด้วย และนิวตริโนก็ต้องมีแอนตี้นิวตริโนด้วย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 18:04  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31944

คำตอบที่ 35
       เมื่อห้าสิบปีก่อนได้มีการสร้างเครื่องเร่งอนุภาคขึ้นเพื่อศึกษาการแตกตัวและรวมตัวจากการชนของอีเล็กตรอน ได้ค้นพบอนุภาคเมซอนอีกหลายร้อยตัว ซึ่งอนุภาคนี้มันมากมายจนต้องเรียกเป็นกลุ่มเรีกว่ากลุ่ม แฮดรอน Hadron

เจ้าแฮดรอนนี่มันพบมากขึ้นเรื่อยๆจนจำไม่หมดจนนักฟิสิกส์ชักสงสัยว่ามันต้องมีอะไรสักอย่างมาประกอบตัวเป็นอนุภาค แฮดรอน แน่ๆ ไม่อย่างนั้นมันมากมายขนาดนี้หรอก

Murry Gell-Mann ได้เสนอแนวคิดขึ้นมาว่า มีอนุภาคที่เป็นพื้นฐานของ Hardrons อยู่และเรียกพวกมันว่า ควาร์ก Quark ต่อมา George Zweig ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคโปรตอนความเร็วสูงไปชนกันให้แตกสลาย และพบอนุภาคที่เขาเรียกว่าควาร์กจริงๆ และได้ทำการจับกลุ่มของอนุภาคต่างๆด้วยควาร์กสามตัว แนวคิดนี้สามารถอธิบายถึงการเกิดของแฮดรอนเป็นร้อยๆตัวก่อนหน้านี้ได้อย่างสิ้นเชิงไร้ข้อสงสัย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 18:11  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31946

คำตอบที่ 36
       วันนี้เอาเท่านี้ก่อนครับ พรุ่งนี้ผมจะเล่าเรื่อง ควาร์กแบบเต็มยศ เพราะถ้าไม่รู้ใส้ควาร์กอย่างหมดจดเราจะรู้เรื่องต่อไปไม่ได้

ผมขอเพิ่มเติมเรื่องของคำว่า ควาร์ก สักนิดว่า มาจากบทประพันธ์เรื่อง Finnegans Wake ของ James Joyce ในวลีที่ว่า "Three quarks for Muster Mark" คือเสียงของนกนางนวลร้อง ควาร์กๆๆๆ นั่นเอง

วันนี้เอาเท่านี้ก่อนครับ ความนี้ผมพูดเรื่องชื่ออะไรแปลกในครั้งหน้าก็รู้แล้วนะครับว่ามันคืออะไร





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 18:20  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31948

คำตอบที่ 37
       รออ่านนะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

fishing.tiger จาก อิทธิชัย 58.10.134.223 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 22:41  IP : 58.10.134.223   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31967

คำตอบที่ 38
       ยังงี้ตำราเรียนเก่าจะทำไงดีล่ะครับ

นอกตำราแบบสุดๆ เลยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 118.174.75.18 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 23:03  IP : 118.174.75.18   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31969

คำตอบที่ 39
       วันนี้เรามาดูกันว่าควาร์กมันมีอะไรบ้าง ทำงานอย่าไรถึงประกอบเป็น โปรตรอน นิวตรอน ได้

หลังจากที่โลกได้รู้จักควาร์กก็เริ่มศึกษากัยยกใหญ่ว่ามันทำงานอย่าไร เรารู้กันว่ามันประกอบกันด้วยควาร์กสามตัวรวมกันเป็นองค์ประกอบของส่วนย่อยอะตอมแต่พอมันประกอบกันแล้วมันแสดงตัวเป็น โปรตรอน นิวตรอน อย่าไร

ควาร์กแบบออกเป็นหกชนิดคือ ควาร์ก มีด้วยกัน 3 คู่ คู่ที่เล็กที่สุดมีชื่อเรียกว่า Up Quarkควาร์ก "ขึ้น" และ Down Quark ควาร์ก "ลง" ซึ่งค้นพบจากการให้โปรตอนพลังงานสูงวิ่งชนกัน โดยที่ควาร์กดังกล่าวมีมวลและประจุไฟฟ้าตามข้างล่างนี่เลย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 00:45  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31974

คำตอบที่ 40
       จากตรางข้างบนเราจะสร้างโปรตอนกัน โปรตอนเกิดจากการรวมกันของควาร์กดังนี้คือ u + u + d ทำให้ประจุไฟฟ้าของโปรตอนเป็น 2/3+2/3-1/3 = +1e ดังนั้นเป็นคำอธิบายว่าทำไมโปรตอนมีประจุบวก


เรามาสร้างนิวตรอนอีกตัวก็ได้ นิวตรอนเกิดจากการรวมกันของ u + d + d ถ้าบวกประจุของควาร์กทั้งสามตัวดู จะพบว่าประจุรวมเป็นศูนย์พอดี ดังนั้นนิวตรอนจึงไม่มีประจุ


เจ้าควาร์กนี่มันประกอบกันเป็นทุกอย่างแม้แต่ปฏิอนุภาคของนิวตรอนหรือแอนไทนิวตรอนประกอบด้วย แอนไทควาร์กสามอนุภาค คือ anti u + anti d + anti d ประจุรวมเป็น -2/3 + 1/3 + 1/3 = 0

ดังนั้น แอนไทนิวตรอน จึงเป็นกลางทางไฟฟ้าเหมือนกับนิวตรอน






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 00:52  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31976

คำตอบที่ 41
       เห็นหรือเปล่าว่าถ้าเข้าใจถึงกึ๋นของควาร์กแล้วมันอธิบายถึงการจับกลุ่มของอนุภาคต่างๆด้วยควาร์กสามตัว

แนวคิดนี้สามารถอธิบายถึงการเกิดของแฮดรอนเป็นร้อยๆตัวก่อนหน้านี้ได้อย่างสิ้นเชิงไร้ข้อสงสัยอย่างที่ผมเคยบอกไหมล่ะ แม้กระทั่งน้ำหนักของอนุภาคต่างๆก็หาได้โดยน้ำหนักของควาร์กเอามาบวกกันเข้าไป

ตอนนี้เรารู้จักควาร์กไปแล้วสองตัว ยังมีอีกสองตัวให้รู้จักคือ มีชื่อเรียกว่า Strange Quarkควาร์ก "ประหลาด" และ Charm Quark ควาร์ก "น่ารัก" มันมีลักษณะคล้ายกับคู่แรกยกเว้นมีมวลมากกว่า สองตัวนี้ค้นพบจากซากที่กระจายจากการชนกันของโปรตอนจาการยิงในเครื่องเร่งอนุภาค

และอีกคู่คือ Bottom Quark ควาร์ก "ล่าง" และ Top Quark ควาร์ก "บน" เมื่อดูคุณสมบัติแล้วก็พบว่าเหมือนกันสองรุ่นแรกแทบจะทุกประการยกเว้นแต่เรื่องมวลเท่านั้น

ตอนนี้เรามีครบหกตัวแล้วคือ Up = ขึ้น, Down = ลง, Strange = ประหลาด, Charm = น่ารัก, Top = บน, Bottom = ล่าง






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 00:58  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31977

คำตอบที่ 42
       การผสมตัวของควาร์กมันบังเอิญที่เข้ากันพอดีกับทฤษฎีแม่สี คือว่าการรวมตัวเป็นอนุภาคมันต้องผสมสีกันแล้วกลายเป็นสีขาวได้

ดังนั้นนักฟิสิกส์จึงกำหนดสีให้มันเป็นสีเฉพาะตัวของควาร์กแต่ละชนิดเสียเลยทั้งที่จริงแล้วมันไม่มีสีหรอก นักฟิสิกส์เข้าใจทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายโดยกำหนดให้ ควาร์กแต่ละตัวเป็นสี แดง เขียว น้ำเงิน


เรามาดูตัวอย่างกันเช่น โปรตอนเกิดจากการรวมกันของควาร์กดังนี้คือ u + u + d มันเป็นสีเหลือง d-สีแดง + u-สีน้ำเงิน สีของควาร์กทั้งสามตัวรวมกันแล้วต้องเป็นสีขาว

และยังมีควาร์ที่ตรงข้ามกันอีกหกตัวตามหลักการว่ามันต้องมีสิ่งที่ตรงข้ามกันเสมอ ดังนั้น ปฏิอนุภาคของควาร์กหรือ antiquark ก็จะมี 6 นั่นคือ Anti-Up , Anti-Down , Anti-strange , Anti-Charm , Anti-Top , Anti-Bottom และแต่ละชุด มี 3 สี แดงอมม่วง น้ำเงินอมเขียว และเหลือง ซึ่งผสมกันเป็นแอนตี้โปรตอน แอนตี้นิวตรอน ซึ่งผสมกันแล้วก็จะเป็นสีขาวอีกเช่นกัน

ผมพูดถึงตอนนี้แล้งคงจะงง มองแล้วงง ไปหมดแล้วใช่ไหมครับ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 01:01  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31978

คำตอบที่ 43
       เอาอย่างนี้ สมมุติว่าควาร์มันเป็นไอติมในร้านสเวนเซ่นที่ตักมาเป็นลูกๆ ควาร์กหกชนิดมันเป็นไอติม หก รสชาด แต่ละรสมันมี สาม สี ดังนั้นมันจะมีไอติมครบทุก รส ทุกสี 18ลูก


ถ้าจะรวมแอนตี้ควาร์กด้วยมันก็จะกลายเป็นไอติม 36 ลูก



ไอ้เจ้าแฮดรอนเป็นร้อยๆตัว โปรตอน นิวตรอน อีเล็กตรอน ที่เกิดขึ้นมามาจากควาร์กไอติมสเวนเซ่น 36ลูกนี่แหละครับ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 01:05  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31979

คำตอบที่ 44
       ผมพยายามจะเอาเรื่องที่เข้าใจยากมากๆของวิชาฟิสิกส์มาย่อยให้เป็นโจ๊กเหลวๆที่กินได้แบบไม่ต้องเคี้ยว

วิชานี้เป็นอะไรที่หินมากและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอ่านแล้วสามปีมันเปลี่ยนอีกแล้วของเก่าก็ใช้ไม่ได้อีกแล้วต้องปรับสมองใหม่

วิชานิวเคลียฟิสิกส์เป็นวิชาที่นักฟิสิกส์เองก็ไม่อยากจะเรียน ไปเรียนพวกเทอร์โมไดนามิกส์ ยังง่ายกว่าเพราะมันไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์ควอนตัมคำนวนให้ปวดหัว

ที่ผมเอามาเล่าให้ฟังพอจะเข้าใจได้หรือเปล่าครับ ถ้าไม่เข้าใจผมจะได้ช้าลงอีกนิดและอธิบายให้ง่ายขึ้นอีกหน่อยจะได้อ่านแล้วรู้เรื่องทั่วหน้ากัน

ตอนไหนผมไปเร็วเกินไป อ่านแล้วไม่รู้เรื่องก็บอกกันนะครับไม่ต้องอายกันว่าไม่รู้เรื่อง เพราะเรื่องแบบนี้มันไม่ได้ติดมาจากท้องแม่ อ่านไม่รู้เรื่องไม่ได้แปลว่าโง่เสียเมื่อไรกัน

คืนนี้เอาเท่านี้ครับ ครั้งหน้าผมจะคิดดูก่อนว่าผมจะข้ามไปภาคทฤษฎีเลยหรือยังจะปูพื้นฐานต่อเรื่อง ควาร์ก ระดับสูงกว่านี้ต่อให้อีก

ใช่แล้วมันยังมีระดับความรู้เรื่องควาร์กสูงกว่านี้แต่ผมคิดว่ามันอาจจะไม่จำเป็นสำหรับเรื่องที่ผมจะเขียนภาคทฤษฎี




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.47.238 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 01:19  IP : 125.24.47.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31980

คำตอบที่ 45
       อ่านไปได้แต่ร้อง แคว๊ก ๆ ๆ กางเกงขาสั้นเริ่มยืดออกมานิด ๆ แล้ว

หันไปหาไว ๆ ควิก มากินรอบดึกซะหน่อย
ท้องอิ่มแล้วกลับาอ่านอีกรอบ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 58.8.103.111 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 01:23  IP : 58.8.103.111   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31981

คำตอบที่ 46
       นอนดึกกันจังครับ วันนี้ถ้าใครตามการทดลองของจริงและมีผลทดลองเอามาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ

พอมีไอติมเลยง่ายไปเยอะเลยครับ อ.วอน มิน่าล่ะการทดลองอื่นๆ ที่ไม่สมเหตุผลจึงไม่อาจรอดสายตา อ.วอนไปได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 118.173.237.41 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 08:29  IP : 118.173.237.41   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31986

คำตอบที่ 47
      

กิน ไว ๆ ควิก เพราะควิก ไว ๆ หรือเปล่าครับพี่



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree 125.26.72.164 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 09:10  IP : 125.26.72.164   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31987

คำตอบที่ 48
       สองอาจารย์ นี่ท่าจะไม่หลับไม่นอนกัน อาทิตย์นึงนอนกี่ชั่วโมงเนี่ย ยอดคนจริง ๆ ขอนับถือ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ติ๊ก 124.120.75.91 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 10:21  IP : 124.120.75.91   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31991

คำตอบที่ 49
       ไอติมอาจารย์วอนไปไล่ที่ขี้เลื่อยในสมองผมออกไปเยอะเลย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak 117.47.94.217 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 11:58  IP : 117.47.94.217   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31997

คำตอบที่ 50
       บอกตามตรง ไม่รู้เรื่องเลยแต่ก็จะพยายามอ่านต่อไป



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Tommy_Prerunner จาก Tommy TOC812 118.173.146.229 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 12:44  IP : 118.173.146.229   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31998

คำตอบที่ 51
       ยิงแล้วมั้งครับ 14.30แล้วนี่

เรายังอยู่..ไม่หายไปในหลุมดำ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก TuiNui Krub 203.146.11.109 พุธ, 10/9/2551 เวลา : 14:36  IP : 203.146.11.109   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32001

คำตอบที่ 52
       ฮือๆๆๆๆ

อ่านมาได้ถึงแค่ คห.ที่ 23 มึน มึน มึน และมึน แถมไม่เข้าใจอีกตะหาก

รบกวน อ.วอน เอาแป๊บมาฟาด กบาลผมหน่อย เผื่อมันจะ Bright ขึ้นมาบ้าง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก jnipon 161.246.1.36 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 08:46  IP : 161.246.1.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32019

คำตอบที่ 53
       ตามข่าวแค่ทดลองให้โปรตรอนวิ่งแบบธรรมดาๆ เพื่อลองระบบและนำร่องการวิจัยเบื้องต้นเท่านั้นครับ ยังไม่ได้เร่งความเร็ว การทดลองต่อจากนี้จะค่อยๆ เร่งความเร็วจนเท่าที่เครื่องทำได้ จากนั้นจะปล่อยโปรตรอนในอีกเส้นทางหนึ่งและเร่งความเร็วจนเท่ากันจึงบังคับให้ชนกัน อาจจะ 1 เดือน หรืออีก 1 ปีก็ได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 125.27.92.210 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 09:22  IP : 125.27.92.210   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32020

คำตอบที่ 54
       ไม่ได้เปิดคอม สองวัน อ่านแทบไม่ทันครับ ที่ผมเข้าใจได้(ถึงจะไม่แจ่มแจ้ง)ก็เพราะเรื่องฮุ้งปวยเอี้ยงปล่อยพลังไหมฟ้าไปที่โต๊ะโกบ้อเต๊ก และก็ไอติมเซเวนเซ่น 36ลูกนี่แหละครับ เพราะมันคือภาพที่มีอยู่จริงในหัวสมอง(ขี้เลื่อย)ครับ
ผมคนนึงที่ชอบอ่านเรื่องแบบนี้มากกว่า การ์ตูน ห้าร้อยเล่ม/บาท



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก NJL 125.27.215.139 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 10:52  IP : 125.27.215.139   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32022

คำตอบที่ 55
       สวัสดีทุกๆคนครับ พอดี เพิ่งเข้ามาอ่าน

รบกวนถามอ.วอน ครับ ตาม คห.10 ถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ คนที่อยู่ใก้ลท่อเร่ง นี้ มากเท่าไร ก็จะมีความแก่(ชราภาพ) น้อยกว่า คนที่อยู่ห่างออกไป ใช่ไหมครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 12th Planet 61.28.161.162 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 11:10  IP : 61.28.161.162   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32023

คำตอบที่ 56
       ติดตามอ่านด้วยความอยากเรียนรู้
ผมต้องอ่านหลายๆเที่ยว เพื่อทำความเข้าใจ

ขอบคุณ อ.วอน ที่ให้ความรู้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tigerbeetle จาก Tigerbeetle 58.8.62.229 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 14:40  IP : 58.8.62.229   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32031

คำตอบที่ 57
       คราวนี้เรารู้จักใส้ในของอะตอมและอนุภาคแล้วนะครับ รู้เท่านี้พอดีกว่าผมจะไม่ต้องลงให้ลึกกว่านี้เพราะยิ่งลึกเดี๋ยวยิ่งงเพราะว่ามันต้องใช้การคำนวนแล้ว

ผมมาคิดดูว่าผมเล่าให้ฟังแบบเพื่อรู้ จะได้ไม่ต้องไปจมกับความรู้เมื่อหลายสิบปีก่อนว่าอะตอมมันมีแค่ โปรตรอน นิวตรอน อีเลคตรอน

รู้เพื่อเอาพื้นฐานไปอ่านบทความจากเมืองนอกแล้วไม่โดยฝรั่งมันหลอก เพราะฝรั่งโง่ๆบนอินเตอร์เน็ตมันมีเพียบไปหมด มันคิดว่าคนหัวดำตาดำต้องโง่กว่ามันทั้งที่จริงๆแล้วสอบแข่งกันที่ไรพวกนี้คะแนนสอบขี้ๆทุกที

ตังนั้นภาคต่อไปผมจะเล่าแบบไวไวควิก ชงน้ำร้อนก็กินได้ ผมจะไม่เดินเรื่องแบบสอนเด็กนักศึกษาที่ต้องรู้แบบเอาไปสอบ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.73.24 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 19:07  IP : 125.24.73.24   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32036

คำตอบที่ 58
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

earth1991 จาก ปา'ยุภักษ์ 202.57.143.214 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 19:20  IP : 202.57.143.214   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32037

คำตอบที่ 59
       ผมขอย้อนไปพูดเรื่อง 4 interactions ใหม่อีกรอบกันลืม

แรงในจักรวาลนี้มีเพียงสี่อย่างคือ แรงดึงดูด แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อ่อน แรงนิวเคลีลยร์เข้ม

ผมอยากให้ลืมเรื่อง พลังงานจน พลังงานรวย ความร้อน ความเย็น ไฟฟ้า เครื่องกล ไปเลยมันไม่ใช่อย่างที่รู้กันแล้ว ลืมให้หมดได้แล้วเดี๋ยวจะคุยกับวิทยาการใหม่ๆไม่รู้เรื่อง

แรงดึงดูดมันเป็นอะไรที่ลึกลับ ทุกวันนี้เรายังไม่รู้ว่ามันคืออะไร เราได้แต่รู้ว่ามันทำงานอย่างไร มีค่าเท่าไร แต่มันเกิดจากอะไรไม่รู้ ในบรรดาสี่แรงนี้มันอ่อนที่สุด มันแสดงออกมาระหว่างมวลสองก้อนหรือมวลหลายๆก้อน เช่นตัวเรากับโลกทำให้เราไม่โดนเหวี่ยงกระเด็นออกไปนอกโลก โลกกับดวงอาทิตย์ โลกกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์กับน้ำในทะเลทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง เนื่องจากมันเป็นแรงที่อ่อนในบรรดาสี่แรงดังนั้นการคำนวนบางอย่างในอะตอมหรือการเครื่อนตัวของอนุภาคเราจะตัดมันออกมิ้งไปได้เลย

แรงแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นแรงที่ยึดโยงอะตอมเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุล จากโมเลกุลเป็นผลึก จากผลึกเป็นมวลสาร จากมวลสารเป็นวัตถุต่างๆ เป็นแรงที่ทั้งดูดทั้งผลัก มันผลักเท้าเราไม่ให้จมลงดินเราจึงยืนบนพื้นได้ มันผลักไม่ให้น้ำผสมกับน้ำมันแต่ดูดให้เกลือละลายน้ำได้ มันทำให้ฝืดได้ด้วยคือแรงเสียดทาน มันทำให้ยางล้อรถเกาะถนนเพราะแรงเสียดทาน แต่เมื่อไรที่มันมีน้ำมันมาแทรกกลางระหว่ายางกับผิวถนนมันลื่นปืดเพราะแรงมันลดลง ทำไมน้ำมันลื่นกว่าน้ำเพราะแรงแม่เหล็กไฟฟ้าของโมเลกุลมันไม่เหมือนกัน

แสงก็เป็นแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีควาถื่ค่าหนึ่ง ความถื่ที่เปลี่ยนไปคือความต่างของสี อนุภาคที่นำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นสงคืออนุภาคโฟตรอนอย่างที่เล่าไปแล้ว

อย่าลืมหลักของควอนตัมนะครับว่าแรงทุกอย่างย่อมมีตัวกลางเสมอ แสงมีโฟตรอนเป็นตัวนำ แรงดึงดูดก็ไม่เว้นในกฎนี้ แรงดึงดูดมีอนุภาคกราวิตรอน Gravotron เป็นตัวนำแรงดึงดูดจากมวลหนึ่งไปอีกมวลหนึ่ง จากโลกไปดวงจันทร์ จากดวงอาทิตย์มายังโลก







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.73.24 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 20:37  IP : 125.24.73.24   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32039

คำตอบที่ 60
       ถูกเผงเลยครับ อ. ผมเกลียดคำนวณเข้าตับเลยครับ เดี๋ยวนี้ก็ยัง งงๆ อยู่ครับว่าชอบเรื่องพวกนี้ได้ไง (ก็ไม่รุ)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

j11net จาก NJL 125.27.215.139 พฤหัสบดี, 11/9/2551 เวลา : 20:46  IP : 125.27.215.139   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32040

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  4  5  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันเสาร์,23 พฤศจิกายน 2567 (Online 6448 คน)