WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


วันอาสาฬหบูชาสำคัญอย่างไร ??
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:202.91.18.200

เสาร์ที่ , 28/7/2550
เวลา : 18:04

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       สมัยที่ผมยังเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเทศบาล ผมจำได้ว่าคุณครูสมเกียรติ รอดน้อย
เคยสอนผมอ่านว่า อาสาน-หะ-บูชา แปลว่า วันบูชา ใน เดือนแปด ปีไหนมีเดือนแปดสองหน ให้ใช้วันในเดือนแปดหลัง
ตอนเด็ก ๆ เมื่อผมมีปัญหาอะไรที่ผมไม่เข้าใจ หรืออยากรู้อยากเห็น ผมจะถามครูสมเกียรติเป็นคนแรก
แม้กระทั่งนามสกุล "รอดน้อย" ผมยังถามคุณครูว่า รอดน้อย ทำไมยังมีชีวิตอยู่ ครูสมเกียรติตอบผมว่า
ครูเป็นคนสิงห์บุรี ลูกหลานชาวบางระจัน ศัตรูหน้าไหนมาแหยม เป็นอันว่าเหลือชีวิตรอดกลับไปน้อย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  4  5  

คำตอบที่ 31
       ครั้งที่ 8

ในพ.ศ.2020

มูลเหตุ : พระธรรมทินมหาเถระผู้เปรื่องปราดแตกฉานในพระไตรปิฎก ได้พิจารณาเห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้นมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก ด้วยการจำลองหรือคัดลอกกันต่อๆมาเป็นเวลาช้านาน จึงเข้าเฝ้าถวายพระพรขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าติโลกราช เมื่อได้รับการอุปถัมภ์แล้ว พระธรรมทินมหาเถระก็ได้เลือกพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกประชุมกันทำสังคายนา โดยการตรวจชำระพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา จารึกไว้ในใบลาน ด้วยอักษรธรรมของล้านนา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 1 ในอาณาจักรล้านนาหรือประเทศไทยในปัจจุบัน

สถานที่ : วัดโพธาราม ณ เมืองนพิสิกร คือ เมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย

องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าติโลกราช หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราช

การจัดการ : พระธรรมทินมหาเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยการกสงฆ์

ระยะเวลา : 1 ปี จึงสำเร็จ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 117.47.26.92 พฤหัสบดี, 9/8/2550 เวลา : 21:00  IP : 117.47.26.92   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11427

คำตอบที่ 32
       ครั้งที่ 9

ในพ.ศ.2331
มูลเหตุ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ทรงมีพระราชศรัทธาปรารถนาจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป ได้ทรงทราบจากพระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธานว่า เวลานั้นพระไตรปิฎกมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก แม้พระสงฆ์จะมีความประสงค์จะทำนุบำรุงให้สมบูรณ์ก็ไม่มีกำลังพอจะทำได้ พระองค์จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งปวงให้รับภาระในเรื่องนี้ ดังนั้น พระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธาน จึงได้เริ่มทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎกพร้อมทั้งคัมภีร์ลัททาวิเสส (คัมภีร์ไวยากรณ์บาลี) และได้จารึกไว้ในใบลานด้วยอักษรขอม ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

สถานที่ : วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

การจัดการ : สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน 218 รูป และมีราชบัณฑิตเป็นผู้ช่วยเหลือจำนวน 32 คน

ระยะเวลา : 5 เดือน จึงสำเร็จ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 117.47.26.92 พฤหัสบดี, 9/8/2550 เวลา : 21:00  IP : 117.47.26.92   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11428

คำตอบที่ 33
       ครั้งที่ 10

ในพ.ศ.2431

มูลเหตุ : ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ได้ 25 ปี ทรงปรารภจะบำเพ็ญพระมหากุศล ทรงเห็นว่าพระไตรปิฎกที่เขียนไว้ในใบลานไม่มั่นคง ทั้งจำนวนก็มากยากที่จะรักษา และเป็นตัวขอม ผู้ไม่รู้อ่านไม่เข้าใจ จึงมีพระราชศรัทธาให้พิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มแบบฝรั่งขึ้นใหม่ โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และพระเถรานุเถระทั้งหลายช่วยกันชำระ โดยคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย แล้วชำระแก้ไขและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ รวม 39 เล่ม เริ่มชำระและพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ.2431 สำเร็จเมื่อพ.ศ.2436 จำนวน 1,000 ชุด นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ที่ทำในประเทศไทย

สถานที่ : พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การจัดการ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และสมเด็จพระสังฆราช (สาปุสฺสกาว) ครั้งยังเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นประธาน มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ จำนวน 110 รูป

ระยะเวลา : 6 ปี จึงสำเร็จ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 117.47.26.92 พฤหัสบดี, 9/8/2550 เวลา : 21:01  IP : 117.47.26.92   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11429

คำตอบที่ 34
       ครั้งที่ 11

ในพ.ศ.2530


มูลเหตุ : ในปีพ.ศ.2530 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบปีนักษัตร สมเด็จพระสังฆราชทรงดำริเห็นว่าพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนานั้น มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ อันเกิดจากความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์กันต่อๆมา เห็นควรทำการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจสอบชำระให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และตีพิมพ์ขึ้นเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีพ.ศ.2530 จึงได้เจริญพรขอความอุปถัมภ์ไปยังรัฐบาลและถวายพระพรให้การสังคายนาครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อได้รับงบประมาณและพระบรมราชูปถัมภ์แล้ว จึงได้ดำเนินการสังคายนา เริ่มแต่ปีพ.ศ.2528 และเสร็จสิ้นลงเมื่อปีพ.ศ.2530 นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ทำในประเทศไทย

สถานที่ : พระตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์อุปถัมภ์ พร้อมด้วยรัฐบาล อันมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

การจัดการ : สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถระ) เป็นประธาน

ระยะเวลา : 2 ปี จึงสำเร็จ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 117.47.26.92 พฤหัสบดี, 9/8/2550 เวลา : 21:03  IP : 117.47.26.92   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11430

คำตอบที่ 35
      

จบแล้วครับ คราวนี้รู้แล้วนะครับ ใครถามจะได้ตอบได้ตอบถูก






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 117.47.26.92 พฤหัสบดี, 9/8/2550 เวลา : 21:05  IP : 117.47.26.92   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11431

คำตอบที่ 36
      
มีพระอรหันต์สำคัญในพุทธศาสนาอีกองค์ ชื่อพระโมคคัลลานะ ท่านเป็นเลิศในเรื่อง ฤทธิ์บารมี พี่ Von ทราบประวัติท่านบ้างหรือเปล่า ครับ ......



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Ethan_Hunt จาก Ethan_Hunt 125.25.244.252 พฤหัสบดี, 9/8/2550 เวลา : 21:52  IP : 125.25.244.252   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11432

คำตอบที่ 37
      


โห....เอางี้เลยเหรอ

งั้นเป็นพรุ่งนี้แล้วกันครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.43.241 พฤหัสบดี, 9/8/2550 เวลา : 23:22  IP : 125.24.43.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11433

คำตอบที่ 38
       กราบขอบพระคุณครับ อาจารย์ VON, พี่อีธาน, พี่หนุ่ม สุดยอด+รอบโลก ทุกท่านเลยครับ ผมต้องค่อยๆอ่านหน่อยครับ..ห่างธรรมมะมานาน.....



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chyvw จาก ชาย 202.44.210.31 ศุกร์, 10/8/2550 เวลา : 08:02  IP : 202.44.210.31   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11461

คำตอบที่ 39
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree ศุกร์, 10/8/2550 เวลา : 08:21  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11465

คำตอบที่ 40
      

ก่อนนอนผมขอส่งการบ้านป๋าอีธานเรื่องพระโมคคัลลานะในแบบของผม


แฟนนานุแฟนกระทู้ของผมคงจะรู้ดีว่าถ้าผมเล่าอะไรสักเรื่องจะเป็นเรื่องร้อยตอนจบ จะขุดลึกจนถึงราก ผมจะเล่าเรื่องพระโมคคัลลานะแบบแทรกพระสูตรไปเรื่อยๆ


ลองดูครับว่าผมจะทำให้พระธรรมของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏกย่อยง่ายๆได้สักเท่าไร ผมจะเอาพระโมคคัลลานะเป็นองค์หลักเดินเรื่องสลับพระสูตรไปเรื่อยๆ


ผมคิดว่าคำถามของป๋าอีธานทำให้ผมใช้พระไตรปิฏกในตู้หนังสือของผมคุ้มค่าขึ้นโดยผมจะเปิดอ่านแต่ผู้เดียวย่อมไม่คุ้มค่าที่ซื้อมา แต่ถ้าผมอ่านแล้วเล่าให้เพื่อนฟังน่าจะคุ้มค่ากว่า


กุศลใดที่เกิดจากการสดับพระธรรมในครั้งนี้ผมขอให้กุศลนี้สนองกลับแก่เพื่อนที่ตกทุกข์ได้ยากให้พ้นทุกข์โดยเร็ว และอุทิศแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงที่ร่วมในสงสารทุกชีวิต





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 00:29  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11529

คำตอบที่ 41
       ผมจะขอตั้งชื่อเรื่องว่า "พระโมคคัลลานะ อัครสาวกผู้พ่ายกรรม"


พระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละองค์ก็ล้วนเป็นผู้ทรงคุณความดี มีบารมี มีฤทธิ์ มีเดช ไปต่าง ๆ กัน


พระโมคคัลลานะ อรหันต์อีกองค์หนึ่งซึ่งทรงด้วยอิทธิฤทธิ์ จนหาพระอรหันต์องค์อื่นมาเปรียบเทียบไม่ได้ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาของเรา ยังยกย่องแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวกเบื้องซ้าย ของพระองค์ อันเป็นเลิศด้วยฤทธิ์

พระโมคคัลลานะนั้น เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านผู้หนึ่ง ผู้โมคคัลลานโคตรและนางโมคคัลลี เกิดในตำบลบ้านไม่ห่างแต่กรุงราชคฤห์ มีระยะทางพอไปมาถึงกันกับบ้านสกุลแห่งพระสารีบุตร


ท่านชื่อ โกลิตะ มาก่อน อีกอย่างหนึ่ง เขาเรียกตามโคตรว่า โมคคัลลานะ เมื่อท่านมาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว เขาเรียกท่านว่า โมคคัลลานะ ชื่อเดียว


จำเดิมแต่ยังเยาว์จนเจริญวัยได้เป็นมิตรผู้ชอบกันกับพระสารีบุตร มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีสกุลเสมอกัน ได้ศึกษาศิลปศาสตร์ด้วยกันมา



ในรูปคือสถูปบรรจุอัฐฐิธาตุของท่านที่นาลันทา บ้านเกิดของท่าน ผมเก็บรูปนี้มานานแล้วไม่คิดว่าจะได้ใช้ในวันนี้







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 00:43  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11530

คำตอบที่ 42
       มีเรื่องเล่าตามพระไตรปิฏกว่า

ที่ใกล้กรุงราชคฤห์ มีหมู่บ้านพราหมณ์อยู่ ๒ หมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านทั้งสองได้เป็นมิตรสหายสนิทสนมกันมาช้านาน และต่างก็มีบุตรชาย หัวหน้าพราหมณ์ หมู่บ้านหนึ่ง มีบุตรชายชื่อ อุปติสสะ อีกหมู่บ้านหนึ่งหัวหน้าพราหมณ์ก็มีบุตรชายเหมือนกัน ชื่อ โกลิตะ


อุปติสสะ และ โกลิตะ ได้คบหากันเป็นเพื่อนสนิท เล่าเรียนวิชาทางลัทธิพราหมณ์มาด้วยกัน แต่ก็มีความรู้สึกว่าแนวทางสั่งสอนของสำนักพราหมณ์ต่างๆ นั้น หาใช่ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริงไม่


ทั้งสองคนจึงต่างออกแสวงหาศาสดา ที่สอนอมตธรรมคือธรรมที่ไม่ตาย โดยให้คำมั่นสัญญากันว่า เมื่อฝ่ายใดสามารถได้พบศาสดาที่สอนธรรมเช่นนั้นได้ก่อน ก็ต้องกลับมาบอกอีกฝ่ายหนึ่งให้ทราบด้วย จะได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์พร้อมกัน


รูปเมืองนาลันทาครับ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก เป็นแหล่วศึกษาธรรมที่ใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณ แม้แต่พระเยซูก็ยังมาใช้ชีวิตวัยหนุ่มที่นี่ในนามว่า "อิชา" แล้วจึงกลับไปเยรูซาเร็มเพื่อประกาศธรรมของพระเจ้า








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 00:56  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11531

คำตอบที่ 43
       วันหนึ่ง อุปติสสะมาณพ ได้ไปพบ พระอัสสชิ ซึ่งเป็นภิกษุองค์หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นปฐมสาวกของพระพุทธองค์
ขณะนั้นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสะเห็นกิริยาสำรวมและสงบของพระอัสสชิ ก็เกิดความสนใจและเลื่อมใส


อุปติสสะจึงเดินตาม พระอัสสชิ จนท่านบิณฑบาตเสร็จ กลับไปฉันเรียบร้อยแล้ว จึงได้ช่อง เข้าไปถามว่า ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน


พระอัสสชิตอบว่า พระศาสดาของท่านคือพระสมณโคดม ซึ่งอยู่ในวงศ์ศากยะ ได้เสด็จทรงผนวชจนตรัสรู้โดยพระองค์เอง


อุปติสสะ จึงถามต่อไปว่า พระสมณโคดม ศาสดาของท่าน สอนธรรมอะไรเป็นสำคัญ ขอให้แสดงธรรมะนั้นให้ฟัง
พระอัสสชิก็กล่าวถ่อมตนว่า ท่านเพิ่งเข้ามาบวช ยังไม่อาจแสดงหลักธรรมได้กว้างขวางมากนัก ได้แต่กล่าวอย่างย่อๆ อุปติสสะ ก็บอกว่าไม่ต้องแสดงหลักธรรมให้ยืดยาวเยิ่นเย้อหรอก เอาแต่แค่ใจความก็พอแล้ว


รูปเมืองราชคฤห์ ปรับปรุงใหม่หัวมังกุฎท้ายมังกรยังไงก็ไม่รู้






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 00:59  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11532

คำตอบที่ 44
       พระอัสสชิ จึงกล่าวเป็นคาถาสั้นๆ รวมสี่บาท ความว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
เตสํ เหตุํ ตถาคโต พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ และความดับของธรรมเหล่านั้น
เอวํ วาที มหาสมโณ พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้


พระอัสสชิถ่อมตนว่าบวชใหม่ รู้น้อย แต่สามารถสรุปหัวใจของอริยสัจได้ในคาถาเพียงสี่บาทเท่านั้น แสดงว่าพระปัญจวัคคีย์รูปนี้เป็นผู้รู้จริง รู้ลึกถึงแก่นของหลักอริยสัจทีเดียว


ฝ่ายอุปติสสะ ได้ฟังคาถาที่พระอัสสชิกล่าวแล้ว ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม มองเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา แต่สรรพสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความดับสูญเป็นธรรมดาเช่นกัน


อุปติสสะจึงกลับไปหาเพื่อนที่ชื่อ โกลิตะ ตามที่สัญญากันไว้ บอกเพื่อนว่าได้พบศาสดาผู้ล่วงรู้อมตธรรมแล้ว
มาณพทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แถมยังพาบริวารของตนมีจำนวน ๒๕๐ คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย ทั้งหมดได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ประทานให้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา คืออุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธองค์

รูปเป็นฐานเจดีย์ที่พุทธคยาครับ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 01:04  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11533

คำตอบที่ 45
       มาณพทั้งสอง รวมทั้งบริวาร เมื่อได้อุปสมบทแล้ว และได้บำเพ็ญเพียร ไม่ช้านักก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด
พระอุปติสสะ รู้จักในวงการพระพุทธศาสนาว่า พระสารีบุตร คือเรียกขานท่านตามชื่อของมารดา คือเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี จึงชื่อว่าสารีบุตร หรือผู้เป็นบุตรของนางสารีนั่นเอง


ส่วนพระโกลิตะ ก็เช่นเดียวกันในทางพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า พระโมคคัลลานะ ตามชื่อของมารดาท่านเช่นกัน แปลว่าบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณี


พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ว่า เป็นอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีปัญญามาก ส่วนพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีฤทธิ์มาก


ในสมัยต่อมาเมื่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อย่างเช่นพระประธานในพระอุโบสถ หรือในพระวิหาร จึงนิยมสร้างรูปพระอัครสาวกทั้งคู่ ให้ยืนหรือให้นั่งอยู่สองข้างพระประธานด้วยกัน พระอัครสาวกที่สร้างขึ้นนั้นมีสองรูป คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ แต่ทั้งสองรูปมีร่างเหมือนกัน


การสังเกตว่าพระอัครสาวกเป็นรูปใด ก็ให้สังเกตว่าเบื้องขวาของพระประธาน คือพระสารีบุตรเถระ ส่วนด้านซ้ายของพระประธานคือพระโมคคัลลานะเถระ ต้องสังเกตด้วยว่าเมื่อเราหันหน้ากราบพระประธานนั้น ก็ต้องกลับกัน ด้านซ้ายของตัวเราคือพระสารีบุตร ส่วนด้านขวาของเราคือพระโมคคัลลานะ


รูปแม่น้ำเนรัญชรา แต่ตอนนี้แห้งไปหน่อย สมัยพุทธกาลน่าจะสมบูรณ์กว่านี้





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 01:09  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11534

คำตอบที่ 46
       ส่วนคาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิ กล่าวแก่ อุปติสสะมาณพนั้น เป็นการกล่าวสรุปในหลักธรรมสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา คือ อริยสัจ


อริยสัจมีสี่ประการ ประการแรก ได้แก่ ทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ประการที่สอง ได้แก่ สมุทัย ได้แก่ เหตุให้เกิดทุกข์ จึงเป็น เหตุ ที่ทำให้เกิด ผล คือ ทุกข์ ในประการแรก ประการที่สาม คือ นิโรธ คือความดับทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ทำให้ทุกข์นั้นดับสิ้นไป และประการที่สี่ซึ่งเป็นประการสุดท้าย คือ มรรค เป็นข้อปฏิบัติให้เกิดความดับทุกข์ นับว่าเป็น เหตุ อีกเหมือนกัน


เมื่อนำหลักอริยสัจสี่ประการนี้ เข้ามาพิจารณาตัวคาถา เย ธมฺมา จะเป็นดังนี้

คาถาบาทที่หนึ่ง มีความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ก็หมายถึง ทุกข์ ซึ่งป็น ผล อันเกิดจาก เหตุ ดังกล่าว

คาถาบาทที่สอง มีความว่า พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น นี่ก็คือเรื่อง สมุทัย ซึ่ง เหตุ เป็นอริยสัจข้อที่สอง

คาถาบาทสาม มีความว่า และความดับของธรรมเหล่านั้น ก็คือพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่อง นิโรธ และ มรรค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันเป็น ผล นำไปสู่ให้ถึงความดับทุกข์ในที่สุด

ส่วนคาถาบาทสุดท้าย ความว่า พระมหาสมณะมีวาทะไว้อย่างนี้ ก็คือ พระพุทธองค์ได้ ตรัสสั่งสอนไว้เช่นนี้



ในรูปเป็นถนนพระเจ้าพิมพิสาร






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 01:13  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11535

คำตอบที่ 47
       อันที่จริง คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิกล่าวนี้ มิได้หมายเฉพาะแต่เรื่องอริยสัจสี่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงหลักธรรมทั่วไปของพระพุทธศาสนาอีกด้วย


หลักธรรมของพระพุทธศาสนาโดยทั่วไป ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุ กับ ผล ผล ที่ดีต่างๆ ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ดีทั้งนั้น ซึ่งจะเรียกว่า บุญ หรือกุศลกรรมก็ได้ ส่วน ผล ที่ไม่ดีต่างๆ ก็ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ไม่ดี คือบาป หรืออกุศลกรรมนั่นเอง


พระพุทธองค์จึงได้ทรงชี้ให้เห็นว่า เหตุ ที่ดี คือ บุญหรือกุศลกรรมย่อมมี ผล ในทางที่ดี ส่วน เหตุ ที่ไม่ดี คือ บาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมมี ผล ในทางตรงข้าม


นอกจากนั้นยังตรัสชี้ เหตุคือทำความดี คือทำบุญหรือกุศลกรรม เพื่อให้เกิดผลที่ดีแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง ในทำนองเดียวกัน เหตุคือทำความไม่ดี คือทำบาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมนำผล ร้ายมาสู่ชีวิตของผู้ปฏิบัติเองเช่นกัน


พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่ได้สอน ให้คนหวังความช่วยเหลือเอื้ออำนวยจากพลังภายนอก หรือพลังเหนือธรรมชาติ ในรูปใดๆ ก็ตามแต่สอนให้เชื่อมั่นในหลัก "กรรม" คือการกระทำของตนเอง ถ้าทำดี ก็ย่อมได้ผลที่ดี ตรงกันข้าม ถ้าทำชั่วทำเลว ก็ย่อมได้รับผลร้ายหรือผลไม่ดีเอง


คาถา เย ธมฺมา ซึ่ง พระอัสสชิ กล่าวนั้น จึงเป็นการกล่าวคาถาสรุป รวมยอดของพุทธธรรมเดียว



ในรูปเป็นวิทยาลัยนาลันทาแต่เดิมมาสภาพเป็นเช่นนี้ครับ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 01:18  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11536

คำตอบที่ 48
       ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโปรดให้สลักแท่งศิลาจารึกคาถาบทนี้ไว้มากมาย ต่อมามีผู้ขุดค้นพบหลักศิลาจารึกดังกล่าวนี้อยู่ทั่วไปในชมพูทวีป แสดงว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเลื่อมใสในคาถา เย ธมฺมา บทนี้ ว่าเป็นคาถาซึ่งสรุปหัวใจพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุมทีเดียว


มีเกร็ดเล่า เมื่อก่อสร้างโรงแรมอินทรา ที่บริเวณประตูน้ำ ผู้ลงทุนได้มาปรึกษาท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่าจะสร้างศาลพระพรหมอย่างโรงแรมอื่นเขาบ้างจะดีไหม


ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้แนะนำว่า ไม่ควรสร้างเทวรูปตามลัทธิพราหมณ์ แต่ควรสร้างเป็นศาลประดิษฐานรูปธรรมจักร ที่ฐานสลัก คาถา เย ธมฺมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนาจะเหมาะสมกว่า เชื่อว่าศาลที่มีรูปธรรมจักร และจารึกคาถาบทนี้ ก็คงยังตั้งอยู่ที่โรงแรมแห่งนั้น.


ในรูปเป็นเมืองราชคฤห์ ถนนพระเจ้าพิมพิสารทางขึ้นเขาคิชกุฏ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.56.44 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 01:22  IP : 125.24.56.44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11537

คำตอบที่ 49
       คืนนี้คงเอาเท่านี้ก่อนนะครับ ผมต้องขอตัวไปนอนแล้ว หวังว่าธรรมะแบบต้มโจ๊กย่อยง่ายจะพออ่านกันได้นะครับ

ถ้าใครเปรี้ยวงานนี้ผมจะลงพระสูตรแบบเนื้อๆตัวจริงแบบไม่แปลเสียเลย

พรุ่งนี้ผมจะเล่าเรื่องพระโมคคัลลาต่อ วันนี้ท่านได้บวชก็คงพอแล้ว



สุดท้ายเป็นสิ่งที่ป๋าอีธานร้องขอ หลวงพ่อดำพระพุทธรูปองค์เดียวที่รอดจากการทำลายของทัพอิสลามในนาลันทา

อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา ของผมพอเข้าวัดไหวไหมครับท่านเจ้าคุณอีธาน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 01:28  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11538

คำตอบที่ 50
       ขอบพระคุณครับอาจารย์ ติดตามอ่านอยู่ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ชาย rott 202.57.175.81 เสาร์, 11/8/2550 เวลา : 11:25  IP : 202.57.175.81   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11552

คำตอบที่ 51
      

หลังจากอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ เกิดความอ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงสั่งสอน และแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วง ๘ ประการ คือ


๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไร ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก จะละความง่วงนั้นได้


๒. หากยังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาแล้วด้วยใจของเธอเอง จะละความง่วงได้


๓. หากยังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาโดยพิสดาร จะละความง่วงได้


๔. หากยังละไม่ได้ เธอควรยอนหูทั้งสองข้างและลูบด้วยฝ่ามือ จะละความง่วงได้


๕. หากยังละไม่ได้ เธอควรลุกข้นยืน ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ จะละความง่วงได้


๖. หากยังละไม่ได้ เธอควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญในแสงสว่าง ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีจิตใจแจ่มใสไม่มีอะไรห่อหุ้ม ทำจิตอันมรแสงสว่างให้เกิด จะละความง่วงได้


๗. หากยังละไม่ได้ เธอควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายว่าจะเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก จะละความง่วงได้


๘. หากยังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้น พอเธอตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้น ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่ประกอบสุขในการนอน จะไม่ประกอบสุขในการเอนหลัง จะไม่ประกอบสุขในการเคลิ้มหลับ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.42.62 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 03:14  IP : 125.24.42.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11572

คำตอบที่ 52
       ครั้นตรัสสอนอุบาย สำหรับระงับความง่วงอย่างนี้แล้ว ทรงสั่งสอนให้สำเหนียกอย่างนี้ว่า


"เราจักไม่ชูงวง (คือการถือตัว) เข้าไปสู้ตระกูล จักไม่พูดคำที่เป็นเหตุให้คนเถียงกัน เข้าใจผิดต่อกัน และตรัสสอนให้ยินดีด้วยที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด และควรเป็นอยู่ตามลำพังสมณวิสัย


เมื่อตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า "โดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนเกษมจากโยคะธรรม เป็นพรหมจารีบุคคลยิ่งกว่าผู้อื่น มีที่สุดกว่าผู้อื่น ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า "โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไดเสดับแล้วว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เธอทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันวิเศษ ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงได้


เธอได้ประสบเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นด้วปัญญาเป็นเครื่องหน่าย เป็นเครื่องดับ เป็นเครื่องสละ คืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น สิ่งอะไร ๆ


ในโลกไม่มีความสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้ด้วยตนเอง และทราบชัดว่า ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำอย่างนี้อีกมิได้มี ว่าโดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แหละ ภิกษุได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา"


ท่านพระโมคคัลลานะได้ปฏิบัติตามโอวาท ที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.42.62 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 03:18  IP : 125.24.42.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11573

คำตอบที่ 53
       ครั้นได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว พระโมคคัลลานะได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่พระองค์ทรงดำริให้สำเร็จเพราะท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก จึงได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางเป็นผู้มีฤทธิ์"


และทรงยกย่องว่าเป็นคู่พระอัครสาวก คู่กันกับพระสารีบุตรในการอุปการะภิกษุผู้เข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ดังกล่าวในประวัติพระสารีบุตรว่า สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังบุตรให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบน ที่สูงกว่านั้น


ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย พระธรรมเทศนา ของพระโมคคัลลานะไม่ค่อยจะมีที่เป็นโอวาทให้แก่ภิกษุสงฆ์มีเพียงแต่อนุมานสูตร ซึ่งว่าด้วยธรรมินทำให้คนเป็นผู้ว่ายากหรือง่าย


ในมัฌิมนิกายกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะเข้าใจในนวกรรมคือการก่อสร้าง เพราะฉนั้นเมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างบุพพาราม ในเมืองสาวัตถี พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านเป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ควบคุมการก่อสร้าง


เพื่อนๆที่เป็นช่างและวิศวกรทั้งหลาย กราบท่านบ้างนะครับ นี่พระโมคคัลลานะนี้แหละครูช่างสมัยพุทธกาลแหละครับ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.42.62 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 03:22  IP : 125.24.42.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11574

คำตอบที่ 54
      
ผมอยากให้มองอีกมุมคือมุมของพระโมคัลลานะในคืนที่ท่านได้สำเร็จอรหันต์บ้าง ผมขออรรถาธิบายดังนี้


พระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติอันเป็นธรรมชักนำไปสู่การสิ้นตัณหา เกษมจากโยคะคือกิเลสเครื่องประกอบให้จิตติดอยู่พระพุทธองค์ ตรัสสอนในเรื่องธาตุกรรมฐาน โดยใจความว่า


“ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ควรกำหนดธรรมเหล่านั้น ในยามเมื่อเสวยเวทนา
อันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง


และให้พิจารณาดังปัญญา อันประกอบด้วยความหน่าย ความดับ และความไม่ยึดมั่น จิตก็จะพ้นจากอาสวกิเลส เป็นผู้รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว”


พระมหาโมคคัลลานะ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในคืนนั้นเอง

แบบนี้เข้าใจง่ายกว่าที่อ่านจากอรรถาธิบายมาสองกระทู้ข้างบนไหมครับ ผมเล่าเอาแบบเรียบง่ายในแบบสำนวนนักปฎิบัติเขาคุยกัน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.42.62 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 03:32  IP : 125.24.42.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11575

คำตอบที่ 55
      
วันนี้เอาเท่านี้ผมต้องขอตัวไปทำงานให้เสร็จก่อนเช้า


เรื่องพระพุทธเจ้าทรงแนะแนวทางแก้ง่วงให้พระโมคคัลลานะเพื่อให้มีแรงบำเพ็ญเพียรนั้นอยู่ใน พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต โมคคัลลานสูตร


ถ้าผมยกเนื้อมาทั้งหมดคงไม่มีคนอ่านแน่ เพราะหนึ่งคืออ่านไม่รู้เรื่องนอกจากคออ่านพระไตรปิฏกที่ในเวปนี้มีไม่กี่คนเอง เนื่องจากมีการรักษาไวยากรณ์บาลีไว้อย่าเหนียวแน่จนอ่านแล้วถ้าไม่มีพื้นบาลีมาบ้างก็ตีความไม่ออกทั้งหมด


ผมจึงขอเดินเรื่องแบบ โจ๊กอ่อนๆย่อยง่ายๆเพื่อให้ธรรมะกระจ่างแจ้งแก่ทุกท่านครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 03:46  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11576

คำตอบที่ 56
       พระศาสดา ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะเป็นคู่กับพระสารีบุตร ในอันอุปการะผู้เข้ามาอุปสมบทใหม่ในพระธรรมวินัย ดังกล่าวแล้วในหนหลัง อีกประการหนึ่ง ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะว่าเป็นเยี่ยมแห่งภิกษุสาวกผู้มีฤทธิ์นี้


ฤทธิ์นี้หมายเอาคุณสมบัติเป็นเครื่องสำเร็จแห่งความปรารถนา สำเร็จด้วยความอธิษฐาน คือตั้งมั่นแห่งจิต ผลที่สำเร็จด้วยอำนาจฤทธิ์นั้น ท่านแสดงล้วนแต่พ้นวิสัยของมนุษย์ ดังมีแจ้งอยู่ในอิทธิวิธี อันนับเป็นอภิญญาอย่างหนึ่ง จัดว่าเป็นอสาธารณคุณ ไม่มีแก่พระสาวกทั่วไปก็ได้ การที่พระศาสดาทรงยกย่องพระโมคคัลลานะว่า เป็นเอตทัคคะในฝ่ายสาวกผู้มีฤทธิ์นั้น ประมวลเข้ากับการที่ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่า เป็นเอตทัคคะในฝ่ายภิกษุผู้มีปัญญาจะพึงให้ได้


สันนิษฐานว่า พระโมคคัลลานะ เป็นกำลังใหญ่ของพระศาสดาในอันยังการที่ทรงพระพุทธดำริไว้ให้สำเร็จ พระศาสดาได้สาวกผู้มีปัญญา เป็นผู้ช่วยดำริการ และได้สาวกผู้สามารถยังภารธุระที่ดำริแล้วนั้นให้สำเร็จ จักสมพระมนัสสักปานไร แม้โดยนัยนี้ พระโมคคัลลานะ จึงได้รับยกย่องว่าเป็นพระอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรเป็นฝ่ายซ้าย โดยหมายความว่า เป็นคณาจารย์สอนพระศาสนาในฝ่ายอุดรทิศดังกล่าวแล้ว หรือโดยหมายความว่าเป็นที่ ๒ รองแต่พระสารีบุตรลงมา






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.41.16 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 19:57  IP : 125.24.41.16   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11589

คำตอบที่ 57
       พระธรรมเทศนาของพระโมคคัลลานะอยู่ข้างหายาก ที่เป็นโอวาทให้แก่ภิกษุสงฆ์ มีแต่อนุมานสูตร ว่าด้วยธรรมอันทำตนให้เป็นผู้ว่ายากหรือว่าง่าย พระธรรมสังคาหกาจารย์ สังคีติไว้ในมัชฌิมนิกาย


พระโมคคัลลานะนั้น เห็นจะเข้าใจในการนวกรรมด้วย พระศาสดาจึงได้โปรดให้เป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือ ผู้ดูนวกรรมแห่งบุรพาราม ที่กรุงสาวัตถี อันนางวิสาขาสร้าง

ครั้งหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อาศัยเมืองราชคฤห์เป็นที่ภิขาจาร พระองค์ได้ปรารภพระมหาโมคคัลลานเถระให้เป็นเหตุ จึงได้ตรัสเรื่องราวนี้มีความว่า พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นทุติยสาวกปรากฏด้วยอิทธิศักดายิ่งกว่าผู้ใดในไตรภพเว้นไว้แต่พระตถาคตองค์เดียว



พระตถาคตให้เป็นเอตทัคคะว่า ประเสริฐเลิศด้วยอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่าสาวกในพระศาสนา ท่านได้เที่ยวไปสู่เทวจาริกในสวรรค์ นำเอาการกุศลที่เทพบุตรเทพธิดา กระทำอย่างนั้น ๆ เอามาบอกแก่มหาชนชาวมนุษย์ แล้วท่านลงไปสู่นรก นำเอาข่าวมาบอกแก่คนทั้งหลายว่า บุคคลกระทำบาปมีชื่อนี้ ๆ ไปทนทุกขเวทนาในนรกขุมนั้น ๆ ท่านได้โปรดสัตว์ที่ไปทนทุกข์ให้เป็นสุขสบาย ท่านขวนขวายในกิจของท่านมาช้านาน

ในรูปเป็นที่เมืองสาวัตถี ห้องเก็บสมบัติของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.41.16 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 20:01  IP : 125.24.41.16   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11590

คำตอบที่ 58
       ผมอยากเล่าเรื่อเอกของการที่ท่านโปรดสัตว์โดยทิพย์จักขุเรื่องหนึ่ง เรื่องนี้ผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติจนต้องไปขนขวายหามาเล่าให้ฟัง

เมตตาเป็นสมบัติของผู้เจริญธรรม ต่อให้ห้ามอย่างไรว่าอย่าทำอย่าไปยุ่งก็ยังเอาชนะจิตไม่ไหวหรอกครับ


แต่ท่านพิจรณาว่าผู้ใดสมควรได้ ผู้ใดมีกรรมอยู่ยังไม่สมควรช่วยเหลือเพราะอาจจะไปตัดกรรมที่ยังใช้ไม่หมดให้ต้องไปทนทุกข์อีกครั้งจนหมดที่ชาติหน้าได้


ในพระสุตตนตปิฏก ขุทฑกนิกาย วิมานวัตถุ ได้บันทึกเรื่องราวของหญิงชราคนหนึ่งชื่อ จัณฑาลี ผู้ได้ไปถึงสวรรค์เพราะการกราบไหว้ เรื่องมีอยู่ว่า


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ. พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ครั้นใกล้รุ่งอรุณพระพุทธองค์ได้ทรงเล็งพระญานเห็นหญิงชราผู้หนึ่งชื่อว่า จัณฑาลี อยู่ในหมู่บ้านจันฑาละ กำลังจะสิ้นอายุขัยไปจุติในนรก จึงทรงดำริว่า “เราจะให้หญิงชรานี้ทำบุญเพื่อจะได้ไปจุติในสวรรค์”


พอรุ่งเช้าพระพุทธองค์พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากเสด็จเข้าไปบิณฑบาตรในกรุงราชคฤห์ ขณะนั้น ยายจันฑาลีเดินถือไม้เท้าออกมาสู่นอกเมือง พบพระพุทธองค์พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จดำเนินมา


ยายจัณฑาลีจึงหยุดยืนอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์ ลำดับนั้น พระโมคคัลลานะรู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเพื่อโปรดหญิงชราผู้นี้โดยเฉพาะ จึงกล่าวกับหญิงชราว่า


“ดูก่อน ยายจัณฑาลี ท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศเถิด พระโคดมผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สี่ ประทับยืนเพื่ออนุเคราะห์ท่านคนเดียว ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสยิ่งในพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้คงที่แล้ว จงรีบประคองอัญชลีถวายบังคมเถิด ชีวิตของท่านน้อยเต็มที”


ในรูปเป็นเมืองราชคฤห์ ซากพระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า บนเขา





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.41.16 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 20:16  IP : 125.24.41.16   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11591

คำตอบที่ 59
       ยายจันฑาลีเมื่อรับฟังพระเถระกล่าวดังนี้แล้วเกิดสลดใจว่า ตนเองกำลังจะสิ้นอายุแล้ว นางจึงได้ก้มลงกราบถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเบญจางคประดิษฐ์ พร้อมจิตใจที่เต็มไปด้วยปีติเลื่อมใสในพระพุทธองค์


ส่วนพระพุทธองค์นั้นเมื่อเห็นยายจันฑาลีได้ทำเช่นนั้นแล้ว จึงเสด็จผ่านไป เพราะทรงเห็นว่าเท่านี้เป็นอันสมควรแล้วแก่หญิงชรา ขณะที่ยายจันฑาลีกำลังยืนอยู่ด้วยใจที่อิ่มเอิบผ่องใสในพระพุทธคุณนั่นเอง มีโคแม่ลูกอ่อนตัวหนึ่ง ได้วิ่งมาขวิดยายจันฑทลีถึงแก่ความตายทันทีแล้วไปจุติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร


ครั้นไปจุติในสวรรค์แล้ว จัณฑทลีเทพธิดาได้ลงจากสวรรค์พร้อมทั้งวิมานมาหาพระโมคคัลลานะ แล้วลงจากวิมานเข้าไปกราบพระเถระแล้วกล่าวว่า “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ท่าน”


พระเถระจึงถามว่า “ดูก่อนเทพธิดา ! ท่านเป็นใคร ทำบุญอะไรไว้ถึงได้มีอานุภาพมาก ?” จัณฑาลีเทพธิดาตอบพระเถระว่า “ข้าพเจ้าคือยายจัณฑาลี หญิงชราที่พระผู้เป็นเจ้าได้แนะนำให้กราบไหว้พระพุทธองค์ ครั้นข้าพเจ้าได้กราบไหว้พระพุทธองค์แล้วก็ตายจากกำเนิดคนจัณฑาล ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดีงส์มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร ข้าพเจ้ามาในเวลานี้ เพื่อประสงค์จะกราบไหว้ระลึกถึงพระคุณของพระผู้เป็นเจ้า” เมื่อได้กล่าวดังนี้แล้ว นางได้กราบลาพระเถระกลับคืนสู่สวรรค์ดังเดิม


ในรูปเป็นเสาหินพระเจ้าอโศกเมืองสารนาถ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.41.16 อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 20:52  IP : 125.24.41.16   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11592

คำตอบที่ 60
       ผมต้องขอแก้เรื่องสำนวนนิดหนึ่ง ผมเผลอพิมพ์คำว่า

"ยายจันฑทลีถึงแก่ความตายทันทีแล้วไปจุติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ "
ที่จริงแล้วผมต้องพิมพ์ว่า
"ยายจันฑทลีถึงแก่ความตายทันทีแล้วไปอุบัติขึ้นในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ "

ผมยังติดสำนวนไทยลิเกแก้ไม่หายเรื่องหลุดสำนวนผิดๆแบบนี้ ไม่ขอกลับไปแก้ครับ แต่มาแก้ตรงนี้เลยจะได้รู้กันทั่วๆ

เพราะจุติแปลว่าตาย ใช้กับเทวดา เช่นตัวอย่าง "คนรูปหล่อและเก่งไปเสียทุกอย่างแบบผมคงต้องเป็นเทพบุตรจุติลงมาเกิด" เป็นต้น คือตายจากเทวดามาเกิดเป็นมนุษย์



วันนี้ขอเอาเท่านี้ก่อนครับสุขภาพไม่ค่อยดีคงต้องพักผ่อนเร็วสักหน่อย




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen อาทิตย์, 12/8/2550 เวลา : 21:02  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 11593

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  4  5  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันอาทิตย์,24 พฤศจิกายน 2567 (Online 6457 คน)