WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


อานุภาพพระปริตต์
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:202.91.18.192

ศุกร์ที่ , 31/8/2550
เวลา : 01:01

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       หลายคนคงสงสัยว่าเรื่องอะไรหว่า พระปริตต์คืออะไร

เวลาที่ท่านนิมนต์พระไป งานทำบุญบ้าน งานมงคลต่าง ๆ
พระก็จะอัญเชิญเทวดา สวดพุทธมนต์ มีการโยงสายสิญจ์ ทำน้ำมนต์
หลายท่านคงสงสัยว่าท่านสวดอะไร มีความหมายและที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ??

การทำน้ำมนต์นั้นผิดพุทธบัญญัติหรือไม่


กระทู้นี้จะมา สาธยายค่อย ๆ เล่าที่มาที่ไป ตลอดจนความหมายของพระปริตต์ ต่าง ๆ
ตามกำลังความสามารถ และเวลาที่ว่าง ให้ท่านสมาชิกได้ทราบกัน

ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัย ด้วย เนื่องจาก ภูมิความรู้ของผมนั้นมีจำกัด










 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  

คำตอบที่ 31
       ความจริงจะเขียนเรื่องอื่นก่อน แต่คิดไปคิดมา ขอเขียนเรื่องเมตตปริตรก่อนจะเป็นการดี
สำหรับผู้ที่มีความหวาดกลัว และสำหรับคุณสิงห์ปาฯแมน โดยเฉพาะ

เมตตปริตตร คือพระปริตตร ที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา มีประวัติว่า สมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน
กรุงสาวัตถี มีภิกษุ 500 รูปเรียนกรรมฐานจากพระพุทธองค์แล้ว เดินทางไปแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม
พวกท่านได้มาถึงป่าแห่งหนึ่ง ได้ปรึกษากันว่าสถานที่นี้เหมาะแก่การเจริญภาวนา จึงตกลงใจจำพรรษาอยู่ที่นั่น
ชาวบ้านก็มีจิตศรัทธาสร้างกุฏิถวายให้พำนัก และอุปปัฏฐากด้วยปัจจัยสี่มิให้ขาดแคลน

เมื่อฝนตกท่านจะเจริญกรรมฐานที่กุฏิ ครั้นฝนไม่ตกก็จะมาปฏิบัติที่ต้นไม้ รุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้
ก็ไม่สามารถอยู่ในวิมาณได้ เพราะผู้ทรงศีลมาอยู่ใต้วิมาณของตน เบื้องแรกคิดว่าพวกภิกษุคงจะมาอยู่ชั่วคราว
พอหลายวันเข้า จึงเกิดความไม่พอใจ คิดจะขับไล่ให้กลับไป จึงพยายามหลอกหลอนด้วยวิธีการต่าง ๆ
เช่นสำแดงรูปให้น่ากลัว ร้องเสียงโหยหวน ทำให้ได้รับกลิ่นเหม็นต่าง ๆ

พวกภิกษุที่มีความหวั่นไหวตกใจต่ออารมณ์ที่น่ากลัวเหล่านั้น ไม่สามารถจะปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก
จึงปรึกษากันว่าไม่ควรจะอยู่ในสถานที่นี้ต่อไปจึงรีบเดินทางกลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวัน
เพื่อกราบทูลให้ทรงทราบในเรื่องนี้ แต่พระพุทธองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่าสถานที่เดิมนั้น เหมาะแก่การ
เจริญภาวนาเหมาะสมกับพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงแนะให้กลับไปพร้อมกับตรัสสอน เมตตปริตตรเพื่อเจริญเมตตาแก่รุกขเทวดา

เมื่อพระภิกษุได้เรียนเมตตปริตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเดินทางกลับไปสถานที่เดิม ก่อนที่ท่านจะเข้าสู่ราวป่า
พวกท่านได้เจริญเมตตาโดยสาธยายพระปริตรนี้ ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาทำให้รุกขเทวดามีจิตอ่อนโยน มีไมตรี
จึงไม่เบียดเบียนเหมือนก่อน ทั้งยังช่วยปรนนิบัติและคุ้มครองภัยอื่น ๆ อีกด้วยภิกษุเหล่านั้นได้พากเพียรเจริญเมตตาภาวนา
แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อมาโดยใช้ เมตตาเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ทุกรูปจึงได้บรรลุอรหัตตผลภายในพรรษานั้น (สุตตนิ อ.๑.๒๒๑ , ขุททก อ. ๒๒๕)




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 อาทิตย์, 10/2/2551 เวลา : 21:34  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20494

คำตอบที่ 32
       ด้วยอานุภาพของเมตตปริตต (กรณียเมตตสูตร)

ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา
ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต
และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน

๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ ก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง



๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย



๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด



๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์-มีลำตัวยาวหรือ ลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม



๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือ กำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด



๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้าย ต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน



๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิต ฉันนั้น



๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ



๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)



๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้

(คำแปลของ ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต)




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 อาทิตย์, 10/2/2551 เวลา : 21:47  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20501

คำตอบที่ 33
       คำแปลของอาจารย์เสฐียรพงษ์สวยงามมากเลยครับ มีการเล่นเชิงอรรถของคำให้เข้าใจง่ายขึ้น

อย่างนี้จะให้คนที่ไม่เป็นราชบัณฑิตแบบท่านแปลวรรคสุดท้ายก็ต้องแปลแบบทื่อๆไร้รสชาดว่า

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล

ทัสสะเนนะ สัมปันโน
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก

นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว

จะเห็นว่าความงามของภาษาคนละเรื่องกับคำแปลของอาจารย์เสฐียรพงษ์ สมแล้วที่ท่านเป็นเปรียญ 9 รูปแรกของรัชกาลปัจจุบันและราชบัญฑิตด้านศาสนา








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.25.55.129 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 01:06  IP : 125.25.55.129   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20519

คำตอบที่ 34
      

ไหนๆก็ตั้งใจมอบให้สิงห์ปาผีแล้วนะหนุ่ม ขอบทที่ อภยปริตร ที่ขึ้นว่า ยันทุนนิมิตตัง ไล่ผีในผ้าห่ม แถมท้ายให้สิงห์อีกสักบทก็ดีนะ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.25.55.129 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 01:21  IP : 125.25.55.129   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20520

คำตอบที่ 35
       ได้เลยครับ อีกบทคือ สำหรับคุณสิงห์ปาฯแมนโดยเฉพาะ

ท่านผู้อื่นจะสวดก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด แต่รู้ความหมายก็จะทำให้เราทราบซึ้งมากยิ่งขึ้น


อภยปริตต เป็น พระพุทธมนต์ว่าด้วยการไม่มีภัย และป้องกันภัยต่าง

อภยปริตต คือ ปริตตที่ไม่มีภัย ที่โบราณาจารย์ประพันธ์ขึ้นโดยอ้างคุณพระรัตนตรัย
มาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี พระปริตตนี้มีปรากฏในบทสวดเจ็ดตำนาณและสิบสองตำนาณของไทย
และยังได้แพรหลายไปถึงพม่าและศรีลังกาอีกด้วย ท่านอาจารย์ธัมานันทมหาเถระอัครมหาบัณฑิต
สันนิษฐานว่าประปริตตนี้คงรจนาโดยพระเถระชาวเชียงใหม่ ในสมัยรจนาคาถาชินบัญชร
ท่านสังเกตุจากการอธิษฐานให้เคราะห์ร้ายพินาศไป เพราะชาวเชียวใหม่ในสมัยนั้นนิยม
บูชาดาวนพเคราะห์ จึงได้มีนักปราชญ์ประพันธ์คาถานี้ เพื่อให้สวดแทนการบูชาดาวนพเคราะห์
คาถานี้ยังมีปรากฏในคัมภีร์ปริตตฎีกาที่รจนาในปี พ.ศ. ๒๑๕๓


พระปริตตบทนี้มีดังนี้


ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

(ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
(ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
(ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์เจ้า )

บทนี้ง่ายครับ เนื้อความเหมือนกันหมดทั้งสามส่วน
แค่เปลี่ยนจาก พุทธา เป็น ธัมมา และ สังฆา เท่านั้น





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 01:47  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20521

คำตอบที่ 36
      

ถ้าใครเคยไปปฎิบัติธรรมสำนักเขาวงพระจันทร์ในสมัยก่อนโน้น หลวงพ่อท่านจะให้สวด ยันทุนนิมิตตัง ก่อนนอนทุกคืนบนเขาเพื่อไม่ให้ฝันร้ายจากการนอนผิดที่ผิดทางหรือเกิดนิมิตรที่ไม่ดีขณะทำสมาธิ


ใครที่กลัวหรือจิตไม่มั่นในการทำสมาธิสวดก่อนจะทำสมาธิดีมาก ด้วยอำนาจพระปริตต์จิตจะไม่วิ่งวุ่นไปเห็นอะไรที่ไม่ดีหรือไม่อยากพบเห็น






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.25.55.129 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 02:56  IP : 125.25.55.129   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20523

คำตอบที่ 37
      
สำหรับผู้มีเวลาน้อยควรสวดบทพระปริตตที่สั้นและสำคัญ ฉะนันจึงควรสวดพระปริตต 4 บท คือ
เมตตปริตต ( กล่าวไปแล้ว ) ขันธปริตร โมระปริตต และอาฏานาฏิยปริตต

เมตตปริตต และ ขันธปริตตเน้นการเจริญเมตตาภาวนา
โมระปริตต และ อาฏานาฏิยปริตตเน้นการเจริญพระพุทธคุณ

ดังนั้นประปริตตบทต่อไปที่ผมจะแนะนำให้สวดคือบทขันธปริตต อีกสองบทจะกล่าวต่อไปในภายหลังครับ


ประวัติขันธปริตต

เมื่อพระพุทธเจ้า เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า วิรูปกฺเขหิ เม เมตฺตํ ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ งูตัวหนึ่งเลื้อยออกจากระหว่างไม้ผุ ได้กัดเข้าที่นิ้วเท้า
ภิกษุนั้นมรณภาพในที่นั้นทันที เรื่องที่ภิกษุนั้นมรณภาพได้ปรากฏไปทั่ววัด ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า
ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ ณ ที่นั้นเอง

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้น
จักได้เจริญเมตตาแผ่ถึงตระกูลพญางูทั้งสี่แล้ว งูก็จะไม่กัดภิกษุนั้น

แม้ดาบสทั้งหลายซึ่งเป็นบัณฑิตแต่ปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ
ก็ได้เจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ ปลอดภัยอันจะเกิดเพราะอาศัยตระกูลพญางูเหล่านั้น
แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี ครั้นเจริญวัย สละกามสุข ออกบวชเป็นฤๅษี
ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด สร้างอาศรมบทอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ
เพลิดเพลินในฌาน เป็นครูประจำคณะ มีหมู่ฤๅษีแวดล้อมอยู่อย่างสงบ

ครั้งนั้น ที่ฝั่งคงคา มีงูนานาชนิดทำอันตรายแก่พวกฤๅษี พวกฤๅษีโดยมากได้ถึงแก่กรรม
ดาบสทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้นแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เรียกประชุมดาบสทั้งหมด แล้วกล่าวว่า
หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกเธอ
เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นี้ไป พวกเธอจงเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า :-

ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า วิรูปักขะ
ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ
ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า ฉัพยาปุตตะ
ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า กัณหาโคตมกะ.


พระโพธิสัตว์ ครั้นแสดงตระกูลพญางูทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
หากพวกท่านจักสามารถเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ นั้น
งูทั้งหลายก็จักไม่กัดไม่เบียดเบียนพวกท่าน แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-


ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่ไม่มีเท้า
ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สองเท้า
ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สี่เท้า
ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์มีเท้ามาก.

พระโพธิสัตว์ ครั้นแสดงเมตตาภาวนาโดยสรุปอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยการขอร้อง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-


ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์ผู้เกิดแล้วหมดทั้งสิ้นด้วยกัน
จงประสบพบแต่ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้า อย่าได้มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านจงเจริญเมตตาไม่เฉพาะเจาะจง ในสรรพสัตว์อย่างนี้
เพื่อให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอีก จึงกล่าวว่า :-

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน
คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก และหนู เป็นสัตว์ประมาณได้.

พระโพธิสัตว์แสดงว่า เพราะธรรมทั้งหลายอันทำประมาณมีราคะภายในของสัตว์เหล่านั้นยังมีอยู่
ฉะนั้น สัตว์เลื้อยคลานเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีประมาณ แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
อย่างนี้ว่า ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัยอันหาประมาณมิได้ ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีประมาณเหล่านี้
จงทำการปกป้องรักษาพวกเราทั้งกลางคืนกลางวันเถิด

เพื่อแสดงกรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว ป้องกันตัวแล้ว
ขอสัตว์ทั้งหลายจงพากันหลีกไป
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์.

พระโพธิสัตว์ผูกพระปริตรนี้ให้แก่คณะฤๅษี ก็พระปริตรนี้ พึงทราบว่า
ท่านกล่าวไว้ในชาดกนี้ด้วยคาถาทั้งหลายตอนต้น เพราะแสดงเมตตาในตระกูลพญานาคทั้งสี่
หรือเพราะแสดงเมตตาภาวนาทั้งสอง คือโดยเจาะจงและไม่เจาะจง ควรค้นคว้าหาเหตุอื่นต่อไป
.
ตั้งแต่นั้น คณะฤๅษีตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ เจริญเมตตา รำลึกถึงพระพุทธคุณ
เมื่อฤๅษีรำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่อย่างนี้ บรรดางูทั้งหลายทั้งหมดต่างก็หลีกไป
แม้พระโพธิสัตว์ก็เจริญพรหมวิหาร มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 20:11  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20584

คำตอบที่ 38
       โตแล้วเรียนลัดครับ

ตัดแปะเลยดีกว่า







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 21:43  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20589

คำตอบที่ 39
       วิรูปักเขหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย

เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลเอราบทด้วย

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย

เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลายสกุลกัณหาโคตมกะด้วย

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีเท้าด้วย

เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสองเท้าด้วย

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสี่เท้าด้วย

เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีหลายเท้าด้วย

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
สัตว์สองเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ
สัตว์สี่เท้าอย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัตว์หลายเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
ขอสรรพสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย

สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
ที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด

มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
โทษลามกใดๆ อย่าได้มาถึงแล้ว แก่สัตว์เหล่านั้น

อัปปะมาโณ พุทโธ
พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ ธัมโม
พระธรรม ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ สังโฆ
พระสงฆ์ ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขา แมงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ ล้วนมีประมาณ

กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
ความรักษา อันเรากระทำแล้ว การป้องกัน อันเรากระทำแล้ว

ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
หมู่สัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสีย

โสหัง นะโม ภะคะวะโต
เรานั้น กระทำนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
กระทำนอบน้อม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ็ดพระองค์อยู่





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.25.245.35 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 23:23  IP : 125.25.245.35   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20606

คำตอบที่ 40
       ขอบคุณครับ มัวแต่ห่วงจำเลยรัก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 จันทร์, 11/2/2551 เวลา : 23:47  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20608

คำตอบที่ 41
       โมระปริตต คือ ปริตตของนกยูง เป็นพระปริตตที่กล่าวถึงพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า
แล้วน้อมพระพุทธคุณมาพิทักษ์รักษาให้มีความสวัสดี

มีประวัติอยู่ว่า สมัยหนึ่ง ครั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง อาศัยอยู่บนเขา
ทัณฑหิรัญบรรพตในป่าหิมพานต์ พระโพธิสัตว์จะเพ่งดูพระอาทิตย์ในยามพระอาทิตย์อุทัย(อาทิตย์ขึ้น)
แล้วร่ายมนต์สาธยายสองคาถาแรกว่า "อุเทตะยัง ......." แล้วจึงออกแสวงหาอาหาร ครั้นกลับจากการ
แสวงหารอาหารในเวลาพระอาทิตย์อัสตง(อาทิตย์ตก) ก็เพ่งดูพระอาทิตย์พร้อมกับร่ายมนต์สาธยาย
สองคาถาหลังว่า "อะเปตะยัง ......" นกยูงจึงแคล้วคลาดจากอันตรายทุกอย่างด้วยมนต์บทนี้

วันหนึ่งพรานป่าจากหมู่บ้านใกล้เมืองพาราณสี ได้พบนกยูงทองโดยบังเอิญ จึงบอกความนั้นแก่บุตรของตน
ขณะนั้น นางเขมาเทวีมเหสีของพระเจ้าพารณสีทรงพระสุบิน(ฝัน)ว่า พระนางเห้นนกยูงทองแสดงธรรมอยู่
จึงกราบทูลพระสวามีว่าประสงค์จะฟังธรรมของนกยูงทอง ท้าวเธอจึงรับสั่งให้พรานป่าสืบหา
พรานป่าที่เคยได้ยินคำบอกเล่าของบิดาได้มากราบทุลว่า นกยูงทองมีอยู่จริงที่เขาทัณฑกหิรัญบรรพต
จึงทรงมอบหมายให้เขาจับนกยูงทองมาถวาย

พรานป่าคนนั้นได้เดินทางไปป่าหิมพานต์ แล้ววางบ่วงดักนกยูงทองไว้ ในทุกแห่งที่แสวงหาอาหาร
แม้เวลาผ่านไปถึง ๗ ปี ก็ยังจับไม่ได้ เพราะนกยูงทองแคล้วคลาดบ้าง บ่วงไม่แล่นบ้าง จนในที่สุด
ต้องเสียชีวิตอยู่ในป่านั้น ฝ่ายพระนางเขมาเทวีก็ทรงประชวร สิ้นพระชนม์ เพราะเสียพระทัยที่ไม่สมพระประสงค์
พระเจ้าพาราณสีจึงทรงพิโรธ ได้รับสั่งให้จารึกอักษรลงในแผ่นทองว่า ผู้กินเนื้อนกยูงทองที่เขาทัณฑกหิรัญบรรพต
จะไม่แก่ ไม่ตาย หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ก็ทรงสิ้นพระชนม์ พระราชาองค์อื่นที่ครองราชย์สืบต่อมาได้พบข้อความนั้น
จึงส่งพรานป่าไปจับนกยูงทอง แต่ไม่มีใครสรามารถจับได้ กาลเวลาได้ล่วงเลยไปจนเปลี่ยนพระราชาถึง ๖ พระองค์




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 อังคาร, 12/2/2551 เวลา : 01:29  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20611

คำตอบที่ 42
       ครั้นถึงสมัยพระราชาองค์ที่ ๗ พระองค์ก็รับสั่งให้พรานป่าไปจับนกยูงทองนั้นอีก พรานคนนี้ฉลาดหลักแหลม
สังเกตูการณ์อยู่หลายวันก็รู้ว่า นกยูงทองไม่ติดบ่วงเพราะมีมนต์ขลัง ก่อนออกหาอาหารจะทำพิธีร่ายมนต์
จึงไม่มีใครสามารถจับได้ เขาคิดว่าจะต้องจับนกยูงทองให้ได้ก่อนที่จะร่ายมนต์ จึงได้นำนกยูงตัวเมียตัวหนึ่ง
มาเลี้ยงให้เชื่อง แล้วนำไปปล่อยไว้ที่เชิงเขา โดยดักบ่วงอยู่ใกล้ ๆ จากนั้นได้ทำสัญญาณให้นกยูงตัวเมียนั้น
ส่งเสียงร้อง นกยูงทองเมื่อได้ยินเสียง ก็ลืมสาธยายมนต์คุ้มครอง เผลอตัวบินไปหานกยูงตัวเมียนั้นโดยเร็ว
จึงติดบ่วงที่ดักไว้ ครั้นแล้วพรานป่าจึงได้นำนกยูงทองโพธิสัตว์ ไปถวายพระเจ้าพาราณสี

เมื่อนกยูงทองเข้าเฝ้าพระเาจ้าพาราณสีแล้ว ได้ทูลถามว่า "เพราะเหตุใดพระองค์จึงจับหม่อมฉันมา"
ท้าวเธอตรัสว่า "เพราะมีจารึกว่า ผู้กินเนื้อนกยูงทอง จะไม่แก่ ไม่ตาย"

นกยูงทองทูลว่า "ผู้กินเนื้อหม่อมฉันจะไม่ตาย แต่หม่อมฉันจะต้องตายมิใช่หรือ"
ท้าวเธอตรัสว่า "ถูกแล้ว เจ้าจะต้องตาย"

นกยูงทองทูลว่า "เมื่อหม่อมฉันจะต้องตาย แล้วผู้กินเนื่อหม่อมฉัน จะไม่ตายได้อย่างไร"
ท้าวเธอตรัสว่า "เพราะเจ้ามีขนสีทอง จึงทำให้ผู้กินเนื้อเจ้าไม่ตาย"

นกยูงทองทูลว่า "หม่อมฉันมีขนสีทอง ก็เพราะภพก่อนเคยเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในนครพาราณสีนี้
ได้รักษาศีลเป็นนิตย์ และชักชวนให้ชาวบ้านรักษาศีล"

จากนั้นนกยูงทองโพธิสัตว์ได้ทูลเรื่องที่พระองค์เคยฝังราชรถที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่สระโบกขรณี
พระเจ้าพาราณสีได้รับสั่งให้ไขน้ำออกจากสระแล้วกู้ราชรถขึ้นมา จึงทรงเชื่อคำของนกยูงทองโพธิสัตว์นั้น
และปล่อยนกยูงทอง หลังจากนั้น นกยูงทองได้ถวายโอวาทพระราชาให้ดำรงอยูาในความไม่ประมาท
แล้วกลับไปยังป่าหิมพานต์ตามเดิม ( ชาดก อรรถกถา ๓.๓๔-๓๖)




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 อังคาร, 12/2/2551 เวลา : 01:46  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20612

คำตอบที่ 43
       โมระปะริตตัง
(เป็นบทสวดเพื่อป้องกันภัยอันตรายที่จะมาถึงตัว และเป็นคาถาของผู้เกิดวันอาทิตย์)

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
(พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลกเป็น เจ้าแห่งแสงสว่าง)

หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส,
(ดวงเดียว มีสีดังทอง สาดส่องพื้นปฐพี ให้สว่างอยู่)

ตัง ตัง นะมัสสามิ,
(เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่ง พระอาทิตย์นั้น)

หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
(ผู้มีสีดังทองสาดส่องพื้นปฐพี ให้สว่างอยู่นั้น)

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
(ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้พึงอยู่เป็นสุข ตลอดวัน)

เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม,
(ท่านผู้ประพฤติธรรมเยี่ยงพรหมเหล่าใด เป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง)

เต เม นะโม,
(ขอท่านผู้ประพฤติธรรมเยี่ยงพรหมเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด)

เต จะ มัง ปาละยันตุ,
(ขอท่านผู้ประพฤติธรรมเยี่ยงพรหมเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด)

นะมัตถุ พุทธานัง,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย)

นะมัตถุ โพธิยา,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ พระโพธิญาณ)

นะโม วิมุตตานัง,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่าน ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย)

นะโม วิมุตติยา,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ วิมุตติธรรม)

อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา
(นกยูงนั้น ได้สวดพระปริตป้องกันตนอันนี้แล้ว)

โมโร จะระติ เอสะนา,
(จึงเที่ยวไปเพื่อแสวงหาอาหาร)


อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
(พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลกเป็นเจ้าแห่งแสง)

หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส,
(สว่างกำลังลาลับไปจากการส่องแสงแก่ พื้นปฐพี)

ตัง ตัง นะมัสสามิ
(เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจอนอบน้อมซึ่ง พระอาทิตย์นั้น)

หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง,
(ผู้สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพีให้สว่าง)

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง,
(ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้วพึงอยู่เป็นสุขตลอดราตรีนี้)

เย พราหมะณา เวทะคุ
(ท่านผู้ประพฤติธรรมเยี่ยงพรหมเหล่าใด)

สัพพะ ธัมเม,
(เป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง)

เต เม นะโม,
(ขอท่านผู้ประพฤติธรรมเยี่ยงพรหมเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด)

เต จะ มัง ปาละยันตุ,
(ขอท่านผู้ประพฤติธรรมเยี่ยงพรหมเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด)

นะมัตถุ พุทธานัง,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย)

นะมัตถุ โพธิยา,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่ พระโพธิญาณ)

นะโม วิมุตตานัง,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่าน ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย)

นะโม วิมุตติยา,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่ วิมุตติธรรม)

อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา
(นกยูงนั้น ได้สวดพระปริตป้องกันตนอันนี้แล้ว)

โมโร วาสะมะกัปปะยีติ,
(จึงพักผ่อนหลับนอนแล)



ผมจะสวดบทนี้เสมอในระหว่างเดินทาง ไม่ว่าขึ้นรถลงเรือ ไปเหนือ ล่องใต้
เป็นที่น่าอัศจรรย์หลายครั้งที่ ขับรถป้ายแดงขึ้นทางด่วนในเวลากลางคืน ตำรวจมองไม่เห็นซะงั้น ในขณะที่คันอื่นโดนจับ

หากยังจำไม่ได้ ก็ท่องแบบย่อ ๆ ไปก่อนดังนี้

นะโม วิมุตตานัง,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่าน ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย)

นะโม วิมุตติยา,
(ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ วิมุตติธรรม)

ดึกแล้วครับพอแค่นี้ก่อน ขอทำงานอาทิตย์นี้ให้เสร็จเสียก่อน
แล้วจะมาต่อบท อาฏานาฏิยปริตต ในวันหลังที่ว่างครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 อังคาร, 12/2/2551 เวลา : 01:47  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20613

คำตอบที่ 44
       พี่หนุ่มครับ ผมอ่านภาษาไทยบาลีไม่ค่อยออกอ่ะครับ แบบว่าห่างวัดไปหน่อย ไหนๆมีกระทู้ดีๆแบบนี้แล้ว น่าจะมีกระทู้สอนภาษาไทยบาลีมั่งครับเอาแค่อ่านออกก็ยังดี



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้อย โนนสูง 192.55.18.36 อังคาร, 12/2/2551 เวลา : 11:14  IP : 192.55.18.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20633

คำตอบที่ 45
      
ขอผลบุญเเลกุศลเเห่งธรรมทานนี้ จงดลบันดาลเเด่ " ผู้ให้ธรรมะ
" มีวรรณะ สุขะ พละ ที่ดีตลอดไป...เทอญ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree อังคาร, 12/2/2551 เวลา : 12:53  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20638

คำตอบที่ 46
       คุณน้อย โนนสูงครับ
บาลีแบบนี้ไม่ยากครับ สะกดตรง ๆ เลย
สงสัยข้อไหน ไปถามหลวงพี่ที่วัดได้เลย
หรือถ้าผมแวะแถวซีเกตสูงเนิน พอจะฝึกให้ได้

สำหรับคำอวยพรจาก คุณกูปรี ขาดสตังค์ ไปข้อนึงขอรับ

อวยพรทั้งทีก็ให้ครบ ๆ กันหน่อย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.206 อังคาร, 12/2/2551 เวลา : 14:17  IP : 202.91.18.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20644

คำตอบที่ 47
      
เอาสติไปก่อน เเล้วสตางค์จะตามมาทีหลังครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree อังคาร, 12/2/2551 เวลา : 20:21  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20671

คำตอบที่ 48
       สาธุ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

saii จาก นิหน่อย 202.57.168.163 พุธ, 13/2/2551 เวลา : 13:14  IP : 202.57.168.163   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 20743

คำตอบที่ 49
       ตำนานอาฏานาฏิยปริตร

อาฏานาฏิยะปริตร คือ ปริตรของของท้าวกุเวร (เวสสุสรรณ) ผู้ปกครองนครอาฏานาฏา เพราะเป็นพระปริตร
ที่ท้าวกุเวรได้นำมากราบทูลพระพุทธเจ้า พระปริตรนี้กล่าวถึงพระนามของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และคุณของ
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น รวมทั้งอ้างอานุภาพพระพุทธเจ้าและเทวานุภาพมาพิทักษ์ให้มีความสวัสดี

มีประวัติว่าสมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ท้าวจาตุมหาราชทั้งสี่
คือ ท้าว ธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในมัชฌิมยามแห่งราตรี

ขณะนั้นท้าวกุเวรได้กราบทูลว่า อมนุษย์บางพวกเลื่อมใสพระองค์ บางพวกไม่เลื่อมใส แต่ส่วนใหญ่ไม่เลื่อมใส
เพราะพระองค์ตรัสสอนให้ละเว้นจากอกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น แต่พวกเขาไม่สามารถละเว้นได้
จึงไม่พอใจคำสอนที่ขัดแย้งกับความประพฤติของตน เมื่อพระภิกษุไปปฏิบัติธรรมในป่าเปลี่ยว
อมนุษย์เหล่านั้นอาจจะมารบกวนได้ จึงขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องคุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตรไว้
แล้วประทานแก่พุทธบริษัทเพื่อสาธยายคุ้มครองตนและเพื่อให้อมนุษย์เกิดความเลื่อมใสในพระศาสนา


หลังจากนั้นท้าวกุเวรได้กราบทูลคาถาเป็นต้นว่า " วิปัสสิสะ จะ นะมัตถุ " เมื่อท้าวมหาราชเหล่านั้นเสด็จกลับแล้ว
พระพุทธเจ้าจึงได้นำมาตรัสแก่พุทธบริษัทภายในภายหลัง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 ศุกร์, 22/2/2551 เวลา : 22:07  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21231

คำตอบที่ 50
       สาธุ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

a_anan จาก a_anan 124.121.46.215 เสาร์, 23/2/2551 เวลา : 05:26  IP : 124.121.46.215   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21237

คำตอบที่ 51
       อาฏานาฏิยะปะริตตัง
(เป็นบทสวดเมตตาใหญ่ ครอบคลุมนานาประการ)



วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
(ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่ พระวิป๎สสีพุทธเจ้า ผู้ทรงมีปัญญาจักษุ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ)

สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
(ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่ พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระทัยอนุเคราะห์ ต่อสัตว์ทั้งปวง)

เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
(ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ทรงมีกิเลสอันชำระแล้ว ผู้ทรงมีตบะธรรม)

นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
(ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่ พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ำยีเสียซึ่งมารและเหล่าเสนาทั้งหลาย)

โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
(ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่ พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้ทรงลอยบาปเสียแล้ว ผู้ทรงมีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว)

กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
(ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้ทรงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง)

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
(ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่ พระอังคีรสพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นโอรสแห่งศากยราช ผู้ทรงไว้ ซึ่งพระสิริ)

โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
(พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง)

เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
(อนึ่ง แม้ชนเหล่าใดก็ดี ที่ดับกิเลสได้แล้วในโลก เห็นแจ้งธรรมตามความเป็นจริง)

เต ชะนา อะปิสุณา, มะหันตา วีตะสาระทา
(ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความส่อเสียด เป็นผู้ทรงความเป็นใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว)

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
(เทวดาแลเมนุษย์ทั้งหลายพากันนอบน้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร ผู้ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)

วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
(ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะ ผู้ทรงความเป็นใหญ่เป็นผู้ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว)

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ
(ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร ผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 เสาร์, 1/3/2551 เวลา : 20:12  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21872

คำตอบที่ 52
       บทอาฏานาฏิยะปริตตนี้ ยังมีต่ออีกยาวนะครับ
แต่สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ สวดแค่ส่วนแรกก็พอ
เวลาผมไปโบสถ์วันพระทีไรก็ได้ยินหลวงพี่ที่วัดสวดกันแค่นี้เท่านั้น หรือถ้าใครขยันก็สวดต่อในส่วนที่เหลือก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด

(เดี๋ยวจะลงต่อ)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 เสาร์, 1/3/2551 เวลา : 20:17  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21873

คำตอบที่ 53
       นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
(ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ผู้ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ ซึ่งทรง บังเกิดขึ้นแล้ว)

ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
(คือพระตัณหังกร ผู้ทรงกล้าหาญ พระเมธังกร ผู้ทรงมียศใหญ่)

สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
(พระสรณังกร ผู้ทรงเกื้อกูลแก่โลก พระทีปังกร ผู้ทรงไว้ซึ่งป๎ญญาอันรุ่งเรือง)

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโก
(พระโกณฑัญญะ ผู้ทรงเป็นประมุขแห่ง หมู่ชน พระมังคะละ ผู้ทรงเป็นบุรุษประเสริฐ)

สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
(พระสุมนะ ผู้ทรงเป็นธีรบุรุษ มีพระหฤทัยงดงาม พระเรวตะ ผู้ทรงเพิ่มพูนความยินดี)

โสภีโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
(พระโสภิตะ ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณ พระอโนมะทัสสี ผู้ทรงอุดมในหมู่ชน)

ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี
(พระปทุมะ ผู้ทรงทำโลกให้สว่าง พระนารทะ ผู้ทรงเป็นสารถีผู้ประเสริฐ)

ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
(พระปทุมุตตระ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์ พระสุเมธะ ผู้ทรงหาบุคคลเปรียบมิได้)

สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
(พระสุชาตะ ผู้ทรงเลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง พระปิยทัสสี ผู้ทรงประเสริฐกว่าหมู่นรชน)

อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
(พระอัตถะทัสสี ผู้ทรงมีพระกรุณา พระธรรมะทัสสี ผู้ทรงบรรเทาความมืดคืออวิชชา)

สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
(พระสิทธัตถะ ผู้ทรงหาบุคคลเสมอมิได้ ในโลก พระติสสะ ผู้ทรงประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย)

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
(พระปุสสะพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ พระวิปัสสี ผู้ทรงหาที่เปรียบมิได้)

สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
(พระสิขี ผู้ทรงเป็นพระศาสดา เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย พระเวสสภู ผู้ทรงประทานความสุข)

กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
(พระกกุสันธะผู้ทรงนำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส พระโกนาคมนะ ผู้ทรงกำจัดเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส)

กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว
(พระกัสสปะ ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระสิริ พระโคตมะ ผู้ทรงประเสริฐแห่งหมู่ศากยราชทั้งหลาย)





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 เสาร์, 1/3/2551 เวลา : 20:27  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21874

คำตอบที่ 54
       เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี ซึ่งนับจำนวนได้หลายร้อยโกฏิ)

สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ทั้งหมดเป็นผู้ทรงเสมอกันกับพระพุทธเจ้า ผู้ทรงหาใครเสมอมิได้ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ทรงมี มหิทธิฤทธิ์)

สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา
(ทุก ๆ พระองค์ ทรงประกอบด้วย ทศพลญาณ ทรงประกอบด้วยเวสารัชชญาณ)

สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง,
(พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ล้วนตรัสรู้อยู่ ซึ่งอาสภฐานอันอุดม)

สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา
(พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงเป็นผู้องอาจไม่คั่นคร้าม บันลือธรรมดุจสีหนาท ท่ามกลางพุทธบริษัท)

พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
(ยังพรหมจักรให้เป็นไป ไม่มีใครคัดค้านได้ในโลก)

อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
(พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ประกอบด้วยพุทธธรรมทั้ง ๑๘ ประการ เป็นนายก)

ทวัตติงสะลักขะณูเปตา – สีตยานุพยัญชะนาธะรา
(ทรงประกอบด้วยมหาบุรุษ ลักษณะ ๓๒ ประการ และทรงซึ่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ)

พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
(ทรงมีพระรัศมีอันงดงาม แผ่ออกจากพระวรกายมีมณฑลโดยรอบข้างละวา ทุก ๆ พระองค์ ทรงเป็นพระมุนีอันประเสริฐ)

พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
(พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงเป็น พระสัพพัญญู ล้วนเป็นพระขีณาสพ ผู้ชนะซึ่งพญามาร)

มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
(ทรงมีพระรัศมี และพระเดชมาก ทรงมีพระป๎ญญา และพระกำลังมาก)

มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
(ทรงมีพระมหากรุณา และทรงเป็นจอมปราชญ์ ทรงนำความสุขมาให้ แก่สัตว์ทั้งปวง)

ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
(ทรงเป็นดุจเกาะ เป็นที่พึ่ง และเป็นที่พำนักอาศัย ทรงเป็นที่ต้านทานซึ่งภัยทั้งปวง เป็นที่หลีกเร้น ของสัตว์ทั้งหลาย)

คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
(ทรงเป็นที่ส่งใจถึง เป็นพวกพ้อง เป็นที่ยินดีมาก ทรงเป็นสรณะ และเป็นผู้ทรงแสวงสิ่ง เอื้อเกื้อกูล)

สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
(เพื่อประชาชาวโลก และเทวโลก พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงเป็นที่มุ่งหวังในเบื้องหน้า แก่สัตว์ทั้งหลาย)

เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
(ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระบาทยุคลของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย เศียรเกล้า)

วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
(และขออภิวาท ซึ่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ทรงเป็นอุดมบุรุษ พร้อมทั้งวาจา และทางใจด้วย)

สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา,
(ทั้งในที่นอน ในที่นั่ง ในที่ยืนด้วย แม้ในที่เดินด้วยในกาลทุกเมื่อ)

สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง,
(ขอพระพุทธเจ้า ผู้ทรงสร้างสันติ จงรักษาท่านให้มีความสุขตลอดกาลทุกเมื่อเถิด)

เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต, มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
(ท่านเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรักษาแล้ว จงเป็นผู้พ้นแล้วจากภัยทั้งปวง)

สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
(และพ้นแล้วจากโรคทั้งปวง เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง)

สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ
(ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงได้เถิด)





เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ,
(ด้วยสัจจะ ด้วยศีล และด้วยกำลังแห่งขันติ และเมตตา ของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์)

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ, อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ,
(ขอพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน)





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 เสาร์, 1/3/2551 เวลา : 20:50  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21875

คำตอบที่ 55
       ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
(เหล่าภูตทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศบูรพา)

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
(แม้ภูตเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่าน ทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน)

ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
(เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศทักษิณ)

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
(แม้เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน)

ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา
(พญานาคทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศปัจจิม)

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
(แม้พญานาคเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน)

อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
(ยักษ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศอุดร)

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
(แม้ยักษ์เหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน)

ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
(ท้าวธตรฏฐ์ อยู่ประจำทิศบูรพา ท้าววิรุฬหก อยู่ประจำทิศทักษิณ)

ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
(ท้าววิรูปักษ์ อยู่ประจำทิศปัจจิม ท้าวกุเวร อยู่ประจำทิศอุดร)

จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน
(ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น เป็นผู้มียศ คุ้มครองรักษาโลกอยู่)

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
(แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน)

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
(เทวดาและพญานาคทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในอากาศก็ดี สถิตอยู่บนภาคพื้นก็ดี)

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
(แม้เทวดาและพญานาคเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ให้ผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียนเทอญ.)





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 เสาร์, 1/3/2551 เวลา : 21:12  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21876

คำตอบที่ 56
      
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
(ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
(ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน)

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
(ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
(ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน)

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
(ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
(ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน)


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
(รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก)

ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
(รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระพุทธรัตนะ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน)

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
(รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก)

ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
( รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระธรรมรัตนะ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน)

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
(รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก)

ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ, ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
(รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระสงฆ์รัตนะ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน)



จบแล้วครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.206 เสาร์, 1/3/2551 เวลา : 21:22  IP : 202.91.19.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 21879

คำตอบที่ 57
       อนิจจา วะตะสัง ขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข ซึ่งแปลโดยความหมายว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นสุข


ความจริงคาถาบทนี้เป็นบทที่พระสวดบังสุกุลให้กับคนที่ตายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพิธีชักผ้าบังสุกุลในงานศพหรือหน้าศพ หรือในการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุพการีแล้วมีพิธีกรรมบังสุกุล

เป็นกุศโลบายในการเอาความตายมาเป็นเหตุแห่งการสอนพระธรรมให้กับคนทั้งหลาย คือตั้งแต่พระที่สวดบังสุกุล ตลอดจนผู้ที่ได้ยินคำสวดบังสุกุลนั้น

ความหมายของบทสวดบังสุกุลนี้หากฟังแต่เผินๆ ก็อาจเข้าใจเป็นทำนองว่าอย่าไปโศกเศร้าเสียใจในความตายที่เกิดขึ้น เพราะสังขารที่ระงับไปแล้วนั้นเป็นความสุข






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.249 อาทิตย์, 6/4/2551 เวลา : 23:58  IP : 125.24.44.249   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 23659

คำตอบที่ 58
       ซึ่งไม่ถูกเสียทั้งหมด แต่ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว การสวดอย่างนี้คนตายไม่ได้ยิน และไม่รับรู้อะไรด้วยทั้งนั้น ไม่เป็นประโยชน์อะไรกับคนที่ตายแล้ว เพราะไม่มีอะไรที่จะตกทอดหรือถึงมือหรือรับเอาไปได้เลย

แต่สำหรับพระที่สวด หากจิตสงบประกอบด้วยปัญญาแล้วก็ย่อมปลงสังเวชได้เป็นเบื้องต้นว่าสังขารทั้งหลายที่เกิดมาแล้วย่อมตั้งอยู่ เสื่อมไป แล้วดับไปเป็นธรรมดาด้วยกันทั้งนั้น วันหนึ่งตัวเราก็ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน ไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้เลย

ก็จะเป็นทางให้ปล่อยปละละวางคลายความยึดมั่นถือมั่น และถ้าหากภูมิธรรมถึงขนาดก็อาจบรรลุธรรมเห็นพระไตรลักษณ์ได้ว่าสังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนอันจะควรยึดมั่นถือมั่นแต่ประการใดเลย

เมื่อเห็นอย่างนี้ก็ย่อมได้ชื่อว่าเห็นธรรม เพราะการเห็นธรรมในพระพุทธศาสนานั้นก็คือการเห็นพระไตรลักษณ์นี่แหละ แต่ไม่ใช่เห็นด้วยตาหรือด้วยความรู้สึกนึกคิด เพราะต้องเป็นการเห็นด้วยปัญญาที่เรียกว่าสัมมาปัญญาเท่านั้น

ส่วนผู้ที่ได้ฟังพระสวดก็ย่อมได้รับอานิสงส์เช่นเดียวกับพระที่สวดนั้น เพราะเป็นทางแห่งการตั้งความสังเวช เป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาท เป็นทางแห่งการลดละเลิกความเห็นแก่ตัวทั้งหลาย แล้วเพ่งเพียรในการทำคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม

แต่นั่นเป็นการเห็นอย่างผิวๆ เผินๆ เห็นอย่างหยาบๆ จากการเห็นสังขารคือร่างกายอันยาววาหนาคืบที่ทอดนอนตายอยู่เหมือนกับท่อนไม้ และเป็นปฏิกูล เป็นที่น่ารังเกียจ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.249 จันทร์, 7/4/2551 เวลา : 00:00  IP : 125.24.44.249   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 23660

คำตอบที่ 59
       คนตายไม่ได้มีความสุขอะไรทั้งนั้น แต่บทที่ว่าเตสัง วูปะสะโม สุโข หรือสังขารที่สงบแล้วเป็นสุขนั้น สุขในที่นี้หมายเอาแต่เพียงความไม่ทุกข์ แต่ไม่ใช่ไม่ทุกข์เพราะสิ้นทุกข์หรือระงับดับทุกข์ได้ หากเป็นความไม่ทุกข์เพราะไม่รับรู้เรื่องความทุกข์อีกแล้ว เหมือนกับท่อนไม้หรือก้อนดินที่ไม่รับรู้เรื่องทุกข์นั่นเอง

บทสวดนี้ยังมีความละเอียดประณีตลึกซึ้งกว่านี้ แม้แค่ที่หยาบและผิวเผินอยู่ก็เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์มากแล้วก็ตาม แต่เนื้อความอันละเอียดประณีตลึกซึ้งซึ่งดำรงอยู่นั้นจักเป็นประโยชน์กว่า และทำให้เกิดความสุขมากกว่า เป็นสุขชนิดที่อาจดับทุกข์สิ้นเชิงหรือนิพพานได้ด้วยซ้ำไป

ชาวพุทธบ้านเรามักจะเข้าใจเอาว่าสังขารนั้นหมายถึงร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น คำว่า “สังขาร” ยังมีความหมายกว้างออกไปลึกซึ้งประณีตยิ่งกว่านั้นอีก

สังขารมีความหมายถึงการปรุงแต่ง หรือถ้าพูดแบบนักเคมีก็พูดได้ว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากสิ่งสองสิ่งหรือกว่านั้นสัมผัสกัน ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นอีก

อะไรที่มีการปรุงแต่งนั่นเป็นสังขารทั้งนั้น ในขันธ์ห้าที่กล่าวถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนั้น สังขารก็คือการปรุงแต่ง






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.249 จันทร์, 7/4/2551 เวลา : 00:02  IP : 125.24.44.249   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 23661

คำตอบที่ 60
       ในสติปัฏฐานก็ถือว่าลมหายใจที่ส่งผลต่อความเป็นไปแห่งร่างกายนี้ก็คือสังขารชนิดหนึ่ง คือกายสังขาร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการปรุงแต่งร่างกายให้เป็นไปตามอิทธิพลของความสั้น ยาว ความหยาบ ละเอียดของลมหายใจ

ในอานาปานสติในขั้นตอนเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ก็ถือว่าปีติและสุขเป็นสังขารอย่างหนึ่ง เพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้กระเพื่อม มีเวทนาเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ตาม

ในปฏิจสมุทบาทซึ่งเป็นหลักใจความของพระพุทธศาสนาก็ตั้งหลักใหญ่ใจความอยู่ที่การปรุงแต่ง โดยความไม่มีวิชชาจะทำให้เกิดการปรุงแต่งทั้งปวง เมื่อใดที่มีวิชชาในพระพุทธศาสนาแล้ว เมื่อนั้นก็จะไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารหรือการปรุงแต่งอีกต่อไป เป็นการตัดสังสารวัฏคือดับทุกข์สิ้นเชิงได้

สังขารหรือการปรุงแต่งนี่แหละที่ทำให้เกิดนามรูปและสิ่งต่างๆ ขึ้น ตลอดจนความยึดมั่นถือมั่นอันเป็นทุกข์ ดังนั้นการปรุงแต่งจึงเป็นปัจจัยต้นๆ เป็นห่วงโซ่สำคัญที่ทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่นแล้วเป็นความทุกข์

เพราะเหตุนี้พระท่านจึงสวดว่าเตสัง วูปะสะโม สุโข หรือความสงบแห่งสังขารเป็นความสุข







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.249 จันทร์, 7/4/2551 เวลา : 00:06  IP : 125.24.44.249   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 23662

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพุธ,18 ธันวาคม 2567 (Online 9636 คน)