คำตอบที่ 26
ตอบคำถามคุณหนุ่มกระโทกและของ อ.วอน.
การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาเมล็ด
ต้นสบู่ดำเป็นพืชที่ทยอยออกดอก จึงทำให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน การเก็บเกี่ยวจึงควรเก็บผลผลิตทุก ๆ 2 สัปดาห์ ภายหลังการเก็บเกี่ยว ต้องนำผลไปตากแดดให้แห้งก่อนนำไปกะเทาะเปลือก เนื่องจากเป็นเมล็ดแห้ง (orthodox) จึงควรลดความชื้นของเมล็ดให้เหลือประมาณ 5-7 % โดยการตากแดดหรือผึ่งลม ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 ปี ภายใต้อุณหภูมิห้องประมาณ 20 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม เมล็ดสบู่ดำมีองค์ประกอบของน้ำมันสูง จึงไม่ควรเก็บรักษานานเกินไป เพราะจะทำให้คุณภาพการงอกของเมล็ดลดลง
ที่มากรมวิชาการเกษตร
ถ้าสกัดเอาน้ำมันเฉพาะจากเมล็ดใน จะได้น้ำมันสบู่ดำที่ให้ความร้อน 9,470 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม ในขณะที่ค่าความร้อนของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ มีดังนี้
น้ำมันดีเซล 10,170 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม
น้ำมันเบนซิน 10,600 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม
เอสทิลแอกอฮอล์ 6,400 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม
ข้อได้เปรียบของสบู่ดำเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับพลังงานชีวภาพอื่นๆ คือ
1. เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและขยายพันธุ์ง่าย
2. วิธีการสกัดเอาน้ำมันออกสามารถทำได้ง่าย
3. ประสิทธิภาพของพลังงานเป็นที่น่าพอใจ
4. สามารถหาได้ในชนบท
5. ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์
การใช้น้ำมันสบู่ดำแทนน้ำมันดีเซล
น้ำมันสบู่ดำสามารถละลายได้ดีในน้ำมันดีเซลและเบนซิน เมื่อเก็บไว้นานๆ ไม่มีการแยกชั้น ดังนั้น น้ำมันสบู่ดำจึงใช้ประโยชน์ในการผสมกับน้ำมันเบนซิน สำหรับเดินเครื่องยนต์เบนซินได้ดีอีกด้วย
โดยปกติสิ่งที่นำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน น่าจะเป็นที่นิยมมากกว่าใช้แทนน้ำมันดีเซล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอุตสาหกรรม สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายก็คำนึงถึงการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง สำหรับผู้มีเครื่องยนต์เบนซินอยู่แล้วก็จะยอมรับแนวความคิดนี้ได้ง่าย
ตามความเป็นจริงประเทศที่กำลังพัฒนากลับมีความคิดที่ตรงกันข้าม ความจริงก็คือว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้จะมีจำนวนมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ชนิดอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องจักรกลเกษตร และเรือหาปลา มักนิยมใช้เครื่องยนต์ดีเซลกัน
ทั้งนี้ บริษัทที่ให้ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูลทางด้านวิชาการของน้ำมันสบู่ดำประกอบด้วย
1. ทดสอบหาสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซล บริษัท ยันมาร์ ประเทศไทย จำกัด
2. ทดสอบน้ำมันสบู่ดำกับรถบรรทุกเล็ก บริษัท อีซูซุ ประเทศไทย จำกัด
3. วิเคราะห์ส่วนประกอบของน้ำมัน บริษัท ไทยอุตสาหกรรมน้ำมันละหุ่ง จำกัด
4. สำรวจแหล่งที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5. วิเคราะห์การใช้น้ำมันรับประทาน บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
6. วิเคราะห์การใช้เป็นเชื้อเพลิง บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
7. ตรวจสอบมลภาวะของไอเสีย สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
8. ทดสอบการสึกกร่อนของเครื่องยนต์ บริษัท อุตสาหกรรมไทย-ฮอนด้า จำกัด
9. พัฒนาเครื่องไฮโดรลิก บริษัท สยามอะไหล่ จำกัด
10. ทดสอบหาสมรรถนะของเครื่องยนต์เบนซิน บริษัท ฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
การวิเคราะห์ทางด้านเคมีของน้ำมันสบู่ดำ
ผลการวิเคราะห์ทางเคมีของน้ำมันสบู่ดำ มีดังนี้
ค่ากรด 38.2
ค่าสปอนนิฟิเคชั่น 195.0
ค่าไอโอดิน 101.7
ค่าของความหนืด (31 G) 40.4 cp
(กรดไขมันอิสระ)
กรดพาลิมิก 14.2
สเตรียริค 6.9
โอลิอิค 43.1
ลิโนเลอิค 34.3
และอื่นๆ 1.4
ข้อมูลการเปรียบเทียบทางเคมี ของน้ำมันสบู่ดำกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีดังนี้
- ผลการทดสอบเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
ผลการทดสอบโดยใช้เครื่องยนต์ดีเซลยันมาร์ (SA 70-L) 4 จังหวะ 7 แรงม้า 2,400 รอบต่อนาที เดินเปรียบเทียบระหว่างน้ำมันสบู่ดำกับน้ำมันดีเซล โดยทดสอบสมรรถณะของเครื่องยนต์และความสิ้นเปลืองของน้ำมันที่ใช้ ปรากฏว่าผลที่ได้ออกมาใกล้เคียงกัน
สำหรับน้ำมันสบู่ดำที่นำมาทดสอบ เป็นน้ำมันที่ได้จากการบีบด้วยเครื่องไฮโดรลิก ไม่ใช่น้ำมันที่ผ่านการกลั่นใสแล้ว (Refining)
- การทดสอบโดยใช้รถยนต์บรรทุกเล็กเติมด้วยน้ำมันสบู่ดำ
การทดสอบนี้ได้กระทำบนทางหลวงชานเมือง โดยรถยนต์ดีเซลบรรทุกเล็กอีซุซุ KBD-21 เป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 1,584 ซีซี 94 แรงม้าที่ 5,400 รอบต่อนาที
ผลจากการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์และปริมาณความสิ้นเปลืองของน้ำมันเชื้อเพลิงได้ผลเป็นที่น่าพอใจ รถยนต์สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าทดสอบในสนามทดสอบจริงๆ แล้ว รถยนต์อาจวิ่งได้ด้วยความเร็วถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากตัวเลขที่ได้จากการทดสอบข้างบนนี้ พบว่าน้ำมันสบู่ดำมีคุณลักษณะพิเศษคือ
ก. เครื่องยนต์ไม่น๊อคเมื่อเดินด้วยความเร็วปกติ
ข. ไม่จำเป็นต้องดัดแปลงโครงสร้างของเครื่องยนต์
ค. กลิ่นและจำนวนของคาร์บอนมอนนอคไซค์ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ง. เครื่องยนต์ติดง่าย
- การทดสอบกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
ผลการทดสอบโดยใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ของรถจักรยานยนต์ฮอนด้า 125 แรงม้า โดยใช้น้ำมันสบู่ดำแทนน้ำมันออโต้ลูป ในอัตรา 20 : 1 โดยการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์และความสิ้นเปลืองของน้ำมันที่ใช้ ปรากฏว่าผลที่ได้อกมาใกล้เคียงกันกับน้ำมันเครื่องออโต้ลูป
สนใจผลการวิจัยพัฒนาการใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องยนต์ดีเซล สอบถามได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ โทร. 0-5324-8625 หรือ ตู้ ปณ. 13 ปทจ. หางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230
--------------------------------------
คุณจรูญ ค้อมคำพันธุ์
คุณโยซิมูมิ ทาเค