คำตอบที่ 4
ตัวเลขนี้เป็นไปตามมาตรฐาน SAE (The Society of Automotive Engineers) ครับ
เลขหน้า W เป็นตัวเลขเบอร์สำหรับเมืองหนาว คือวัดความหนืดที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮต์ (-18 C)
ดังนั้นเมืองร้อนอย่างเราไม่ต้องไปสนใจ เพราะคุณสมบัตินี้แทบไม่มีประโยชน์สำหรับเมืองเรา
ส่วนตัวเลขหลัง W เป็นเบอร์ที่วัดที่อุณหภูมิ 212องศาฟาเรนไฮต์ (100 C) เลขนี้ถึงเป็นเลขที่เราสนใจต่างหาก
เลขน้อยจะได้ฟิล์มน้ำมันที่บางกว่าเลขเยอะ คราวนี้เราก็มาเลือกเอาว่าจะเลือกใช้เลข 30 , 40 , หรือ 50 ดีกว่ากัน
ก็มีเรื่องของเครื่องยนต์มาให้คิดกันเล่น ๆ ครับ ว่าไอ้เครื่องโบราณน่ะ เทคโนโลยีโลหะวิทยา ยังไม่ดีนัก
ระยะระหว่างแหวนกับกระบอกสูบมันมีช่องว่างมาก ก็ต้องใช้ฟิล์มน้ำมันที่มันหนาซักหนอ่ย
ส่วนไอ้เครื่องยนต์รุ่นใหม่ ๆที่ทำมาปีหลัง ๆ หรือพวกเครื่องคอมมอนเรล เทคโนโลยีมันดีขึ้นไอ้ช่องว่างนี้มันก็แคบลง
เราก็ต้องใช้ น้ำมันเครื่องที่ฟิล์มมันบาง ๆ สังเกตุได้ว่าพอมีเครื่องคอมมอนเรลออกมา ปตท ก็ทำน้ำมันเครื่อง เบอร์ 30 ออกมา
เมื่อซักสิบกว่าปีที่ที่แล้วเบอร์ 30 ไม่ค่อยจะมีขาย สมัยนี้หาซื้อได้สบาย ๆ
รถผมมันเครื่องโบราณ ผมก็ยังเลือกใช้เบอร์ 40 อยู่ทั้งสองคันครับ
ส่วนถ้าคุณใช้เบอร์ 30 ซักพักถ้ารู้สึกว่าน้ำมันเครื่องมันหายมากกว่าปกติ เที่ยวหน้าก็กลับมาใช้เบอร์ 40 เหมือนเดิมแล้วกันครับ