คำตอบที่ 6
ระวังว่ามันจะเหมือนกับสบู่ดำนะครับ บูมกันมากเมื่อหลายปีก่อน สุดท้ายมันก็เหลว
แถวบ้านผมมีทำโรงไฟฟ้าชีวมวล ผมดูจากเครื่องยนต์แล้วไม่น่าถึง 100 kW
ออกข่าวซะใหญ่โต เพราะแค่พื้นที่โรงงานรวมกับพื้นที่เตรียมวัตถุดิบ มันยังเล็กกว่าบ้านผมเสียอีก
หลังคากันฝนให้เชื้อเพลิงก็ไม่มี วันไหนฝนตกคงจอดสนิท ไม่น่าจะรอด
น่าจะเป็นงานผลาญงบกับเงินเข้ากระเป๋าบรรดาอาจารย์ทั้งหลายมากกว่า
ทั้งจะเรื่องคนที่ต้องคอยดูแล เครื่องจักร ดูแลการจัดเตรียมเชื่อเพลิง การจัดการขี้เถ้า จิปาถะ
ชาวบ้านที่ไหนจะทำได้
เมื่อปลายปีที่แล้วผมเข้าไปดู อีกทีกลายเป็นโรงงานร้างไปเสียแล้วครับ ผลาญงบไปหลายสิบล้านบาท
ผมโพสต์กระทู้ไว้นานแล้วแต่ไม่ได้ลงต่อเพราะมีปัญหาเรื่องการโหลดภาพ
ถ้าคิดจะปลูกเพื่อส่งเข้าโรงไฟฟ้า ก็ต้องดูก่อนว่ามีโรงไฟฟ้าที่ใช้หญ้านี้เป็นวัตถดิบหรือเปล่า
แล้วก็ปริมานน้ำที่ต้องใช้ด้วยนะครับ เพราะว่ามันมหาศาล
พรรคพวกกันเป็นฟาร์มหมูหลายหมื่นตัว กะว่าจะปลูกหญ้านี้เหมือนกัน เพราะว่ามีน้ำจากการเลี้ยงหมูที่บำบัดแล้ว
และมีแร่ธาตุเป็นปุ๋ยได้พอดีวันนึงก็หลายร้อยคิว ที่เคยกะ ๆ ไว้ ก็เพียงพอแค่ประมาณ 200 ไร่ เท่านั้น
ถ้าจะเอาไปผลิตไฟฟ้าเอง ผมก็อยากรู้ว่าจะเอาไปใช้แบบชีวมวลแบบ Gasification หรือว่า เอาไปทำแกสชีวภาพ
แกสจาก Gasigfication พลังงานต่ำดังนั้นเครื่องยนต์ใหญ่โตมากใหญ่กว่า Biogas Engine หลายเท่าตัว
ขนาด 500 kW ใหญ่เท่าโรงรถบ้านผม
แบบชีวภาพ คนที่มานำเสนอผมคิดว่าไม่เคยทำจริง แค่ไปดูงานที่เยอรมันเท่านั้น
งานของคุณก็จะเป็นกรณีศึกษาให้เขาทดลองวิชา และก็ได้เงินการการทำโปรเจค
คนที่เจ็บตัวไม่ใช่ใครอื่นไกล เราเองนั่นแหละครับ
โปรเจคพวกนี้ทำให้มันเกิดไม่ยากครับ สิ่งที่ยากคือทำอย่างไรให้มันยั่งยืน
ในบอร์ดนี้เมื่อสองสามปีก่อน มีคนอยากทำเเละได้ลงมือทำ จาก : คุณหนุ่มกระโทกได้ให้ข้อสังเกตุไว้เเล้ว ลองย้อนอ่านดูนะครับ (kupree) 27/3/2556 7:56:48 [101.51.254.57]
แสดงความคิดเห็นย่อย
จาก หนุ่มกระโทก
115.67.226.85
จันทร์, 18/3/2556 เวลา : 11:07 IP : 115.67.226.85
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55742
คำตอบที่ 7
ตอบคุณ von Richthofen
เรื่อง break even คือระยะเวลาการคืนทุนใช่มั้ยครับ...ถ้าใช้ผมยังให้คำตอบที่เเน่นอนให้ไม่ได้เพราะผมยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างที่ยังไม่รู้เเต่จะเขียนตามที่มีความรู้อยู่ให้ดูเเล้วกันนะครับ
ค่าใช้จ่าย
fix cost
พื้นที่ 1020 ไร่ : ไม่ทราบค่าใช้จ่ายเนื้องด้วยพื้นที่ในเเต่ละจังหวัดมีราคาไม่เท่ากัน
โรงไฟฟ้า : จากที่หาข้อมูลค่าก่อสร้างจากหลายๆเเหล่งพบว่าโรงไฟฟ้า 1 mw จะมีค่าก่อสร้างประมาณ 40 ล้านบาท เเต่ราคานี้เป็นราคาที่ใช้กับพวกฟาร์มหมูโดยมีวัตถุดิบตั้งต้นเป็ยมูลสุกรเลยไม่รู้ว่าจะนำม่ใช้กับหญ้าจะราคานี้หรือไม่เพราะไม่รู้ขนาดบ่อจะเท่ากันมั้ย หรือ ก๊าซที่ได้จะต้องกำจัดอะไรมากกว่าหรือปล่าว
ต้นหญ้าเนเปียร์ : จากที่ผมได้ลองศึกษาเงินลงทุนในการปลูกหญ้ารอบเเรกนั้นอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านบาทในพื้นที่ 1020 ไร่ เเบ่งเป็น
1. ค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ 900 บาท
2. ค่าวัสดุทางการเกษตร
- ค่าท่อนพันธุ์ กิโลกรัมละ 3 บาท 1200 บาท
- ค่าปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 กิโลกรัมละ 16 บาท 800 บาท
3. ค่าแรงในการปลูก 750 บาท
4. ค่ากำจัดวัชพืช 300 บาท
รวมเเล้ว 1 ไร่จะใช้ค่าใช้จ่ายในการปลูกต่อไร่ประมาณ 4000 บาท
ฉะนั้นในพื้นที่ 1020 ไร่ จะมีค่าใช้จ่าย 4000x1020 ประมาณ 4100000 บาท
ดอกเบี้ย : ผมก็ไม่รู้อีกครับว่าในการกู้เงินเค้าคิดดอกเบี้ยกันเท่าไหร
variable cost
โรงไฟฟ้า : ผมไม่ทราบจริงๆครับว่าค่าใช้จ่ายในการดูเเลเเละบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าในเเต่ละปีเป็นเท่าไหร
ค่าเเรง : อันนี้ผมก็ไม่ทราบอีกครับว่าโรงไฟฟ้าขนาดนี้ใช้คนกี่คนเเละเป็นคนระดับไหน(ต้องวิศวกรหรือใครๆก็ได้)เลยไม่รู้ว่าค่าเเรงจะเป็นเท่าไหรต่อปี
ค่าน้ำ : ผมไม่ทราบครับว่าถ้าใช้น้ำจากระบบชลปะทานต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรหรือปล่าว
ค่าไฟ้ : ..... ผลิตได้ 555
ค่าวัตถุดิบ หรือ หญ้า : เมื่อปลูกเเล้วค่าใช้จ่ายในการดูเเลจะลดลงเหลือเพียง
1. ค่าวัสดุทางการเกษตร
- ค่าปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 กิโลกรัมละ 16 บาท 800 บาท
2. ค่าแรงในการเก็บเกี่ยว 750 บาท
รวมเเล้ว 1 ไร่จะใช้ค่าใช้จ่ายในการดูเเลต่อไร่ประมาณ 1550 บาท
ซึ่งหญ้าที่ปลูกนั้นจะใช้เวลาเก็บเกี่ยวทุกๆ 2 เดือนฉนั้นในพื้นที่ 1020 ไร่จะเก็บเกี่ยววันละ 17 ไร่ ฉะนั้นค่าใช้จ่ายในเเต่ละวันจะเท่ากับ 17x1550 ประมาณ 27000 บาท
ฉะนั้นใน 1 ปีจะมีค่าใช้จ่าย 27000x370 ประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี
ฉะนั้นสรุปเเล้วเงินลงทุนน่าจะอยู่ราวๆ 100 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในเเต่ละปี 10ล้าน +ดอกเบี้ย +++
รายรับ
รายได้มีเพียงอย่างเดียวจากการขายไฟ เเละไม่รู้ว่าหญ้าที่เป็ยกากออกมาจากบ่อสามารถนำไปขายเป็นปุ๋ยได้หรือไม้
ไฟฟ้า : เเสดงการคำนวนไว้ในรูปที่ส่งไปมีการคำนวนในช่วง on peak เเละ off peak เเต่ยังใช้ระบบ adder 0.3 ต่อหน่วยอยู่
ซึ้งรายได้ต่อปีจะอยู่ที่ 2200000x12 ประมาณ 26 ล้านบาท
ระยะเวลาการคืนทุน = เงินลงทุน/(รายได้ - รายจ่าย)
= 100/(26-10-ดอกเบี้ยขค่าบำรุงรักษา-ค่าเเรง-ค่าน้ำ(ถ้ามี)---)
= ประมาณการว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 10 ปี
เเละทำไมถึงต้องใช้พื้นที่มากถึง 1020 ไร่ จากที่ผมได้หาๆข้อมูลมาจากหลายๆเเหล่งเเละจากที่อ่านของคุณ หนุ่มกระโทก สรุปได้ว่า
ในการผลิตกระเเสไฟฟ้า 1 mw สำหรับโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพต้องใช้ปริมาณก๊าซ 12000ลบ.ม.ต่อวัน หรือ 500 ลบ.ม.ต่อชั่วโมง
จากข้อมูลที่หามาได้ "กรณีคำนวณผลผลิต biogas จากหญ้าสดในเชิงอุตสาหกรรมหรือcommercial scale ขนาด 1 mw ที่เยอรมันใช้คือผลผลิต biogas ที่ระดับ 70 ลบ.ม ต่อหญ้าสด 1 ตัน"
เเละจากคำกล่าวอ้างของคนที่เคยปลูกหญ้าชนิดนี้บอกว่าการเก็บเกี่ยวหญ้าในระยะเวลา 2 เดือนจะให้ผลผลิตได้ประมาณ 12-15 ตันต่อไร่ ผมเอา 12 ตันต่อไร่มาคิดเเล้วกัน
ผมเลยยืดตัวเลขนี้มาใช้ในการคำนวน
ใน 1 วันใช้ก๊าซ 12000 ลบ.ม. ฉะนั้นต้องใช้หญ้า = 12000/70 ประมาณ 180 ตันต่อวัน
ใน 1 ไร่สามารถให้ผลผลิตได้ 12 ตัน ฉะนั้นใช้พื้นที่ต่อวัน = 180/12 ประมาณ 15 ตัน คิดให้ 17 ตันเผื่อๆ
ใน 1 รอบการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลา 2 เดือนหรือประมาณ 60 วัน ฉะนั้นจะใช้พื้นที่ในการปลูกทั้งสิ้น 17x60 = 1020 ไร่
จากที่เขียนไปทั้งหมดอยากให้คุณ von Richthofen ช่วยเเนะนำหน่อยครับว่ายังไม่จุดไหนที่ข้ามห้ามหรือผิดพลาดไปรบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
จาก Nook Nicz
171.6.194.192
จันทร์, 18/3/2556 เวลา : 16:56 IP : 171.6.194.192
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55743
คำตอบที่ 8
ตอบคุณ หนุ่มกระโทก
ผมก็กลัวจะเป็นเเบบกรณีสบู่ดำเหมือนกันครับสนับสนุนให้ปลูกกันเเต่เหมือนที่ได้ข่ายว่ามาภาครัฐบอกให้ยั้งๆไว้ก่อนยังไม่มีผลการวิจัยออกมาเเน่ชัดเเต่พวกบริษัทที่ขายพันธ์เอามาโปรโนมกันก่อนคนเลยเชื่อกันไปเเล้ว ที่ผมได้สอบถามจากคนที่อยู่ในวงการพลังงานเค้าบอกว่ามันเก็บเกี่ยวยากใช้เครื่องไม่ได้ เเละ ตัวผลผลิตเองก็มีสารพิษด้วยผมไม่ทราบว่าส่วนไหนเลยทำให้ค่าใช้จ่ายเเพง
ส่วนโรงไฟฟ้าที่จะทำนั้นเป็นเเบบสมบูรณ์ในตัวคือมีทั้งเเปลงปลูกหญ้าเเละโรงไฟฟ้าในพื้นที่เดียวกัน
ตอนนี้ก็อยากลองศึกษาถึงความเป็นไปได้ทางเทคนิคก่อนว่าในการผลิตกระเเสไฟฟ้า 1mw นั้นใช้หญ้าใช้พื้นที่วันละเท่าไหรกันเเน่ ระบบไหนเหมาะสมที่สุด มีค่าใช้จ่ายเท่าไหรกันเเน่ เพราะถ้าที่ผมคำนวนดูไม่ผิดพลาดอะไรระยะเวลาการคืนทุนก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งผมมองว่ามันนานไปหรือปล่าว เลยคิดว่าศึกษาทางเทคนิดเเละทดลองใน scale เล็กไปก่อนรอนโยบายพวกนี้ลงตัวเเล้วค่อมาคำนวนระยะเวลาการคืนทุนกันใหม่ว่ามันจะลดลงหรือปล่าว ถ้าลดลงในระดับที่น่าสนใจ คำว่าน่าสนใจในที่นี้คือ เเบงค์สนใจกะเราด้วยเพราะผมต้องมีเงินส่วนนึงที่กู้เเบงค์คิดว่าถ้าระยะเวลาคืนทุนมันนานมากๆ เเบงค์อาจจะไม่ปล่อยให้กู้เงินหรือปล่าว
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
171.6.194.192
จันทร์, 18/3/2556 เวลา : 17:13 IP : 171.6.194.192
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55744
คำตอบที่ 9
สิ่งที่ต้องบวกเพิ่มในรายการคือค่าเสียประโยชน์จากการให้เช่าที่ดินโดยคิดเป็นราคาต่อไร่ต่อปี ราคาที่ดินที่อยุ่ใกล้ Grid line จะราคาค่อนข้างสูงเพราะถือว่าเป็นที่เจริญแล้ว ให้ราคาเช่าที่ดินที่สามารถทำการเกษตรที่มีระบบชลประทานสามรถเพาะปลุกได้ทั้งปี
ถ้าที่ดินอยู่ไกลจาก Grid line จะเสียค่า HV Feeder เพิ่มอีกแม้ว่าจะได้การลงทุนต่ำจากมูลค่าที่ดินก็ตาม บวกค่า Feeder ด้วยครับให้ใช้ราคามาตราฐานของ กฟภ.ต่อกิโลเมตร ส่วนระยะทางที่เหมาะสมคือระยะที่ทำ EIA แล้วไม่มีปัญหากับชาวบ้านรอบข้าง ลองใช้ระยะการรบกวนเรื่องกลิ่นของหมูและแมลงของไก่เป็นกรณีศึกษาในการกำหนดระยะทางของโรงงานกับชุมชนที่ใช้เป็นระยะทางของ Feeder ได้
ค่าแรงในการปลูก ค่าใส่ปุ๋ย ค่ากำจัดวัชพืชต่ำไปครับ และต่ำมากด้วย และราคาปุ๋ย ให้ใช้ต่อไร่ใกล้เคียงกับอ้อยจะเหมาะสมกว่าเพียงแต่ว่าทอนเวลาลงมาตามเวลาการเก็บเกี่ยวแล้วคูณเป็นปี
อีกอย่างคือลืมค่าขนส่งไป ที่ดินขนาดนี้ต้องมีระบขนส่งและถนนภายในที่ดีพอจะทำงานได้ทั้งปีรวมถึงฤดูฝนด้วย ถนนยังคิดเป็น initial cost ได้ แต่ค่าขนส่งต้องคิดในส่วนของ operating cost
บ่อหมักจะมีขนาดใหญ่กว่าเพราะว่าต้องใช้เวลาหมักที่สูงกว่า จากที่ผมเคยทำการหมักจากผักสดที่เหลือในการเกษตรเทียบกับมูลสุกรแล้วต้องใช้เวลามากขึ้นเกือบเท่าตัวในฤดูร้อนและเกือบสามเท่าในฤดูหนาว เพราะมูลสัตว์มันเน่ามาตั้งแต่ในท้องแล้วแต่พืชต้องใช้เวลาให้มันเน่าในบ่ออีกหลายวัน ดังนั้นให้ใช้ราคาการลงทุนของบ่อขยายขนาดจากบ่อมูลสัตว์
ดูขั้นตอนการผลิตด้วยนะครับว่าจะต้องมีการลดลิกนินด้วยการหมักโซดาไฟอีกวันครึ่งเหมือนการใช้ร่วมกับของเสียจากฟาร์มหมูหรือเปล่าที่มีผลแน่ชัดว่ามันใช้ได้ดี แต่เนื้อหญ้าล้วนมันจะใช้ได้ไหม สอท.ยังไม่กล้าทำโครงการเลยครับ
ทุนในการสร้างบ่อจะโดนบวกเข้าไปตามขนาดในบ่อแรก และบ่อสุดท้ายเพราะกากเซลลูโลสจะสูงกว่า ให้บวกค่ากำจัดกากด้วยครับ เพราะมันเอาไปทำอะไรต่อไม่ได้นอกจากการกำจัดทิ้งโดยการถมกลบ เรื่องการนำไปทำปุ๋บหมักยังไม่มีคนทำการทดลองต่อ ที่ไม่มีคนทดลองต่อเพราะว่ามันเป็นกากเซลลูโลสเกือบจะล้วนๆความหวังมันริบหรี่เหลือเกิน ต่างกับกากอ้อยที่ยังมีทางออกเผาเป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้าได้
ดอกเบี้ยลองใช้ที่ 8% ต่อปีก่อน ให้คิดทั้งเงินกู้ลงทุนและเงินเสียประโยชน์จากค่าเช่าเช่าที่ดิน
ลองปรับตัวเลขมาดูอีกครั้งครับ
จาก von Richthofen
125.24.29.33
อังคาร, 19/3/2556 เวลา : 05:34 IP : 125.24.29.33
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55745
คำตอบที่ 10
ตอนคุณ von Richthofen
ราคาที่ผมได้ประเมินไป เเละ จากที่คุณ von Richthofen บอกให้เพิ่มไปผมเเลว่าจะไม่จำเป็นต้องคำนวนออกมาเเล้วมั่งครับ
เพราะที่ผมประเมิงไว้ต่ำเเล้วยังเป็น 10 ปีเลยกว่าจะคืนทุนยิ่งบวกๆเพิ่มเข้าไปอีกคงไม่ต้องสืบเผลิอๆเกินว่ารายรับอีก 555
เเต่ผมยังสงสัยอยู่ว่าที่ เยอรมัน เค้าทำกันยังไงทำไมสามารถผลิตไฟได้มากมายขนาดนั้นที่ทราบมากว่า 7000 mw หรือว่าราคารับซื้อไปเค้าสูงกว่าเราทำให้รายรับสูงเลยน่าสนใจลงทุน...??
ยังไงก็รบกวนคุณ von Richthofen เเนะนำด้วยนะครับ เเล้วผมยังมีอีกโครงการนึงจะปรึกษาด้วยเเต่ขอเอาให้จบกันไปเป็นเรื่องๆเเล้วกันนะครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
171.7.50.177
อังคาร, 19/3/2556 เวลา : 23:20 IP : 171.7.50.177
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55747
คำตอบที่ 11
ที่ผมให้ลองดูที่ Break Even ก่อนอื่นเพราะการเขียนโครงการต้องเอาชนะจุดนี้ให้ได้ ถ้ามันหลุดไปก็ไม่ต้องไปเสียเวลาคิด ส่วนมากโครงการแบบนี้ใครเขียนงานวิจัยอะไรลงลึกๆมาส่งผมให้เซ็นต์ผ่านโครงการผมจะไม่อ่านเลยแต่ขอดูความเป็นไปได้ก่อน ถ้ามันคืนทุนเอาชนะภายในห้าปีไม่ได้ถือว่าไม่น่าทำ เกินกว่าแปดปีคือปิดโครงการไม่ต้องคิดต่อ ถ้าไม่ผ่านจุดนี้ผมไม่เปิดแฟ้มอ่านต่อให้นักศึกษาไปหาโครงการวิจัยอื่นทำแทนเพราะเสียเวลาชีวิตเปล่า
มั่นใจหรือครับว่าเยอรมันจะไปรอดถ้าไม่มีการช่วยเหลือจากภาครัฐ ตัวเลข 7000MW มาจากที่ไหนครับ นั่นคือขนาดโรงไฟฟ้าปฎิกรณ์ 8-10 โรงเลยนะครับ
ในยุโรปราคาหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์ต่อน้ำหนักยังขายได้ราคาสูงกว่าเอาไปใช้ภาคพลังงานเพราะหญ้ามันมีไม่ทั้งปีแต่สัตว์ต้องกินทุกวัน
ช่วงปลายใบไม้ร่วง ช่วงหนาว และอีกสองเดือนของต้นใบไม้ผลิ ไม่มีหญ้าป้อนเข้าโรงงานต้องหยุดเครื่องแต่ดอกเบี้ยของทุนไม่หยุด
ตอนนี้ยุโรปเข้าใจกันกระจ่างแจ้งแล้วว่าถ้าจะเอาพื้นที่มาปลูกพืชพลังงานค่าอาหารในประเทศจะแพงขึ้นจนไม่คุ้มทุนกับการเสียพื้นที่ไปเหมือนกับบ้านเราที่เกิดวิกฤติน้ำมันปาล์มที่ ปตท.ดูดจากตลาดไปใช้จนเกลี้ยง
เวลานี้อนาคตของพลังงานในยุโรปอยู่ที่ solar farm กับ wind mill ครับ
จาก von Richthofen
125.24.10.91
พุธ, 20/3/2556 เวลา : 01:52 IP : 125.24.10.91
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55748
คำตอบที่ 12
ผมตามไปอ่านข่าว ไม่ทราบว่านักข่าวเขียนผิด หรือ รมต ซื่อบื้อ ก็ไม่รู้ครับ
"ทางกระทรวงพลังงานเตรียมออกประกาศนโยบายให้การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์
ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาได้ถึง 7,000 เมกะวัตต์ ภายในเดือน มค. หรือกพ.ที่จะถึงนี้
โดยจะเป็นการส่งเสริมให้มีการร่วมมือระหว่างเอกชนผู้ลงทุน และชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น"
7000 MW คงใช้ที่ดินทั่วประเทศปลูก ข้าวไม่ต้องกินกันแล้ว
สบู่ดำมันไม่มีทางเกิดได้ตั้งแต่ทีแรกเพราะค่าแรงมันแพงกว่าค่าน้ำมันที่ได้มาครับ
จาก หนุ่มกระโทก
115.67.165.57
พุธ, 20/3/2556 เวลา : 02:25 IP : 115.67.165.57
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55749
คำตอบที่ 13
ทั้งประเทศมีนาปรัง 12.40 ล้านไร่ ต้องแบ่งมาปลูกหญ้า 7ล้านไร่
ถ้าเป็นที่รัสเซียรัฐมนตรีคนนี้โดนจับไปโกยถ่านหินในเหมืองแล้วครับ
จาก von Richthofen
125.24.57.178
พุธ, 20/3/2556 เวลา : 13:52 IP : 125.24.57.178
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55750
คำตอบที่ 14
ตอบคุณ von Richthofen
หญ้าเนเปียร์ จากต้นหญ้า...สู่ก๊าซชีวภาพ
พลังงานใหม่เพื่ออนาคตที่สดใสของประเทศ
จากสถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทยในทุกวันนี้ ได้ผลักดันให้เราต้องค้นคว้าหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ เพื่อใช้ทดแทนพลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจบัน ทำให้เราพบว่า หญ้าเลี้ยงช้างธรรมดาๆก็สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าได้ หญ้าเนเปียร์ หรือหญ้าเลี้ยงช้างในวันนี้ จึงเป็นมากกว่าหญ้าธรรมดาๆ แต่กำลังจะกลายเป็นพลังงานใหม่เพื่ออนาคตที่สดใสของประเทศ
กระทรวงพลังงานมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงใหม่ๆ และพบว่า หญ้าเนเปียร์หรืออีกชื่อหนึ่งคือ หญ้าเลี้ยงช้าง มีลักษณะลำต้นคล้ายต้นอ้อย โตเร็ว มีปริมาณน้ำตาลสูง และยังเป็นหญ้าในตระกูลเดียวกับหญ้าที่ประเทศเยอรมนีนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดทำ โครงการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าชนิดต่างๆ ในประเทศไทย ก็พบว่า หญ้าเลี้ยงช้างพันธุ์เนเปียร์ปากช่อง ๑ ที่ปัจจุบันนิยมนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์นั้น มีอัตราการผลิตก๊าซมีเทนสูงกว่าหญ้าชนิดอื่น โดยมีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพประมาณ ๖,๘๖๐ - ๗,๘๔๐ ลูกบาศก์เมตร/ไร่/ปี สามารถผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ได้ประมาณ ๓,๑๑๘ ๓,๕๖๓ กิโลกรัม/ปี ซึ่งเหมาะสมต่อการนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนมากกว่าหญ้าชนิดอื่นๆ
ทั้งนี้ จากการประเมินของกระทรวงพลังงาน พบว่าการปลูกหญ้าเนเปียร์ ๑,๐๐๐ ไร่ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ๑ เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท โดยกระทรวงพลังงานมีเป้าหมายที่จะตั้งกองทุน สนับสนุนด้านการเงินให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์การเกษตร และเกษตรกรรายย่อย เข้ามาร่วมมือกับภาคเอกชน ในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน โดยเกษตรกรเป็นผู้ปลูกหญ้า และโรงไฟฟ้าจะเข้ามารับซื้อในราคาประกัน รวมทั้งเป็นผู้เก็บเกี่ยวเอง ซึ่งจะเป็นการกระจายผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
สำหรับเป้าหมายของการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์นั้น ในเบื้องต้นจะส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าให้ได้ถึง ๗,๐๐๐ เมกะวัตต์ โดยมั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย เพราะประเทศเยอรมันซึ่งเป็นแม่แบบในโครงการนี้ มีศักยภาพในการปลูกหญ้าต่ำกว่าไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า ๗,๐๐๐ เมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่ และภูมิอากาศที่เหมาะสมกว่า จึงเชื่อว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า
กระทรวงพลังงานมีเป้าหมายอย่างชัดเจนที่จะพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศ โดยได้จัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒๕๖๕) มีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ ๒๐ ของการใช้พลังงานของประเทศให้ได้ภายในปี ๒๕๖๕ ซึ่งจะทำให้ลดการพึ่งพาน้ำมัน สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน
หญ้าเนเปียร์ในวันนี้จึงเป็นเรื่องที่เราต้องทำความรู้จัก เพราะนี่คืออีกหนึ่งทางเลือกด้านพลังงาน เพื่ออนาคตที่สดใสของประเทศไทยค่ะ
น.ส. พัชนี เผือกโสภาทัย มหาวิทยาลัยศิลปากร Young Reporter รายงาน
อันนี้เป็นข่าวที่คนรู้จักส่งเมลมาให้ครับ เเต่ตัวเลข 7000mw ที่เยอรมันผมเคยเห็นผ่านๆตาจากการอ่านข่าวมาบ้าง เเต่ตัวเลข 7000mw ที่ประเทศเรากำลังมีเเผนจะทำเห็นเเทบทุกข่าว เข้าใจว่าเห็นประเทศเค้าทำได้เลยคิดว่าตัวเองน่าจะทำได้เหมือนกันตรงนี้เลยทำให้ผมสนใจว่าขนาดประเทศเยอรมันยังทำกันมันก็น่าจะมีอะไรดี เเต่ที่ได้ทำการคำนวน break even เเล้วเงื่อนไขของประเทศเราอาจจะต่างกับของเค้าเช่น นโยบายการรับซื้อไฟของภาครัฐซึ่งประเทศเค้าผมลองหาข้อมูลดูพบว่า มีนโยบายการรับซื้อไฟช่วงเเรกในราคาที่สูงเเละจะลดลงเมื่อผู้ประกอบการคุ้มทุนเเล้ว ซึ้งในประเทศเราผมไม่ทราบว่ามีนโยบายเเบบนี้หรือปล่าว เลยอาจจะทำให้เงื่อนไขในการลงทุน ปลูกหญ้าเพื่อมาทำก๊าซ ไม่เหมื่อนกันหรือไม่ข่าวที่ผมได้มาอาจจะเป็นข่าวที่ผิด อันนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ
ส่งเรื่อง solar farm กับ wind mill ก่อนที่ผมจะมาทำ โครงการที่เป็นชีวมวลผมเคย ทำ โครงการพลังงานจากเเสงอาทิตย์ ครับ
จากผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยนั้นมีศักยภาพต่ำในด้านนี้ จริงอยู่ที่ประเทศเราอยู่ในเขตศูนย์สูตรหมายความว่าถ้าเทียบระยะทางกับประเทศอื่นเเล้วประเทศเราอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด เเต่ประเทศเราก็อยู่ในเขตมรสุมเช่นเดียวกันทำให้มี เมฆ เเละ ละอองในอากาศอยู่มาก ทำให้ลำเเสงที่ตกลงมาถึงพื้นจริงๆน้อยกว่าทางฝั่งยุโรปอยู่มาก
ส่วนเรื่องพลังงานจากลมไม่เคยศึกษาจริงๆจังๆเเต่เคยอ่านผ่านๆตามาว่าประเทศเราลมไม่เเรงเเละสม่ำเสมอเหมือนทางยุโรปเลยเหมาะเเค่จะใช้ได้เป็นบางพื้นที่เท่านั้น
ซึ่งจากศักยภาพของประเทศเราในส่วนของพลังงานทั้ง 2 ชนิดนี้ต่างกับทางยุโรปอยู่มาก ผมจึงคิดว่าประเทศเราน่าจะหันไปใช่ศักยภาพที่มีในด้านอื่นเเทน ผมเลยมองกลับมาที่พื้นฐานของประเทศเราซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรมซึ่งเหตุผลที่เราเป็นเมืองเกษตรได้เพราะ เรามีสภาพภูมิประเทศ เเละ อากาสที่เอื่ออำนวยต่อพืชหลายๆชนิด เเละอีกหลายๆสาเหตุ จึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้ผมสนในในด้าน พลังงานจากชีวมวล
ที่ผมได้ทำการวิเคราะห์มาเพียงเพื่อบอกความคิด เเละ สิ่งที่รู้เฉยๆ เเละอยากจะขอคำเเนะนำเพิ่มครับว่าที่ผมคิดว่ามันถูกหรือไม่เเละสิ่งที่ผมกำลังจะทำมันดูเป็นทางเดินที่มีโอกาสเกิดได้มากกว่าหรือปล่าว
ส่วงโครงการหญ้ามาทำก๊าซผมคิดว่าปิดๆมันไปซะดีกว่านะครับ 555 เเต่มีอีก 1 โครงการจะมาปรึกษาดูครับว่ามีโอกาสเป็นไปหรือไม่
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
14.207.49.102
พุธ, 20/3/2556 เวลา : 15:19 IP : 14.207.49.102
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55751
คำตอบที่ 15
ตอบ หนุ่มกระโทก
ผมก็ไม่ทราบว่านักข่าวเขียนผิดหรือมีเเผนจะทำจริงๆ เเต่ก็เห็นมาหลายข่าวเเล้วนะครับที่มีเเผนจะทำจริง 7000mw (หรืออาจจะเป็นข่าวเดิมเเต่มาโพสไว้หลายๆที่ 555)
ใช้ครับ 7000mw ใช้พื้นที่กว่า 7 ล้านไร่ เยอะมากมาย เเละจากที่ได้คำนวนระยะเวลาในการคืนทุนไปเเล้วก็ดูไม่สมเหตุผลจะลงทุนเลย ก็ยัง งงๆว่ามันจะทำได้จริงๆหรอ
เพราะ ดูเงื่อนไขเเต่ละอย่างไม่เอื่อให้สามารถจะทำได้เลย 555 ก็รอๆดูว่ารัฐบาลจะเก่งเเค่ไหน
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ แก้ไขเมื่อ : 20/3/2556 15:34:09
จาก Nook Nicz
14.207.49.102
พุธ, 20/3/2556 เวลา : 15:33 IP : 14.207.49.102
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55752
คำตอบที่ 16
อีกหนึ่งโครงการที่จะขอคำเเนะนำครับ ตั้งในกระทู้นี้เเล้วกันจะได้ไม่เปลืองพื้นที่
โครงการที่ผมจะปรึกษาอีกหนึ่งโครงการคือการนำไม้ไผ่มาใช้เป็นเชื่อเพลิงชีวมวล
ซึ่งจากที่ผมได้ลองศึกษาดูเเล้วพบว่าในการผลิตไฟฟ้า 1 mw จะใช้ไผ่ปริมาณ 60 ตันต่อวัน ที่ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า 30% (โรงไฟฟ้าความร้อน)
วิธีทำ ไผ่มีค่าความชื่น 70% เเละมี ค่าความร้อน 4000 kcal/kg
โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ 30%
จาก m = P/(n*HHV)
= 1000000/(0.3*(4000*10^3*4.184)
= 0.1991 kg/s
หรือประมาณ = 0.2*60*60*24 = 17.3 ton/day
(ซึ่งต้องใช้ไผ่ที่มีความชื่น 0% หรือมีน้ำหนักเเห้งปริมาณ 17.3 ตันต่อวัน ซึ่งไผ่มีความชื่น 70% ฉะนั้นต้องใช้ไผ่ปริมาณ 60 ตันต่อวันในกรณีที่ยังไม่ได้ถูกลดความชื้น)
เเละจากที่ได้ศึกษาเรื่องไผ่จากคนที่มีประสบการณ์ในการปลูกเเละทำอาชีพนี้อยู่เค้าให้ข้อมูลว่า ไผ่ 1 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 1 ปีจะได้นำหนักลำประมาณ 80 ตันต่อไร่ต่อปี
วิธีทำ ไผ่มีน้ำหนัก 80 ตัน ที่ความชื่อ 70% จะมีน้ำหนักเเห้งที่ 24 ตัน(0.277 kg/s)ที่ความชื่อ 0%
โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ 30%
จาก m = P/(n*HHV)
0.277 = P/(0.3*(4000*10^3*4.184)
P = 1390000 w หรือประมาณ 1.4 mw
ถ้าเราปลูกไผ่จำนวน 390 ไร่ จะสามารถตัดเเบบหมุนเวียนเเละผลิตกระเเสไฟฟ้า 1.4 mw ได้ตลอดทั้งปี
จาก Nook Nicz
14.207.49.102
ศุกร์, 22/3/2556 เวลา : 13:39 IP : 14.207.49.102
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55756
คำตอบที่ 17
การคำนวน break even ตามความรู้ที่มีเเละที่เพิ่มขึ้นจากที่คุณ von Richthofen เเนะนำ โดยการคำนวนจะอ้างอิงจากรูปที่ลงให้ดูนะครับไม่ทราบว่าจะดูเข้าใจกันหรือปล่าวเพราะผมวาดคร่าวอาจจะไม่ถูกหลัก Drawing เเปะ
ค่าใช้จ่าย
fix cost
พื้นที่ 470 ไร่ : จากรูป (1280*580/1600 = 470) สมมุติให้พื้นที่ในต่างจังหวัดราคา 70000 บาทต่อไร่ ฉะนั้นค่าที่จะเท่ากับ 470*70000 = 33 ล้านบาท
อ้างอิงจาก http://www.teedin108.com/land/district/1725/ ที่ดินจังหวัดสระเเก้วต่ำที่สุดในบรรดาทุกภาคมีราคาตั้งเเต่ 50000 ไปจนถึง เเสนกว่าบาทต่อไร่
เอาาค่าเฉลี่ยที่ 70000 ต่อไร่เเล้วกันไปตรวจเเนวสายส่งมามีรสถานนีไฟฟ้าที่อำเภอนี้อยู่จึงนำมาใช้เป็นข้อมูล คิดว่าพื้นที่นี้น่าจะสามารถตั้งโรงไฟฟ้าได้เเต่ที่ยังไม่รู้คือปริมาณความต้องการ
ไฟฟ้าของพื้นที่นั้นๆว่าเพียงพอหรือปล่าว..?? เพราะตามที่เข้าใจคือเราไม่สามารถสร้างตรงไหนก็ได้ เพราะ ถ้าบริเวณพื้นที่นั้นมีวความต้องการไฟฟ้าพออยู่เเล้วอาจจะไม่สามารถตั้งได้
โรงไฟฟ้า : ไม่ทราบว่าโรงไฟฟ้าความร้อนขนาดประมาณ 1-1.5 mw ราคาประมาณเท่าไหร 30 ล้านน้อยไปไหมครับ (รวมค่าหม้อเเปลงไฟฟ้าไปเป็นความต่างศักสูงด้วยนะครับ)
ค่าสายส่ง : หาข้อมูลไม่เจอจริงๆครับยังไงรบกวนคุณ von Richthofen พอจะมีข้อมูลไหมครับเเต่ถ้าให้อนุมานเลขขึ้นมาจากข้อมมูลที่มีอยู่น้อยนิดจะได้ว่าระยะห่างน่าจะประมาณ 10 กิโลเมตร
ราคาสายส่งตก 1 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ดังนั้นจะเท่ากับ 10 ล้านบาท
ค่าถนน : จากรูปจะได้ว่าพื้นที่ถนนทั้งหมดมี 54400 ตรม. ใช้พื้นลาดยางหนา 5 ซม. (ไม่รู้ต้องใช้ถึงพื้นคอนกรีตไหมเพราะถนนต้องรับน้ำหนักมาก เเต่เท่าที่หาข้อมูลมาพื้นลาดยางหนา 5 ซม.
สามารถรับเเรงได้ถึง 64 ตันซึ่งอาจจะขนเท่าละ 40 ตันเเต่ 2 รอบ) ราคาถนนลาดยางหน้า 5 ซม. ราคา ตรม. ละ 185 บาท เท่ากับ 54400*185 = 10 ล้านบาท
ค่าระบบท่อ : จากที่ได้หาข้อมูลมาสรุปได้คร่าวๆว่าค่าระบบท่อเเบบสปริงเกอร์ อยู่ที่ราวๆ 5000 บาทต่อไร่ฉะนั้นจะได้ว่า 5000*390 ประมาณ 2 ล้านบาท
ปลูกไผ่ : ดูรายละเอียดจากรูปที่ส่งให้ สรุปจะใช้ค่าใช้จ่ายในการปลูกไผ่ในครั้งเเรกนั้น 16 ล้านบาท
operating cost
โรงไฟฟ้า : ผมไม่ทราบจริงๆครับว่าค่าใช้จ่ายในการดูเเลเเละบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าในเเต่ละปีเป็นเท่าไหร
ค่าเเรง : อันนี้ผมก็ไม่ทราบอีกครับว่าโรงไฟฟ้าขนาดนี้ใช้คนกี่คนเเละเป็นคนระดับไหน(ต้องวิศวกรหรือใครๆก็ได้)เลยไม่รู้ว่าค่าเเรงจะเป็นเท่าไหรต่อปี
ค่าน้ำ : ผมไม่ทราบครับว่าถ้าใช้น้ำจากระบบชลปะทานต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรหรือปล่าวเเต่ก็พยายามสร้างบ่อกักเก็บน้ำในช่วงหน้าฝนเพื่อเอาไว้ใช้ตลอดทั้งปีซึ่งไม่รู้ว่าพอไหม >_<
ค่าขนส่ง : จากรูปคิดที่ระยะทางไกลที่สุดเเล้วกันนะครับเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จากที่ได้หาข้อมูลมาราคาจะตกอยู่ที่ 1 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร เเต่ขน 2 รอบจะใช้เรทที่ 2 บาทต่อ
ตันต่อกิโลเมตรเเล้วกันนะครับจะได้ว่าค่าขนส่งเท่ากับ 2*80*2 = 320 บาทต่อวัน ฉะนั้นปีนึงจะเสียค่าขนส่ง 370 * 320 = 120000 บาท น้อยไปไหมเนีย >_<
ค่าเชื้อเพลิง : ดูรายละเอียดจากรูปที่ส่งให้ สรุปจะใช้ค่าใช้จ่ายในการปลูกไผ่ในปีถัดๆไปอยู่ที่ 11 ล้าน
ดอกเบี้ย : ใช้เรท 8% ต่อปี ในการลทุนอาจจะกู้เงินจากธนาคารเพียงครึ่งเดียวคือ 50 ล้าน ฉะนั้นจะเสียดอกเบี้ยปีละ 4 ล้านบาท
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายในการปลูกไผ่นำข้อมูลมาจากคนที่ทกลองปลูกจริงจากกระทู้นี้ครับ
http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=16859804.0
จาก Nook Nicz
14.207.49.102
ศุกร์, 22/3/2556 เวลา : 13:43 IP : 14.207.49.102
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55757
คำตอบที่ 18
รายได้
ไฟฟ้า : เเสดงการคำนวนไว้ในรูปที่ส่งไปมีการคำนวนในช่วง on peak เเละ off peak เเต่ยังใช้ระบบ adder 0.3 ต่อหน่วยอยู่ซึ้งรายได้ต่อปีจะเเสดงรายละเอียดดังภาพอยู่
ที่ 3095992 x 12 ประมาณ 37 ล้านบาท
เถ้าลอย : จากกาหาข้อมูลมาขี้เข้าที่เกิดจากการเผาไหม้สามารถขายในอุสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้ในราคา 500-600 บาทต่อตัน เเต่ไม่ทราบว่าจะเกิดปริมาณเถ้าเท่าไหรในเเต่ละปี
(Fly ash)
carbon credit : ได้ไปอ่านช้อมูลมาว่าเราสามารถจำหน่อยได้เเละเนื่องตัวโรงไฟฟ้าต้องปลูกไผ่จำนวน 390 จึงน่าจะสามารถจำหน่อยได้เเต่ยังไม่นำมาบวกเพิ่มในรายได้เเล้วกันเพราะจากที่อ่าน
ดูเเล้วน่าจะขายกันยากต้องผ่านขั้นตอนอะไรมากมายเเต่ถ้าทำได้ก็จะเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่ง
สรุปรายได้ - เงินลงทุน - รายจ่าย
เงินลงทุน : 33 + 30 + 10 + 16 + 10 + 2 = 100
รายจ่าย : 11 + 4 + 0.12 + บำรุงรักษา + ค่าเเรง ประมาณว่า 20 ล้านต่อปี
รายได้ : 37 + ขี้เถ้า ประมาณว่า 40 ล้านต่อปี
ระยะเวลลาคืนทุน (จะประมาณค่าที่ไม่รู้คร่าวๆนะครับ)
ระยะเวลาการคืนทุน = เงินลงทุน / (รายได้ - รายจ่าย)
= 100 / (40 - 20)
= 5 ปี
อาจจะยาวซักหน่อยนะครับเเต่ผมพยายามสรุปให้เเล้ว ไม่ทราบว่าคุณ von Richthofen มีคำเเนะนำอะไรเพิ่มเติมอีกไหมครับ ถ้ามีจุดไหนที่คิดผิด หรือ พลาดลืมอะไรไปรบกวมเเนะนำด้วยนะครับ
ส่งตัวมีความเห็นว่าจุดอ่อนที่สำคัญเลยคือ ผลผลิตต่อไรถ้าไม่ได้ตามทีคาดการไว้อาจจะทำให้ไม่สามารถทำได้ เพราะ ตอนนี้เเปลงทดลองของคนที่ผมได้ติดต่อขอข้อมูลยังไม่สามารถให้ผลผลิตได้เนื่องจากเจอทั้งน้ำท่วมเเละไฟไหม้
ตอนนี้เลยทำได้เเค่ใช้ตัวเลขคำนวนความเป็นไปได้ทางเทคนิคก่อน นอกนั้นก็รอผลการทดลองจากของจริง
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
14.207.49.102
ศุกร์, 22/3/2556 เวลา : 13:45 IP : 14.207.49.102
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55758
คำตอบที่ 19
บางครั้งการตั้งธงตอนจบว่าจะเอาไปทำไรก่อนที่จะเห็นตัวเลขอีกตัวว่ามันเอาไปทำอะไรได้ดีกว่าบ้างมันจะบังความคิดที่ดีกว่าเอาไว้ และมันดีกว่ามากด้วย
ลองเขียนโครงการส่งกระบอกไม้ไผ่เข้าชลบุรีและนครปฐมเพื่อทำกระบอกข้าวหลามเทียบดูครับ
ตอนนี้ไม้ไผ่เกือบทั้งหมดของชลบุรีมาจากฝั่งเขมร และนครปฐมกาญจนบุรีมาจากชายแดนเกือบถึงพม่า ทุนที่ซื้อจากร้านทำข้าวหลามกระบอกเปล่าไม่ต่ำกว่าสามถึงห้าบาทตามฤดูกาล
ลองเขียนอีกโครงการทำตะเกียบส่งญี่ปุ่นและอเมริกา เพราะร้านซูชิและอาหารจีนแบบด่วนในอเมริกาต้องใช้ตะเกียบจากเอเซียล้วนๆ ร้านอาหารในญี่ปุ่นและเบ็นโตะต้องใช้ตะเกียบวันละเป็นสิบล้านคู่ ตะเกียบไม้ไผ่ในญี่ปุ่นขาดแคลนจนต้องใช้ไม้สปรูซจากจีนแทน แต่ร้านดีๆจะยังคงหาไม้ไผ่มาใช้บริการลูกค้าแม้ราคาจะสูงกว่าหลายเท่า
โรงงานตะเกียบไม้ไผ่เคลือบอีนาเมลของญี่ปุ่นในประเทศไทยก็ใช้ไม้ไผ่แก่ได้อายุระดับคุณภาพปีละไม่น้อย ของระดับนี้ใช้ตามบ้านราคาคู่ละสองร้อยเยนขึ้นไป ยังไม่รวมตลาดของอุตสาหกรรมก่อสร้างและ SME ที่ใช้ไม้ไผ่ไปต่อยอดผลิตภัณฑ์
ผมเป็น Adviser ให้นักศึกษาระดับ ป.โท ทำงานวิจัยถ่านอัดก้อนและ Gasifier จากไม้ไผ่มาตั้งแต่เมื่อสามสิบปีก่อนมาไม่ต่ำกว่าครึ่งโหล แม้จะถึงวันนี้มูลค่าต่อน้ำหนักคิดเป็นตัวเงินมันไม่เคยชนะ ตะเกียบ กระบอกข้าวหลาม ไม้จิ้มฟัน ได้สักที
จาก von Richthofen
125.24.2.148
ศุกร์, 22/3/2556 เวลา : 15:16 IP : 125.24.2.148
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55759
คำตอบที่ 20
ตอบ คุณ von Richthofen
จากที่ได้ลองไปสอบถามคนใกล้ๆตัว(ที่ไม่มีประสบการณ์อะไรในการทำธุรกิจเท่าไหร) เค้าให้ความเห็นว่า
1. ถ้าเราทำตะเกียบส่งออกให้ประเทศดังกล่าวไม่ว่าจะ อเมริกา ญี่ปุ่น หรือทางยุโรป เราจะสู้จีนได้หรอ..??
2. เเล้วพวกเขาก็สงสัยว่าคนที่เเนะนำผมไม่ว่าจะเป็นคุณ von Richthofen หรือ คนที่มีประสบการณ์ท่านอื่นๆ ทำไมถึงไม่ทำในเมื่อเห็นโอกาสอยู่เเล้ว
ทั้งหมดเป็นเพียงของสงสัยที่คนรอบๆตัวผมอยากทราบเเละลำพังเเค่ผมเองไม่สามารถให้คำตอบเค้าได้
เเต่โดยส่งตัวคิดว่าจะลองไปศึกษาดูกว่าว่าตลาดเป็นยังไงก็ยังมืดๆอยู่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี เเต่คิดว่าจะเข้าไปเริ่มจากการหาตลาดก่อนที่กรมส่งเสริมการส่งออก จากที่หาข้อมูลมาเค้าบอกว่าจะมีข้อมูลของบริษัทต่างๆที่มาติดต่อว่าใครอยากซื้อ - ขาย อะไรบ้าง
เพื่อทราบความต้องการ เเละ ปริมาณของตลาดจากนั้นค่อยมาคิดเรื่องการผลิตว่ารับไผ่จากไหน ชนิดอะไร เครื่องจักรเเละวิธีการผลิตต้องใช้เเบบไหน จึงจะได้ตามที่ตลาดต้องการ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์หาความเหมาะสมในการทำโครงการ
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
14.207.22.98
อาทิตย์, 24/3/2556 เวลา : 23:50 IP : 14.207.22.98
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55765
คำตอบที่ 21
ไม่ใช่อาชีพผมครับ และผมไม่มีไม้ไผ่ด้วย
ที่ผมแนะนำเพราะว่าเป็นการเอาไม้ไผ่มาใช้แบบที่สร้างกำไรมากกว่าเอาไปทำเชื้อเพลิงที่เขียนโครงการมาให้ดู และผมคิดว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศไม่มีใครคิดทำธุรกิจหากำไรด้วยการปลูกไม้ไผ่แล้วเอามาเผาเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวด้วย
ส่วนเรื่องจีน ถ้าอ่านและฟังข่าวต่างประเทศทุกวัน จะรู้ว่าจีนขาดแคลนไม้ไผ่มานานแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลจีนออกมารณรงค์ให้คนจีนใช้ช้อนซ่อมแทนตะเกียบไม้ไผ่ ตลาดไม้ไผ่ปัจจุบันนี้จีนไม่ใช่คู่แข่งของใครทั้งนั้น
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการส่งออกตอนนี้เกือบไม่มีใครใช้กันหรอกครับ ถ้าไปดูของจริงแล้วจะรู้ว่ามันไม่ใช่และใช้ไม่ได้ในตลาดจริง นอกจากหน้าใหม่ไม่มีประสพการณ์ที่เข้ามาเจ๊งเป็นรายต่อไป
"พวกเขา" นี่ใครครับ ผมไม่รู้จัก ถ้าจะคุยกับผมแล้วอ้างคำพูดบุคคลที่สามเป็นคนพูดออกแนวไม่สร้างสรรแบบข้างบนผมถือว่าคุณไม่ให้เกียรติ์ผม
จาก von Richthofen
125.24.3.3
จันทร์, 25/3/2556 เวลา : 03:08 IP : 125.24.3.3
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55766
คำตอบที่ 22
ตอบ คุณ von Richthofen
ก่อนอื่นก็ต้องขอโทษด้วยนะครับถ้าเกิดใช้คำพูดที่ดูเหมือนเป็นการไม่ใช้เกียรติคุณ von Richthofen พวกเขาที่ผมหมายถึงนั้นเป็นคนใกล้ชิดครับทั้งเพื่อน พี่ น้อง อา น้า ซึ่งผมคิดว่าเค้าเตือนด้วยความหวังดี เเต่พวกเค้าก็อาจจะมีความรอบรู้ หรือ ผมอาจจะถ่ายทอดเจตณาของคุณ von Richthofen ได้ไม่ครบถ้วนคำถามที่มีมันเลยออกมาเป็นเเบบนี้ ก็ต้องขอโทษคุณ von Richthofen ด้วยจริงๆนะครับ ผมยังอยากพูดคุยกับคุณ von Richthofen อยู่ครับการที่ได้คุยกันในฐานะ ผู้ให้ความรู้ กับ ผู้เรียนรู้ ทำให้ผมมีการพัฒนาความคิดเเละอื่นๆขึ้นอีกมากเเละผมก็เชื่อว่าการที่ได้คุยกันต่อจะทำให้ผมสามารถพัฒนาขึ้นไปได้อีก ยังไงก็รบกวนคุณ von Richthofen ช่วยเเนะนำด้วยนะครับ
ต่อไปผมก็ขอเข้าเรื่องการนำไม่ไผ่ไปเเปรรูปนะครับ ถ้าไม่เเนะนำให้เริ่มจากกรมส่งเสริมการส่งออก คุณ von Richthofen ช่วยเเนะนำได้ไหมครับว่า จะหาข้อมูลได้จากช่องทางไหนบ้าง
หรือว่าถ้าผมไม่มีช่องทางในด้านนี้ก็ควรหันไม่มองทางอื่นดีกว่า ..??
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
14.207.22.98
จันทร์, 25/3/2556 เวลา : 04:24 IP : 14.207.22.98
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55767
คำตอบที่ 23
ลองเบนเข็มมาเอาไม้ไผ่ เผาถ่านขายดีไหมครับ
คาร์บอนจากถ่านไม้ไผ่ รูพรุนสูงใช้ดูดกลิ่น ใช้เป็นสารกรองได้ดี
ส่วนหนึ่ง ขายเป็นแบบใช้ดับกลิ่นในตู้เย็น อีกส่วนไปใช้กรองน้ำ
อีกส่วนไปใช้เป็นเชื่อเพลิง ถ่านไม้แบบไม่มีควัน ญี่ปุ่นใช้กันมาก
เพราะมันไม่มี Tar ไม่มีสารก่อมะเร็ง
ได้ By Product เป็นน้ำส้มควันไม้ เอาไปทำอย่างอื่นต่อ
อย่าถามผมว่าทำไมผมไม่ทำ เพราะไม่ใช่อาชีพผมเหมือนกัน
งานที่ต้องพึงพาแรงงานผมขอบายครับ
ตอนนี้ ให้แบกหามเองก็คงไม่ไหว
จาก หนุ่มกระโทก
115.67.198.91
จันทร์, 25/3/2556 เวลา : 10:04 IP : 115.67.198.91
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55769
คำตอบที่ 24
ถ้าเข้าใจการรักษาระยะห่างระหว่างผู้ปรึกษากับที่ปรึกษาเอาไว้สักนิดก็ยังคุยต่อกันได้ครับ
ผมไม่ทราบว่าที่ตั้งเป้าเรื่องไม้ไผ่เอาไว้ตอนนี้มีไม้ไผ่ดิบสามารถใช้งานได้เดือนละกี่ตัน และทำไมต้องเป็นไม้ไผ่
ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่าโควต้าและชื่อบริษัทที่ติดต่อมายังกรมส่งเสริมการส่งออกนั้นโดนกรองมาแล้วชั้นหนึ่ง หัวกระทิโดนคว้าเอาไปหมดแล้วเหลือแต่งานที่กินยากออกมาปิดประกาศให้คนทั่วไปได้เห็น ถ้าอยากได้ออเดอร์ตรงกับผู้จัดจำหน่ายที่โน่นสมัยก่อนผมจะไปงาน Messe ประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบในยุโรปและญี่ปุ่นบ่อยมาก และส่วนมากตั้งใจจะซื้อขายสินค้าตัวหนึ่งแต่ได้มาอีกตัวหนึ่งเกือบทุกครั้ง
ผมเคยตั้งใจจะเอาสินค้าอย่างหนึ่งไปเสนอขาย แต่พอไปเดินงาน Messe ได้สองวันกลับได้ออเดอร์มะขามเปียกจากตะวันออกกลางมาเดือนละหกสิบตัน และได้ช้อนซ่อมมีดพลาสติกช้อนไอติมจากครัวสายการบินหนึ่งมาห้าหมื่นชิ้นต่อเดือนแทน ทั้งสองงานได้มาจากคนไปเดินซื้อในงานไม่ใช่บูตในงานเสียด้วย สองรายการนี่ทำเงินให้ผมหลายล้านบาทไปสองสามปี
คนที่ไปด้วยเป็นเจ้าของโรงงานผลิตโคมไฟมีเครื่องจักรและคนงานครึ่งร้อยได้งานมาครึ่งปีหักทุนแล้วยังกำไรสู้ผมขายมะขามเปียกกับช้อนไอติมไม่ได้เลย บางครั้งการมองอะไรที่เรียบง่ายไม่ยุ่งยากเกินไปนักจะให้ทางออกดีๆเสมอ
เมื่อปีที่แล้วผมเจอร้านที่นำเข้า earthware ที่โอซากา คุยกันสักพักก็สนใจงานฝีมือของบ้านเราที่ดีกว่าจีนเพียงแต่ไม่มีปัญญาจะส่งไปขายเท่านั้น
ถ่านที่หนุ่มกระโทกพูดให้ฟังก็น่าสนใจเพราะว่าตลาดในบ้านเรามีสองสามตัวจาก เศษไม้ กะลามะพร้าว และไม้ไผ่ แต่ไม้ไผ่จะเข้าตลาดได้ดีกว่าตรงที่มีรูพรุนสูงกว่ากะลามะพร้าว อุตสาหกรรมการกรองและบำบัดน้ำในบ้านเราใช้ปีละหลายพันตัน
จาก von Richthofen
125.24.73.135
จันทร์, 25/3/2556 เวลา : 15:23 IP : 125.24.73.135
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55770
คำตอบที่ 25
ตอบคุณ หนุ่มกระโทก
ผมก็เคยเสนอที่ปรึกษาเรื่องการเเปรรูปเป็นถ่านเพื่อนำมาใช้เป็นเชื่อเพลิงในโรงไฟฟ้าเพราะสามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าออกมาได้มากกว่าเดิม 70% (เช่น 1mw เป็น 1.6-1.7mw)
เค้าก็บอกว่าตลาดของถ่านไม้ไผ่สามารถเอาไปขายเป็นอย่างอื่นที่ให้มูลค่าสูงกว่า เเบบในกรณี กระบอกข้าวหลามเเละตะเกียบที่คุณ von Richthofen ได้เเนะนำเอาไว้
ซึ่งที่ผมมองเรื่องจากนำไผ่ไปเป็นเชื่อเพลิงเพื่อผลิตกระเเสไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวนั้นเพราะ ตามที่เข้าใจส่วนตัวการขายไฟจะมีการทำสัญญาซื้อขายกันกับทางการไฟฟ้า ซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว(จึงเหมือนกันการผูกขาดอยู่นิดๆ) เเละ การขอทำสัญญาขายไฟให้กับการไฟฟ้าในพื้นที่มีความต้องการไฟฟ้าอยู่ เราก็อาจจะได้รับการพิจรณาให้ทำสัญญาซื้อขายอีกทั้งโรงไฟฟ้ายังเป็นเเบบขนาดเล็กที่เมื่อต่อเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าใหญ่เเล้วไม่กระเทือนมากจึงน่าจะลดปัญหาขอการหาสถานที่ตั้งไปได้ ซึ่งที่กล่าวมาเพียงเพื่อจะบอกว่าผมพอจะรู้ว่าจะเริ่มโครงการยังไงเเละมีขั้นต่อวิธีการดำเนินงายยังไงเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ
ซึ่งผมตัดสินใจจะทำโครงการจากทรัพยากรเท่าที่ผมเห็นว่าผมมีความเข้าใจเเละสามารถจะทำได้มากที่สุด ซึ่งในส่วนของการนำไปเเปรรูปเป็นตะเกียบกระบอก,ช้าวหลาม หรือ ไปเเปรรูปเป็นถ่าน นั้นเป็นไอเดียที่ดีที่สุด ซึ่งโครงการมันควรจะเกิดในลักษณะที่นำไผ่ไปเเปรรูปเเละขายให้ได้มูลค่ามากที่สุด เเละ เศษที่เหลือก็นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อเพื่อลดค่าไฟเเละถ้าเหลือก็สามารถจำหน่อยออกไปได้อีก
เเต่ในส่วนของผมนั้นมองว่าผมไม่มีทรัพยากรในตรงนี้หรือยังไม่รู้เลยว่าจะเริ่มต้นยังไงดี ไม่รู้จะไปหาข้อมูลได้จากที่ไหนว่าถ้าจะส่งผลิตภันณ์เหล่านี้ออกนอกประเทศจะต้องติดต่อใคร หรือ ทำยังไง
เเต่ถ้ามีโอกาสผมก็อยากลองศึกษาดูครับเพราะจากที่คุณ von Richthofen เเละ คุณ หนุ่มกระโทก เเนะนำมาก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดในตอนนี้เเล้ว
ถ้าคณ หนุ่มกระโทก พอมีข้อมูล หรือ พอจะบอกได้ว่าถ้าผมจะทำสามารถไปหาข้อมูล หรือ ติดต่อใครหรือหน่วยงานไหน ได้จากที่ไหนบ้างก็รบกวนด้วยนะครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
14.207.22.98
จันทร์, 25/3/2556 เวลา : 16:23 IP : 14.207.22.98
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55771
คำตอบที่ 26
เรื่องสัญญาขายไฟดูให้ละเอียดนะครับมันมีสองอย่าง
อย่างแรกขายที่เหลือ
อย่างที่สองถ้าส่งไฟให้ไม่ได้ตามสัญญาโดนปรับนะครับ
ถ้าทำขนาด 10MW ผมคงเลือก Co-gen แทนที่จะเป็น Gas Engine
ส่วนเรื่องถ่านส่งออกถ้าจำไม่ผิดเคยออกรายการกบนอกกะลานะครับ
จาก หนุ่มกระโทก
115.67.198.91
จันทร์, 25/3/2556 เวลา : 17:04 IP : 115.67.198.91
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55773
คำตอบที่ 27
ตอบคุณ von Richthofen
ที่ผมตั้งเป้าเรื่องไผ่เอาไว้นั้นเพราะเเต่เดิมที่ศึกษาเรื่องการนำไผ่มาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า เเล้วก้ได้รับคำเเนะนำจากที่หลายๆคน เเละ คุณ von Richthofen เรื่องการนำมาเเปรรูปทำอย่างอื่นน่าจะมูลค่าที่สูงกว่า
เลยเป็นเหมือนโครงการที่คิดต่อเนื่องมาจากโครงการเเรก เเต่ในความเป็นจริงเเล้วมันผิดวัตถุประสงค์เดิมไปตั้งเเต่ที่คิดว่าจะนำไผ่ไปเเปรรูปเเล้วซึ่งถ้าจะทำในส่วนของการส่งออก หรือในส่วนของการเเปรรูปผลิตภัณฑ์ อาจจะมีตัวอื่นที่น่าสนใจกว่าไผ่ก็ได้เพียงเเต่จากหลายๆคนเเนะนำมาผมเลยอยากจะลองศึกษาดูให้รู้จริงเสียก่อนเพราะตอนนี้ก็ยังไม่มีโครงการอะไรใหม่ในหัว เผื่อถ้าตรงนี้มันมีทางเป็นไปได้ก็ศึกษาเป็นความรู้เอาไว้
ในตอนนี้ผมยังไม่มีผลผลิตในส่วนของไผ่หรอกครับมีเเต่เเผนว่าจะทำยังไม่ได้ลงทุน หรือ ปลูกอยู่เเล้วเป็นทุนเดิม
งาน Messe ที่ว่าใช้งานนี้หรือปล่าวครับ http://www.thaifranchisecenter.com/event/show.php?etID=4725 ถ้าใช้ในปีนี้มีตอนสิ้นปีที่ Zurich, Switzerland รอกันนานเลย 555
เเล้วอย่างที่คุณ von Richthofen ยกตัวอย่างเรื่องมะขาม กะ ช้อนซ่อม มาก่อนรับงานคุณ von Richthofen ได้มีพื้นฐานหรือเครื่องมือในการผลิตสินค้าเหล่านี้หรือปล่าวครับ หรือ ตัวปล่าวๆไม่มีอะไรเลยพอได้รับงานก็มาค่อยศึกษาเเล้วก็ลงทุนทำเลยครับ เพราะดูทั้ง 2 งานรายละเอียดในการผลิตเเตกต่างกันมาก
เเต่ถ้าในกรณีที่ช่องทางมันตันมากก็อาจจะเริ่มจากตลาดในประเทศก่อนก้ได้ในส่วนการนำไผ่ไปเเปรรูปเป็นถ่าน อย่างเช่นที่คุณ von Richthofen เเนะนำว่าอุตสาหกรรมการกรองและบำบัดน้ำในบ้านเราใช้ปีละหลายพันตัน
สมมุติถ้าผมจะเข้าไปเสนอขายสินค้าถ่านไม่ไผ่ให้กับบริษัทพวกนี้ตามที่เข้าใจคือเราต้องมีของก่อนใช้มั้ยครับเพื่อให้เค้านำไปทดสอบว่าดีกว่าเเบบเดิมที่ใช้อยู่หรือปล่าว เเล้วเราจะทำยังไงถึงจะสามารถเข้าไปถึงจุดนั้นได้เพราะอยู่ๆคงจะเดินเข้าไปเฉยๆเลยไม่ได้
ที่ผมเสนอโครงการไผ่เพื่อใช้เป็นเชื่อเพลิงนั้นเป็นเพียงเเนวทางที่ผมสนใจอยากจะทำเท่านั้น ซึ่งมันอาจจะไม่ใช้เเนวทางที่ดีที่สุดเเต่มันเป็นเเเนวทางที่ผมชอบเเละสนใจจะทำมากที่สุดครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
14.207.22.98
อังคาร, 26/3/2556 เวลา : 12:54 IP : 14.207.22.98
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55774
คำตอบที่ 28
ตอบคุณ หนุ่มกระโทก
ใช้ครับสัญญาซื้อขายไฟมี 2 เเบบประเภท Non-Firm กับ Firm
ประเภทของสัญญา SPP มี 2 ประเภท
1. ประเภทสัญญา Non-Firm (ระเบียบปี 2550)
อายุสัญญา 5 ปี
ไม่ได้รับเงินค่าพลังไฟฟ้า
ได้รับเงินเฉพาะค่าพลังงานไฟฟ้า
กฟผ. ไม่สั่งการเดินเครื่อง
2. ประเภทสัญญา Firm (ระเบียบปี 2550)
อายุสัญญา 20 - 25 ปี
ได้รับเงินทั้งค่าพลังไฟฟ้าและค่าพลังงานไฟฟ้าตามอัตรารับซื้อไฟฟ้า
มีการสั่งการเดินเครื่อง(ที่ทราบมาล่าสุดน่าจะเเจงล่วงหน้ามาประมาณ 1-2 สัปดาห์)
อันนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับรายละเอียดลึกๆจริงๆต้องไปอ่านในระเบียบการรับซื้อไฟจากทาง การไฟฟ้า
ในประเภท Non-Firm มีตัวอย่างเช่นพวกฟาร์มหมูที่นำมูลของหมูมาหมักทำก๊าซเเล้วมาผลิตกระเเสไฟฟ้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในฟาร์ม ซึ่งถ้าเหลือกระเเสสส่วนเกินก็จะสามารถจำหน่อยให้เเกการไฟฟ้าได้โดยไม่มีการกำหนดปริมาณของหน่วยไฟฟ้าในการจำหน่อยที่ตายตัวคือ เหลือเท่าไหรก็ขายไม่เหลือก็ไม่ขาย ยังไงก็ได้ 555
ในประเภท Firm การไฟฟ้าจะมีการสั่งเดินเครื่องซึ่งเราต้องจำหน่ายไฟฟ้าตามหน่วยที่การไฟฟ้าเรียกโดยเค้าจะเเจ้งล่วงหน้าก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถ้าทำไม่ได้ตามนั้นก็จะโดยปรับ เเต่ถ้าโดยไฟฟ้าเราสามารถผลิตไฟฟ้า 1 mw เเต่การไฟฟ้าเรียกเเค่ 0.8mw จะมีการจ่ายค่าชดเชยในส่วนที่เราไม่สามารถเดินเครื่องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามสํญญาที่ทำกันไว้
ในส่วนของเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้า ถ้าในกรณีที่ใช้ไม้ไผ่หรือเชื้อเพลิงเเข็ง เข้าใจว่าเทคโนโลยีที่จะใช้นั้นจะต้องเป็นเเบบ Steam Turbine Power Plant หรือเเบบนำไปเผาโดยตรง ถ้าจะใช้ระบบ cogen ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นเเบบที่ใช้กังหันก๊าซเเล้วนำไอเสียที่มีอุณภูมิสูงไปใช้ต้มน้ำเพื่อผลิตกระเเสไฟฟ้าอีกต่อนึง ซึ่งถ้าจะใช้เชื่อเพลิงเเข็งก็จะต้องมีระบบ Gasifier หรือเป็นโรงไฟฟ้าเเบบ IGCC (Integrated gasification combined cycle) เพื่อทำให้เชื้อเพลิงนั้นเปลี่ยนไปเป็นก๊าซก่อน ซึ่งในส่วนนี้ผมยังไม่ได้ศึกษาลงรายละเอียดลึกเเต่ก็เห็นมีโรงไฟฟ้าใหญ่เค้าทำเเบบนี้กันในระบบ IGCC เพราะสามารถใช้ถ่านหินคุณภาพต่ำให้มีประสิทธิภาพสูงได้ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าสำหรับโรงไฟฟ้า 1 mw เหมาะหรือปล่าวกับระบบนี้เพราะส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็นเเบบ gasifier จับคู่กับ gas engine
หรือไม่ก็เป็บเเบบ Steam Turbine ยังไงก็รบกวนคุณ หนุ่มกระโทก เเนะนำด้วยนะครับ
เรื่องการส่งออกถ่านผมได้ดูรายการนี้มาครับ
http://www.youtube.com/watch?v=0kunggHJ3GA ตอนที่ 1
http://www.youtube.com/watch?v=XSuhnX2r_bQ ตอนที่ 2
http://www.youtube.com/watch?v=4YFhf-DolfA ตอนที่ 3
ส่วนรายการกบนอกกะลายังไม่ได้ดูครับ เเต่วันนี้เเหละจะหาเวลาดู 555
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
14.207.22.98
อังคาร, 26/3/2556 เวลา : 14:25 IP : 14.207.22.98
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55775
คำตอบที่ 29
Messe จัดกันทั้งปีครับ มีหลายเมืองหลายประเทศ
ผมไม่มีเครื่องจักรหรืออะไรหรอกครับ โทรศัพท์เครื่องเดียวก็จบแล้ว
เพียงแต่ผมรู้ว่าต้องโทรหาใครเพื่อเอาอะไรมาขายเท่านั้น
ชนะโดยไม่ต้องรบ...... จาก : kupree(kupree) 27/3/2556 7:53:00 [101.51.254.57]
แสดงความคิดเห็นย่อย
จาก von Richthofen
125.24.1.32
พุธ, 27/3/2556 เวลา : 07:05 IP : 125.24.1.32
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55776
คำตอบที่ 30
ตอบคุณ von Richthofen
เเล้วถ้าผมมีเเต่โทรศัพท์ เเต่ ไม่มีคนที่จะให้โทหาละครับ 555
คือ ถ้าผมอยากจะขอปรึกษาเเค่ในส่วนของการนำมาใช้เป็นเเหล่งเชื้อเพลิงจะ ที่ผมได้คำนวนระยะเวลาการคืนทุนให้คุณ von Richthofen ดูไม่ทราบว่าจะพอให้คำปรีกษาได้ไหมครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากนะครับ มีอะไรเเนะนำเพิ่มก็รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
จาก Nook Nicz
27.130.241.72
พฤหัสบดี, 4/4/2556 เวลา : 12:06 IP : 27.130.241.72
แก้ไขคำตอบ
ลบคำตอบ
55787
คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>>
1 2 3
website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่
Since 22, Feb 2001
View My Stats
Truehits.net
วันพฤหัสบดี,21 พฤศจิกายน 2567
(Online 7511 คน)