WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


อานุภาพพระปริตต์
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:202.91.18.192

ศุกร์ที่ , 31/8/2550
เวลา : 01:01

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       หลายคนคงสงสัยว่าเรื่องอะไรหว่า พระปริตต์คืออะไร

เวลาที่ท่านนิมนต์พระไป งานทำบุญบ้าน งานมงคลต่าง ๆ
พระก็จะอัญเชิญเทวดา สวดพุทธมนต์ มีการโยงสายสิญจ์ ทำน้ำมนต์
หลายท่านคงสงสัยว่าท่านสวดอะไร มีความหมายและที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ??

การทำน้ำมนต์นั้นผิดพุทธบัญญัติหรือไม่


กระทู้นี้จะมา สาธยายค่อย ๆ เล่าที่มาที่ไป ตลอดจนความหมายของพระปริตต์ ต่าง ๆ
ตามกำลังความสามารถ และเวลาที่ว่าง ให้ท่านสมาชิกได้ทราบกัน

ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัย ด้วย เนื่องจาก ภูมิความรู้ของผมนั้นมีจำกัด










 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 3 จาก >>> 1  2  3  

คำตอบที่ 61
       และหากจะว่าให้เต็มยศเต็มอย่างก็อาจกล่าวได้ว่าความสงบระงับความปรุงแต่งทั้งหลายเป็นบรมสุข เป็นบรมสุขในความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง ซึ่งแปลว่านิพพานคือความสุขอย่างยิ่ง

ทั้งๆ ที่ความสุขอย่างยิ่งนั้นไม่มี มีแต่ในเชิงเปรียบเทียบถึงความดับทุกข์สิ้นเชิง เพื่อให้เห็นด้านที่ตรงกันข้ามกับภาวะที่ดับทุกข์สิ้นเชิงแล้วว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น

ดังนั้นความสงบแห่งสังขารหรือความหยุดระงับแห่งการปรุงแต่งจึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความสุขหรือทำให้เกิดความสร่างคลายจากความทุกข์ แม้ถึงความดับทุกข์สนิทสิ้นเชิง







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.249 จันทร์, 7/4/2551 เวลา : 00:12  IP : 125.24.44.249   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 23663

คำตอบที่ 62
       ขอบคุณประกายความคิดเรื่องนี้ให้ผมนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟังจากคุณสิริอัญญา อานิสสงค์ที่เกิดจากกุศลอันนี้ผมขอมอบให้เธอทั้งหมด

รูปประกอบจากภาพเขียนผนังอุโบสถวัดสามพระยาศิลปะในยุคเชื่อมต่อของงานศิลป์ไทย นีโอคลาสสิก ของช่างเขียนไทยเมื่อเกือบแปดสิบปีก่อนที่ผมกับรุจถ่ายเก็บเข้าคลังภาพไว้นานแล้ว

ในรูปเขียนแบบไทยๆที่ผนังอุโบสถด้านหนึ่งน่าทึ่งมาก ฝีมือช่างไทยเมื่อแปดสิบปีก่อน มีเครื่องบินปีกสองชั้น เรือเหาะฮินเด็นเบอร์ก เรือรบไอน้ำ คนไถนา เสือ

และต้นไม้บนผนังคล้ายแบบในรูปเขียนยุคก่อนเซอร์เรียลลิสต์เต็มรูปแบบของ ซัลบาดอร์ ดาลี เสียด้วย รูปแบบการวาดยุคแรกของ ดาลี ที่ยังไม่เซอร์เต็มสตีมยังอายุน้อยกว่ากับรูปฝาผนังนี้เกือบสี่สิบปีอย่างน่าแปลกใจของงานศิลปะของช่างสองคนที่ห่างไกลกันครึ่งโลก





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.249 จันทร์, 7/4/2551 เวลา : 00:35  IP : 125.24.44.249   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 23666

คำตอบที่ 63
       รตนะปริตต์ (พระปริตต์ว่าด้วยพระรัตนตรัย)

ถ้าเปิดแผนที่อินเดียโบราณจะเห็นแม่น้ำคงคาไหลจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือลงมาทิศใต้
แล้วหักเลี้ยวมาผ่านภูมิภาคตอนเหนือมาทางทิศตะวันออก

เมืองเวสาลี ราชธานีโบราณของอาณาจักรวัชชี อยู่ทางฝั่งซ้าย(หรือฝั่งเหนือ)ของแม่น้ำคงคา

ส่วนเมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ที่อยู่ฝั่งขวา(หรือฝั่งใต้)ของแม่น้ำคงคา

ตามอรรถกถาบาลีกล่าวไว้ว่า เมืองเวสาลีอยู่ห่างฝั่งแม่น้ำคงคาไป 3 โยชน์ หรือ 25 ไมล์
ส่วนเมืองราชคฤห์อยู่ห่างลงมาทางใต้ 38 ไมล์
ที่ต้องกล่าวถึงสองเมืองนี้เพราะว่า เมืองทั้งสองนี้เป็นมาของ รัตนสูตร หรือ รตนปริตต์ นั้นเอง


ในสมัยพุทธกาล เมืองเวสาลี เป็นเมืองที่มั่งคั่ง เป็นอาณาจักรที่ปกครองโดยระบบสมาพันธรัฐ
เป็นที่ประทับของกษัตริย์ลิจฉวี เนื่องจากความมั่งคั่งนี่เอง จึงเป็นที่หมายปองของพระเจ้าอชาตศัตรู
กษัตริย์แห่งแคว้นมคธที่ยึดอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นราชบิดาของตนเอง

มีเรื่องสนุก ๆ หาอ่านได้จากสามัคคีเภทคำฉันท์ อันแสนไพเราะ
แต่งโดย กวีเอกแห่งรัตโกสินทร์ ชิต บุรทัต
ที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรนี้ เพราะการแตกความสามัคคี



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 5/10/2551 เวลา : 15:37  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32734

คำตอบที่ 64
      
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล นครเวสาลีเกิดข้าวยากหมากแพง
ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ต้นข้าวแห้งตาย เกิดทุพภิกขภัยครั้งใหญ่
พวกคนยากจนอดตายก่อน จนซากศพที่ทิ้งอยู่นอกเมือง
ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งตลบไป พวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมือง
คนยิ่งล้มตายมากขึ้นก็เกิดโรคระบาดตามมา

เมื่อภัย 3 ประการ คือ ทุพภิกขภภัย อมนุษยภัย และ พยาธิภัย
เกิดขึ้นในนครเวสาลี เช่นนี้ ประชาชนจึงไปกราบทูลพระราชา ว่าภัย 3 ประการนี้
ไม่เคยเกิดขึ้นในรัชกาลก่อน ๆ ตลอดชั่ว 7 รัชกาลที่ผ่านมา เพราะพระราชาในครั้งก่อน ๆ
เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม เมื่อทรงสดับดังนั้น พระราชาจึงโปรดให้ประชาชนประชุมกัน
ร่วมพิจารณาสอดส่องพระจริยาของพระราชา ก็ไม่พบสิ่งที่เป็นโทษ
จึงร่วมปรึกษากัน หาหนทางที่จะระงับภัย 3 ประการที่เกิดขึ้น
จนในที่สุดเห็นร่วมกันว่า ควรไปกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จมานครเวสาลี
แล้วภัยทั้งหลายจะสงบไปเอง

ขณะนั้นพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์
พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธทรงถวายการอุปถัมภ์อยู่

จึงตกลงส่งเจ้าลิจฉวี 2 องค์เป็นทูต นำเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร
กราบทูลเรื่องราวแด่พระเจ้าพิมพิสารให้ทรงทราบ แล้วทูลขอกราบนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังนครเวสาลี
พระเจ้าพิมพิสารตรัสให้เจ้าลิจฉวีทั้งสองไปกราบทูลนิมนต์เอง เจ้าทั้งสองจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
และกราบทูลว่า บัดนี้ภัย 3 ประการเกิดขึ้นในนครเวสาลี ถ้าพระพุทธองค์เสด็จไป เชื่อว่า
ภัยเหล่านั้นจะสงบและความสุขสวัสดี จะมีแด่ชาวนครเวสาลีทั่วไป

พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า การเสด็จไปนครเวสาลีในครั้งนี้
จะมีประโยชน์แก่ประชาชนหลายประการ พระองค์จึงทรงรับนิมนต์



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 5/10/2551 เวลา : 15:43  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32736

คำตอบที่ 65
      
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์
จึงตรัสสั่งประกาศให้ชาวราชคฤห์ทราบโดยทั่วกัน แล้วไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลให้รอเวลาจนกว่าจะตกแต่งมรรคาที่จะเสด็จดำเนินให้เรียบร้อยเสียก่อน

แล้วพระเจ้าพิมพิสารก็ตรัสสั่งให้ปราบพื้นที่มรรคาให้เสมอราบเรียบ
ตั้งแต่กรุงราชคฤห์ไปจนจรดฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางยาว 5 โยชน์
แล้วโปรดให้สร้างวิหารสำหรับพักตามระยะทางโยชน์ละ 1 หลัง
มีการประดับประดาตลอดระยะทางแล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า
เสด็จพระพุทธดำเนินพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ 500 รูป ไปตามมรรคา

พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า 2 คัน
และให้กางถวายพระภิกษุสงฆ์ 500 รูป ๆ ละ 1 คัน

พระองค์เสด็จพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายสักการบูชาด้วยดอกไม้และเครื่องหอม
และกราบมูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จประทับพัก พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์
ตามวิหารที่ทรงสร้างไว้เป็นระยะ แห่งละ 1 วัน ทุก ๆ โยชน์ เป็นเวลา 5 วัน
จึงนำเสด็จพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ไปตามมรรคาจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคา
แล้วทรงส่งข่าวสาส์นไปยัง นครเวสาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว

พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ 2 ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกัน แล้วสร้างมณฑปขึ้นบนเรือ
ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้และจัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้าประทับนั่ง
ด้วยรัตนะ 7 ประการ ทรงกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับ
และทรงนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้ง 500 รูป ขึ้นนั่งบนเรือตามอาสนะที่สมควร

พระเจ้าพิมพิสารมีความเคารพต่อพระพุทธเจ้ามากพระองค์ท่านเสด็จลงไปส่งในแม่น้ำคงคา
ทรงดำเนินลงไปในน้ำลึกถึงพระศอแล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า
"หม่อมฉันจะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาจนกว่าพระองค์จะเสด็จกลับ"

ขณะนั้น ทั้งพวกเทวดาและพระพรหมตลอดขึ้นไปจนถึงชั้น อกนิษฐ์(พรหมชั้นสุดท้าย)
และพวกพญานาค มีพญานาคชื่อกัมพัสสตระ เป็นต้น ณ เบื้องล่าง ต่างก็ถวายสักการบูชาร่วมกัน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 5/10/2551 เวลา : 15:49  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32737

คำตอบที่ 66
      
ฝ่ายทางนครเวสาลี เมื่อทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ 500
จึงช่วยกันปราบทำที่มรรคาให้เรียบ ตั้งแต่ฝั่งแม่น้ำคงคาไปจนถึงมืองเวสาลี
เป็นระยะทาง 3 โยชน์ และสร้างวิหารไว้ทุกโยชน์ รวม 3 หลัง
สำหรับพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับพักพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ 500 ที่ตามเสด็จ
ถวายทาน เตรียมทำการบูชาเป็น 2 เท่าของที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทำมาแล้ว
เรือขนานนำพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ มาในน้ำคงคาเป็นระยะทาง 1 โยชน์ ถึงเขตแดนเวสาลี

บรรดากษัตริย์ลิจฉวีพากันลุยลงน้ำเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาลึกถึงพระศอเช่นกัน

ครั้นเรือขนานเทียบถึงฝั่ง พอพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา
มีกลุ่มเมฆขนาดมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิด มีสายฟ้าแลบ ฟ้าร้องเสียงสนั่น
และฝนตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินพัดพาเอาทรากศพลอย
ลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้พื้นดินสะอาดไปทั่ว

เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีนำเสด็จพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์ เข้าพัก
ณ วิหารซึ่งสร้างไว้ประจำทุกโยชน์ ถวายทานถวายบูชาสักการะ เป็น 2 เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร
นำเสด็จพระดำเนินเป็นเวลา 3 วัน ก็ถึงนครเวสาลี

ขณะนั้น ท้าวสักกะเทวราชก็เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมด้วย
เมื่อเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่พากันมาประชุมในนครเวสาลีเช่นนี้
พวกอมนุษย์ก็เกรงกลัวอำนาจ พากันหลบหนีซุกซ่อนไปโดยมาก

พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองเวสาลีเป็นเวลาเย็น จึงตรัสแก่พระอานนท์เถระว่า
"ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียน รตนสูตรนี้ แล้วเดินจาริกทำปริตต์(ความคุ้มครองป้องกัน)
ไปในระหว่างกำแพง 3 ชั้นในเมืองเวสาลี กับพวก กุมารลิจฉวีเถิด"

แล้วตรัส รตนสูตร ขึ้นในกาลครั้งนั้น
ที่เรียกพระสูตรนี้ว่า "รตนะ" หมายถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นั่นเอง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 5/10/2551 เวลา : 15:54  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32738

คำตอบที่ 67
       เมื่อพระอานนท์เรียน รตนสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสประทานแล้ว
ท่านได้เอาบาตรศิลาของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง
พลางรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ทรงตั้งความปรารถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ
ตลอดจนถึงทรงแสดงพระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ในครั้งปฐมเทศนา
แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตต์ไปในระหว่างกำแพงเมือง 3 ชั้น

พอพระอานนท์เถระ เริ่มพระสูตรว่า "ยํ กิญฺจิ" เท่านั้น
พวกอมนุษย์ที่ยังไม่หนีไปและเที่ยวหลบซ่อน ก็พากันหนีออกทางประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ
อมนุษย์บางพวกก็ทะลายกำแพงเมืองพัง แล้วพากันหนีออกไป

ครั้นพวกอมนุษย์หนีกันไปหมดแล้วโรคภัยไข้เจ็บของชาวเมืองก็สงบลง
พวกชาวเมืองจึงพาออกจากเรือนของตน ถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น
พากันตามบูชาพระอานนท์เถระแห่ห้อมล้อมท่าน
พระเถระเดินทำปริตต์ไปทั้งคืน ตลอด 3 ยาม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 5/10/2551 เวลา : 15:58  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32739

คำตอบที่ 68
       ขณะนั้น ประชาชนได้ช่วยกันตกแต่งเมืองด้วยของหอม และจัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้าไว้
แล้วเชิญเสด็จพระพุทธองค์มาประทับ พระภิกษุสงฆ์และเจ้าลิจฉวี ตลอดจนชาวเมือง
ก็พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า ท้าวสักกะเทวราชพร้อมด้วยเทพในเทวโลก ก็พากัน
มาชุมนุมเฝ้าอยู่

ครั้นพระอานนท์เถระทำประปริตต์ไปทั่วพระนครแล้ว ก็กลับมา
พร้อมกับชาวเมืองที่หายโรคเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นประชาชนมาประชุมอยู่พร้อมกัน จึงตรัส รตนสูตร ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
ครั้นจบเทศนา ความสวัสดีได้มีแก่ราชตระกูลลิจฉวี อุปัททวันตรายทั้งปวงก็สงบ

พระพุทธเจ้าประทับในนครเวสาลีและตรัส รตนสูตร ทุกวัน ตลอดเวลา 1 สัปดาห์
(บางแห่งว่าประทับอยู่ครึ่งเดือน)
เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสลาชาวลิจฉวี เสด็จกลับนครราชคฤห์
ในโอกาสเสด็จพุทธดำเนินกลับนครราชคฤห์ในครั้งนี้
ทั้งมนุษย์ เทวดา พรหม และนาค ต่างพากันมาบูชาสักการะถวายแด่พระพุทธเจ้า
นับเป็น มหาสมาคม ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า มหาสมาคม เช่นนี้มีขึ้นในครั้งพุทธกาลเพียง 3 ครั้งเท่านั้นคือ

1 ยมกปาฏิหาริยสมาคม ได้ก่การชุมนุมใหญ่ในคราวพระพุทธเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์

2 เทโวโรหนสมาคม ได้แก่การชุนุมใหญ่ในสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์เทวโลก

3 คังโคโรหนสมาคม ได้แก่การชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา
คือการเสด็จกลับจากนครเวสาลีในครั้งนี้

พระโบราณาจารย์ได้พิจารณาเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของ รตนสูตร ตามเรื่องดังกล่าวมา
จึงนำเอา รตนสูตร มาทำเป็นพระปริตต์ สำหรับสวดป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ
ดังที่ผมจะได้กล่าวต่อไป



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 5/10/2551 เวลา : 16:01  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32740

คำตอบที่ 69
      
๑ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง

ภูติทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกอยู่พื้นดินก็ดี เป็นพวกอยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาประชุมอยู่ในที่นี้ ขอให้ภูติทั้งปวงเหล่านั้นทั้งหมดจงเป็นผู้มีน้ำใจดี
กับทั้งขอเชิญฟังคำที่ข้าพเจ้ากล่าวต่อไปนี้โดยเคารพ


๒ ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะหะรันติ เย พะลิง
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตาฯ

เพราะเหตุนั้น ภูตทั้งหลาย ขอท่นทั้งปวงจงฟัง ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงสร้างความเป็นมิตรแก่ประชาชนชาวมนุษย์ พวกมนุษย์เหล่าใด
ที่นำเครื่องพลีกรรมมาบวงสรวงแก่ท่าน ในกลางวันละกลางคืน
เนื่องจากเหตุผลนั้นแล ท่านทั้งหลายจงรักษาคุ้มครองพวกมนุษย์เหล่านั้น อย่าได้ประมาท

๓ ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรัตนะอันปราณีตใดในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือในสวรค์ทุกชั้น
ทรัพย์หรือรัตนะนั้น จะเสมอด้วยพระตถาคต ไม่มีเลย
รัตนะคือพระพุทธเจ้าเป็นของประณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

๔ ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

พระธรรมใดเป็นที่สิ้นกิเลส ปราศจากราคะ เป็นอมตะ ประณีต
ซึ่งพระศากยะมุนีพุทธเจ้าเป็นผู้มีหทัยเป็นสมาธิ ได้ทรงบรรลุแล้ว
พระธรรมนั้น หามีธรรมใดเสมอด้วยไม่
รัตนะคือพระธรรม เป็นของประณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

๕ ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

สมาธิใด ที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ตรัสสรรเสริญว่า เป็นธรรมสะอาด
ที่ปราชญ์ทั้งหลายเรียกกันว่า อานันตริกสมาธิ(คือมรรคสมาธิซึ่งให้อริยผลทันที)
หามีสมาธิอืนเสมอด้วย อานันตริกสมาธินั่นไม่
รัตนะคือพระธรรมเป็นของประณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

๖ เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

(พระอริย)บุคคล 8 ท่านเหล่าใด ที่สัตบุรุษทั้งหลายยกย่องสรรเสริญ
(พระอริย)บุคคล 8 ท่านนี้จัดเป็น 4 คู่ ท่านเหล่านั้นจัดเป็นพระสาสกของพระสุคตเจ้า
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา ท่านทั้งหลายที่ถวายในบุคคล 8 ท่านเหล่านี้ มีทานเป็นผลมาก
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของปราณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

หมายเหตุ
พระอริยบุคคล 8 จัดแบ่งเป็น 4 คู่คือ
ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคและโสดาปัตติผล 1 คู่
ท่านผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิและสกทาคามิผล 1 คู่
ท่านผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรคและอนาคามิผล 1 คู่
ท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคและอรหัตตผล 1 คู่


๗ เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันดี
มีใจมั่นด้วยสมาธิ ไม่มีกิเลส ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
บริโภคความดับสนิท(ผลสมาบัติ) โดยได้เปล่า ๆ
พระอริยบุคลลเหล่านั้น ได้ชื่อว่าบรรลุผลที่พึงบรรลุแล้ว
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของปราณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 จันทร์, 6/10/2551 เวลา : 09:08  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32833

คำตอบที่ 70
      

๘ ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ


เสาอินทขิล ที่ฝังลงดินลึก ลมที่พัดทั้งสี่ทิศ ไม่อาจทำให้ขยับเขยื้อนได้ ฉันใด
สัตบุรุษ คือ (พระโสดาบัน) ผู้หยั่งเห็นพระอริยสัจ ทั้งหลาย ตถาคตก็กล่าวว่า อุปมาฉันนั้น
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของปราณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

หมายเหตุ
เขาอินทขิลคือเสาหลักหน้าประตูเมือง หลักเมือง ในอรรถถาขุททกบาท อธิบายว่า
เป้นชื่อของเสาไม้แก่นที่ขุดฝังดินลึก 8 ศอก 10 ศอก ระหว่างธรณีประตู เพื่อป้องกันประตูเมือง

๙ เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

พระอริยบุคคลพวกใด(พระโสดาบัน) เห็นแจ้งอริยสัจทั้งสี่ ที่พระสัพพัญญูเจ้าผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
ทรงแสดงไว้ดีแล้ว บุคคลพวกนั้น แม้จะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก ท่านเหล่านั้นก็จะไม่ถือเอาภพที่ 8
(คือไม่เกิดใหม่อีกเป็นครั้งที่ 8)
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของปราณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

หมายเหตุ
ผู้บรรลุพระอริยในเบื้องต้นคือพระโสดาบันจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ
ดังนั้นจึงไม่มีชาติภพที่ 8

๑๐ สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทัฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

พร้อมด้วยการบรรลุทัสสนะ(คือโสดาปัตติมรรค) พระโสดาบันท่านก็ละธรรม(ได้แก่สังโยชน์)
3 ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพัต ถึงแม้ยังมีสังโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดเหลืออยู่อีก
แต่ท่านป็นผู้พ้นแล้วจากอบาย 4 และไม่อาจทำอภิฐาน 6 อย่าง
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของปราณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

หมายเหตุ
อภิฐาน 6 คือ
-ฆ่ามารดา
-ฆ่าบิดา
-ฆ่าพระอรหันต์
-ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้พระโลหิตตก
-ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน
-เปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาอื่น

๑๑ กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ท่านผู้บรรลุทัสสนะนั้น แม้ท่านจะยังทำกรรมชั่ว ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ อยู่บ้าง
ท่านก็ไม่อาจปิดบังกรรมชั่วที่ท่านทำนั้นไว้ การที่บุคลที่เห็นทางพระนิพพานแล้ว
จะปิดบังกรรมชั่วของตนไว้นั้น ตถาคตกล่าวว่าไม่อาจปิดบังได้
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของปราณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

๑๒ วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมังหิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

พุ่มไม้ในป่าใหญ่ผลิยอดในต้นเดือนคิมหันฉันใด พระตถาคตได้แสดงพระธรรมอันประเสริฐ
เป็นเครื่องชี้ทางดำเนินไปสู่พระนิพพาน ยิ่งยอดด้วยพระโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก มีอุปมาเหมือนพุ่มไม้ในป่า
รัตนะคือพระพุทธเจ้าเป็นของประณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี


๑๓ วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

พระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นผู้รู้พระนิพพานอันประเสริฐ เป็นผู้ให้พระธรรมอันประเสริฐ
เป็นผู้นำซึ่งมรรคอันประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นอันประเสริฐยิ่งกว่า
ได้แสดงโลกุตตระธรรมอันประเสริฐ
รัตนะคือพระพุทธเจ้าเป็นของประณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

๑๔ ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

พระอริยบุคคลเหล่าใด มีกรรมเก่าสิ้นไปแล้ว กรรมใหม่ที่จะเกิดอีกก็ไม่มี
ผู่มีจิตปราศจากความกำหนัดยินดีในภพต่ไป พระอริยบุคคลเหล่านี้ สิ้นพืชที่จะทำให้เกิดอีก
ไม่มีฉันทะที่เป็นเชื้อทำให้งอกงามได้อีกเป็นผู้มีปัญญา
ย่อมดับไปเหมือนประทีปดวงนี้ดับฉะนั้น
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของปราณีต
แม้ด้วยเช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

หมายเหตุ
ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวไว้ว่าในครั้งนั้น เขาตามประทีปบูชาเทวดาประจำเมืองไว้
มีประทีปดวงหนึ่งดับลง พระพุทธเจ้าจึงทรงนำมาแสดงเปรียบเทียบในพระสูตรนี้





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 จันทร์, 6/10/2551 เวลา : 09:10  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32835

คำตอบที่ 71
      


( 3 คาถาต่อไปนี้ เป็นเทวดำรัสของท้าวสักกะเทวราช )


๑๕ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ดูก่อนภูตทั้งหลาย
เป็นพวกอยู่พื้นดินก็ดี เป็นพวกอยู่ในอากาศก็ดี ที่มาประชุมอยู่ในที่นี้
ขอให้ภูติทั้งปวงเหล่านั้นจงนมัสการพระตถาคตพุทธเจ้า ผู้ซึ่งเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วกันเถิด
ขอความสวัสดีจงมี


๑๖ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ดูก่อนภูตทั้งหลาย
เป็นพวกอยู่พื้นดินก็ดี เป็นพวกอยู่ในอากาศก็ดี ที่มาประชุมอยู่ในที่นี้
ขอให้ภูติทั้งปวงเหล่านั้นจงนมัสการพระตถาคตธรรมเจ้า ผู้ซึ่งเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วกันเถิด
ขอความสวัสดีจงมี


๑๗ ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ดูก่อนภูตทั้งหลาย
เป็นพวกอยู่พื้นดินก็ดี เป็นพวกอยู่ในอากาศก็ดี ที่มาประชุมอยู่ในที่นี้
ขอให้ภูติทั้งปวงเหล่านั้นจงนมัสการพระตถาคตสงฆเจ้า ผู้ซึ่งเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วกันเถิด
ขอความสวัสดีจงมี






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 จันทร์, 6/10/2551 เวลา : 09:11  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32836

คำตอบที่ 72
       วัฏฏกะปริตต์ หรือ พระปริตต์ของนกคุ่ม


วัฏฏกะปริตต์ เป็นเรื่องราวในอดีจของพระพุทธเจ้า มีกล่าวเอาไว้ในคัมภีร์จิราปิฎก
เรียกว่า "วัฏฏกโปตกจริยา" และมีกล่าวไว้ในชาดกมีอรรกถาว่า

ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกอยู่ในแคว้นมคธ ได้เสด็จเข้าไปทรงรับบิณบาตในหมู่บ้านเล็ก ๆ
แห่งหนึ่ง เมื่อเสร็จจากการเสวยแล้ว จึงเสด็จกลับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงดำเนินตามมรรคา
ขณะนั้นเกิดไฟไหม้ป่าลุกลามล้อมอยู่ พระภิกษุที่ตามเสด็จจึงหนีไฟมาห้อมล้อมพระพุทธองค์
ทั้งเบื้องพระพักตร์และพระปฤษฎางค์(อ่านว่า ปริดสะดาง แปลว่าหลัง)
ไฟได้ลุกไหม้โหมโชติช่วงลุกลามใกล้เข้ามา ภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนก็พากันกลัวตายจึงจุดไฟเป็นแนว
กันเอาไว้ แต่ภิกษุอีกกลุ่มหนึ่งก็กล่าวขึ้นว่า พวกเรามากับพระพุทธองค์ จะไปจุดไฟทำไม
พากันเข้าไปอยู่ใกล้ ๆ พระพุทธองค์เถิด แล้วภิกษุทั้งหมดก็พากันเข้าไปห้อมล้อมอยู่ใกล้ ๆ พระพุทธเจ้า

ไฟป่าไหม้ลุกลามมาเสียงดังสนั่นหวั่นไหว จนใกล้ถึงบริเวณที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ห่างประมาณ
2000 ศอก โดยประมาณ ไฟก็ดับลงปานประหนึ่งดุจดังคบไฟจุ่มลงในน้ำ เหลือเนื้อที่ซึ่งไฟไม่ไหม้
ประมาณเป็นวงกลมที่มีรัศมี 2000 ศอก

เหล่าภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงพากันพูดว่า
"พระพุทธคุณนี้ช่างอัศจรรย์ จริงหนอ ไฟที่ไม่มีชิวิตจิตใจ ยังมิอาจลุกลามมาถึง
ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับยืน ดับไปเหมือบคบไฟจุ่มน้ำ พุทธานุภาพนี้น่ามหัศจรรย์จริงๆ"


พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับคำที่ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน จึงตรัสว่า
"ที่ไฟไหม้มาถึงที่นี่แล้วดับลง หาใช่อานุภาพของเราตถาคตในบัดนี้ไม่
แต่การที่ไฟดับลงนี้ เป็นอานุภพของสัจจะในครั้งโบราณกาลของเรา
และตลอดไปจนสิ้นกัปป์นี้ ไฟจะไม่ลุกไหม้ในภูมิประเทศนี้อีกเลย "

พระอานนท์จึงจัดปูผ้าสังฆาฏิหนา 4 ชั้นถวายเป็นที่ประทับนั่ง ครั้นพระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งแล้ว
พระภิกษุทั้งหลายจึงำากันถวายบังคมแล้วนั่งล้อมพระพุทธองค์ กราบทูลถามถึงเรื่องในอดีต
พระพุทธเจ้าจึงทรงนำวัฏฏกชาดกมาตรัสเล่าว่า ..................

หมายเหตุ

เรื่องนี้นับเป็น กัปปัฏฐิติปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์ที่ดำรงอยู่ตลอดกัปป์ นับมานับตั้งแต่
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงกำเนิดเป็นนกคุ่มแล้งทำสัจจกิริยาไว้
(นอกจากวัฏฏกะปริตต์นี้ ยังมี องคุลิมาละปริตต์ อีกปริตต์หนึ่งที่มีอานุภาพตั้งอยู่ตลอดกัปป์)





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.255.253 พุธ, 8/10/2551 เวลา : 21:33  IP : 115.67.255.253   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32957

คำตอบที่ 73
       เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์และทรงถือกำเนิดเป็นลูกนกคุ่ม
พ่อแม่นกทำรังอยู่ในป่านี้ แล้วทิ้งให้ลูกนกนอนอยู่ในรัง ส่วนนกพ่อแม่พากันออกไป
หาอาหารมาป้อนให้ลูกน้อย ยังไม่ทันที่ลูกนกจะกางปีกบินและก้าวเท้าเดินได้
ก็พอดีถึงฤดูไฟไหม้ป่า ซึ่งเกิดขึ้นในภูมิประเทศนี้เป็นประจำทุกปี
ขณะที่ไฟป่าลุกลามมาเสียงสนั่นหวั่นไหวนั้น บรรดาฝูงนกทั้งหลายต่างกลัวตาย
พากันส่งเสียงเอ็ดอึงบินหนีออกไปจากรังของตน นกคุ่มพ่อแม่ก็กลัวตาย พากันบินหนีไปเช่นกัน
พระโพธิสัตว์ทรงนอนอยู่ในรังยืดคอออกมดูเห็นไฟป่าไหม้ลุกลามมา จึงรำพึงว่า

"ถ้าข้าพเจ้ามีกำลังกางปีกบินออกไปในอากาศได้ ข้าพเจ้าก็จะบินไปที่อื่น
ถ้าข้าพเจ้ามีแรงยกขาเดินไปบนพื้นดินได้ ข้าพเจ้าก็จะก้าวขาไปที่อื่น
ทั้งพ่อและแม่ของข้าพเจ้าก็กลัวตายพากินหนีทิ้งข้าพเจ้าไว้แต่ผู้เดียว
บัดนี้ข้าพเจ้าไม่มีที่พึ่งอื่น ตัวเองก็หาคุ้มครองตัวเองได้ไม่ ตัวเองหาเป็นที่พึงแก่ตัวไม่
วันนี้ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรดีหนอ ??" ครั้นแล้วก็คิดได้ว่า

"ในโลกนี้มีคุณคือศีล มีคุณคือสัจจะ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่่งทรงบำเพ็ญพระบารมีมาแล้วในอดีต และทรงตรัสรู้แล้ว ทรงประกอบไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
ประกอบด้วยสัจจะ ด้วยความเอ็นดู ด้วยความกรุณาและขันติ ทรงเจริญเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
คุณธรรมทั้งหลายที่พระสัพพัญญูุพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งแทงตลอดมีอยู่ เรื่องนี้เป็นสัจจะคือความจริง
แม้ในตัวข้าพเจ้าเองก็มีสัจจะอยู่ 3 ประการปรากฏอยู่
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าควรจะรำลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พร้อมทั้งพระธรรมคุณที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ทรงบรรลุแล้วนั้น ยึดเอาสัจจะที่มีอยู่ในตัวข้าพเจ้า
มาทำ สัจจกิริยา ขอให้ไฟป่าถอยกลับไป ทำความสวัสดีให้แก่ตนและฝูงนกทั้งหลายด้วย"


ครั้นแล้วลูกนกคุ่มก็ทำสัจจกิริยา ซึ่งพระธรรมสังคาหกาจารย์เรียกว่า "วัฏฏกปริตต์"
ไฟไหม้ป่าก็ดับไปดุจดั่งเอาคบเพลิงจุ่มลงน้ำฉะนั้น

พระปริตต์นี้จะมีเดชหรือความขลังตั้งอยู่ชั่วกัปป์ในบริเวณนั้นไฟจะไม่ลุก
หรือแม้แต่จุดไฟก็ไม่ติดไปตลอดชั่วกัปป์ด้วยเช่นกัน

พระโบราณาจารย์ได้นำเอาวัฏฏกปริตต์นั้นมาใช้เป็นบทสวด สำหรับคุ้มครองป้องกันไฟ
และภยันตรายต่างรวมเอาไว้ในบทสิบสองตำนาณ

ท่านสมาชิกอาจจะได้เคยเห็นยันต์นกคุ่มกันบ้างนะครับ คราวนี้คงรู้แล้วว่ายันต์นี้เอาไว้ทำอะไร
แน่นอนว่ายันต์นี้ย่อมจะเขียนพระวัฏฏกะปริตต์ เอาไว้




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.255.253 พุธ, 8/10/2551 เวลา : 21:35  IP : 115.67.255.253   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32958

คำตอบที่ 74
       วัฏฏกปริตต์ และคำแปล


1 อัตถิ โลเก สีละคุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง

คุณคือศีล สัจจะ ชีวิตที่สะอาด และความเอ็นดู มีอยู่ในโลก
ด้วยสัจจะข้อนั้น ข้าพเจ้าจักขอทำสัจจกิริยาอย่างเยี่ยมยอด

2 อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน
สัจจะพะละมะวัส สายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง

ขาพเจ้าขอรำลึกถึงอานุภาพของพระธรรมคุณ ขอรำลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงชนะทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในปางก่อน แล้วอาศัยกำลังของสัจจะ
(ที่มีอยู่ในตัวของข้าพเจ้า) ขอทำสัจจกิริยา (3 ประการดังนี้)

3 สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา อะวัญจะนา
มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ เวทะ ปะฏิกกะมะ

ปีกทั้งสองของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่บินไม่ได้ เท้าทั้งสองของข้าพเจ้าก็มีอยู่ แต่เดินไม่ได้
พ่อและแม่ของข้าพเจ้าก็บินหนีไฟออกไปเสียแล้ว พระเพลิงเอ๋ยท่านจงถอยกลับไปเสียเถิด

4 สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัช ชะลิโต สิขี
วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี

พร้อมกับข้าพเจ้าทำสัจจกิริยา เปลวไฟที่ลุกโชติช่วงมากที่เว้นไว้(2000 ศอก) ดับไป
เหมือนเปลวไฟที่ตกถึงน้ำแล้วดับลงฉะนั้น

5 สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ

ไม่มีอันใดเสมอด้วยสัจจะของข้าพเจ้า นี้คือสัจจบารมีของข้าพเจ้า




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.132.73 พฤหัสบดี, 9/10/2551 เวลา : 11:26  IP : 115.67.132.73   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32963

คำตอบที่ 75
      







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.51.21 ศุกร์, 10/10/2551 เวลา : 15:19  IP : 125.24.51.21   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32998

คำตอบที่ 76
       โพชฌงคะปริตต์
(เป็นบทสวดเพื่อรักษา – บรรเทาความเจ็บปวด)

คำว่าโพชฌงค์ ประกอบด้วยคำ 2 คำคือ โพธิ + อฺงค
แปลง "อธิ" จาก "โพธิ" เป็น "อชฺฌ" ผสมกับ "อฺงค" สำเร็จรูปเป็น "โพชฌงฺค"
เมื่อผสมกันแปลว่า องค์แห่งธรรมสามัคคีเป็นเครื่องตรัสรู้หรือ ธรรมเป็นไปเพื่อตรัสรู้
บางทีก็เรียกว่า สัมโพชฌงค์ ธรรมที่เรียกว่า สัมโพชฌงค์ มี 7 ประการ คือ

1 สติ - ความระลึกได้
2 ธัมมวิจยะ - สอดส่องเลือกเฟ้นธรม
3 วิริยะ - ความเพียร
4 ปิติ - ความอิ่มเอิบใจ
5 ปัสสัทธิ - ความสงบใจ
6 สมาธิ - ความตั้งใจมั่น
7 อุเบกขา - ความวางเฉย

โพชฌงค์ 7 นี้ท่านรวมกล่าวไว้ในหมวดเรียกว่า โพชฌังคสํยุตต์ ใน สํยุตตนิกาย มหาวารวัคค์
และมีพระสูตรในมหาวารวัคค์นั้น กล่าวถึงโพชฌงค์ 7 นี้ว่า

ครั้งหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ในวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์
ท่านพระมหากัสสปเถระมีอาพาธ เป็นไข้หนัก อยู่ในถ้ำปิบผลิคูหา

(พระวิหารเวฬุวัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองราชคฤห์
ใกล้เชิงเขาเวภาระบรรพต ติดกับตโปทาราม ปัจจุบันกรุงราชคฤห์ เรียกว่าราชครี
เป็นตำบลหนึ่งในเมืองปัตตนะ ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ของประเทศอินเดีย
ส่วนถ้ำปิบผลิคูหา อยู่บนเชิงเขาเวภาระบรรพต ปากถ้ำหันหน้าไปทาง
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงราชคฤห์ใกล้ตโปทาราม ซึ่งติดอยู่กับประตูเมืองเก่า)


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปทรงเยี่ยมและทรงตรัส โพชฌงค์ 7 ประทาน
พอตรัสจบ ท่านพระมหากัสปปก็หายจากอาพาธ

อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหารเวฬุวันเหมือนกัน พระโมคคัลลานเถระ
มีอาพาธอยู่เป็นไข้หนักอยู่บนเขาคิชฌกูฏ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จไปทรงเยี่ยม
และตรัสโพชฌงค์ 7 ประทานอีกเช่นกัน พอได้ฟังจบ ท่านพระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธนั้น

และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงประชวรอาพาธหนัก
ท่านพระมหาจุนทเถระเข้าไปเฝ้าเยี่ยมพระประชวร พระองค์จึงทรงให้ท่านมหาจุนทเถระ
สวดโพชฌงค์ 7 ถวาย พอทรงสดับโพชฌงค์ที่ท่านมหาจุนทะสวดถวายจบ ก็ทรงหายประชวร

เรื่อง การสวดโพชฌงค์ 7 สามครั้งนี้เป็นพระสูตรเรียกชื่อโดยลำดับตามนามพระเถระว่า
มหากัสสปโพชฌังคสูตร มหาโมคคัลลานโพชฌังคสูตร และ มหาจุนทโพชฌังคสูตร

มีผู้กล่าวว่า โพชฌังคสูตรทั้งสามนี้ ได้มีผู้นำเอามาทำเป็นพระปริตต์สำหรับสวดคุ้มครองและป้องกัน
เมื่อมีผู้ใหญ่ในครอบครัวป่วยหนักและลูกหลานเห็นว่า เป็นมรณาสันนกาล(จะสิ้นชีวิตในไม่ช้า)
ก็ทำพิธีนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาสวดโพชฌังคสูตรทั้ง 7 นี้ให้ฟัง เรียกกันว่า "สวดต่อนาม"


พระโบราณาจารย์ได้นำเอาพระสูตรทั้งสามนั้น มาประมวลเข้าด้วยกัน ประพันธ์เป็นคาถาเรียกชื่อว่า
"โพชฌงคปริตต์" กล่าวอ้างเป็นสัจจกิริยาอำนวยความสวัสดีให้บังเกิดขึ้น

แม้ในสมัยปัจจุบันตัวผมเองก็ยังสวดบทพระปริตต์นี้ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อตอนที่พระองค์ทรงพระประชวร และทุกวันพระ(ถ้าไม่ลืม)

***ท่านพระมหาจุนทะ เป็นน้องของพระสารีบุตร****






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.100.16 เสาร์, 11/10/2551 เวลา : 20:26  IP : 115.67.100.16   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 33028

คำตอบที่ 77
      

1โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร

2 สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา

3 สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

(โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจะยะสัมโพชฌงค์
วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์,
สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ธรรม ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นแจ้งซึ่งธรรมทั้งปวง
ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อนิพพาน และเพื่อความตรัสรู้ ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ)


4 เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ

5 เต จะ ตัง อะภินันทิตวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

(ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตร พระโมคคัลลานะและพระกัสสปะ
เป็นไข้ถึงทุกขเวทนาแล้ว ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ
ท่านทั้ง ๒ ก็เพลิดเพลินภาษิตนั้น ก็หายจากโรคในขณะนั้น
ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ)


6 เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง

7 สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

(ครั้งหนึ่ง แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระราชาในธรรม อันความประชวรเบียดเบียนแล้ว
รับสั่งให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์นั้นโดยยินดี
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายความประชวรนั้นไป โดยขณะนั้น
ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ)

8 ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

(ก็อาพาธทั้งหลายนั้น อันพระอริยบุคคลผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่
แม้สามจำพวกละเสียแล้ว ถึงแล้วซึ่งความไม่บังเกิดเป็นธรรมดา
ดุจกิเลสอันพรอริยเจ้ากำจัดเสียแล้วด้วพระอริยมรรค
ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้ขอ ความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ)








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.100.16 เสาร์, 11/10/2551 เวลา : 20:32  IP : 115.67.100.16   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 33029

คำตอบที่ 78
       พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์*
จากคัมภีร์ มูลภาษา ที่อาจารย์พระมหาแสวง โชติปาโล
วัดศรีประวัติ บางกรวย นนทบุรี ได้นำมาจากประเทศพม่า
(อภินันทนาการ จาก พระราชญาณวิสิฐ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ๗๐๑๓๐)
...www.dhammakaya.org

นะโม สัมมาสัมพุทธานัง ปะระมัตถะทัสสีนัง สีลาทิคุณะปาระมิปปัตตานัง (๓ จบ)
พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ
ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ
สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ
อธิฏฐานสีลคาถา
(อธิษฐานศีล ๕ สำหรับญาติโยม สำหรับพระไม่ต้องอธิษฐานนี้)
อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ อะธิฏฐามิ
ทุติยัมปิ อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ อะธิฏฐามิ
ตะติยัมปิ อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ อะธิฏฐามิ
ปาณาติปาตาเวระมะณีสิกขาปะทัง อะธิฏฐามิ
อะทินนาทานาเวระมะณีสิกขาปะทัง อะธิฏฐามิ
กาเมสุมิจฉาจาราเวระมะณีสิกขาปะทัง อะธิฏฐามิ
มุสาวาทาเวระมะณีสิกขาปะทัง อะธิฏฐามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานาเวระมะณีสิกขาปะทัง อะธิฏฐามิ

* พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ บูชาพระพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ท่านผู้รู้แนะนำให้ใช้ภาวนาเพื่อปกป้องอุปสรรค อันตราย จากภัยต่างๆ มีภัยจากอาวุธและ/หรือลูกระเบิดเป็นต้นได้ จงตั้งใจสวดภาวนาสาธยายด้วยจิตสงบ

อะระหันเต อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
สัมมาสัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
วิชชาจะระณะสัมปันเน อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
สุคะเต อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
โลกะวิทุเก อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
อนุตตะเร ปุริสะทัมมะสาระถิเก อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
สัตถาเทวะมะนุสเส อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
พุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
ภะคะวันเต อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
อะระหันตาทิ นะวะหิ คุเณหิ สัมปันเน อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะ สะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
อัปปะกา วาฬุกา คังคา อะนันตา นิพพุตา ชินา
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ หิตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

นะโม เต พุทธะวีรัตถุ วิปปะมุตโตสิ สัพพะธิ
สัมพาธะปะฏิปันโนสมิ ตัสสะ เม สะระณัง ภะวะ

ตะถาคะตัง อะระหันตัง จันทิมา สะระณัง คะโต
ราหุ จันทัง ปะมุญจัสสุ พุทธา โลกานุกัมปะกา
ตะถาคะตัง อะระหันตัง สุริโย สะระณัง คะโต
ราหุ สุริยัง ปะมุญจัสสุ พุทธา โลกานุกัมปะกา
นาญญัตระ โพชฌังคาตะปะสา นาญัตรินทริยสังวะรา
นาญญัตระ สัพพะนิสสัคคา โสตถิง ปัสสามิ ปาณินัง

อตีตัง พุทธะ ระตะนัง พุทธะวังสัง อะนาคะตัง
มะมะ สีเส ฐะเปตวา ยาวะชีวัง นะมัตถุ เม

พุทโธ เม รักขะตุ นิจจัง พุทโธ เม รักขะตุ สะทา
พุทโธ เม รักขะตุ ทิเน อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
ธัมโม เม รักขะตุ นิจจัง ธัมโม เม รักขะตุ สะทา
ธัมโม เม รักขะตุ ทิเน อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
สังโฆ เม รักขะตุ นิจจัง สังโฆ เม รักขะตุ สะทา
สังโฆ เม รักขะตุ ทิเน อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว

มาราฬะวะกะ นาฬาคิริง อังคุลิง จิญจะ สัจจะกัง
นันโท ปะนันทะ พรหมัญจะ เชตุ โหตุ ตะโต ปะรัง
คัจฉันเต วา สะยะเน วา สัพพัสมิง อิริยาปะเถ
มิจฉาเทวา ปักกะมันตุ สัมมาเทวา อุเปนตุ เม

พุทโธ เม สีเส ติฏฐะตุ พุทโธ เม หะทะเย ติฏฐะตุ
พุทโธ เม อังเส ติฏฐะตุ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
ธัมโม เม สีเส ติฏฐะตุ ธัมโม เม หะทะเย ติฏฐะตุ
ธัมโม เม อังเส ติฏฐะตุ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
สังโฆ เม สีเส ติฏฐะตุ สังโฆ เม หะทะเย ติฏฐะตุ
สังโฆ เม อังเส ติฏฐะตุ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว

วิปัสสี พุทโธ ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อะนันตะปุญโญ อะนันตะคุโณ อะนันตะญาโณ อะนันตะเตโช
อะนันตะอิทธิ อะนันตะชุติ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
สิขี พุทโธ ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อะนันตะปุญโญ อะนันตะคุโณ อะนันตะญาโณ อะนันตะเตโช
อะนันตะอิทธิ อะนันตะชุติ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
เวสสะภู พุทโธ ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อะนันตะปุญโญ อะนันตะคุโณ อะนันตะญาโณ อะนันตะเตโช
อะนันตะอิทธิ อะนันตะชุติ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
กะกุสันโธ พุทโธ ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อะนันตะปุญโญ อะนันตะคุโณ อะนันตะญาโณ อะนันตะเตโช
อะนันตะอิทธิ อะนันตะชุติ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
โกนาคะมะโน พุทโธ ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อะนันตะปุญโญ อะนันตะคุโณ อะนันตะญาโณ อะนันตะเตโช
อะนันตะอิทธิ อะนันตะชุติ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
กัสสะโป พุทโธ ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อะนันตะปุญโญ อะนันตะคุโณ อะนันตะญาโณ อะนันตะเตโช
อะนันตะอิทธิ อะนันตะชุติ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
โคตะโม พุทโธ ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อะนันตะปุญโญ อะนันตะคุโณ อะนันตะญาโณ อะนันตะเตโช
อะนันตะอิทธิ อะนันตะชุติ อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว
สัตติเม พุทธา ภะคะวันโต อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา
อะนันตะปุญญา อะนันตะคุณา อะนันตะญาณา อะนันตะเตชา
อะนันตะอิทธิมันตา อะนันตะชุติมันตา อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว

นะโม เตสัง สัตตันนัง พุทธานัง ภะคะวันตานัง อะระหันตานัง
สัมมาสัมพุทธานัง อายุ ทีฆัง สุขัง ภะเว

อะนันตะปุญญา สัตติเม พุทธา ภะคะวันโต อะระหันโต
สัมมาสัมพุทธา อะนันเตหิ ปุญญะจักเกหิ มัง รักขันตุ
อะนันตะคุณา สัตติเม พุทธา ภะคะวันโต อะระหันโต
สัมมาสัมพุทธา อะนันเตหิ คุณะจักเกหิ มัง รักขันตุ
อะนันตะญาณา สัตติเม พุทธา ภะคะวันโต อะระหันโต
สัมมาสัมพุทธา อะนันเตหิ ญาณะจักเกหิ มัง รักขันตุ
อะนันตะเตชา สัตติเม พุทธา ภะคะวันโต อะระหันโต
สัมมาสัมพุทธา อะนันเตหิ เตชะจักเกหิ มัง รักขันตุ
อะนันตะอิทธิมันตา สัตติเม พุทธา ภะคะวันโต อะระหันโต
สัมมาสัมพุทธา อะนันเตหิ อิทธิมันตะจักเกหิ มัง รักขันตุ
อะนันตะชุติมันตา สัตติเม พุทธา ภะคะวันโต อะระหันโต
สัมมาสัมพุทธา อะนันเตหิ ชุติมันตะจักเกหิ มัง รักขันตุ

ทิวา ตะปะติ อาทิจโจ รัตติมาภาติ จันทิมา
สันนัทโธ ขัตติโย ตะปะติ ฌายี ตะปะติ พราหมะโณ
อะถะ สัพพะมะโหรัตติง พุทโธ ตะปะติ เตชะสา
ตาทิสัง เตชะสัมปันนัง พุทธัง วันทามิ อาทะรัง
ทิวา ตะปะติ อาทิจโจ รัตติมาภาติ จันทิมา
สันนัทโธ ขัตติโย ตะปะติ ฌายี ตะปะติ พราหมะโณ
อะถะ สัพพะมะโหรัตติง ธัมโม ตะปะติ เตชะสา
ตาทิสัง เตชะสัมปันนัง ธัมมัง วันทามิ อาทะรัง
ทิวา ตะปะติ อาทิจโจ รัตติมาภาติ จันทิมา
สันนัทโธ ขัตติโย ตะปะติ ฌายี ตะปะติ พราหมะโณ
อะถะ สัพพะมะโหรัตติง สังโฆ ตะปะติ เตชะสา
ตาทิสัง เตชะสัมปันนัง สังฆัง วันทามิ อาทะรัง
แผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ, อะหัง อะเวโร โหมิ, อะหัง นิททุกโข โหมิ,
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ, อะหัง อะนีโฆ โหมิ, อะหัง สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ, สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ,
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ, สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ,

อิทัง เม ปุญญัง ปุพพะการีนัญจะ เวรีนัญจะ อารักขะเทวานัญจะ ญาตะกานัญจะ
ทุกขัปปัตตานัญจะ นิพพานัสสะ จะ ปัจจะโย โหตุ อะนาคะเต กาเล.
ขออนุโทนาบุญกับทุกท่าน สาธุ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก nut33 124.120.159.138 อังคาร, 19/5/2552 เวลา : 03:19  IP : 124.120.159.138   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42218

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 3 จาก >>> 1  2  3  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันอาทิตย์,24 พฤศจิกายน 2567 (Online 3785 คน)