คำตอบที่ 1433
ผมขอขยายความในคำตอบที่ 583 ซะหน่อยนะครับ
ปาล์มน้ำมันที่สกจะต้องทำมากำจัดเอ็นไซม์บางตัวทิ้งไป เพื่อที่จะได้ปริมษณน้ำมันมากขึ้น
โดยผ่านการนึ่งที่อุณหภูมิ 130 ความดัน 3 บาร์ เป็นเวลา 8 ชั่วโมงครับ
ถ้าชาวบ้านทำกันจึงได้ผลผลิตต่ำกว่าโรงงานมาตรฐานเพราะว่า อุณหภูมิสูงไม่พอ หรือใช้เวลาน้อยเกินไป
การบีบที่ใช้เครื่องที่เป็นเกลียว ภาษาเทคนิคเรียกว่า สกรูเพรสครับ จะรีด บีบเจ้าผลปาล์มให้น้ำมันออกมา
แต่ว่าเครื่องจะกะขนาดพอดีที่ไม่บีบกะลาปาล์ม กะลาปาล์มที่มีเม็ดอยู่ด้านในจะยังไม่แตก
โดยเครื่องสกรูเพรสนี้จะมีลูกสูบไฮโดรลิคอยู่อีกข้าง คอยยันเอาไว้เพื่อกัหนดแรงบีบไว้
น้ำมันที่ได้จะมีน้ำปนอยู่และกากบางส่วนปนอยูด้วย ต้องนำไปผ่านเคื่อง Decanter เพื่อแยกกาก น้ำ และน้ำมันออกจากกัน
น้ำมันจะถูกแยกน้ำออกอีกโดยผ่านการกลั่นแบบ Vaccum ครับ เอามาพ่นเป็นฝอยที่ความดันต่ำกว่า 1 บรรยากาศ
อุณหภูมิประมาณ 70 องศา น้ำที่ปนอยู่จะระเหยเป็นไอออกมา
น้ำมันทั้งหมดจะไปผ่านเครื่องเหวี่ยง(Centrifuge) อีกที
กากปาล์มและกะลาปาล์ม ซึ่งเกือบจะแห้งแล้ว จะลูกลำเลียงผ่านระบบบ เกลียวหมุนไปยังเครื่องสลักกากปาล์ม
แบบเหวี่ยง เพื่อแยกกะลาปาล์มและกากปาล์มออกจากกัน
โรงงานเล็ก ๆ จะไม่บีบน้ำมันจากกะลาปาล์มครับ เอาไปขายต่อ โรงงานใหญ่ ๆ จะมีเครื่องกะเทาะกะลาเพื่อเอาเม็ดภายใน
ไปบีบน้ำมันครับก็ดดยใช้เครื่องสกรูเพรสเหมือนกัน แต่มีขนาดเล็กกว่าครับ
น้ำมันจากเมล็ดปาล์มราคาแพงกว่าน้ำมันจากเปลือกเนื่องจากมีสีใสสวย
ค่าพลังงานต่ำไม่เหมาะที่จะนำมาทำเชื้อเพลิง ราคาขึ้นลงตามน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันจากเปลือกจะไปผ่านการ Refine กำจัด ยางเหนียว ,ไขมันอิสระ, สี, กลิ่น
กากปาล์มเอาไปเพาะเห็ด ผนัง ปุ๋ย กะลาปาล์มที่เอาไป ทำเชื้อเพลิง
ไปทัวร์โรงหีบปาล์มที่สุราษฎร์มาครับ เลยพอจะโม้ได้