คำตอบที่ 7
เพราะได้เห็นดาวตกด้วยบารมีคุณสิงห์ จึงเเถมให้อีกนิดครับ
ข้อหาต่าง ๆ ที่ผิด หรือ ไม่ผิด พรบ. จราจรทางบก ตอบโดย พ.ต.ท.ยอดชาย ผู้สันติ รองผกก.2 บก.จร./ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล อ้างอิงจาก http://www.trafficpolice.go.th
(*** พึ่งระวังไว้เสมอว่า รายละเอียดในใบสั่งจะต้องระบุความผิดให้ชัดเจน อย่าให้เจ้าพนักงานจราจรเขียนเพียงว่า ดัดแปลงสภาพ ปรับแต่งสภาพ รถอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ อย่างนี้ผิดแน่นอน เพราะเราไม่มีหลักฐานอ้างอิง ***) ใน พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 14 ระบุว่า รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ระบุไว้ในเล่มทะเบียนจึงไม่ผิดนะครับ
1. กม.ไม่บังคับเกี่ยวกับการเปลี่ยนโชคอัพรถจักรยานยนต์ รวมทั้ง โซ่รถ ดุมล้อ แต่อย่างไรก็ตามหากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้สภาพรถผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ เช่น รถเตี้ยลงกว่าเดิมจนระดับความสูงของไฟหน้าต่ำหรือสูงกว่าที่กม.กำหนดก็มีความผิด ฐานเปลี่ยนแปลงสภาพรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ (ไฟต่ำหน้า ห้ามต่ำกว่า 50 เซนต์ หรือสูงกว่า 120 เซนต์)
2. จักรยานยนต์ที่ปาดเบาะ ทรงต่าง ๆ ไม่ผิดกฏหมาย พรบ.จราจรฯ
3. หมวกกันน๊อดจำเป็นจะต้องมีตรา มอก. รองรับมาตราฐานครับ ไม่ว่ายี่ห้อใด ๆ ก็ตาม
4. วงล้ออลูมิเนียม ล้อสีทอง และซี่ลวดสี น๊อตสี ล้อแมกซ์ ไม่ผิด กม. ครับ
5. การติดสติกเกอร์ ถ้าไม่ได้ทำให้สีเดิมของรถเปลี่ยนแปลงไป ไม่ผิด กม.ครับ
6. มาตรา 42 ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนูญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับ ฯลฯ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
7. กรณีมีรถประจำทางจอดอยู่ ถือว่าเป็นกรณีมีสิ่งกีดขวาง ดังนั้นจึงสามารถแซงออกมาได้ แต่ต้องรีบเข้าทางด้านซ้ายของทางเดินรถทันที เมื่อแซงพ้นออกไปแล้ว ไม่ใช่วิ่งต่อไปอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นก็อาจจะถูกจับได้
8. การนำกรอบอลูมิเนียมมาหุ้มแผ่นป้ายทะเบียนรถ หรือเจาะรูไส่น๊อต ไม่ผิดกฎหมายและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพรถ เว้นแต่การหุ้มนั้นปิดบังสาระสำคัญของหมวดอักษร หรือ หมวดตัวเลข หรือตัวย่อ ขส.
9. การไม่ชำระค่าปรับตามกำหนด 7 วัน (ดูได้จากหลังใบสั่งทุกใบ) จะต้องถูกปรับเพิ่มอีก 100 บาท( โดยประมาณ) แต่ไม่เกิน 1,000 บาท (ตามกม. และใช้ใบสั่งแทนได้ 7 วัน
10. การถูกบันทึกคะแนน (ตัดคะแนน) ความผิดจะถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติใน 1 ปี นับแต่วันที่ถูกจับกุม
11. การทำความผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันภายใน 1 ปี จะต้องเข้ารับการอบรม
12. กม.กำหนดให้ไฟหน้าของรถต้องเป็นไฟแสงขาว ซึ่งไฟที่ติดมากับรถเมื่อออกจากบริษัทขายรถนั้น เป็นแสงขาวถูกต้องแล้ว
การเปลี่ยนเป็นหลอดซีนอน ไม่มีความเป็น เพราะไฟที่มาจากโรงงานผลิตรถนั้น ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยดีแล้ว
13. ขณะนี้ยังไม่มี กม.บังคับ ให้เปิดไฟหน้ารถจักรยานยนต์เวลากลางวัน ถ้าถูกจับให้ไปพบร้อยเวร คุณไม่ต้องเสียค่าปรับหรอกครับ
14. รถจักรยานยนต์หรือ รถอื่นๆ หากเอกสารครบถ้วน สามารถจดทะเบียน พร้อมกับได้รับป้ายทะเบียนรถ ได้ภายใน 1 วัน เป็นการยืนยันของอธิบดีกรมการขนส่งทางบก แต่เป็นไปได้ยากในความเป็นจริง ดังนั้นถ้ารถยังไม่ได้แผ่นป้ายทะเบียน ขอย้ำว่ายังไงก็ผิดครับ
15. ถ้าป้ายทะเบียนหาย ไม่สามารถใช้ใบแจ้งความเพื่อแทนแผ่นป้ายทะเบียนได้ จะต้อง นำใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานที่กรมการขนส่งทางบกออกให้โดยระบุว่าให้มารับแผ่นป้ายใหม่อีก 60 วัน (หรือแล้วแต่ที่ระบุไว้) ติดตัวผู้ขับขี่ แสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเมื่อขอตรวจ และ ระหว่างที่ยังไม่ได้แผ่นป้ายทะเบียนใหม่ ให้ใช้แผ่นไม้หรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรงพอสมควร (ที่ไม่ใช่กระดาษเพราะโดนฝนแล้ว จะหลุดเลอะเลือน) เขียนหรือพิมพ์เลขทะเบียนรถและจังหวัด ขนาดเท่าของจริง ติดไว้แทนแผ่นที่หายไป
16. รถที่นำมาขับขี่ ต้องมีโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ ใช้ไฟแสงขาว ติดท้ายรถส่องที่ป้ายทะเบียนรถมีความสว่างสามารถอ่านป้ายทะเบียนรถได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 20 เมตร จากท้ายรถ แต่ต้องมีที่บังมิให้แสงพุ่งออกไป
ทางท้ายรถ ฝ่าฝืนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
17. ไฟเบรคต้องเป็นสีแดงเท่านั้น การติดไฟเบรคดิสโก้นั้น ผิดแน่นอนครับ เพราะไฟเบรคของรถทุกชนิด ต้องเป็นสีแดงอย่างเดียวเท่านั้น และจะส่องแสงสว่างเมื่อใช้ห้ามล้อ