จาก Tommy_Prerunner IP:118.173.153.196
อังคารที่ , 24/6/2551
เวลา : 21:42
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
หามาให้อ่านนะครับ หากต้องการโพส กรุณาให้อยู่ในกฏประจำห้องด้วยนะครับ (ว่าจะไม่โพสแล้วเชียว แต่มันคันไม้คันมือ)
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จับปากกาเขียนบทความเรื่องเ"เขาทำอะไรกันที่เขาพระวิหาร" ผยได้ยินผู้ใหญ่ในรัฐบาลและบิ๊กทหารจำใจรับข้อเสนอบัวแก้ว ดีกว่าปล่อยยืนเดี่ยวลุยยูเนสโก้ ดินแดนทับซ้อนจะยิ่งลุกลาม เปิดโปงเขมรไม่มีทางขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวได้ ถ้าไทยไม่รับรอง
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หนึ่งในผู้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการมรดกโลก ได้เขียนบทความเรื่อง "เขาทำอะไรกันที่เขาพระวิหาร" มีสาระสำคัญ คือ
จากการอ่านแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐมนตรี สก อาน ของกัมพุชา และนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย พบว่า แม้แผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาจัดทำขึ้นใหม่เพื่อประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก จะไม่ครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท ที่ไทยถือว่า อยู่ในเขตแดนของไทย ก็ตาม
แต่ข้อตกลงของที่ประชุมบางข้ออาจเปิดช่องให้ฝ่ายกัมพูชาใช้ประโยชน์ในการเรียกร้องดินแดนส่วนนี้จากเราได้ง่ายขึ้นในอนาคต แม้ว่ากัมพูชาอาจจะไม่ตั้งใจที่จะทำเช่นนั้นก็ตาม
ก่อนเรื่องเขาพระวิหารขึ้นศาลโลก กัมพูชาถือว่า เส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชาและไทย คือเส้นประ (รูปที่ 1) ส่วนไทยถือว่า เส้นเขตแดนคือเส้นทึบ
หลังจากศาลโลกตัดสินให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร (แต่ไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขตแดน รัฐบาลไทย มีมติครม.ปี 2505 ปรับเส้นเขตแดนใหม่ (เส้นไข่ปลา) แต่พื้นที่ทับซ้อนด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ (พื้นที่ JZ) นั้น รัฐบาลไทยยังถือว่าอยู่เขตแดนของไทยอยู่ต่อไป ซึ่งเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมากัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร โดยระบุเส้นเขตแดนตามเส้นประครอบคลุมพื้นที่ ที่ไทยถือว่า อยู่ในเขตแดนไทยด้วย ประเทศไทยจึงทักท้วง โดยเสนอทางออกขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน แต่กัมพูชาไม่ยอมตามข้อเสนอนี้
ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ที่เมืองไครส์เชิร์ช จึงได้ขอให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาตกลงกันให้ได้เสียก่อนทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของไทยพยายามเจรจากับกัมพูชาให้ยื่นขอจดทะเบียนร่วมกันมาโดยตลอด
แต่เมื่อไม่นานมานี้ รัฐมนตรี นพดล ปัทมะได้เข้ามาเป็นผู้นำการเจรจาด้วยตนเอง และได้เปลี่ยนแนวทางจากความพยายามที่จะขอยื่นจดทะเบียนร่วมกัน เป็นการยินยอมให้กัมพูชายื่นขอเพียงฝ่ายเดียว โดยจะต้องกำหนดเขตของปราสาทพระวิหารที่จะยื่นขอไม่ให้ครอบคลุมพื้นที่ JZ ที่เราถือว่า อยู่ในเขตแดนไทย
ผลการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายปรากฏว่า กัมพูชายินยอมกำหนดเขตที่จะยื่นขอขึ้นใหม่ตามแผนที่ในรูปที่ 2 จึงรู้สึกเหมือนกับว่า กัมพูชาได้ปรับเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือของปราสาท ให้เป็นของไทยโดยสิ้นเชิง เสมือนว่าผู้เจรจาสามารถทำให้เกิดความแจ่มชัดว่า กัมพูชายอมรับว่าพื้นที่ทับซ้อนส่วนนี้เป็นของไทย
แต่เมื่ออ่านคำแถลงการณ์ร่วมอย่างละเอียดแล้วพบว่า กัมพูชาเรียกเส้นที่กำหนดขึ้นใหม่เพื่อประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนนี้ว่า เส้นขอบเขตของปราสาท ไม่ได้เรียกว่าเส้นเขตแดน กัมพูชายังคงถือเส้นประในรูปที่ 1 เป็นเส้นเขตแดนตามเดิมและพื้นที่ JZ ในรูปที่ 1 ก็ยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนซึ่งจะต้องเจรจากันต่อไประหว่าง 2 ประเทศ
และเมื่ออ่านแถลงการณ์ร่วมอย่างละเอียดแล้วพบว่าในข้อ 4 ได้ระบุให้ทั้งสองประเทศต้องร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการฉบับสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ (พื้นที่ JZ ในรูปที่ 1) และให้บรรจุแผนการบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าวไว้ ที่จะต้องเสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553
แถลงการณ์ข้อนี้ ชี้ชัดว่า คณะกรรมการมรดกโลกต้องการแผนบริหารจัดการของพื้นที่ทับซ้อนด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาทจึงจะพิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารแต่เป็นการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทและพื้นที่รอบตัวปราสาท ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้มีสถานะเป็นมรดกโลกที่สมบูรณ์แบบรวมกันไปด้วย
หากปล่อยให้ดำเนินการไปเช่นนี้จนได้รับอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในที่สุด ก็เท่ากับว่ากัมพูชาเป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงผู้เดียว และเป็นผู้นำเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหาร โดยมีฝ่ายไทยช่วยจัดทำแผนบริหารจัดการดังกล่าว แต่ไม่ได้ร่วมขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกชิ้นนี้ด้วย
ข้อเท็จจริงที่ว่าการอนุมัติให้ปราสาทพระวิหารและพื้นที่รอบปราสาท เป็นมรดกโลก มิได้หมายความว่า พื้นที่ดังกล่าวตกเป็นของกัมพูชา แต่จะเป็นหลักฐานชัดเจนว่ากัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทและพื้นที่รอบปราสาทต่อคณะกรรมการมรดกโลก โดยประเทศไทยไม่ได้แสดงตนในความเป็นเจ้าของพื้นที่ทับซ้อนด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือไว้เป็นหลักฐานเลย เป็นพื้นฐานที่ดีที่กัมพูชาอาจใช้ในการเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนในพื้นที่ดังกล่าวได้ในอนาคต และมีข้อเท็จจริงเช่นกันว่า ขณะนี้ในพื้นที่ทับซ้อนบนเขาพระวิหารนั้น มีชาวเขมรไปตั้งบ้านเรือนจนเป็นชุมชนและมีร้านค้าขายของเป็นตลาดสำหรับนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว โดยไม่มีคนไทยเข้าไปอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนนี้เลย
กัมพูชายังถือว่า เส้นประในรูปที่ 1 เป็นเส้นเขตแดน และถือว่า พื้นที่ทับซ้อนทั้งหมดอยู่ในเขตแดนของเขา
หลังจากได้รับอนุมัติให้ปราสาทและพื้นที่โดยรอบเป็นมรดกโลกแล้ว เขาคงจะทิ้งช่วงเวลาไว้อีกระยะหนึ่ง จนถึงจุดที่อ้างได้ว่า ในทางปฏิบัติเขาได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทับซ้อนส่วนนี้มานานแล้ว ทั้งในด้านครอบครองเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขมร และในด้านที่เป็นส่วนประกอบของมรดกโลกที่เขาเป็นผู้เสนอแต่ฝ่ายเดียว เมื่อถึงเวลานั้นคนกลางที่ตัดสินอาจจะไม่สามารถปฏิเสธการเรียกร้องสิทธิดังกล่าวได้
ผมได้ยินมาว่า ผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายท่านและนายทหารใหญ่ที่มีอำนาจ จำใจต้องยินยอมตามข้อเสนอของกระทรวงต่างประเทศ เพราะได้รับทราบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศว่า หากประเทศไทยไม่สนับสนุนกัมพูชาก็จะดำเนินการขอขึ้นทะเบียนแต่เพียงลำพัง โดยใช้แผนที่ที่มีเส้นประในรูปที่ 1 เป็นเส้นกำหนดเขตของปราสาทที่ขอขึ้นทะเบียน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนที่ทับซ้อนไปทั้งหมด
ข้ออ้างนี้ไม่น่าจะเป็นจริง เพราะข้อบังคับของคณะกรรมการมรดกโลกข้อที่ 132.1 เรื่องการพิสูจน์สถานที่ ระบุว่า "ในกรณีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนซึ่งมีเขตแดนที่ไม่ชัดเจน ประเทศข้างเคียงจะต้องลงนามให้ความยินยอม คณะกรรมการมรดกโลกจึงจะรับพิจารณา"
นอกจากนี้ยังมีข้อบังคับข้อที่ 135 ซึ่งระบุว่า "หากเป็นไปได้ ประเทศที่มีมรดกโลกร่วมกันตามแนวชายแดน ควรเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกัน เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ร่วมกันของทั้งสองประเทศ" และในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยสองประเทศทำร่วมกันหลายชิ้นแล้ว
ท่านนายกฯ ครับ เรื่องนี้ยังไม่สายเกินแก้ ผมเชื่อในความรักชาติของท่านนายกฯ และผมเชื่อว่าท่านจะสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสม
อ้างอิงจาก : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=37636&catid=1
|