คำตอบที่ 11
9. ถัดมาจากนั้นแค่ปีเดียว คือใน พศ. 2530 ก็ได้นำเครื่องยนต์เบ็นซิน เครื่องที่เจ็ด ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ในรหัส Z 20 2,000 ซีซี เข้ามาเสริมทัพ และในช่วงปลายปี เดียวกันนี้ ก็เปลี่ยน เครื่องยนต์ดีเซล ไปเป็นรุ่นในลักษณะ สเวิร์ลแชมเบอร์ ที่ใช้รหัส TD 25 โดยเป็นรุ่นที่สี่ ของดีเซล ใน พศ. 2532 ก็ได้มีการแนะนำโฉมใหม่ ห้องโดยสารใหญ่ ที่เรียกกันว่า รุ่น King Cab ออกมาเป็นครั้งแรกหลังจากที่เพื่อนๆ ยี่ห้ออื่นเปิดตัวกันไปหมดแล้ว ซึ่งในขณะนั้นจะเป็นแค่เพียง แค็บขนาดเล็กเท่ากันกับรุ่นใน อเมริกาและมีเอกลักษณ์ตรงรูปทรงของกระจกบานเผยอที่โค้งส่วนบน ขึ้นไปหุ้มทับขอบหลังคา (สำหรับรูปลักษณ์ ที่เป็นแบบห้องโดยสารใหญ่นี้ในระยะหลังๆ วงการนิยมเรียกว่ารุ่น ตอนครึ่ง กันเป็นพื้น) และในอีกหนึ่งปี คือ พศ. 2533 ก็มีการปรับปรุง แบบไมเนอร์เชนจ์ ออกมาด้วยรุ่น BDI ที่มีจุดเด่นในรูปแบบทูโทนที่มีอยู่เพียง ยี่ห้อเดียวในขณะนั้น พร้อมกับเปลี่ยนเครื่องดีเซล เป็นครั้งที่ ห้า ทำให้กลับมาเป็นระบบ ไดเร็คท์อินเจ็คชั่น OHV แบบโบราณด้วยรหัส BD 25 ที่มีเรียวแรงมากที่สุดในขณะนั้นด้วย ระดับ 90 แรงม้า
เครื่องยนต์ Z 20 : เบ็นซิน 4 สูบเรียง OHC
ปริมาณกระบอกสูบ : 1,952 ซีซี
กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 85.0 x 86.0 มม.
แรงม้าสูงสุด : 91 แรงม้า ที่ 5,200 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด : 15.2 กก.-ม. ที่ 3,200 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ TD 25 : ดีเซล 4 สูบเรียง OHV สเวิร์ลแชมเบอร์
ปริมาณกระบอกสูบ : 2,494 ซีซี
อัตราส่วนกำลังอัด : 22.2 : 1
กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 92.9 x 92.0 มม.
แรงม้าสูงสุด : 85 แรงม้า ที่ 4,300 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด : 17.2 กก.-ม. ที่ 2,200 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ BD 25 : ดีเซล 4 สูบเรียง OHV ไดเร็คท์อินเจ็คชั่น
ปริมาณกระบอกสูบ : 2,494 ซีซี
อัตราส่วนกำลังอัด : 18.9 : 1
กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 92.9 x 92.0 มม.
แรงม้าสูงสุด : 90 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด : 17.6 กก.-ม. ที่ 2,200 รอบต่อนาที