คำตอบที่ 3
ชนิดและประเภทของโข่งไอเสีย
ในอดีตที่ผ่าน ๆ มา เรามักจะเห็นเทอร์โบโมดิฟายที่ติดตั้งในรถเบนซินบ้านเราจะใช้แต่โข่งไอเสีย แบบช่องเดียว ทั้งนี้เป็นเพราะอิทธิพลของเทอร์โบเก่าเชียงกง ที่เอาเทอร์โบเก่าไม่ว่าจะเป็น Garrett หรือ IHI ซึ่งในเครื่องดีเซลแท้ ๆ มาเปลี่ยนโข่งช่องเดียวที่หล่อในบ้านเรา ทั้งนี้เพราะโข่งทั้ง 2 ช่อง ในดีเซลมีขนาดใหญ่เกินไป เครื่องยนต์ทำบู๊สต์ไม่ได้หรือรอรอบเกินไป การนำโข่งช่องเดียวมาใช้จะเกิดปัญหาตามมามากมายอาทิเช่น
1. หากโข่งเล็กไปต้นจะมาจัดแต่ปลายเกียร์ 3 จะหมดเพราะโข่งอั้น ปลายไม่มี ที่สำคัญคือ เทอร์โบจะพังเร็วมาก เนื่องจากรอบเทอร์โบขึ้นสูงเกินไป เกิดอาการ Overspeed หากกันรุนไม่สึกจนรุน ทำให้ใบพัดไอดี และใบพัดไอเสีย เสียดสีกับโข่ง ก่อนเกิดอาการแกนไอเสียขาด ทุกท่านที่เคยเล่นเทอร์โบประมาณนี้มาคงทราบดีว่าเล่นไม่ไหว
โข่งไอเสียแบบช่องเดียวสามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ขนาด 1600 1800 ซีซี เนื่องจากว่าเทอร์โบยังมีขนาดเล็กขนาดของโข่งไอเสียจะใช้เพียงเบอร์ 6 cm2 (A/R 0.48) หรือ เบอร์ 8 cm2 (A/R 0.63 ) หากเครื่องยนต์มีการโมดิฟายเพิ่มขึ้นมาก ก็สามารถเลือกใช้โข่งไอเสีย (A/R 0.70 ) หรือ เบอร์ 10 cm2 2 ช่องได้ ซึ่งจะดีกว่าใช้โข่งไอเสียช่องเดียวเบอร์ 9 cm2 เป็นต้น
นอกจากนี้เทอร์โบแบบ Ball Bearing ก็สามารถใช้โข่งไอเสียแบบช่องเดียวได้ เพราะในขนาดโข่งไอเสียที่ขนาดเท่ากัน เทอร์โบแบบ Ball Bearing จะขึ้นเร็วกว่าเทอร์โบแบบบู๊สถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเห็นว่าจากกราฟว่าในเครื่องยนต์ SR20DET ที่ใช้เทอร์โบ Ball Bearing จะช่วยให้อัตราเร่งดีกว่าเทอร์โบแบบบู๊ส
อย่างไรก็ตามหากมีการใช้โข่งไอเสีย 2 ช่อง ใน Ball Bearing แล้วก็จะช่วยให้ อัตราเร่งเร็วกว่าเดิมอีก อย่าง
ไม่ต้องสงสัย ดังนั้น ในเทอร์โบ Ball Bearing รุ่นที่ใหญ่ขึ้นคือ GT 42 BB โข่งไอเสียแบบ 2 ช่อง จึงถูกกำหนดมาเป็นมาตรฐานสำหรับเครื่อง 6 สูบ โดยมีขนาดโข่ง ไอเสีย แบบ 2 ช่อง จึงถูกกำหนด มาเป็นมาตรฐานสำหรับเครื่อง 6 สูบ โดยมีขนาดโข่งไอเสีย A/R 1.05 และ 1.22 ให้เลือก สาเหตุที่โข่งไอเสีย 2 ช่อง ทำงานได้เร็วกว่าโข่งไอเสียแบบช่องเดียว ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะ
1. แรงดันไอเสียจะไม่เกิดการชนกัน เพราะช่วงจุดระเบิดที่แตกต่างกัน ในกรณี เครื่องยนต์ 4 สูบ การจุดระเบิดจะไล่จาก สูบ 1-3-4-2 เมื่อเราตีเฮดเดอร์สูบ 1 มารวมกับสูบ 4 ท่านจะเห็นว่า หลังจาก วาล์ว ไอเสีย สูบ 1 เปิด เพื่อคลายไอเสียออกสูบ 3 จะทำงานต่อทันที เมื่อช่วงไอเสียจากสูบ 1 คลายหมด สูบ 4 ถึงเริ่มทำงานเช่นเดียวกับสูบ 3 และสูบ 2 ดังนั้นจะไม่มีโอกาสที่ไอเสียเกิดอาการชนกัน ในทางกลับกัน จะเกิดแรงส่งต่อเนื่อง ของแรงดันไอเสียในท่อไอเสีย โดยศัพท์อังกฤษ เรียกว่า Exhaust Pulse จะช่วยกันดันใบพัดไอเสีย การที่เราแบ่งท่อไอเสียออกเป็น 2 ช่อง ไอเสียจากสูบ 1 จะเริ่มด้นใบพัดไอเสียฝั่งหนึ่ง หลังจากนั้น ไอเสียจากสูบ 4 ก็จะช่วยซ้ำต่อจากสูบ 1 และไอเสียจากสูบ 2 ช่วยซ้ำต่อจากสูบ 3 เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในขณะที่การใช้ท่อไอเสียรวมช่องเดียว แรงดันไอเสียทั้ง 4 สูบจะเกิดปะทะกันก่อนเข้าเทอร์โบลดลงซึ่งเครื่องยนต์ 6 สูบก็มีลักษณะเดียวกัน จากการทดสอบของโรงงาน IHI พบว่าโข่งไอเสียแบบ ช่องเดียว ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ท่านคงจะเห็นจุดเด่นและประโยชน์จากโข่งไอเสีย แบบ 2 ช่อง อย่างชัดเจน ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เทอร์โบ T88 ซึ่งใช้โข่ง 2 ช่องไม่ว่าเบอร์ 18 cm2 หรือ เบอร์ 22 cm2 ได้รับความนิยมมากกว่า เทอร์โบ T51R KAI ซึ่งใช้ โข่ง A/R 1.05 เพราะ T88 มาเร็วกว่า T51R ประมาณ 1000 รอบ ทั้ง ๆ ที่ ใบพัด KAI หรือ GT45 มี ประสิทธิภาพสูงกว่าใบพัด 34D Bearing โดยมีโข่งไอเสีย 2 ช่อง ให้เลือกตั้งแต่ A/R 0.48 ,0.58,0.70,0.84,1.00,1.15 เป็นต้น รวมถึง 12 cm2 , 14 cm2 16cm2, 19cm2 , 22 cm2 , ให้เลือกตามลักษณะเครื่องยนต์ที่โมดิฟายมาไม่ว่าเป็นเครื่อง 4 สูบ หรือ 6 สูบ เกียร์ออโต้ หรือ เกียร์ธรรมดา หากท่านคิดว่าจะเลือกซื้อเทอร์โบ ครั้งต่อไปเจาะจงเลือกแต่งโข่งไอเสียแบบ 2 ช่องเท่านั้น แล้วอย่าลืมเปลี่ยนเขาควายท่อไอเสียเป็น 2 ช่อง เช่นกัน 1+4 และ 3+2 สำหรับเครื่อง 4 สูบ และ 1+2+3 และ 4+5+6 สำหรับ เครื่อง 6 สูบ ท่านจะไม่พบกับความผิดหวัง
จบแล้วคับ