WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ดอยสูง ภูสวย
jeep_436
จาก พงษ์ กำแพง
IP:118.172.201.102

อาทิตย์ที่ , 13/9/2552
เวลา : 19:58

อ่านแล้ว = 8021 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สูง 2,565 ม.
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อ พ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา" ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)

ดอยอ่างกา มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากยอดดอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำแห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่าง ฝูงกาจำนวนมากมายมักพากันไปเล่นน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้ จึงพากันเรียกว่า "อ่างกา" และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า "ดอยอ่างกา"

แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า "อ่างกา" นั้น แท้จริงแล้วมาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า "ใหญ่" เพราะฉะนั้นคำว่า "ดอยอ่างกา" จึงแปลว่าดอยที่มีความใหญ่นั่นเอง

ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์"

ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
หินที่พบบริเวณดอยอินทนนท์มีอายุตั้งแต่ประมาณ ยุคพรีแคมเบรียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหินไนส์จนถึงยุคเทอร์เซียรี่ ซึ่งจะเป็นหินพวกหินกรวดมน โดยมีหินไนส์เป็นหินที่เกิดเป็นแกนใหญ่ ปรากฏทางทิศตะวันตกของพื้นที่ซึ่งเรียงตัวในแนวเหนือ – ใต้ และทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและที่บริเวณยอดดอยอินทนนท์ รองลงมาเป็นหินแกรนิตปรากฏกระจายอยู่ทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีหินแกรนิตโนไดโอไรต์ที่พบทางตอนกลางของพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหินปูนทางทิศตะวันออกสุดของพื้นที่และยังมีหินกรวด หินทราย และหินฟิลไลต์ (Phyllite) อีกด้วย

ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี ความชื้นสูงมาก โดยเฉพาะบนดอย ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี ในฤดูร้อนก็ยังมีอากาศหนาวเย็นอยู่ ต้องสวมเสื้อกันหนาว

แหล่งท่องเที่ยวบนดอยอินทนนท์
ความงดงามของธรรมชาติที่ไม่มีใครปรุงแต่ง เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้พลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาเยี่ยมชมสีสันของอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ อย่างไม่ขาดสาย สีเขียวตลอดปีของป่าใหญ่ดึกดำบรรพ์ (old growth forest) สภาพอากาศที่หนาวเย็นและชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ทำให้มีมอส เฟิร์นและพืชอิงอาศัย (epiphyte) ชนิดอื่น ๆ ขึ้นปกคลุมตามลำต้นอย่างหนาแน่น นับได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะโดดเด่นและเฉพาะตัวที่สุด และไม่สามารถจะหาพื้นที่และสภาพป่าดังกล่าวได้อีกแล้วในประเทศไทย สีเหลืองอมส้มของใบไม้ป่าผลัดใบที่กำลังจะผลัดใบในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ดอกไม้นานาชนิดที่บานสะพรั่งแข่งกันอวดโฉมอันสวยงามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ความโล่งของป่าทุ่งหญ้าหรือไร่ร้าง หน้าผาอันสูงชัน ทำให้มองเห็นสภาพภูมิประเทศได้กว้างไกล เป็นแหล่งที่อยู่ที่สำคัญของกวางผาและนกชนิดต่าง ๆ

เมื่อเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ บางแห่งรถยนต์สามารถเข้าถึงได้ บางแห่งต้องจอดรถไว้ที่ลานจอดรถ แล้วเดินเท้าเข้าไป นักท่องเที่ยวควรมีการเตรียมตัวให้พร้อม เพราะหากเตรียมตัวไม่ดีพอ อาจทำให้พบอุปสรรคนานัปการ

พื้นที่ท่องเที่ยวและนันทนาการที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวเส้นทางถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ถนนสายยอดดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) และเส้นทางเดินป่าต่าง ๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติตามเส้นทางต่าง ๆ

เส้นทางขึ้นดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะรู้จักในนามของอุทยานฯ ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง สันป่าตอง และแม่แจ่ม มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 530 ตารางกิโลเมตร ระยะทางจากเชียงใหม่ถึงดอยอินทนนท์ ประมาณ 106 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1.5 – 2 ชั่วโมง

จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 1 (สีเหลือง) ที่นี่

เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 2 (สีเขียว) ที่นี่

เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ...


จุดพักแรม
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 5 หลัง พักได้หลังละ 15-20 คน ค่าธรรมเนียมที่พัก 800-1,000 บาทต่อคืน และอนุญาติให้นำเต็นท์ไปตั้งค่ายพักแรมได้

ติดต่อสอบถาม
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ถนนจอมทอง - อินทนนท์ กม. 31 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160 หรือที่กรมป่าไม้ โทร. 579-7223,579-5734

การเตรียมตัว
- ควรเป็นชุดที่รัดกุม ใส่สบาย และใช้โทนสีที่กลมกลืนกับธรรมชาติ
- หมวก ควรเลือกใช้หมวกที่เป็นหมวกปีกหรือหมวกแก๊ปก็ได้
- เสือผ้า เสื้อที่สวมใส่ควรเป็นเสื้อแขนยาว หรือเป็นผ้าร่มแขนยาว ทั้งนี้เพื่อป้องกันแมลง พันธุ์ไม้ที่มีหนามแหลมคม ดงหญ้าคา หรือต้นไม้แปลก ๆ บางพันธุ์ เช่น ต้นช้างร้อง เนื้อผ้าควรเป็นชนิดที่ซับน้ำได้ดี เพื่อจะช่วยระบายความร้อนได้ดี กางเกงควรเป็นกางเกงที่สวมสบาย ไม่รัดจนเกินไป

edit on : 13/9/2552 20:14:16






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 ม.
เป็นดอยที่สูงอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูงประมาณ 2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดดอยสูงสุดเป็นทุ่งโล่งอันเกิดจากสภาพธรณีวิทยาที่มีชั้นดินตื้น ชั้นหินเป็นหินแกรนิต ประกอบกับอากาศมีลมกรรโชกแรงตลอดทั้งปี จากยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ทะเลหมอก และถนนบนสันเขา ขนานกับชายแดนไทย-พม่า ซึ่งถือเป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ส่วนสภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำ ป่าดิบเขา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมดุลและหลากหลายทางชีวภาพ ดังเช่นจะพบพันธุ์พืช สัตว์ป่าหายากและที่น่าสนใจนานาชนิด อาทิ เทียนหาง บัวทอง ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปก ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง และนกปีกแพรสีม่วง เป็นต้น ในฤดูหนาวมีนกอพยพมาอาศัย เช่น นกเดินดงคอแดง นกเดินดงดำปีกเทา นกเดินดงสีน้ำตาลแดง ฯลฯ

ลักษณะภูมิประเทศ
ดอยผ้าห่มปก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มากจึงได้รับการปกป้องไว้ เพื่อเป็นป่าต้นน้ำ

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25 องศาเซสเซียล มีอากาศหนาวเย็นในช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 14-19 องศาเซสเซียล ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39 องศาเซสเซียล และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,184 มิลลิเมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งมีพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน ตะแบก มะไฟป่า จำปีป่า มณฑาดอย อบเชย ตะแบก สัก และก่อชนิดต่างๆ ฯลฯ ที่สำคัญยังมีพรรณไม้ที่หายากของเมืองไทย อาทิ เทียนหาง พิมพ์ใจ และบัวทอง ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณดอยผ้าห่มปก

ด้วยสภาพป่าเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ซึ่งติดต่อกับพื้นที่ของประเทศพม่า จึงทำให้มีสัตว์ป่าต่างๆ ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง กวางป่า หมี หมูป่า เสือไฟ หมาไม้ หมีควาย หมาไน รวมทั้งนกปีกแพรสีม่วง ซึ่งมีเฉพาะป่าดิบเขาทางภาคเหนือ นกติ๊ดหัวแดง นกขัติยา นกประจำถิ่นหายาก เลียงผา อันเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งของไทย และผีเสื้อที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากเมืองไทยแล้ว คือ ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล (Teinopalpus imperialis)

การเดินทาง
รถยนต์
เริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่มาตามถนนหลวง (หมายเลข 107) ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอ แม่แตง อำเภอเชียงดาว ถึงอำเภอฝาง-บ้านลาน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แยกขวามาตามถนน (หมายเลข 54) บ้านแม่ใจใต้-บ้านโป่งน้ำร้อน เป็นถนนลูกรังระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงบริเวณบ่อน้ำร้อนเป็นเส้นทางผ่านบ้านสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี รวมห่างจากอำเภอฝางประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสถานที่เหมาะในการจัดตั้งเป็นสำนักงานอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากเชียงใหม่ประมาณ 160 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
รถประจำทางมีรถประจำทางปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัดและบริษัทรถร่วมเอกชนระหว่าง กรุงเทพ-ฝาง , เชียงใหม่-ฝาง เมื่อถึง อ.ฝาง จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อีกประมาณ 10 กม.

การเตรียมตัว
นักเดินทางจะมีปัญหากับระบบการหายใจ ซึ่งระดับความสูงของยอดดอย ทำให้สภาพอากาศเบาบาง หายใจลำบาก จึงควรฟิตซ้อมสภาพร่างกายในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องความหนาวเย็น

เส้นทางขึ้นดอยผ้าห่มปก
มี 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางกิ่วลม ทางปางมงคล และทางหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาว

สิ่งอำนวยความสะดวก
ที่ลานกางเต็นท์ มีห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ไม่มีร้านอาหาร ไม่มีบ้านพัก

ติดต่อสอบถาม
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ตู้ ปณ. 39 อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ 50110 โทรศัพท์ +66 53453517-8 อีเมล reserve@dnp.go.th






edit on : 13/9/2552 20:17:11





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:13  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1080

คำตอบที่ 2
       ดอยเชียงดาว
ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ครอบครุมพื้นที่ตำบลเมืองแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาว และตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 325,625 ไร่ มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับดอยนาง ทิศใต้ติดกับดอยกิ่วลม และดอยปางขุนตาล ทิศตะวันตกติดกับดอยผาแดง และดอยแปรสันกลางทิศตะวันออก ติดกับแอ่งที่ราบเชียงดาว
ดอยเชียงดาว สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ สูงถึง 2,225 เมตร รองจากดอยอินทนนท์ 2,565 เมตร และดอยผ้าห่มปก 2,285 เมตร แต่จากการวัดระดับความสูงใหม่ ดอยหลวงเชียงดาวสูงจากระดับน้ำทะเล 2,275 เมตร แต่ก็ยังสูงเป็นอันดับ 3 อยู่ดี แต่ถ้าหมายถึงเทือกเขาหินปูน ดอยหลวงเชียงดาว เป็นเทือกเขาที่มีความสูงมากที่สุดในไทย

ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
ดอยหลวงเชียงดาว ประกอบด้วยยอดเขาสำคัญ คือยอดสูงสุดดอยหลวงเชียงดาว สูงจากระดับน้ำทะเล 2,225 เมตร ดอยกิ่วลมสูงจากระดับน้ำทะเล 2,140 เมตร และดอยเหนือหรือดอยพีระมิดสูงจากระดับน้ำทะเล 2,175 เมตร ดอยหนอกสูงจากระดับน้ำทะเล 2,000 เมตร และดอยสามพี่น้องสูงจากระดับน้ำทะเล 2,150 เมตร
ดอยหลวงเชียงดาว ถือเป็นภูเขาหินปูนที่เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน (Permian) มีอายุระหว่าง 230-250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล และซากสัตว์ที่มีหินปูน สันนิษฐานว่า พื้นที่ในบริเวณนี้ในอดีต เคยเป็นท้องทะเลมาก่อนที่การตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังและหอย

ลักษณะภูมิอากาศ
ดอยหลวงเชียงดาว ถูกปกคลุมด้วยอากาศหนาวเย็นตลอดปี ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในช่วงเดือนธันวาคม ถึงกลางเดือนมกราคม 6.7 องศาเซลเซียส บางปีอุณหภูมิลดลงต่ำสุดจนต่ำถึงจุดน้ำค้างแข็ง

แหล่งท่องเที่ยวบนดอยหลวงเชียงดาว
แหล่งท่องเที่ยวบนดอยหลวงเชียงดาว แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ คือ ยอดเขาลูกต่างๆ ที่อนุญาตให้ขึ้นไปท่องเที่ยวทั้งหมด 3 ยอดด้วยกัน คือ ยอดดดอยสามพี่น้อง ยอดดอยกิ่วลม และยอดดอยสูงสุด การท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งคือการศึกษาสภาพพรรณไม้ ซึ่งดอยหลวงเชียงดาว มีสภาพพืชพรรณไม้กึ่งอัลไพน์ ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองไทย พรรณไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในกลางฤดูฝน จนถึงต้นฤดูหนาว

การเดินทางขึ้นดอยหลวงเชียงดาว
การเดินทางขึ้นดอยหลวงเชียงดาว จะต้องได้รับอนุญาตจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว โดยไปขออนุญาตได้ที่ทำการเขตโดยตรง ซึ่งอยู่เลยจากถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาว ไม่ไกลนัก การเดินทางขึ้นดอยหลวงเชียงดาว จะต้องมีคนนำทางหรือเจ้าหน้าที่ร่วมเดินทางไปด้วย ส่วนจะใช้ลูกหาบหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของร่างกายของนักเดินทาง อัตราค่าจ้างคนนำทางวันละ 350 บาท ค่าลูกหาบวันละ 300 บาท

เส้นทางขึ้นดอยหลวงเชียงดาว
เส้นทางเขึ้นดอยหลวงเชียงดาวมี 3 เส้นทาง คือ เส้นทางบ้านถ้ำ เส้นทางเด่นหญ้าขัด และเส้นทางนาเลา เส้นทางบ้านถ้ำเป็นเส้นทางที่โหดที่สุด จึงไม่ควรใช้ เส้นทางเด่นฆญ้าขัดเดินสบายที่สุด แต่ต้องเช่ารถขึ้นไปส่งค่อนข้างไกล ส่วนเส้นทางบ้านนาเลาเป็นเส้นทางที่นิยมใช้มากที่สุด สามารถควบคุมเวลาการเดินทางได้แน่นอน เส้นทางเด่นหญ้าขัดและเส้นทางนาเลา ใช้เวลาเดินทางใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 4-6 ชั่วโมง แล้วแต่สภาพร่างกาย

จุดพักแรม
บนยอดดอยหลวงเชียงดาว มีเพียงแห่งเดียวที่อนุญาตให้นอน คือ บริเวณอ่างสลุง แต่ถ้าเดินไม่ถึงยังมีจุดค้างแรมอีกแห่งหนึ่ง คือบริเวณคงท้อ อยู่เลยจากหน่วยเด่นหญ้าขัดไม่ไกลนัก

การเตรียมตัว
นักเดินทางจะมีปัญหากับระบบการหายใจ ซึ่งระดับความสูงของยอดดอย ทำให้สภาพอากาศเบาบาง หายใจลำบาก จึงควรฟิตซ้อมสภาพร่างกายในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องความหนาวเย็น และที่สำคัญที่สุดคือ บนยอดดอยหลวงเชียงดาวไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำกินและน้ำใช้ทั้งหมดจะต้องจ้างลูกหาบเพื่อแบกเข้าไป ฉะนั้นควรใช้น้ำอย่างประหยัด

เบอร์โทรศัพท์สำคัญที่ควรทราบ
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว ต.เมืองนะ อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่ 50170 โทรศัพท์ 0 5326 1466 อีเมล reserve@dnp.go.th
ลูกหาบ และคนนำทาง ติดต่อได้ที่ แกละ แปดริ้ว หรือ ปรีชา จักษุ โทรฯ 0-1993-8397 โทรฯ 0-5345-64






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:19  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1081

คำตอบที่ 3
       อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก อำเภอห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วย ป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกภูสอยดาว เป็นน้ำตก 5 ชั้น มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1,000 ไร่ มีความสวยงามมาก มีถนนลาดยาง เข้าถึงพื้นที่ทำให้สะดวกสบายในการเดินทางพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวมีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ตั้งแต่ทิศเหนือจดทิศใต้ เป็นเทือกเขากั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,800 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นที่ราบประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำน้ำภาค และลำน้ำปาด


ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 35.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วไป 27.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,334.4 มิลลิเมตร/ปี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน

แหล่งท่องเที่ยวบนภูสอยดาว

ทุ่งหญ้า ป่าสน และทุ่งดอกไม้
มีพันธุ์ไม้ดอกหลายชนิดตามเส้นทางเดิน นอกจากนั้นยังมีจุดชมวิวที่สวยงามได้เห็นทัศนียภาพผ่านแนวขุนเขาของเขตจังหวัดอุตรดิตถ์

น้ำตกภูสอยดาว
เป็นน้ำตกที่สวยงาม อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1268 มีทั้งหมด 5 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นล้วนแต่สวยงาม และที่บริเวณน้ำตกภูสอยดาวนี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคณะจะต้องติดต่อประสานงานกับศูนย์บริการฯนี้ก่อนขึ้นทุกครั้ง

น้ำตกสายทิพย์
เป็นน้ำตกที่อยู่บนลานสนและมีความสำคัญต่อนักท่องเที่ยวทุกคณะ เนื่องจากต้องใช้น้ำตกสายนี้ดื่มกิน และใช้สอยในด้านต่างๆ เมื่อไปพักแรมบนลานป่าสนของภูสอยดาว น้ำตกสายทิพย์นี้มีความสูง 7 ชั้น

การเดินทางขึ้นภูสอยดาว
รถยนต์
• จากจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1246 ถึงบ้านแพะแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1143 ผ่านอำเภอชาติตระการ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1237 ผ่านบ้านบ่อภาคไปบรรจบกับเส้นทางแผ่นดินหมายเลข 1268 ถึงน้ำตกภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว รวมระยะทางประมาณ 188 กิโลเมตร

• จากจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 (อุตรดิตถ์-น้ำปาด) จนถึงอำเภอน้ำปาดแล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1239 ไปอีก 47 กิโลเมตร จึงเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1268 ไปอีก 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 1
• ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
• ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถโดยสารระหว่างอำเภอ ไปอำเภอชาติตระการ ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
• ช่วงที่ 3 จากอำเภอชาติตระการ เดินทางด้วยรถสองแถว ซึ่งมีวันละ 1 เที่ยว รถออกเดินทางไม่เกิน 09.00 น. ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร

การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 2
• ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
• ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถรับจ้างเหมาไป-กลับ ราคาประมาณ 2,600 บาท ไปอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร

หมายเหตุ หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวแล้ว ไม่สามารถขึ้นยอดภูสอยดาวได้ทัน (อุทยานแห่งชาติเปิดให้ขึ้นลานสนภูสอยดาวตั้งแต่เวลา 8.00 - 14.00 น.) ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติที่อยู่ด้านล่างไว้แล้ว

สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง

ติดต่อสอบถาม
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ต.ห้วยมุ่น อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์ 53110 โทรศัพท์ +66 5541 9234 - 5 อีเมล reserve@dnp.go.th






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:21  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1082

คำตอบที่ 4
       ดอยลังกาหลวง
เป็นเทือกเขาสูงอยู่ระหว่างรอยต่อ ๓ จังหวัด คือ เชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ มีความสูง ๒,๐๐๐ เมตร สภาพโดยรอบเป็นป่าดงดิบเขาที่มีความสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำของน้ำตกแม่โถที่ไหลลงสู่แม่น้ำลาว และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากที่สุดในอุทยานฯ การเดินขึ้นดอยลังกาหลวง ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร สามารถเดินได้ ๒ เส้นทาง คือ เส้นทางแรก จากดอยสันยาวหรือสถานีเรดาร์ทวนสัญญาณของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๔ กิโลเมตร และเดินลงทางบ้านแม่ดอนหลวง ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ด้านทิศใต้ เส้นทางนี้ค่อนข้างสูงชัน เส้นทางที่สอง จากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-เชียงราย ย้อนกลับไปทางจังหวัดเชียงใหม่ ๑๙ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้า ก.ม.ที่ ๒๗ ทางไปอำเภอสันกำแพง ต่อด้วยเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทาง รพช. สายปางจำปี-แม่ตอนหลวง ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร จะถึงบ้านแม่ตอนหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางเดินเท้า แต่เส้นทางที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินขึ้นดอยลังกาหลวง จะเริ่มจากบ้านแม่ตอนหลวง เพราะระยะทางเดินสั้น ความลาดชันน้อยกว่าด้านดอยสันยาว และยังสามารถนำรถขับเคลื่อนสี่ล้อเข้าไปจอดได้จนถึงตีนดอยจะช่วยย่นระยะทาง ๑ กิโลเมตร ก่อนการเดินขึ้นดอยลังกาหลวง ควรสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทาง เจ้าหน้าที่นำทาง ลูกหาบก่อนการเดินทาง และควรเตรียมอุปกรณ์ในการเดินทางพักค้างแรมซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินป่า ๓ คืน ๔ วัน

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงและที่ราบสลับเนินเขา ประกอบด้วยหิน 2 ชนิด คือ หินอัคนีและหินตะกอน พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิตซึ่งเป็นหินที่พบเห็นได้ทั่วไปตามภาคเหนือของไทย หินแกรนิตเกิดจากการหลอมละลาย ของชั้นหินภายใต้ผิวโลกและถูกแรงบีบคั้นจนไหลออกมาตามรอยแยกบนพื้นโลก และเย็นลงอย่างช้าๆ และ ปรากฏขึ้นบนผิวโลกโดยขบวนการพังทลาย หินแกรนิตจะดูคล้ายกับเกล็ดเกลือสะท้อนแสง และพริกไทยสีดำขนาดใหญ่ ส่วนที่เป็นสีขาวคล้ายเกลือนั้น คือ แร่ควอซ์ดและ เฟลสปา ส่วนที่เป็นสีดำ คือ ไมก้า หินอัคนีอีกชนิดหนึ่งที่พบในอุทยานแห่งชาติ เรียกว่า บะซอลท์ (basaltic) ซึ่งเกิดจากลาวาภูเขาไฟที่เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เป็นหินสีเทาที่มีเนื้อละเอียด หินภูเขาไฟเหล่านี้สามารถพบทางแถบตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ส่วนหินตะกอน หินทราย และหินเชล เกิดจากการทับถมของตะกอนในแม่น้ำเวลานานเข้า จึงเกิดเป็นชั้นหินทรายที่พบในอุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นเม็ดทรายขนาดเล็กสีเทาทับถมเป็นชั้นๆ หินเชลมีสีเป็นสีเนื้ออ่อนและง่ายต่อการแตกหัก จุดสูงสุดคือยอดดอยลังกาหลวง มีความสูงถึง 2,031 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาวซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำกก

ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูแล้งอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม มีอุณหภูมิประมาณ 2-29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ มีฝนตกเฉลี่ย 60 มิลลิเมตร/เดือน มีอุณหภูมิประมาณ 19-29 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน (เป็นช่วงที่มีการเกิดไฟไหม้) อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22-23 องศาเซลเซียส

ที่พัก-บริการ
อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านสามารถนำเต็นท์และอาหารไปเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

การเดินทาง
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนแจ ตั้งอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินสายเชียงใหม่–เชียงรายห่างจาก ตัวเมืองเชียงใหม่ 56 กิโลเมตร การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติขุนแจ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ

• จากเชียงใหม่ สามารถเดินทางได้โดยรถปรับอากาศและรถธรรมดาสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด-เชียงราย จากสถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 2 (อาเขต) หรือนั่งรถสองแถวเล็กสีเหลืองสายเชียงใหม่-เวียงป่าเป้า-ท่ารถถนนไทยวงศ์

• จากเชียงราย สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง และรถสองแถวเล็กซึ่งระยะทาง ห่างจากจังหวัดเชียงรายระยะทาง 129 กิโลเมตร

สำหรับการเดินป่าในอุทยานแห่งชาติขุนแจต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง หากต้องการพักค้างแรมต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับค้างแรมมาเอง ช่วงเวลาที่เหมาะท่องเที่ยวคือเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผู้สนใจจะเดินป่าและพักค้างแรมติดต่อทำหนังสือล่วงหน้า ๑๕ วันก่อนเดินทาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติขุนแจ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๖๐ โทร. ๐ ๕๓๒๒ ๘๖๓๔



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:22  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1083

คำตอบที่ 5
       โมโกจู
ขุนเขาแห่งความหนาวเย็น ด้วยความสูง 1,964 เมตร จากระดับน้ำทะเล โมโกจูจึงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแม่วงก์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 27 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าไปกลับ 4-5 วัน แม้ระยะทางจะไกลและยากแก่การเข้าไปถึง แต่โมโกจูก็ยังเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางหลายๆ คน ที่จะเก็บเป็นความประทับใจครั้งหนึ่งในชีวิต " โมโกจู " หมายถึงสถานที่ซึ่งมีฝนตกตลอดเวลา ในช่วงฤดูหนาวอากาศเย็นยะเยือก ดอกไม้นานาชนิดและกุหลาบป่าจะผลิบาน มองจากยอดเขาลงไปจะเห็นทะเลหมอกห่มคลุมผืนป่าจดโค้งขอบฟ้า เหนือป่าตะวันตกอันกว้างไกลสุดสายตา

ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ “ยอดเขาโมโกจู” สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,964 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ ส่วนพื้นที่ราบมีไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ และเป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญ เช่น แร่ไมก้า

ลักษณะภูมิอากาศ
ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อันเนื่องมาจากลิ่มความกดอากาศสูงมาจากประเทศจีนแผ่ลงมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศไทยตอนบนและปกคลุมทั่วประเทศ ลมที่พัดสู่ประเทศไทยในฤดูนี้คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนช่วงฤดูร้อนเริ่มต้นจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างร้อนจัดและมีฝนตกน้อย ทำให้สังคมพืชป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผลัดใบ สำหรับฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าเบญจพรรณ จะอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งห้วยและภูเขาที่ไม่สูงนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก เสลา ชิงชัน กระบก กระพี้เขาควาย มะค่าโมง งิ้วป่า ประดู่ป่า กาสามปีก ติ้ว ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆขึ้นอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ไผ่รวก พืชพื้นล่าง เช่น หนามเค็ด ส้มเสี้ยว หนามคนฑา เป็นต้น

ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่สลับกับป่าเบญจพรรณ พบในช่วงระดับความสูงตั้งแต่ 100-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด มะเกิ้ม ประดู่ มะม่วงป่า มะค่าแต้ พะยอม มะขามป้อม สมอไทย ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบ เช่น ไผ่เพ็ก และปรง เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300-1,500 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ก่อใบเลื่อม ก่อเดือย ก่อลิ้น ก่อแอบ ทะโล้ จำปาป่า กะเพราต้น หนอนขี้ควาย กำลังเสือโคร่ง ดำดง กล้วยฤาษี และมะนาวควาย เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง ประกอบด้วย ยางแดง ยางนา กระบาก ตะเคียนหิน ปออีเก้ง สมพง กัดลิ้น มะหาด พลอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและพืชพื้นล่างต่างๆ ที่ทนร่มอีกมากมายหลายชนิด เช่น เข็มขาว หนามคนฑา ว่าน พืชหัวต่างๆ อีกทั้งกล้วยไม้ต่างๆ อีกมากมาย

ทุ่งหญ้า พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น

เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งสัตว์สามารถใช้เส้นทางเดินติดต่อกันได้ ได้แก่ สมเสร็จ เลียงผา กระทิง ช้างป่า เสือโคร่ง เสือดาว หมีควาย หมีหมา ชะนีธรรมดา ค่างหงอก ลิงกัง อ้นเล็ก กระรอกบินเล็กแกมขาว ค้างคาวปากย่น ไก่ป่า เหยี่ยวรุ้ง นกแว่นสีเทา นกกก นกเงือกกรามช้าง นกปรอดเหลืองหัวจุก นกเขาใหญ่ นกกะเต็นอกขาว นกจาบคาเคราน้ำเงิน นกแซงแซวสีเทา เต่าหก เต่าเหลือง เหี้ย ตะกวด งูเห่า งูแมวเซา ฯลฯ

การเดินทางขึ้นยอดเขาโมโกจู
เส้นทางไป ยอดเขาโมโกจู เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกล ต้องข้ามน้ำ ปีนเขาที่สูงชันมาก ใช้เวลาเดินป่าไป-กลับ 5 วัน จึงควรเตรียมร่างกายกับสัมภาระให้พร้อม และติดต่อเพื่อขอเจ้าหน้าที่นำทางล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ช่วงเวลาที่เปิดให้เดินป่าคือเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

การเดินทาง
จากนครสวรรค์ใช้เส้นทางสายนครสวรรค์-ลาดยาว-คลองลาน หมายเลข 1072 ถึงอำเภอคลองลานแล้วใช้เส้นทางหมายเลข 1117 (คลองลาน-อุ้มผาง) เข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ ตรงกิโลเมตรที่ 65

ติดต่อสอบถาม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 7 โทรศัพท์ 0 3642 2768 9 และศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว (Call center) 1147 หรือ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ตู้ ปณ.29 อ. คลองลาน จ. กำแพงเพชร 62180 โทรศัพท์ 0 5571 9010-1



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:23  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1084

คำตอบที่ 6
       ดอยอ่างขาง เป็นเทือกเขาสูง 1,939 เมตรจากระดับน้ำทะเล ภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิลดต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และยังเป็นที่ตั้งสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ซึ่งมีการปลูก และวิจัยพืชผักผลไม้เมืองหนาว

สถานที่ท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง
สวนแปดสิบ
เป็นสวนจัดกลางแจ้งจะอยู่ด้านในสถานีฯ ตรงข้ามบริเวณสโมสร ซึ่งสวนนี้ตั้งชื่อตามอายุขององค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ในวาระที่ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา โดยจะจัดตกแต่งสวนในสไตล์อังกฤษด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เมืองหนาวนานาชนิด เช่น กะหล่ำประดับ เดซี ลินาเลีย ชบาอาบูติลอน ฯลฯ

สวนคำดอย
เป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกตระกูลโรโดเดนดรอน (Rhododendron) หรือ ดอกคำดอย(กุหลาบพันปลี) ซึ่งดอกคำที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ และ อังกฤษ ซึ่งจะไม่มีปลูกที่อื่นนอกจากที่สวนแห่งนี่ที่เดียว และลักษณะเด่นของกุหลาบพันปลีที่นำเข้าจะเป็นกุหลาบพันปลีด่าง คือลักษณะต้นใบจะด่างในบ้างพันธุ์ดอกกุหลาบพันปลีจะมีสีเหลืองและสีชมพู ส่วนกุหลาบพันปลีพันธุ์พื้นเมืองนั้นจะมีดอกสีแดง หรือ สีขาว นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวหลายชนิด เช่น อะซาเลีย คาเมเลีย ลาเวนเดอร์ ซึ่งสวนนี้จะอยู่ตรงข้ามกับสวนแปดสิบ

สวนหอม
สวนนี้จะอยู่ติดกับบริเวณสโมสรของสถานีฯ โดยภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ หอมทุกชนิดทั้งพันธุ์ไม้หอมของไทยและพันธุ์ไม้หอมจากต่างประเทศ เช่น หอมหมื่นลี้ เนสเตอเตียมคาร์เนชัน เจอราเนียม หญ้าหอม ลาเวนเดอร์ ลาเวนดริน และ แมกโนเลีย (ไม้ยืนต้นตระกูลจำปีป่า)

สวนสมเด็จ
เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนาง เจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จยังดอยอ่างขาง และหลังจากเสร็จพระราชภาระกิจการทรงงานแล้วจะทรงประทับพักผ่อนพระอิริยาบถในสวนแห่งนี้ โดยลักษณะของสวนจะเป็นสวนหินที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติและภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่นประดับ ดอกป๊อปปี้ และไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ กระดุมเงินกระดุมทอง ปักษาสวรรค์ เป็นต้น

กุหลาบอังกฤษ
เหตุที่เรียกกุหลาบก็เนื่องมาจากกุหลาบที่ปลูกในสวนแห่งนี้ เป็นกุหลาบที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษ โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกนั้นมีมากกว่า 200 กว่าสายพันธุ์ และกุหลาบเหล่านี้จะผลิดอกสวยที่สุดจะเป็นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

เรือนดอกไม้
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวชนิดต่างๆ มากมาย อาทิเช่น บีโกเนีย รองเท้านารี
พืชกินแมลง มุมน้ำตกในสวนสวย ซึ่งดอกไม้ในสวนเหล่านี้จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ภายในบริเวณโรงเรือนจะมีจุดจำหน่ายผลผลิตของสถานีและผลิตภัณฑ์แปรรูป พร้อมมีมุมนั่งพักจิบกาแฟอีกด้วย

โรงเรือนทดสอบพันธุ์กุหลาบตัดดอก
ภายในโรงเรือนกุหลาบท่านจะได้ชื่นชมกับกุหลาบตัดดอกสายพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์กว่า 7 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมพร้อมรอผู้มาเยือน

สวนบอนไซ
บริเวณด้านในสวนบอนไซจะจัดแสดงบอนไซหลากหลาย รูปแบบ และยังมีบอนไซที่มีอายุยืนที่สุดในโลกให้ได้ชมอีกด้วย นอกจากนี้โดมรูปทรงหกเหลี่ยมจะจัดแสดงพืชภุเขาเขตร้อนและดอกกล้วยไม้จิ๋วที่สุดที่จะออกดอกในช่วงเดือน มกราคมของทุกปี และมีสวนหินธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับพันธุ์ไม้ป่าหลากชนิด และจุดชมวิวที่จะมองเห็นทัศนีย์ภาพของสถานีฯได้ทั่วบริเวณ

แปลงไม้ผลเมืองหนาว
เป็นแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ พีช บ๊วย พลับ สาลี่ พลัม กีวีฟรุ๊ต ราสพ์เบอรี่ บูลเบอรี่ สตรอเบอรี่ หยางเมย ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังสถานีเกษตรหลวงอ่างขางสามารถมองเห็นแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้ได้ตลอดเส้นทางที่ขับรถรอบ
บริเวณสถานีฯ แต่เนื่องจากแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้เป็นแปลงงานทดลองนักท่องเที่ยวจึงได้รับอนุญาตให้ชื่นชมความสวยงามและ แปลกตาของไม้ผลเหล่า นี้แค่บริเวณภายนอกแปลงเท่านั้น

พระตำหนัก
เป็นเรือนที่ประทับแรมและศาลาทรงงานเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จยังสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยทั่วบริเวณจะตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ป่าและไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ โดยนักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมบริเวณด้านนอกของ พระตำหนักได้

จุดชิมชา
จะตั้งอยู่บริเวณใกล้กับสวนบอนไซ โดยขับรถผ่านหน้าสวนบอนไซ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามถนนจะพบจุดชิมชา ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตชาเขียวของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ชมขั้นตอนการผลิตชา พร้อมการสาธิตวิธีการชงชาและยังจะได้ชิมชาอีกด้วย

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางเหล่านี้จะอยู่ในแปลงสาธิตการปลูกป่าทดแทน จะเป็นเส้นทางเดินป่าระยะสั้นโดย เป็นเส้นทางที่ทางสถานีกำหนดขึ้นรอบๆสถานีฯ ซึ่งมีเส้นทางทั้งหมด 9 เส้นทางด้วยกัน และพันธุ์ไม้ที่ปลูกในแปลงสาธิตเหล่านี้จะเป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาปลูกจากประเทศไต้หวัน
อาทิเช่น สน การบูร เมเปิล ฯลฯ

โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งมีพื้นที่ที่ใช้ปลูกผักในโรงเรือน 1,165 ตารางเมตร โดยจัดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม โดยชนิดผักที่ปลูกในโรงเรือนได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี, ผักตระกูลแตง เช่น ซุกินีเหลือง ฟักประดับ, ผักตระกูลมะเขือ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ มะเขือม่วงก้านดำ , ผักตระกูลแครอท เช่น พาร์สเลย์ เซเลอรี่ และ ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วหวาน ถั่วปากอ้า

หมู่บ้านขอบดัง
ตั้งอยู่บริเวณสันขอบอ่างระหว่างพื้นที่ดอยอ่างขางและอำเภอฝาง โดยอยู่ห่างจากสถานีฯออกไปประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านของชาวมูเซอดำที่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย ซึ่งภายในหมู่บ้านจะมีศูนย์หัตถกรรมที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เช่น กำไลหญ้าอิบูแค
ตะกร้าสาน ฯลฯ

หมู่บ้านนอแล
เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผาปะหล่องที่อพยพมาจากประเทศพม่า ซึ่งหมู่บ้านจะตั้งอยู่ห่างจากตัวสถานีฯประมาณ 5 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวปะ
หล่องได้ นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกจำหน่าย อาทิเช่น กระเป๋า,ผ้าพันคอ,ผ้าถุง ซึ่งถือเป็นฝีมือของชาวเขาเองแถบทั้งสิ้น

หมู่บ้านคุ้ม
บ้านคุ้มจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีฯ ซึ่งประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยใหญ่,ชาวพม่า และชาวจีนฮ่อ โดยส่วนมากชาวบ้านจะประกอบอาชีพด้านการค้า เช่น การขายของที่ระลึก,ผลไม้ดอง แช่อิ่ม , เปิดบริการด้านอาหารและที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

หมู่บ้านหลวง
เป็นหมู่บ้านของชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอาชีพหลักของชาวบ้านจะเป็นอาชีพด้าน การเกษตร ซึ่งจะปลูกผลไม้ อาทิเช่น พีช,พลัม,สาลี่ นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านยังมีร้านอาหารจีนยูนาน จำหน่ายข้าวซอย และ ซาลาเปารสชาดดี สไตล์จีนยูนานให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมอีกด้วย

จุดชมพระอาทิตย์
เป็นจุดที่อยู่ระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปบ้านขอบด้งและนอแล จุดนี้จะเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้สวยงามที่เดียว โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวจะมารอชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกตอนเช้า ทำให้เป็นจุดท่องเที่ยวที่คึกคักอีกจุดหนึ่ง

จุดชมวิวชายแดนไทยพม่า
จุดนี้จะตั้งอยู่ ณ ฐานทหารไทยบริเวณเดียวกับหมู่บ้านนอแล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและชายแดนของประเทศพม่า ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพของฝั่งประเทศพม่าได้ นอกจากนี้ ยังจะได้ชมแบบบ้านตัวอย่างของทหารว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร

เขาหัวโล้น เขาหัวนก
เป็นชื่อของภูเขาสองลูกของไทยและพม่า โดยที่เขาหัวโล้นจะอยู่ในฝั่งไทยส่วนเขาหัวนกจะอยู่ฝั่งพม่า และเราจะสังเกตที่ตั้งของภูเขาทั้งสองลูกนี้ได้ เพราะจะอยู่ด้านซ้ายมือระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปหมู่บ้านนอแล

จุดสุงสุดของดอยอ่างขาง
จุดนี้จะเป็นจุดที่สูงที่สุดของดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ด้านนอกสถานีฯ โดยจะเริ่มเส้นทางบริเวณจุดชมนกและเส้นทางเดินกุหลาบพันปี ซึ่งจะใช้เวลาเดินเท้าขึ้นไปประมาณชั่วโมงครึ่ง ซึ่งยอดจะมีความสูง 1,928 เมตรจากระดับน้ำทะเล หากนักท่องเที่ยวขึ้นไปชมวิวบนยอดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี ท่านจะได้เห็นกุหลาบพันปีที่จะออกดอกตลอดเส้นทางที่เดินขึ้นไปยอดดอยทีเดียว

กิจกรรมน่าสนใจบนดอยอ่างขาง
การเดินป่า
มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ 2 แห่งด้วยกันแห่งแรกคือเส้นทางเดินชมกุหลาบพันปี (Rhododendron) จะอยู่ด้านนอก ห่างจากปากทางเข้าสถานีฯประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยจุดที่สูงที่สุดคือ เนินพันเก้า ซึ่งมีความสูงถึง 1,928 เมตรจากระดับน้ำทะเล นักท่องเที่ยวจะต้องเดินเท้าเพื่อขึ้นไปถึงจุดยอดเป็นระยะทาง 500-800 เมตร ซึ่งจะชมความงามของกุหลาบพันปีได้ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนในช่วงเดือนอื่นก็ยังจะมีพันธุ์ไม้แปลกตาให้ได้ชื่นชมอีกเช่นกัน แห่งที่สองสำหรับเส้นทางเดินป่าคือ เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ (Nature Study Trail) เป็นเส้นทางที่กำหนดขึ้นบริเวณรอบสถานีฯ ซึ่งมีทั้งหมด 9 เส้นทางด้วยกัน และต้นไม้ที่ปลูกในเส้นทาง เดินนี้เป็นต้นไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวันแทบทั้งสิ้น โดยมีเส้นทางแนะนำดังนี้ ซอยดงกระถินดอย จะเริ่มต้นเส้นทางบริเวณหลังพระตำหนัก ระยะทางโดยรวม ของเส้นทางนี้ประมาณ 200 ม. ไม้หลักที่ปลูกจะเป็น เมเปิลไต้หวัน,กระถินดอย และจันทร์ทอง ซอยสวน ป่าผสม เป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องมาจากซอยดงกระถินดอย ไม้หลักที่ปลูกจึงเป็นประเภทเดียวกัน ระยะทางซอยนี้ประมาณ 1,650 ม. ซอยสาม พ.ศ. จะเชื่อมต่อทางมาจากซอยสวนป่าผสม ไม้หลักที่ปลูกนอกจากจะเป็นชนิดเดียวกับซอยดงกระถินดอยและซอยสวนป่าผสมแล้ว ไม้อีกชนิดที่ปลูก

ซอยสนซูงิ เส้นทางนี้จะมีสนซูงิปลูกเป็นไม้หลัก และมีระยะทางโดยรวม ประมาณ 550 ม. ซอยนางพญาเสือโคร่ง(ซากุระดอย) จุดเริ่มต้นของเส้นทางนี้จะอยู่บริเวณด้านหลังสำนักงานของสถานีฯ จะมีระยะทางโดยรวม 530 ม. และจะมีต้นนางพญาเสือโคร่งปลูกอยู่ตลอดเส้นทาง ซอยสวนไผ่ เส้นทางเริ่มบริเวณอ่างเก็บน้ำด้านหลังพระตำหนัก ซึ่งมีไผ่หลายชนิดที่ปลูกตลอดเส้นทาง อาทิ ไผ่บงใหญ่,ไผ่ลวก และไผ่หมาจู๋ ระยะทางทั้งหมดมี 670 ม. ซอยหุบผาขาว ต้นไผ่จะเป็นไม้หลักที่ปลูกในเส้นทางนี้ ชื่อของซอยนี้เรียกตามลักษณะเส้นทางเพราะต้องเดินผ่านถ้ำหุบผาขาว ระยะทางโดยรวม

การขี่จักรยาน
เส้นทางสำหรับขี่จักรยานเพื่อชมธรรมชาติ ที่นักท่องเที่ยวนิยมก็น่าจะเป็นเส้นทางจากรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง เข้ามาเยี่ยมด้านในสถานีฯ เพราะตลอดเส้นทางก็จะได้ชมธรรมชาติและแปลงเกษตรทดลอง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเช่าจักรยานจากรีสอร์ทได้ แต่หากอยากนำจักรยานคู่ใจขึ้นมาปั่นบนนี้แล้วจะรู้สึกมั่นใจในการขี่มากกว่าก็ไม่ว่ากัน

การชมนก
ดอยอ่างขางเป็นสถานที่ที่มีนกมากมายกว่า 1,000 สายพันธุ์ อาทิเช่น Sunbird,นกพญาไฟ และบางส่วนก็เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์และ หาดูได้ยาก สถานที่ที่เหมาะสำหรับการดูนกบริเวณดอยอ่างขางคือ บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ (อยู่ด้านขวามือหากขับรถลงมาจากจุดกางเต็นท์ ของสถานีฯ),บริเวณรอบๆรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง ส่วนด้านในสถานีฯก็จะเป็นจุดเส้นทางศึกษาธรรมชาติด้านหลังสำนักงานของสถานีฯ

การขี่ฬ่อล่องไพร
การขี่ฬ่อก็เป็นวิธีการชมความงามในธรรมชาติภายในสถานีฯได้ดีอีกวิธีหนึ่ง ฬ่อ(สัตว์ลูกผสมระหว่างม้าและลา) ซึ่งแต่เดิมฬ่อเป็นสัตว์พาหนะที่สำคัญในการเดินทางของชาวเขาในแถบนี้ หากนักท่องเที่ยวสนใจ อยากจะลองขี่ฬ่อก็สามารถติดต่อร้านค้าชุมชนบริเวณด้านหน้าสถานีฯได้ อัตราค่าบริการชั่วโมงละ 300 บาท/ฬ่อ 1 ตัว

การเดินทาง
จากเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง เป็นเส้นทางผ่านแม่ริม แม่แตง เชียงดาว ทางแยกเข้าดอยอ่างขางมี 2 เส้นทาง คือ แยกซ้ายที่ กม.79 เป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่ชันมากแต่ทางจะเปลี่ยวหน่อย ระยะทางจากแยกทางหลวงสาย 107 ไปจนถึงอ่างขางมีระยะทางประมาณ 50 กม. อีกเส้นทางคือแยกที่ กม.137 มีระยะทางถึงอ่างขางประมาณ 25 กม. เป็นเส้นทางที่สั้นแต่ชันมาก รถเก๋งและรถทุกชนิดขึ้นได้ถ้าคนขับมีฝีมือ ถ้าไม่แน่ใจให้จอดรถไว้ที่วัดที่ปากทาง กม.137 หรือจอดรถไว้ที่บริเวณลานจอดรถเอกชนมีรั้วมิดชิด สถานที่รับจอดรถอยู่ตรงข้ามกับปากทางเข้าดอยอ่างขาง ค่ารถจอดคันละ 50 บาท แล้วนั่งรถสองแถวขึ้นไป หรือเหมารถขึ้นไป เส้นทางขึ้นดอย ถนนถูกตัดขึ้นเขาอย่างคดเคี้ยวและสูงชัน ก่อนถึงยอดดอยในฤดูหนาวสะพรั่งไปด้วย ดอกซากุระดอกสีชมพูทั้งต้นเป็นแถวยาว เป็นความประทับใจแรกที่เข้าสู่ดอยอ่างขาง สถานีเกษตรโครงการหลวง

ที่พัก
ที่พักบนดอยอ่างขางมีให้เลือกมากมาย ดังนี้

ที่พักของสถานีเกษตรอ่างขาง
บ้านดาว คนละ 150 บาท/คืน พักได้ 7 คน
บ้านไต้หวัน คนละ 150 บาท/คืน พักได้ 20 คน
บ้าน AK 1-4 หลังละ 600 บาท/คืน พักได้ 3 คน
บ้าน AK 5-6 หลังละ 600 บาท/คืน พักได้ 2 คน
บ้าน AK 7-14 หลังละ 800 บาท/คืน พักได้ 2 คน
บ้าน AK หลังใหญ คนละ 150 บาท/คืน พักได้ 30 คน
ติดต่อสำรองที่พักได้ที่ 053-450107

ที่พักอื่นๆ
1. รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง 0-5345-0110-9
2. อ่างขางวิลล่า 0-5345-0010
3. บ้านพักเลาติง 0-5345-0005
4. บ้านเอื้อมดาว 0-5345-0043
5. บ้านพักสุวรรณภูมิ 0-5345-0045
6. บ้านพักนาหา 0-5345-0008
7. บ้านหลวงรีสอร์ท 0-5345-0010
8. หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ 0-5345-0017

จุดกางเต็นท์
จุดกางเต็นท์ดอยอ่างขางมีกระจายอยู่หลายจุด จุดหลักคือบริเวณริมถนนก่อนลงสู่อ่างขาง พื้นที่กางเต็นท์อยู่ริมถนนทั้งสองฝั่ง ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย มีห้องสุขาบริการ มีเตาให้เช่า มีฟืนขาย อีกจุดคือจุดกางเต็นท์บริเวณสนามหน้าโรงเรียนนตรงข้ามทางเข้าสถานนีเกษตรอ่างขาง ลักษณะเป็นที่ราบข้างเสาธง มีห้องสุขาของโรงเรียนไว้บริการ ผู้ที่ไปใช้บริการพื้นที่นี้ควรช่วยค่าบำรุงสถานที่ด้วย จุดนี้มีผ้าห่มให้เช่า อีกจุดคือ ที่จุดชมวิวกิ่วลม ที่จุดชมวิวมีพื้นที่กว้างอยู่บนเนินริมถนน อยู่ห่างไกลชุมชนและยังมีวิวที่สวยงาม

ติดต่อสอบถาม
1672 สายด่วนท่องเที่ยว






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:24  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1085

คำตอบที่ 7
       ดอยม่อนจอง
ขึ้นอยู่กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องไพรมายังดอยม่อนจองก็คือ กวางผาหรือม้าเทวดาซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ที่นี่ และทิวทัศน์ที่สวยงามของทิวเขา และถ้ามาในช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค.จะได้พบดอกกุหลาบพันปีที่กำลังบาน ว่ากันว่าต้นนี้เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นกหายากที่พบที่นี่ ได้แก่ เหยี่ยวนกเขาท้องขาว นกอินทรีแถบปีกดำ นกอินทรีเล็ก นกเปล้าท้องขาว นกมุ่นรกคอแดง นกเดินดงคอดำ เป็นต้น

การเดินขึ้นดอยม่อนจองสามารถไปเช้าเย็นกลับได้ แต่จะเหนื่อยมาก ต้องเริ่มออกเดินตั้งแต่ 06.30 น. เป็นอย่างน้อย หากเดินแบบไม่เหนื่อยเกินไปนักควรใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ก่อนเดินขึ้นดอย ต้องติดต่อขออนุญาตจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย หน่วยมูเซอซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ฯ

วันเวลาที่แนะนำ
ฤดูหนาวจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไป คือวันเวลาที่ดีที่สุดที่จะขึ้นไปเที่ยวชมกวางผาดอยม่อนจอง และสามารถเที่ยวได้จนถึงช่วงต้นฤดูฝน ราวเดือนพฤษภาคม การเดินทางควรไปเป็นหมู่คณะเล็กๆ เพื่อจะได้ไม่รบกวนธรรมชาติจนเกินไป เหมาะสำหรับผู้รักการผจญภัย และเข้าใจในธรรมชาติโดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อนเสมอ

การเดินทาง
ไปยังเขตรักษาพันธุ์ฯ (หน่วยมูเซอ) จากเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 แล้วแยกซ้ายจากอำเภอฮอดเข้าทางหลวงหมายเลข 1099 ไปจนถึงตัวอำเภออมก๋อย และตรงต่อไปตามทางหลวง 1099 ประมาณ 40 กิโลเมตร จะพบหน่วยมูเซออยู่ทางด้านซ้ายมือ จากหน่วยฯไปยังจุดเริ่มเดินอีกประมาณ 16 กิโลเมตร ทางในช่วงนี้จำเป็นต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ และคนขับที่มีความชำนาญเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพทางเป็นลูกรัง และแคบคดเคี้ยวริมผา

ผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง จากอำเภอเมืองเชียงใหม่มีคิวรถจากประตูช้างเผือก มายังอมก๋อย รถออกประมาณ 08.00 น. สามารถติดต่อเช่ารถไปส่งที่จุดเริ่มเดินที่ คุณเดช เสริมมติวงศ์ โทร. 0 5346 7109 รับ-ส่ง ส่วนเสบียงข้าวของต่างๆ หาซื้อได้ที่ตัวอำเภออมก๋อย และค่าบริการลูกหาบ 150 บาท/วัน/คน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต1 โทร. 0-5324-8604, 0-5324-8607, 0-5324-1466






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:25  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1086

คำตอบที่ 8
       ภูทับเบิก
เป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์ โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร เหตุผลที่เรียกภูทับเบิกก็เพราะอยู่ใกล้กับหมู่บ้านม้งทับเบิก ต.วังบาล ซึ่งห่างจากอ.หล่มเก่า 40 กม. และห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 97 กม.

ภูทับเบิก มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามด้วยธรรมชาติแบบทะเลภูเขา ป่าไม้ สายหมอก ไอหนาวและอากาศบริสุทธิ์ สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัยและอยู่บนที่สูง จึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล และทะเลหมอกที่มีให้ดูตลอดปี

การเดินทาง
เส้นทางที่ 1 จากเพชรบูรณ์ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ถึง 4 แยกหล่มสัก ให้ตรงไปใช้ทางหลวงหมายเลข 203 ผ่าน อ.หล่มสัก ไปจนถึง อ.หล่มเก่า ประมาณ 17 กม. จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปใช้ทางหลวงหมายเลข 2011 และทางหลวงหมายเลข 2331 ก็จะถึงยังบ้านทับเบิก "เส้นทางสายนี้ใกล้...แต่ทางชันครับ"

เส้นทางที่ 2 จาก อ.นครไทย ผ่านภูหินร่องกล้า แล้วเดินทางต่อไปภูทับเบิก ส่วนขาลงก็ใช้เส้นทางตามเส้นทางที่ 1 ดีกว่าครับ

ไม่ว่าจะเดินทางเส้นทางที่ 1 หรือเส้นทางที่ 2 ก็จะมาเจอกับด่านทับเบิก (ตามในรูป) จากนั้นก็เลี้ยวเข้าไปทางบ้านม้งทับเบิก แค่กิโลกว่าๆก็ถึงภูทับเบิกแล้วครับ... เมื่อไปถึงภูทับเบิกแล้วก็อย่าลืมแวะไปเที่ยวบ้านม้งทับเบิก ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันด้วยนะครับ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:28  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1087

คำตอบที่ 9
       ดอยปุย
เป็นยอดเขาที่สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาเหล่านี้จึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิง ได้แก่ ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน และห้วยแม่เหียะ เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในแนวเทือกเขาถนนธงไชยที่สืบเนื่องต่อจากเทือกเขาหิมาลัย ความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 330-1,685 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมียอดดอยปุยเป็นจุดที่สูงที่สุด นอกจากนี้มียอดเขาต่างที่สูงลดหลั่นกันมา ได้แก่ ยอดดอยสุเทพที่บริเวณสันกู่ สูง 1,601 เมตร ยอดดอยแม่สาน้อย สูง 1,549 เมตร ยอดดอยค่อมร่อง สูง 1,459 เมตร ยอดดอยบวกห้าบริเวณพระตำหนักภุพิงค์ราชนิเวศน์ สูง 1,400 เมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สูง 1,130 เมตรจากระดับน้ำทะเล สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่อยู่ในเขตอำเภอแม่แตงมีความสูงอยู่ในระหว่าง 400-980 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยทั่วไปประกอบด้วย หินอัคนี ชนิดที่สำคัญได้แก่ หินแกรนิต นอกจากี้ยังมีหินชั้นและหินแปร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่บางส่วนของอำเภอรอบๆ ได้แก่ อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง อำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แตง มีลำห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยตึงเฒ่า ห้วยแม่หยวก ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยปงน้อย ห้วยแม่เหียะ ห้วยแม่นาไทร และห้วยแม่ปอน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากพื้นที่ป่าเป็นยอดเขาสูงอากาศจึงเย็นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ16 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ในฤดูฝนอากาศเย็นและชื้น ฝนตกมากที่สุดในเดือนสิงหาคมและกันยายน ในเดือนกุมภาพันธ์อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใสทำให้มองเห็นภูมิประเทศโดยรอบได้ชัดเจน ส่วนใหญ่ฤดูฝนอากาศเย็นสบาย ฝนตกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม-กันยายน ในฤดูร้อนอากาศไม่ค่อยร้อนอบอ้าวเท่าใด

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบไปด้วยป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ ไม้เต็ง รัง เหียง ประ เสลา เก็ดดำ เก็ดแดง ก่อ ยางแดง ตาเสือ ตาดำ ตะเคียน กระบาก มะม่วงป่า และสนเขา เป็นต้น

สัตว์ป่าส่วนใหญ่ถูกรบกวนจากชาวเขา และชาวไทยในบริเวณใกล้เคียงที่พบเห็นบ่อยๆได้แก่เก้ง กวาง ลิง ค่าง และนกนานาชนิดกว่า 200 ชนิด เช่นพวก เหยี่ยว ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกขมิ้น นกหัวขวาน นกแก้ว และนกพญาไฟ เป็นต้น

บ้านพัก-บริการ
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีบ้านพัก ร้านอาหาร สถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว

การเดินทาง
รถยนต์ ที่ทำการอุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 16 กิโลเมตร เดินทางโดย รถยนต์ไปตามถนนห้วยแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-สวนสัตว์เชียงใหม่ ถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร จากนั้นเดินทางต่อไปอีกเล็กน้อยถึงทางแยกด้านขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ถนนศรีวิชัย ต.สุเทพ อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0 5329 5041 โทรสาร 0 5329 5041 อีเมล doisuthep_pui@hotmail.com, doisuthep-pui@thaimail.com




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:29  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1088

คำตอบที่ 10
       ภูชี้ฟ้า
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงราย อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอเทิง ยอด ภูชี้ฟ้า อยู่บนเทือกเขาสุดเขตชายแดนฝั่งตะวันออกติดกับชายแดนประเทศลาว ห่างจากอำเภอเทิงประมาณ 35 กิโลเมตร ภูชี้ฟ้า มีลักษณะเป็นหน้าผามีปลายยอดแหลมชี้เข้าไปยังฝั่งประเทศลาว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๖๒๘ เมตร บนยอด ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิว และจุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม ในตอนเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมในหุบเขาเบื้องล่าง มีพระอาทิตย์ขึ้นผ่านพ้นทะเลหมอก เป็นความสวยงามที่นักท่องเที่ยวพากันไปรอชมตั้งแต่ยังไม่สว่าง บริเวณไหล่เขาของ ภูชี้ฟ้า เป็นทุ่งหญ้า แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงที่มีดอกสวยงามในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบไหล่เขาของถนนสาย ภูชี้ฟ้า เป็นที่ตั้งของรีสอร์ทและบ้านพักหลายรายเพื่อให้บริการ แก่นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปเที่ยวและพักค้างแรมในบรรยากาศที่หนาวเย็น ปัจจุบันนี้ ภูชี้ฟ้า อยู่ในความดูแลของวนอุทยานภูชี้ฟ้า บริเวณริมถนนขึ้น ภูชี้ฟ้า มีที่ราบที่จัดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้กางเต็นท์พักแรมด้วย ภูชี้ฟ้า เป็นดอยเดียวที่ชื่อว่าภู จริงแล้วจะต้องชื่อว่าดอยชี้ฟ้าตามคำเรียกของทางเหนือ แต่ว่า ภูชี้ฟ้า เป็นชื่อที่คนต่างถิ่นไปตั้งชื่อ จึงเรียกว่าภู

ภูชี้ฟ้า ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่เหมือนกับดอยแม่สลอง ดอยอ่างขาง หรือดอยอินทนนท์ ในสมัยก่อนพื้นที่ของ ภูชี้ฟ้า เป็นแดนผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มีการต่อสู้ทางอาวุธและแนวความคิดที่รุนแรงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ครั้นเมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลายไป เริ่มมีผู้คนเดินทางมาชมธรรมชาติที่นี่ และแล้วชื่อเสียงของ ภูชี้ฟ้า ก็ขจรขจายไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่ไม่มีใครเหมือนนั่นคือลักษณะภูเขาที่ชี้ไปบนฟ้า บางคนมองเห็นเป็นรูปภูตูดไก่บรรยากาศของ ภูชี้ฟ้า ยังคงมีบรรยากาศเมืองเหนือเหมือนภูและดอยอื่นๆ มีหมู่บ้านชาวเขา บริเวณตีน ภูชี้ฟ้า เป็นบรรยากาศของการท่องเที่ยว มีที่พักขนาดเล็กๆหลายแห่งให้เลือกใช้บริการ ดำเนินงานโดยชาวเขาบ้างชาวเราบ้างและที่บริเวณบ้านเช็งเม้งก่อนขึ้นสู่ตีน ภูชี้ฟ้า เป็นหมู่บ้านชาวม้ง หากมาเยือน ภูชี้ฟ้า ในช่วงปีใหม่ยังจะได้ชมงานปีใหม่ ที่ชาวม้งจะแต่งตัวม้งครบถ้วนทั้งหญิงและชาย จุดเด่นของงานคือ การโยนลูกช่วงหรือลูกหินระหว่างหนุ่ม - สาว

เที่ยว ภูชี้ฟ้า ต้องขยันหน่อยเพราะจะเด่นสุดก็คือ การได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่ ภูชี้ฟ้า ที่พักต่างๆจะอยู่เชิงภู ประมาณตีห้าจะต้องตื่นขึ้นแต่งกายให้อบอุ่นถือไฟฉายคนละกระบอก จากนั้นรถของที่พักแต่ละแห่งจะไปส่งขึ้น ภูชี้ฟ้า แต่ไปไม่ถึงยอดต้องเดินเท้าบ้างเล็กน้อยทางขึ้นที่นิยมมี 2 ทาง เดินเท้าประมาณเกือบกิโลเมตร ก่อนถึงยอด ภูชี้ฟ้า สัก 200 เมตร จะมีไหล่ทางลงไปเล็กน้อย หากใจเย็นนั่งรอที่นี่จะค่อยๆเห็นพระอาทิตย์ขึ้นฉายแสงสว่างอาบ ภูชี้ฟ้า เป็นภาพที่งดงามมาก เบื้องล่างอบอวลไปด้วยทะเลหมอก หากรอจนสายหมอกถูกความร้อนระเหยหมดแล้วยังคงมองเห็นสายน้ำโขงไหลคดเคี้ยว ท่ามกลางป่าไม้ของฝั่งลาวที่เขียวสุดสมบูรณ์ด้วย ใช่ว่า ภูชี้ฟ้า จะสวยช่วงเช้าเท่านั้นในเวลากลางวันหรือเย็นยังสามารถชมทิวทัศน์ ภูชี้ฟ้า ได้สวยงามเช่นกัน หากมาเที่ยว ภูชี้ฟ้า ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม เส้นทางขึ้น ภูชี้ฟ้า จากหน่วยจัดการต้นน้ำหลาวขึ้น ภูชี้ฟ้า จะผ่านป่าซากุระหรือต้นพญาเสือโคร่งสีชมพูสวยงามมาก

ดอยผาตั้ง อยู่ห่างจาก ภูชี้ฟ้า ไปประมาณ 24 กิโลเมตร ในเขตบ้านผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น เมื่อชมทะเลหมอกยามเช้าที่ ภูชี้ฟ้า แล้ว ช่วงบ่ายจึงเหมาะที่จะไปเที่ยว ดอยผาตั้ง สิ่งที่น่าดูของ ดอยผาตั้ง คือทิวทัศน์ที่มองเห็นแม่น้ำโขงที่กั้นพรมแดนไทย-ลาว ทิวทัศน์สุดสายตากับป่าเขียวๆ บริเวณทางขึ้นสู่ผาตั้งยังมีผาบ่องลักษณะเป็นช่องหินขนาดใหญ่ ขนาดคนเดินผ่านได้ มองเห็นทิวทัศน์ของลาวได้สวยงามเช่นกัน และบนสันเขาของ ดอยผาตั้ง ยังมีช่องเขาขาดลักษณะเป็นช่องเขาที่ขาดจากกัน ในฤดูหนาวเชิง ดอยผาตั้ง ยังสวยงามด้วยต้นซากุระบานสะพรั่งสวยงาม


ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร จุดสูงสุดคือ บริเวณจุดชมวิว มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์


ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศบนภูเขาจะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เป็นป่าดิบเขา ยกเว้นบนยอด ภูชี้ฟ้า เป็นทุ่งหญ้าประมาณ 300 ไร่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เสี้ยวดอกขาว ก่อเดือย ก่อก้างด้าง ก่อแดง ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อสีเสียด อบเชย กำยาน หว้า เหมือด สารภี จำปาป่า จำปีป่า พันธุ์ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เอื้องดิน หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าหางหนู หญ้าสามคน หญ้าไม้กวาด หญ้าเลา มอส เฟิร์นชนิดต่าง ๆ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เก้ง กระจง หมูป่า อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือ ปลา แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า
นกที่พบเห็นได้แก่ นกเขา เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรี นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกกิ้งโครง นกขุนทอง นกแซว นกนางแอ่น นกยูง นกตะขาบ นกหัวขวาน นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ เต่า กบ เขียด
สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน

แหล่งท่องเที่ยวบนภูชี้ฟ้า
ภูชี้ฟ้า เป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,628 เมตร ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีหน้าผาสูงชัน เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาค้างแรมบริเวณบ้านร่มฟ้าทองทางห่างจากจุดชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจะเดินขึ้น ภูชี้ฟ้า เพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด ระหว่างทางจะพบแปลงปลูกป่านางพญาเสือ ออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม (เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเสี้ยวดอกขาวรอบ ภูชี้ฟ้า จะออกดอกบานเต็มเชิงเขา

การเดินทางขึ้นภูชี้ฟ้า
รถยนต์
ภูชี้ฟ้า อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยัง ภูชี้ฟ้า ได้ตามแนวเส้นทางดังนี้
• จากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอเทิง ผ่านสามแยกโรงเรียนภูซางวิทยาคม บ้านสบบงและสามแยกบ้านม่วงชุมแล้วเดินทางต่อไป ก็จะถึง ภูชี้ฟ้า
• ไปตามทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง ด่านบ้านฮวก ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ผ่านจุดท่องเที่ยวได้แก่ น้ำตกภูซาง (อุทยานแห่งชาติภูซาง) และศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ทดลองและส่งเสริมปลูกไม้ดอกเมืองหนาว เช่น ทิวลิป ลิลลี่

จาก ภูชี้ฟ้า สามารถเดินทางไปยัง ดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยอยู่ห่างออกไปตามเส้นทางหลวงจังหวัดสาย 1093 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร และจาก ดอยผาตั้ง ยังสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายได้อีกด้วย

สิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานภูชี้ฟ้า ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่หัวหน้า วนอุทยานภูชี้ฟ้า โดยตรง รายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จังหวัดเชียงราย โทร. (053) -714914 หรือฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-25614292 -3 ต่อ 719

ติดต่อสอบถาม
วนอุทยานภูชี้ฟ้า สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) ต.ปอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย โทร. (053) 714-914



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:31  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1089

คำตอบที่ 11
       อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่)

ภูกระดึงมีระดับความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึงประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนา และหวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึงสักครั้งหนึ่งในชีวิต

ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น

ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี

ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น

ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก

ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด

ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ

ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลา

แหล่งท่องเที่ยวบนภูกระดึง
การเดินขึ้นภูกระดึงไม่ลำบากมากนัก แต่ระยะทางจะไกลและชัน แต่ระหว่างทางจะมีจุดให้แวะพักเหนื่อยต่างๆ ตามลำดับ ได้แก่ ปางกกค่า ซำแฮก ซำบอน ซำกกกอก พร่านพรานแป ซำกกหว้า ซำกกโดน และซำแคร่ หากเดินขึ้นภูตั้งแต่เช้า อากาศจะค่อนข้างเย็นสบาย มีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมไปตลอดทาง โดยเฉพาะสภาพทางธรณีและสภาพป่าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะๆ จากป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา จนถึงหลังแป จากหลังแปถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวางจะเป็นทางราบท่ามกลางทุ่งหญ้าป่าสนเขาอันกว้างใหญ่ รวมระยะทางจากทางขึ้นไปถึงหลังแปและศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 8.3 กิโลเมตร แหล่งท่องเที่ยวบนภูกระดึงส่วนใหญ่มีทางเดินชมธรรมชาติติดต่อถึงกันหมด ฉะนั้น ผู้ที่จะไปท่องเที่ยวบนภูกระดึงควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน เพื่อจะได้เที่ยวชมธรรมชาติที่สวยงามเหล่านั้นได้ทั่วถึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเปิดให้ท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึงเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม

นอกจากความสวยงามทางธรรมชาติบนภูกระดึงแล้ว พื้นที่ด้านล่างบริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้ของภูกระดึงบริเวณพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวตามลำน้ำพองซึ่งประกอบด้วย น้ำตก แก่งหิน พันธุ์พืชที่น่าศึกษาแล้ว เป็นสถานที่พักผ่อนอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังคงมีร่องรอยประวัติศาสตร์ของขบวนการเสรีไทย ตลอดทั้งภาพเขียนสีปรากฏบนผนังหินที่มีอายุหลายพันปี ซึ่งสามารถเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 ย้อนกลับไปทางอำเภอภูกระดึงประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง รพช. จากบ้านหนองอิเลิง ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) จากนั้นเดินทางไปตามเส้นทางลูกรังไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน

การเดินทางขึ้นภูกระดึง
รถยนต์
ออกจากกรุงเทพฯด้านเหนือ ทำยังก็ได้ให้ไปเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1 วังน้อย-สระบุรี (ก็เส้นขึ้นอีสานไปโคราชนั่นล่ะครับ) จากสระบุรี เราก็มุ่งไปนครราชสีมากันต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 2 ผ่าน แก่งคอย มวกเหล็ก กลางดง ปากช่อง สีคิ้ว พอถึงสีคิ้ว ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสาย 201 ผ่าน สีคิ้ว ด่านขุนทด หนองบัวโคก จัตุรัส ชัยภูมิ จากจังหวัดชัยภูมิ มุ่งต่อในเส้นทางสาย 201 ไปแก้งคร้อ ภูเขียว ชุมแพ เลี้ยวซ้าย เลยอำเภอชุมแพมาไม่กี่สิบกิโลเมตรจะมีทางแยกขวาไปจังหวัดเลยเข้าทางหลวงสาย 201 ขับไปตามทางสาย 201 ราวสี่ห้าสิบกิโลเมตรจะเจอทางแยกซ้ายเข้าอำเภอภูกระดึง ดูตามป้ายแล้วแวะเข้าไปครับ ถ้าเจอที่ทำการอำเภอมีรูปปั้นช้าง พระอภัยมณีอยู่ข้างหน้าแสดงว่ามาถูกแล้วครับ วิ่งทะลุไปจะเจออุทยานแห่งชาติภูกระดึง

รถไฟ
จากกรุงเทพมหานครโดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น จากนั้นโดยสารรถประจำทางสายขอนแก่น-เลย ไปยังหน้าตลาดที่ว่าการอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถเมล์เล็กเดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นปีนเขาขึ้นยอดภู จากนั้นต้องเดินเท้าอีก 5 กิโลเมตร จึงจะถึง “หลังแป” แล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึงทางอุทยานฯ ได้จัดลูกหาบสัมภาระของนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนยอดภูกระดึง คิดค่าบริการเป็นกิโลกรัม

รถโดยสารประจำทาง
โดยสารรถยนต์จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร ไปลงที่ผานกเค้า แล้วโดยสารรถประจำทางไปลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จากนั้นก็เดินต่อขึ้นไปยอดภูกระดึง

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องสุขารวม/ห้องอาบน้ำ
มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบนยอดภูกระดึง

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 150-300 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 150 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 225 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 4 คน ราคา 300 บาท/คืน

หมายเหตุ:ราคาไม่รวม ชุดเครื่องนอน

สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง (หรือในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานเต็มและต้องไปเช่าเต็นท์บนยอดเขา)
- ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30/คน/คืน
- เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 12 ปี จะไม่ได้ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่าเครื่องนอนทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีไว้บริการดังนี้
- ถุงนอน อัตราการเช่า 30 บาท/คืน/ถุง
- ที่รองนอน อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/อัน
- หมอน อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ใบ
- ผ้าห่ม อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน
- ผ้าห่มอย่างหนา อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/ผืน
- เสื่อ อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน

หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติ่ม คลิกที่นี่

ที่จอดรถ
มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

ติดต่อสอบถาม
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง หมู่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย 42180 โทรศัพท์ 0 4287 1333, 0 4287 1458 โทรสาร 0 4287 1333



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:32  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1090

คำตอบที่ 12
       ขอขอบคุณ web ลักไก่ดอทคอม
http://www.lakkai.com/>



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep_436 จาก พงษ์ กำแพง 118.172.201.102 อาทิตย์, 13/9/2552 เวลา : 20:35  IP : 118.172.201.102   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1091

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันจันทร์,23 ธันวาคม 2567 (Online 4842 คน)