คำตอบที่ 7
ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรดอกไม้
ตามความเชื่อของชาวพุทธ การตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ที่สูงส่งอย่างยิ่ง
โดยปรากฎตาม พุทธตำนานว่า พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก
ในแต่ละวันจะรับสั่งให้นายมาลาการนำดอกมะลิสดมาถวายถึง วันละ 8 กำมือ
วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ
ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาตร
นายมาลาการสังเกตุเห็นพรรณรังษี ฉายประกาย รอบ ๆ พระวรกาย
ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์อย่างยิ่ง
นายมาลาการตัดสินใจนำดอกมะลิที่มีไปถวายแด่ พระพุทธเจ้า
พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น
แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแก่พระพุทธองค์ สร้างอานิสงส์ได้ทั้งภพนี้และภพหน้า
หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม
ครั้นภรรยานายมาลาทราบความ ก็เกรงกลัวว่าจะต้องโทษที่สามีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าพิมพิสาร
ก็หลบหนีออกจากบ้านไป แต่หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบกลับพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก
และได้ปูนบำเหน็จรางวัล ความดีความชอบแก่นายมาลาการ
นับแต่นั้นมาชีวิตของนายมาลาการก็อยู่อย่างมีความสุข
ชาวอำเภอพระพุทธบาทได้ยึดถือประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญ ปฏิบัติสืบต่อ
กันมา เป็นประจำทุกปี และกำหนดเอาวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
เป็นวันประเพณีตักบาตรดอกไม้
ในวันนั้น เมื่อพระภิกษะสงฆ์รับบิณฑบาตรดอกไม้จากพุทธศาสนิกชน
แล้วนำออกมาสักการะพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไป
สักการะบูชาพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมพระสารีริกธาตุ และเข้าโบสถ์ประกอบพิธี
สวดอธิษฐานเข้าพรรษา
ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญที่อยู่คู่กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารมาช้านาน
พี่น้องประชาชนชาวพระพุทธบาทและใกล้เคียง จะถือเอาวันเข้าพรรษาของทุกปี (ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 8)
เป็นวันตักบาตรดอกไม้