คำตอบที่ 49
ลองดูเป็นข้อมูล นะขอรับ
ตอนที่ 1. จะใช้รถอะไรมาวางเครื่อง JZ ดี?
คำถามแรกก็คงไม่พ้นเรื่องตัวรถ จะเลือกรถอะไรมาวางเครื่องดีหนอ?
สำหรับคนที่มีรถอยู่แล้ว ก็มองข้ามข้อนี้ไปได้เลย
แต่สำหรับคนที่กำลังมองหารถที่จะเอามาวางเครื่อง คงต้องคิดหนักกันหน่อย
โดยทั่วๆไปแล้ว รถที่จะสามารถเอามาวางเครื่องตระกูล JZ ได้
ต้องเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังเท่านั้น
ซึ่งรถที่มีขายอยู่ในตลาด บอดี้ที่นิยมนำมาวางเครื่องกันก็มี
Nissan (A31,200SX,Cedrick)
Benz (W123,W124)
Volvo (244,740,760 turbo intercooler, 940)
BMW (E12, E28, E30, E34, E36)
เปอร์โยต์ (305,505)
TOYOTA (Crown, Cressida,)
รถเก๋งและกระบะขับเคลื่อนล้อหลังเกือบทุกยี่ห้อ
ฯลฯ
จะเห็นได้ว่ารถที่สามารถนำมาวางเครื่อง JZ ได้นั้นมีอยู่เป็นสิบๆรุ่น
แล้วคราวนี้เราจะเลือกรถอะไรดีล่ะ?
อันดับแรกที่ควรจะนึกถึงก็คือเรื่องวัตถุประสงค์การใ ช้งานและเรื่องงบประมาณ
ผมคงต้องเอาสองเรื่องนี้รวบมาอยู่ด้วยกัน เพราะถ้าแยกกันแล้วมันจะวุ่นวายเป็นอย่างมาก
ยกตัวอย่างเรื่องวัตถุประสงค์การใช้งานเช่น
ถ้าเราต้องการรถที่ใช้ทำงานธรรมดา ไม่ได้เอาไว้บรรทุกของ อันนี้ก็แน่นอนอยู่แล้วว่าคงต้องเป็นรถเก๋ง
แต่ถ้าจะเอาไว้บรรทุกของได้ด้วย ก็คงต้องหันมามองรถกระบะ
หรือถ้าจะเอาไว้โมดิฟายเพื่อเอาไปแข่ง ก็อาจจะต้องหารถที่น้ำหนักเบาๆหน่อยมาใช้
แต่ถ้าต้องการรถเก๋ง ก็คงต้องมาดูงบประมาณก่อนว่ามีเงินเท่าไหร่ ก็เลือกได้ตามที่เราชอบ
ถ้าเงินเยอะแล้วต้องการความหรูหราสักหน่อย ก็อาจจะเลือก BMW E34 หรือ E36
แต่ถ้ามีงบน้อยลงมาอีกนิด แต่อยากได้รถคันใหญ่ๆนั่งสบาย ก็อาจจะเลือก Volvo
หรืออาจจะชอบรถญี่ปุ่นขับสนุกๆ หาของแต่งง่าย ก็อาจจะเลือก A31
ถ้ามีเงินเหลืออีกหน่อย แล้วต้องการรูปทรงสปอร์ต ก็อาจจะเลือก 200SX เป็นต้น
ส่วนคำถามที่ว่า แล้วรถตัวไหนที่วางแล้วจบง่ายๆ?
คำตอบก็คือ เหมือนๆกันแหละครับ รถต่างรุ่นต่างยี่ห้อกับเครื่องยนต์
ยังไงๆก็ต้องมีการดัดแปลงแก้ไขคล้ายๆกัน ขึ้นอยู่กับฝีมือการทำงานของอู่แต่ละอู่ว่าทำแล้วจบห รือไม่จบ
นอกจากนั้นก็ต้องแล้วแต่วัตถุประสงค์การใช้งานอีกด้ว ย คือ
ถ้าเป็นรถบ้าน ก็อาจจะไม่ต้องทำอะไรมาก
แต่ถ้าต้องการโมฯเต็ม ก็อาจจะต้องรื้อ+ดัดแปลงช่วงล่างเยอะหน่อย
เรื่องการเลือกรถนี้คงต้องแล้วแต่ความชอบและงบประมาณ ของแต่ละบุคคลจริงๆล่ะครับ
ตอนที่ 2. เครื่อง JZ มีกี่รุ่น? จะรู้ได้อย่างไร?
พอเลือกรถได้ถูกใจแล้ว คราวนี้ก็คงต้องมาเลือกกันว่าจะเอาเครื่องยนต์อะไรใส ่เข้าไป จึงจะเหมาะสม
เครื่องยนต์ในตระกูล JZ มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น หลายปี แยกรุ่นกันตามรหัสและส่วนประกอบต่างๆกัน เช่น
รหัสเครื่อง 1JZ จะมีความจุประมาณ 2500 CC.
แต่ถ้าเป็นรหัส 2JZ ก็จะมีความจุประมาณ 3000 CC.
ถ้าลงท้ายด้วย GE ก็จะเป็นเครื่อง N/A
แต่ถ้าลงท้ายด้วย GTE ก็จะเป็นเครื่องที่มีระบบอัดอากาศเป็น Turbo
หรือถ้าลงท้ายด้วย VVT-I ก็แสดงว่ามีระบบวาล์วแปรผันด้วย
ปัจจุบันเครื่องในตระกูล 1JZ และ 2JZ ที่นิยมนำมาใช้วางแทนเครื่องยนต์เดิม ก็มีอยู่ตามนี้
1JZ GE ฝาขาว
1JZ GE ฝาดำ
1JZ GE VVT-I
1JZ GTE ปลั๊กบาง (Twin Turbo)
1JZ GTE ปลั๊กหนา (Twin Turbo)
1JZ GTE VVT-I (Single Turbo)
2JZ GE
2JZ GE VVT-I
2JZ GTE (Twin Sequential Turbo)
2JZ GTE VVT-I (Twin Sequential Turbo)
จริงๆแล้วยังมีแยกย่อยตามเกียร์อีกนะครับ เช่นเกียร์อัตโนมัติ 4-5 สปีด และเกียร์ ธรรมดา 5-6 สปีด
นอกจากนั้นก็ยังมีรุ่นแยกย่อยตามแคร็งก์น้ำมันเครื่อ ง เป็น แคร็งก์หน้า แคร็งก์กลาง แคร็งก์หลัง อีกต่างหาก
ถ้าแยกกันยิบย่อยขนาดนั้น ผมว่าจะงงกันเสียปล่าวๆ เอาเป็นว่า หลักๆก็มีอยู่ประมาณ 10 รุ่นที่ว่ามาก็แล้วกัน
(ส่วน technical spec. ของแต่ละตัวผมคงไม่บอกล่ะ น่าจะหาอ่านกันได้ทั่วๆไปอยู่แล้ว)
แล้วเครื่องไหนปีเก่า เครื่องไหนปีใหม่กว่ากัน?
ผมคงไม่รู้ละเอียดขนาดว่ารหัสไหนผลิตปีไหนหรอกนะครับ เพราะว่ามันยากที่จะระบุปีให้แน่นอน
แค่บอกว่ายกออกมาจากตัวถังไหนก็แย่แล้ว
แล้ววันที่ ที่ปั๊มอยู่บนสายหัวเทียนก็ไม่สามารถบอกปีเครื่องได้
เพราะมันเป็นวันที่ที่ผลิตสายหัวเทียน ไม่ใช่วันที่ผลิตเครื่องยนต์
(แต่อย่างน้อยก็พอดูได้ว่าเครื่องเราผลิตหลังจากวันท ี่ผลิตสายหัวเทียนก็แล้วกันนะ)
คราวนี้ลองมาเปรียบเทียบกันดูแบบคร่าวๆก็แล้วกัน ว่าตัวไหนใหม่ตัวไหนเก่ากว่ากัน?
เครื่อง 1JZ GE ฝาดำ ปีใหม่กว่าฝาขาว แรงบิดมากกว่า แรงม้ามากกว่า
เครื่อง 1JZ GTE ปลั๊กหนาใหม่กว่าปลั๊กบาง แรงบิดสูงกว่าที่รอบเครื่องต่ำกว่า
เครื่องที่ลงท้ายด้วยรหัส VVT-I เป็นเครื่องปีใหม่สุด เครื่องสดที่สุด
เท่านี้ก็คงใช้เป็นแนวทางได้สำหรับคนที่ต้องการจะรู้ ว่าเครื่องตัวไหนปีเก่าปีใหม่กว่ากัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าเครื่องปีใหม่ที ่สุดจะต้องเป็นเครื่องที่สภาพดีที่สุดนะครับ
การที่จะได้เครื่องสภาพดีๆ ก็คงต้องมีวิธีการดูการเลือกเพื่อให้ได้เครื่องที่ดี ที่สุดตามที่เราต้องการ
ตอนที่ 3. เราจะเลือกเครื่องตัวไหนมาวางในรถเราดีล่ะ?
การจะเลือกเครื่องตัวไหนมาวางในรถสุดรักของเรา คงต้องย้อนกลับไปดูวัตถุประสงค์การใช้งานกับกำลังเงิ น
ผมลองสรุปคร่าวๆได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ และย่อยๆตามนี้นะครับ
1. เอาไว้ใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน (ไม่เน้นแรง)
เน้นประหยัดเงิน ไม่เน้นแรง ก็คงต้องเลือก 1JZ GE ฝาขาวหรือฝาดำ
มีเงินเยอะหน่อย แต่เน้นประหยัดน้ำมัน เครื่องสด ไม่เน้นแรง ก็อาจจะเลือก 1JZ GE VVT-I
มีเงินเยอะอีกหน่อย ขอแรงเล็กน้อย แต่จะเอาประหยัดน้ำมันด้วย ก็อาจจะเลือก 2JZ GE
มีกำลังเงินพอสมควร อยากได้เครื่องสดๆ แรงพอได้ แต่ประหยัดน้ำมัน ก็เลือก 2JZ GE VVT-I
2. เน้นแรงไว้ก่อน (แต่ก็ยังเอามาขับใช้งานประจำวันได้)
งบประมาณไม่มากนัก แรงพอควร ก็วาง 1JZ GTE ปลั๊กบาง
งบเยอะขึ้นมาอีกนิด แรงขึ้นอีกหน่อย ก็เลือก 1JZ GTE ปลั๊กหนา (จริงๆมันก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก)
งบเหลือๆ อยากแรง แต่จะเอาประหยัดด้วย ก็เลือก 1JZ GTE VVT-I (แต่ไม่เหมาะที่จะโมฯต่อ)
ถ้าเงินเยอะ เน้นแรงมากในแบบแสตนดาร์ด ก็เลือก 2JZ GTE VVT-I
ถ้าเงินเหลือเฟือ เน้นแรงมาก เผื่อไว้โมฯต่อด้วย ก็เลือก 2JZ GTE น่าจะดีกว่า
แต่นอกจากเรื่องความแรงและความประหยัดแล้ว
ก็อาจจะต้องมองถึงตัวรถที่จะนำมาวางเครื่องด้วยว่ามี ขนาดและน้ำหนักมากน้อยอย่างไร
เพราะถ้าจะเอาเครื่อง 1JZ GE ไปลากตัวถังรถที่ขนาดใหญ่และหนักมากๆ
มันก็คงซิ่งไม่ออกและคงไม่ประหยัดน้ำมันซักเท่าไหร่
ก็คงต้องดูองค์ประกอบในส่วนนี้ด้วย
ส่วนเรื่องเกียร์ ก็แล้วแต่ความชอบและความถนัด เช่น
- ถ้าจะเอาไว้ใช้งานสบายๆขับเพลินๆ ค่าซ่อมบำรุงถูก ก็เลือกเกียร์ออโต้ไปเลย
- แต่ถ้าเน้นแรงไว้ก่อนและเผื่อเอาไว้โมฯต่อในอนาคต ก็น่าจะเลือกเกียร์ธรรมดา
(แต่จะเป็น 5 หรือ 6 สปีด ก็คงต้องแล้วแต่งบ)
อย่าลืมนะครับว่า เกียร์ธรรมดาราคาแพงกว่าเกียร์ออโต้ 2-3 เท่าตัว
ยิ่งถ้าจะทำการโมดิฟายเครื่องเพิ่มเติมด้วยแล้ว ก็ต้องเสียเงินในการ upgrade ชุดคลัชท์หรือเฟืองท้ายตามมา
อย่าลืมเผื่อเงินไว้ในส่วนนี้ด้วย เดี๋ยวจะกลายเป็นเครื่องแรงแต่วิ่งไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์
จากข้อมูลข้างต้นนี้ก็น่าจะได้แนวทางการเลือกเครื่อง ยนต์กันแล้วนะครับ
แต่ยังไงก็แล้วแต่ นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว
บางคนอาจจะมองไม่เหมือนกันก็ได้ ก็แล้วแต่มุมมองและรสนิยมของแต่ละท่าน
ตอนที่ 4. เครื่องแต่ละรุ่น กินน้ำมันมาก-น้อยขนาดไหน?
มีหลายท่านที่กำลังจะเริ่มวางเครื่อง แต่ก็ติดเรื่องกลัวจ่ายค่าน้ำมันไม่ไหว
แหม
..รักจะเป็นปิ่น(มาแต่งงานกับเจ)แล้ว ก็อย่าไปเสียดายค่าน้ำมันเลยครับ
มีคนพูดกันอยู่บ่อยๆว่า ความแรงมักสวนทางกับความประหยัดเสมอ
พูดอย่างนี้ หลายคนอาจจะเริ่มกลัวว่า ไอ้เครื่องเจเนี่ยท่าทางจะซดน้ำมันน่าดูชม
..มันก็ไม่ขนาดน้านนนน
ต้องมองกันในหลายๆด้านครับ อย่างเช่น
รถ Volvo เครื่องเดิมกินน้ำมันก็มาก แถมยังวิ่งไม่ค่อยออกซะอีก ค่าซ่อมเครื่องก็แพงมหาโหด
แต่พอเปลี่ยนมาวางเครื่อง JZ สิ่งที่ได้เพิ่มมาคืออะไร?
อย่างแรก ก็แน่นอนครับ คือเรื่อง feelingในการขับขี่ ได้อัตราเร่งที่ดีขึ้น ขับสบายขึ้น
อย่างที่สอง อัตราการกินน้ำมันที่ลดลง หรืออย่างแย่ที่สุดก็อาจจะเกือบเท่าเดิม
อย่างที่สาม เรื่องค่าซ่อมบำรุงที่ถูกกว่ากันหลายเท่า
อย่างที่สี่ เพิ่มเงินเพียงสามร้อยก็มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิก Club JZ ได้
(เอิ๊ก เอิ๊ก)
ข้อดีแค่สามข้อแรกก็น่าจะเพียงพอต่อการตัดสินใจวางเค รื่องใหม่แล้วนะครับ
คราวนี้ลองมาดูตัวเลขกันเลยว่า เครื่องในแต่ละรุ่นกินน้ำมันมาก-น้อยขนาดไหนกัน
แต่ผมขอออกตัวไว้ก่อนเลยนะครับว่า เป็นการประมาณจากข้อมูลของเพื่อนๆหลายๆคน
อาจจะมีบางคนได้ตัวเลขมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้
ขึ้นอยู่กับวิธีการขับขี่, เฟืองท้าย, ชนิดของเกียร์, ขนาดล้อและยาง, ขนาดและน้ำหนักของรถด้วย
1JZ GE ฝาขาวหรือฝาดำ
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 7-8 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 9-10 กม./ลิตร
1JZ GE VVT-i
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 9-10 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 11-12 กม./ลิตร
2JZ GE
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 7-8 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 9-10 กม./ลิตร
2JZ GE VVT-i
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 8-9 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 10-12 กม./ลิตร
1JZ GTE ปลั๊กบางหรือปลั๊กหนา
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 6-7 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 8-10 กม./ลิตร
1JZ GTE VVT-i
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 7-8 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 9-11 กม./ลิตร
2JZ GTE
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 5-6 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 8-10 กม./ลิตร
2JZ GTE VVT-i
ใช้งานในเมืองอัตราการกินน้ำมัน 6-7 กม./ลิตร, วิ่งทางไกล 9-12 กม./ลิตร
ตัวเลขที่ได้นี้ ขอเน้นว่ามาจากเครื่องแสตนดาร์ด ที่วางมาค่อนข้างสมบูรณ์ แล้วก็ขับใช้งานอย่างปกติ
อาจจะมีซัดบ้างเล็กๆน้อยๆพอหอมปากหอมคอนะครับ
ถ้าเป็นเครื่องยนต์โมดิฟาย แล้วขับซิ่งตลอดเวลาตัวเลขก็คงลดน้อยลงไป
วางเครื่องที่อู่ไหนดี?
คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตติดท๊อปเท็นตลอดกาล สำหรับคนที่เริ่มคิดจะวางเครื่องใหม่
ก่อนที่จะเอารถเข้าไปฝากชีวิตไว้กับใคร ต้องพยายามเก็บข้อมูลต่างๆให้มากที่สุดก่อน
เพราะเห็นมาหลายคนแล้วที่เลือกอู่ผิด ก็คิดจนรถตาย แก้ยังไงก็ไม่จบ สุดท้ายก็ต้องขายรถทิ้ง
แล้วก็จะทำให้เครื่องยนต์ JZ ถูกตราหน้าว่าไม่ดี มีปัญหาเยอะ ซึ่งมันไม่จิ๊งงง ไม่จริงเลย ขอบอก
แล้วพวกเรามือใหม่จะรู้ได้อย่างไรว่า อู่ไหนดีหรือไม่ดี เพราะทุกวันนี้ก็เดินเข้าแต่โรงหนัง ไม่เคยเดินเข้าอู่สักที
ถ้าคิดจะรักเจ ต่อไปนี้ อาจจะต้องลองชวนแฟนไปเที่ยวอู่ หรือไปช๊อปปิ้งที่เชียงกงกันบ้างละนะ
ฮิ ฮิ
อย่างแรกก็อาจจะลองเปิดดูอู่ที่ลงโฆษณาตาหนังสือแต่ง รถต่างๆดูก่อน เพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อย
หลังจากนั้นก็ลองถามคนที่เคยเอารถเข้าไปทำมาก่อน ว่าในแต่ละอู่นั้น
- ฝีมือ+ความรู้ของช่างเป็นอย่างไรบ้าง?
- ทำงาน/เก็บงานเรียบร้อยดีไหม?
- ตั้งแต่วางมามีปัญหาอะไรบ้างหรือปล่าว?
- เวลามีปัญหากลับไปให้แก้ไข ทางอู่มียึกยักหรือไม่?
แต่ถ้าจะให้ดีขอดูขอลองรถเลยครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
หลังจากที่เราได้รายชื่ออู่ที่คิดว่าเข้าท่ามาแล้ว อาจจะซักสอง-สามแห่ง
ขั้นต่อมาเราก็ต้องเข้าไปดูการทำงานที่อู่จริงๆเลย
วิธีการพิจารณาในส่วนนี้ ผมขออนุญาตลอกของพี่ MR. J มาเรียบเรียงใหม่นะครับ
1. อู่ควรจะสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย (แต่อู่ส่วนใหญ่จะสอบตกข้อนี้)
2. ช่างประจำอู่ต้องมีความรู้ เกี่ยวกับการทำงานและการวางเครื่องยนต์เป็นอย่างดี
3. เครื่องมือประจำอู่จะต้องมีพร้อมพอสมควร
4. เจ้าของอู่และช่าง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อ คุยรู้เรื่อง
5. คิดราคาที่ชัดเจนและเป็นธรรม
6. ถ้าเป็นไปได้ เลือกอู่ใกล้บ้านไว้ก่อน เพราะจะได้เข้าไปดูแลได้ง่าย(รวมถึงเวลาเกิดปัญหาด้ว ย)
และอีกข้อหนึ่ง ข้อนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมคิดว่าค่อนข้างสำคั ญก็คือ
ในอู่ถ้ามีช่าง wiring ประจำอยู่ด้วยก็จะเป็นการดีมากๆ
เพราะเวลาวางเสร็จแล้วเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟ เขาจะได้แก้ให้เราได้เลย
ถ้าเกิดอู่ต้องไปตามช่างข้างนอกมา wiring ให้ เวลามีปัญหาทีนึงจะตามตัวได้ยากมาก
อย่าลืมนะครับว่า งานแก้ช่างมักไม่ค่อยได้ตังค์ ก็เลยทำให้ตามตัวยาก
หลังจากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า เอาวะ อู่นี้ชัวร์แน่นอน ก็เตรียมตัวเริ่มในขึ้นต่อไปได้เลยครับ
ตอนที่ 6. ราคานี้แพงหรือปล่าว? แล้วอู่ต้องทำอะไรให้บ้าง?
หลังจากเลือกอู่ที่ถูกใจได้เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องควักกระเป๋ากันบ้างล่ะ
เรื่องราคา ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งของคนที่ไม่เคยสัมผัสกับการวางเค รื่อง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ราคานี้เหมาะสม หรือแพงไป เพราะบอกตรงๆว่า ราคามันหลากหลายเหลือเกิน
บางอู่ก็ถูกมากเสียจนไม่น่าไว้ใจ บางอู่ก็แพงหูฉี่จนสู้ราคาไม่ไหว
แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ?
สิ่งสำคัญก็คือว่าในราคาที่บอกนั้นครอบคลุมไปถึงอะไร บ้าง อุปกรณ์ครบไหม? รับประกันกี่เดือน?เป็นต้น
คราวนี้ลองมาดูกันว่าเวลาที่จะวางเครื่อง อู่ควรจะต้องทำอะไรให้เราบ้าง
- วางเครื่อง+ทำแท่นเครื่อง+แท่นเกียร์
- ตัดต่อ+ถ่วงเพลากลาง
- Wiring ระบบไฟ รวมถึงหน้าปัทม์ และแป้นเกียร์ทั้งหมด
- ระบบระบายความร้อน พวกพัดลม หม้อน้ำ ท่อน้ำ
- ระบบเบรค หม้อลม ดิสค์
- ระบบไอเสีย ท่อไอเสีย หม้อพัก
- กรองอากาศ กรองเปลือยต่างๆ
- ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ปั๊มติ๊ก
- ระบบปรับอากาศ
- ถ้าเป็นรถเทอร์โบ ก็จะมีเรื่อง อินเตอร์คูลเลอร์ และท่ออินเตอร์
- สายพานต่างๆ ถ้าหมดสภาพก็ควรเปลี่ยนใหม่ซะเลย
- ระบบของเหลวทั้งหมด น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย
ในเบื้องต้นของการตกลงกัน อู่ที่วางเครื่องควรจะทำครอบคลุมสิ่งต่างๆที่กล่าวมา นี้ให้เกือบทั้งหมด
ส่วนที่เหลือนอกจากนี้ ที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมก็แล้วแต่ตกลง กันอีกที เช่น
- เปลี่ยนเฟืองท้าย
- เปลี่ยนชุดเบรก ล้อ ดุม ดิสค์
- ท่ออินเตอร์อลูมิเนียมดัดทราย
- ท่อไอเสีย หม้อพักแสตนเลส
- ปัดเงา + ชุบโครเมี่ยมชิ้นส่วนต่างๆ
คราวนี้เราลองมาดูราคากันว่า การวางเครื่องในแต่ละรุ่นนั้นงบประมาณควรจะอยู่ประมา ณเท่าไหร่?
ตัวเลขนี้ผมลองไปค้นๆดูจากกระทู้เก่าๆ แล้ว copy มาเลย ผมจะแยกไว้ตามเครื่องแต่ละรุ่นลองค่อยๆอ่านดูก็แล้วก ันนะครับ
1. 1JZ GE ฝาขาวหรือฝาดำ
- รถ MITSU L200 วาง 1JZ-GE ฝาขาว เกียร์ AUTO ค่าเครื่อง 19000 บาท ค่าวาง 28000 รวม WIRING ด้วย
เบ็ดเสร็จก็เกือบ 48000 บาทหม้อน้ำเดิม พัดลมไฟฟ้า 2 ตัว ท่อไอเสียของเดิม แผงคอยล์ร้อนเอาไปไว้ใต้กระบะ
ติดพัดลมไฟฟ้าอีก 1 ตัว รวมตัดต่อเพลากลางด้วย ดูบิลแล้วค่าวาง 7000 ค่าWIRING 3000 บาท
นอกนั้นก็เป็นค่าของจุกจิก เช่นเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง กับสายพานหน้าเครื่องแล้วก็ซีลหน้าเครื่อง เกือบ 3000
- ที่ลำปาง..เพื่อนวางตัว GE ฝาดำ ซื้อเครื่องมาจากเชียงใหม่..28000..ค่าวาง5000(ใน E-28 )
wiring อีกแห่ง 6000 ทำท่อใหม่+แอร์ จบที่ประมาณ 45000
- ของผม 1jz-ge ฝาดำครับ รวม 50000 บาท แยกเป็น ค่าเครื่อง 30000 ค่าวาง 20000 บาท
รวมพัดลม 2 ตัวหม้อน้ำใหม่ หม้อลมเบรค2 ชั้น ตัดต่อเพลากลาง แอร์ทำใหม่หมด ท่อไอเสีย 3 นิ้วหม้อพัก1ใบ
2. 1JZ GE VVT-i
- เปอร์โยต์ 505 ไปวาง 1JZ-GE vvti auto ค่าวางเครื่องประมาณ 80000 เบ็ดเสร็จทุกอย่างแล้ว
รวมหม้อน้ำใหม่2 ช่องนอน+พัดลม2ตัว(2สปีด)+บังลมตีใหม่+ทุบห้องเครื่อ งและทำสี+ทำฐานรองและยางรองแท่นเครื่องใหม่+ค่าเครื่ อง+ตัดต่อเพลากลางพร้อมถ่วง+สลับแคร้งใหม่
3. 1JZ GTE
- E36 1J-GTE auto วางมา70000 มีอินเตอร์พร้อมท่อ เดินท่อไอเสียใหม่ มีพักปลาย กรองเปลือย อุปกรณ์ครบ
- เครื่องปลั๊กหนาหรือบาง สภาพดีๆ ราคาก็ ประมาณ 35000-45000 แล้วแต่รุ่นและเกียร์ ค่าวาง 4000-6000
ค่า wiring สายไฟอีก 3000-10000 และอุปกรณ์ อื่นๆที่ต้องหามาใส่ให้ครบอีกประมาณ 10000
เช่น กล่องพัดลม หม้อน้ำ รีเลย์ปั้ม ฯลฯ ส่วน ท่ออินเตอร์(อลูมิเนียม)+ท่อไอเสีย รวมกันประมาณ 8000
- ผมว่าจะวาง 1JZ GTE ครับ ดีไหมครับ คิดมา 60000 บาทครับ.ครบทุกอย่าง ท่อ. แอร์ .ๆลๆ
- ของผมวางในเซฟ 1J-GTE 56000 auto ครับ
4. 1JZ GTE VVT-i
- เห็นตาก๊อดเคยบอกว่าวางมาแสนกว่าบาท เกียร์ธรรมดา แต่นานแล้ว
5. 2JZ GTE
- 2JZ GTE Auto ราคาอยู่ประมาณ 80000-100000 ครับ ค่าวางอยู่ที่ 15000 บาท
6. 2JZ GTE VVT-i
- ตอนนี้ราคาเครื่องน่าจะอยู่ประมาณ แสน-แสนสี่นะครับ ค่าวางต่างหากอีกประมาณ สองหมื่นห้า-สามหมื่น
แต่ราคาที่ว่ามานี้เป็นราคาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้ราคาเครื่องบางตัวอาจจะขยับขึ้นมาอีก 10,000-20,000 บาท
ยังไงๆ ก็คงต้องค่อยๆสืบราคา หาอู่ที่โอเคที่สุด
บางอู่ที่บอกราคาถูกๆ บางทีเขาก็ไม่ได้รวมรายละเอียดหลายๆอย่างที่บอกไว้ข้ างต้น
พอทำออกมาเสร็จ เจอบวกค่าโน่นค่านี่เข้าไปอีก สุดท้ายรวมราคาแล้วก็ไม่ได้ต่างไปจากอู่อื่นๆ
วิธีที่ดีที่สุด คืออย่าใจร้อน ค่อยๆคุย ค่อยๆหาไปเรื่อยๆ ลองถามคนที่เคยไปทำมาแล้ว ลองเข้าไปดูสภาพการทำงานในอู่
ดูความเรียบร้อยของงานที่ทำ ตกลงราคากันให้ดี ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรไปเลยครับ
วิธีการเลือกเครื่อง ต้องเลือกเองหรือปล่าว? จะดูสภาพเครื่องได้ยังไง?
หลังจากที่เลือกอู่ได้ ตกลงราคากันได้ เราก็ตกลงใจแล้วว่าจะให้อู่นี้เป็นคนผ่าตัดเปลี่ยนหั วใจเจ้าหนูตัวเก่งของเรา
แต่ปัญหาอีกอย่างนึงของพวกมือใหม่หัดวางก็คือ จะไว้ใจให้อู่ไปหาเครื่องมาให้ได้หรือปล่าว?
กลัวจะได้เครื่องที่ไม่ดี ไม่สด ไม่ฟิต ไม่เอาอกเอาใจ ทำงานไม่ดี เดี๋ยวนึกว่าเงินหล่น
.เอ๊ยยยยย..ม่าย..ช่ายยย
(เผลออยู่เรื่อย นึกว่าเป็นบทความการเลือกเครื่องอีกแบบนึง
..แหะ..
แหะ)
เรื่องการเลือกหาเครื่องที่จะเอามาวาง มันก็ทำได้สอง-สามแบบครับ คือ
ให้ช่างหาให้ หรือ เราหาเอง หรือ พาช่างไปช่วยกันหา
- ให้ช่างหาให้
ก็ดี สบายดี ไม่ต้องลำบากเรา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องแล้วแต่ช่างด้วยว่า ตาถึงหรือไม่ถึง ขยันหาด้วยหรือปล่าว
เรื่องช่างตาไม่ถึงเนี่ย ผมว่าคงไม่ค่อยมีหรอก แต่ส่วนใหญ่จะขี้เกียจหาซะมากกว่า
คือพอไปเจอปุ๊บ ก็ซื้อเลย แทนที่จะเดินเลือกหลายๆร้านให้ทั่วๆซะก่อน เผื่อมีร้านอื่นสภาพดีกว่า
ยิ่งบางอู่มีร้านที่ซื้อ-ขายกันประจำด้วย ยิ่งแล้วใหญ่ อันนี้ก็ต้องแล้วแต่พิจารณาแล้วครับ
- เราไปหาเครื่องมาเอง
ก็จะสะดวกสำหรับคนที่มีเวลาว่างไปเดินเลือก (แต่ถ้ามีงานประจำทำแล้ว คงหาเวลาไปดูยาก)
ที่สำคัญก็คือต้องดูสภาพเป็น ต้องรู้ว่าเครื่องนี้สภาพดีหรือไม่ดี
- พาช่างไปช่วยกันหา
ถ้าเราพอมีเวลาแต่ไม่ค่อยมีความรู้ ใช้วิธีนี้ดีที่สุดครับ
คือช่างส่วนใหญ่จะรู้อยู่แล้วว่าเครื่องสภาพไหนเป็นอ ย่างไร
แต่ถ้าเราไม่ชอบเราก็ยังสามารถให้เขาไปเลือกดูตัวอื่ นๆได้ด้วย
หรืออย่างน้อยเราก็พอจะสอบถามหรือต่อรองราคาได้บ้าง
ก็ลองคิดตัดสินใจเอาก็แล้วกันนะครับว่า เราจะหาวิธีเลือกเครื่องกันยังไง
แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องมีการรับประกันทุกเครื่อง อย่างน้อยก็ต้องสอง-สามเดือนขึ้นไป
ถ้าร้านไหนมันไม่ยอมรับประกันให้ ก็เดินออกเลยครับ แสดงว่าเครื่องมันอาจจะย้อมแมวมาก็ได้
วิธีการเลือกซื้อเครื่องนั้น ผมคงต้องขออนุญาต พี่ Mr. J มาเรียบเรียงอีกครั้งครับ
เริ่มจากวิธีการเลือกร้าน
1. เลือกร้านที่มีเครื่องหลายๆเครื่องไว้เปรียบเทียบกัน ถ้ามีเครื่องเดียวโชว์ไว้ไม่น่าสนใจ
2. เลือกร้านที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ควรเก็บนามบัตรไว้ด้วยเพราะร้านมีมาก
เผื่อกลับมาหาจะได้มาหาถูก
3. จำไว้ว่าเงินยังอยู่ในกระเป๋าเรา อำนาจต่อรองยังเป็นของเรา
ควรจะกำหนดข้อต่อรองก็ทำก่อนจ่ายเงิน
4. Survey ร้านไว้ก่อนแล้วพาคนที่ชำนาญไปตัดสิน ร้านค้าจะดูลูกค้าว่าเป็นประเภทไหน
ถ้าประเภทเอาจริงแล้วเขาจะทุ่มเทให้เพื่อให้ปิดการขา ย
ถ้าเห็นว่าเป็นลูกค้าประเภทไม่จริงบางทีเขาจะบอกราคา แบบไล่ส่งเลย
คราวนี้ก็มาดูวิธีการเลือกเครื่องบ้าง ดูเครื่องอย่างไรจึงจะได้เครื่องดี
เพราะเครื่องส่วนมากจะผ่านกรรมวิธีตบแต่ง ศัลยกรรมเปลี่ยนชิ้นส่วนแทบทั้งนั้น
ถึงแม้จะแต่งอย่างไรถ้าตาถึงจริงๆ ก็ดูออก โดยสังเกตจากสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
1. คราบน้ำมันที่ปรากฏอยู่จะบอกความสมบูรณ์ของเครื่อง
เครื่องที่สภาพดีๆ ไม่ควรมีรอยซึมตามซีลและปะเก็นต่างๆ
ถึงแม้จะผ่านการล้างด้วยน้ำยาล้างเครื่องมาแล้วก็อาจ มีร่องรอยให้สังเกตุเห็นได้
2. เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่องดูคราบน้ำมันเครื่องที่เกาะแ คมชาร์ฟ
ควรจะใสๆไม่เป็นโคลนและดูความเงาของแคมชาร์ฟด้วย
3. ดูคราบน้ำในท่อยาง อย่าให้มีคราบสนิมเกาะ ควรจะเป็นคราบน้ำยาหม้อน้ำมากกว่า
4. จับดูสายยางและท่อยางต่างๆว่ายังนิ่มอยู่หรือไม่ ไม่ควรจะแข็งและมีรอยแตกร้าว
5. ส่วนประกอบต่างๆจะต้องได้เซ็นเตอร์ และได้ฉาก ร่องสายพานจะต้องตรง
6. หัวน๊อตจะต้องไม่มีรอยช้ำ หัวน๊อตส่วนสำคัญๆมักจะมีสีแต้มไว้
7. สายไฟต้องเรียบร้อย ไม่ควรจะถูกตัด ไม่แข็ง ไม่แตก
หัวปลั๊กทั้งตัวผู้ตัวเมียสมบูรณ์ คลิปสายต่างๆสภาพดี
8. ถ้าเครื่องมีสนิมเกาะภายนอกเป็นดวงๆ อาจเป็นเครื่องจมน้ำ
9. ดูที่ท่อไอเสียว่าคราบเขม่าเป็นอย่างไร
ถ้าเป็นเครื่องไม่มีเทอร์โบควรออกสีไม่ถึงกับดำ ถ้าเทอร์โบก็จะเป็นดำบางๆ
แต่ถ้าเครื่องหลวมแล้วหรือเทอร์โบพังก็จะเป่าน้ำมันเ ครื่องออกมาเป็นเขม่าดำเหนียวที่ท่อไอเสีย
10. ดูให้ดีต้องเปิดหัวเทียนออกมาดูแต่ละสูบ ถ้าเป็นไปได้ก็พกแว่นขยายส่องดูหัวเทียนว่ามีอะไรเกา ะบ้าง
เขม่าที่จับอยู่บนหัวเทียนจะบอกหมด โดยเฉพาะถ้าเครื่องเกิดอาการน๊อคก็จะเห็นละอองอลูมิเ นียมหัวสูบติดมาให้เห็นด้วย
นอกจากนั้น ก็ควรที่จะดูว่าอุปกรณ์ที่ให้มาพร้อมเครื่องนั้นมีอะ ไรบ้าง
1. กล่อง ECU ที่สมบูรณ์ หัวปลั๊กและเข็มดีไม่คดงอ กล่องไม่บุบ
2. สายไฟเข้ากล่องมีครบทุกหัว ลองเสียบดู เสียบเข้า ดึงออกได้คล่อง
3. Slow Pump หรือที่นิยมเรียกกันว่า รีเลย์ปั๊มติ๊ก (แต่ส่วนใหญ่ไม่มีให้หรอก)
4. กล่อง ABS
5. กล่อง ABS & Traction
6. กล่อง PPS
7. กล่อง ECU Cruise Control
8. กล่องฟิวส์
9. กล่องจุดระเบิด
10. คันเกียร์ออโต พร้อมกล่องควบคุม
11. พัดลมไฮดรอลิค หรือฟรีปั๊ม
12. หม้อน้ำ
13. ปั๊มน้ำมันบินซิน
ก็หาทางเอามาให้ได้มากที่สุดแหละครับ แต่บางรายการเอามาก็ใช้ไม่ได้ เช่น ABS และ TRC
(แต่บอกตรงๆครับว่า จะหาเครื่องที่ได้อุปกรณ์ครบตามนี้ ยากครับ)
ควรจะสามารถแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ด้วยในกรณีชิ้นส่วน บางชิ้นเกิดใช้ไม่ได้
หรือมีอุปกรณ์ที่ขาดหายต้องหาให้ครบ
อีกข้อเรื่องการขนส่ง น่าจะให้ทางร้านจัดส่งให้ถึงที่ด้วยครับ
เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ต้องมีใบกำกับเลขเครื่องมาด้วยนะครับ
ไม่งั้นซื้อเครื่องมาวางเรียบร้อยแล้ว แต่แจ้งเปลี่ยนเลขเครื่องในเล่มทะเบียนไม่ได้ ก็แย่ครับ
8. เริ่มวางเครื่อง
หลังจากเราได้เครื่องที่สภาพดีถูกใจกันแล้ว คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนการวางกันบ้าง
การวางเครื่อง ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือและเทคนิคในแต่ละอู่ ซึ่งจะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็มีขั้นตอนหลักๆอยู่ตามนี้
1. ยกเครื่องเดิมลง
2. ทำแท่นเครื่อง+แท่นเกียร์ใหม่
3. วางเครื่องใหม่ลงไป
4. ตัดต่อ+ถ่วงเพลา+ตุ๊กตาเพลากลาง
5. wiring เครื่องยนต์ + หน้าปัด
6. ต่อระบบแอร์
7. ระบบระบายความร้อน (หม้อน้ำ)
8. ระบบท่อไอดี/ไอเสีย+อินเตอร์คูลเลอร์
9. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (ปั๊มติ๊ก+ถังพัก)
10. เปลี่ยนถ่ายของเหลวต่างๆ (น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย น้ำหล่อเย็น)
ขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นหน้าที่ของช่างที่อู ่เกือบทั้งหมด
ยกเว้นบางอู่อาจจะส่งงานบางส่วนไปทำข้างนอก เช่น ตัดต่อเพลากลาง เดินท่ออินเตอร์ ระบบแอร์ เป็นต้น
แต่ขั้นตอนหลักๆที่เราต้องให้ความสนใจก็คือ
1. แท่นเครื่อง+แท่นเกียร์
เนื่องจากเครื่องยนต์ที่เราจะวางลงไป เกือบทั้งหมดจะเป็นการวางข้ามตระกูลรถ
ดังนั้นจึงต้องมีการดัดแปลงจุดยึดแท่นเครื่องและแท่น เกียร์กันใหม่
โดยการทำแท่นเครื่องหรือแท่นเกียร์ก็มีอยู่หลายวิธีด ้วยกัน ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป
หลักๆแล้วก็สรุปได้สองประเภท คือ
- ทำจากเครื่องไปหาตัวรถ ข้อดีก็คือ รถไม่ช้ำ ข้อเสียก็คือถ้าทำไม่ดีก็จะไม่ค่อยแข็งแรงและไม่ได้ center
- ทำจากตัวรถไปหาเครื่อง ข้อดี ทำให้จุดยึดต่างๆค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ก็ต้องดัดแปลงสภาพรถพอสมควร
ส่วนใหญ่แล้ว ช่างที่ค่อนข้างมีฝีมือจะใช้การสร้างจุดยึดจากเครื่อ งไปหาของเดิมที่ตัวรถเป็นหลัก
ซึ่งจะทำให้รถช้ำน้อยกว่าการสร้างจุดยึดขึ้นมาใหม่
2. ตัดต่อ + ถ่วงเพลากลาง
โดยส่วนใหญ่แล้วการตัดต่อเพลากลางที่ถูกต้องจะต้องทำ การตัดต่อบนแท่นกลึง
เพื่อที่จะทำให้เพลาที่ผ่านการตัดต่อมาแล้วนั้นมีการ ถ่วงให้ได้สมดุลย์มากที่สุด
เพราะถ้าตัดต่อมาไม่ได้ระนาบ หรือถ่วงมาไม่ดี ก็จะทำให้เวลาขับแล้วเพลาเกิดการเหวี่ยงหนีศูนย์
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการสะท้านหรือสั่นเป็นบางช่วงรอบ
ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้ยางตุ๊กตาเพลากลางฉีกขาด ลูกปืนยอยแตก ฯลฯ
ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับจุดที่ว่านี้ด้วย
3. การ wiring เครื่องยนต์ และ หน้าปัด
การ wiring ระบบไฟเครื่องยนต์เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องให้ความสำค ัญมาในระดับต้นๆ
เพราะถ้าทำระบบไฟมาไม่สมบูรณ์ ต่อไปเวลาเกิดปัญหาในการใช้งาน จะทำให้แก้ปัญหาได้ยาก และจุกจิก
โดยเฉพาะเครื่องยนต์เกียร์อัตโนมัติ เพราะว่า กล่อง ECU จำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลต่างๆ จาก sensor หลายชุด
เพื่อประมวลผลให้การเปลี่ยนเกียร์เป็นไปได้อย่างถูกต ้อง สัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์ และความเร็วที่ใช้
ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไป กล่องมันก็ทำงานแบบมั่วๆ มันก็ต้องมีปัญหากับการขับขี่แน่นอน
และผลที่ได้ก็จะทำให้เครื่องยนต์วิ่งได้แรงเต็มกำลัง เปลี่ยนเกียร์ได้นิ่มนวล และประหยัดน้ำมันขึ้น
ลองหาโอกาสนั่งรถที่ wiring ระบบไฟมาแบบครบๆดูสิครับ เวลาเกียร์เปลี่ยนทีนึงแทบจะไม่รู้สึกตัวเลยด้วยซ้ำไ ป
การ wiring นั้น จะเป็นเทคนิคและความละเอียดอ่อนในแต่ละอู่
บางอู่ที่มีความรู้ด้านการ wiring ดี ก็จะต่อระบบต่างๆได้ครบ มีไฟ check engine เพื่อใช้ตรวจสอบการทำงานได้
บางอู่อาจจะแค่ต่อสายไม่กี่เส้น เพื่อให้เครื่องยนต์สตาร์ทได้ก็เป็นพอ
ราคาค่า wiring ก็จะแตกต่างกันไปตามความรู้ความสามารถของแต่ละอู่ ต้องลองสอบถามรายละเอียดกันให้ดีๆ
ที่สำคัญ ให้ช่างต่อไฟ check engine ไว้ให้ดูด้วยก็แล้วกัน จะได้สบายใจ
4. การเดินท่อระบบไอดี/ไอเสีย และการติดตั้งอินเตอร์คูลเลอร์
ขึ้นอยู่กับการตกลงกันในแต่ละอู่ด้วยนะครับว่า ค่าแรงที่ได้ตกลงกันไว้นั้นครอบคลุมไปถึงหัวข้อนี้ด้ วยหรือไม่
เพราะบางอู่อาจจะไม่ได้คิดรวมไว้ในราคาที่ตกลงกันไว้ แต่แรกก็ได้
การเดินท่อไอเสีย ก็ต้องเดินให้เหมาะกับขนาดและชนิดของเกียร์ที่ใช้ด้ว ย
ไว้มีโอกาส ผมจะแยกเป็นหัวข้อต่างหากไว้อีกที
ส่วนเรื่องการเดินท่ออินเตอร์ฯ จะเป็นเหล็ก หรืออลูมิเนียมปัดเงาเพื่อความสวยงาม ก็แล้วแต่กำลังเงิน
ที่สำคัญคือควรจะเดินท่อให้มีขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเก ินไป
โดยท่อปากทางเข้า-ออกอินเตอร์ ไม่ควรจะเล็กกว่าขนาดของปากท่อร่วมไอดี
และตัวอินเตอร์ควรจะติดตั้งไว้ในตำแหน่งรับลมได้มากท ี่สุด โดยไม่ควรจะบังแผงแอร์และหม้อน้ำ
5. ระบบหม้อน้ำและการระบายความร้อน
ขนาดของหม้อน้ำและชนิดของพัดลมที่ใช้ จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ
ขึ้นอยู่กับว่าเราได้เลือกนำมาใช้อย่างเหมาะสมหรือไม ่
เพราะห้องเครื่องของรถบางรุ่นอาจจะเล็กมาก จนไม่สามารถใส่หาพื้นที่ใส่พัดลมตัวใหญ่ๆได้
ก็ต้องหาทางดัดแปลงกันไป ที่สำคัญอย่าให้ความร้อนขึ้นก็เป็นพอ
6. เปลี่ยนถ่ายของเหลวและสายพาน
ไหนๆก็ได้วางเครื่องใหม่กันแล้ว ก็น่าจะเปลี่ยนพวกสายพาน timing และของเหลวต่างๆ
รวมทั้งไส้กรองทั้งหลายแหล่ซักทีก็ดีนะครับ จะได้เริ่มนับเข็มไมล์กันใหม่เลย
เพราะเราเองก็คงไม่สามารถจะรู้ได้ว่าของเดิมนั้นใช้ม านานแค่ไหนแล้ว
สิ่งที่ควรจะต้องเปลี่ยนก็มี
- ชุดสายพานหน้าเครื่องทั้งหมด
- น้ำมันเครื่อง
- น้ำมันเกียร์
- น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์
- น้ำหล่อเย็นและคูลแลนท์
อาจจะดูว่าหลายรายการรวมๆกันนี่ก็เป็นเงินเกินครึ่งห มื่นอยู่เหมือนกัน
แต่อย่ามัวไปเสียดายเล็กเสียดายน้อยอยู่เลยครับ
เพราะถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาจากสาเหตุพวกนี้ จะต้องมานั่งเซ็งทีหลัง