คำตอบที่ 10
fiogf49gjkf0d
ต่อนะครับ
=========================================================
เครื่องต้นแบบผมตัวแรกผลิตแกสได้ประมาณ 1 ลิตร ต่อนาที โดยไม่ต้องมีระบบระบายความร้อนแบบที่ทำขาย ๆกัน
ผมทดลองทั้งแบบที่ใช้ Pulse Width Modulation ที่ความถึ่และ Duty Cycle ต่าง ๆ กัน
โดยใช้ Micro Controller ควบคุม การปรับค่าต่าง ๆ ง่ายมาก มี VR สองตัว ตัวแรกปรับความถึ่ ตัวสองปรับ Duty cycle
เอามา ไดรว์ MOSFET ที่จ่ายไฟให้แก่อิเลคโตรไลเซอร์ วัดว่าทำอย่าไงจึงจะได้แกสมากที่สุด
ทดสองผสมสารละลายที่ความเข้มข้นต่าง ๆ น้ำทีใช้ผมก็น้ำจากเครื่องกลั่นในห้องปฏิบัตการ
ของโรงงานอาหารทะเล
ตอนหลังนี้ผมก็ได้โทรศัพท์ ปรึกษากับอาจารย์อีกเช่นเดิม เป็นระยะ ๆ ก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิม
คือสรุปได้ว่าขาดทุนตั้งแต่อยู่ในมุ้งแล้ว
ทำให้ผมเริ่มฉุกคิดว่า เราทำผิดตรงไหน เหตุใดจึงไม่ได้ผล จึงทำให้ผมเริ่มศึกษาแบบใช้เหตุและใช้ผล
========================================================
สมน้ำหน้าตัวเอง ที่เคยเรียนมาแล้วแต่....ไม่จำเอง
ต่อไปจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ครับ
ผมขอปูพื้นฐานนิด ๆ หน่อย ๆ จะได้ตามกันได้ทัน
น้ำ มีสูตรทางเคมีว่า H2O คือ ใน 1 โมเลกุลของน้ำจะประกอบไปด้วย H สองอะตอม และ O หนึ่งอะตอม
โมล เป็นหน่วยวัดจำนวนโมเลกุลของสารประกอบหรือธาตุที่มีจำนวนเท่ากับเลข อาโวกาโร คือ 6.023 x 10^23 ตัว
การจะรู้ว่า 1 โมลมีน้ำหนักเท่าไหร่นั้นง่ายมาก คือ นำน้ำหนักอะตอมซึ่งดูไดจากตารางธาตุเอามารวมกัน
ตามตารางธาตู H มี นน.อะตอม 1.008 , O มี นน อะตอม 16
H2O จึงมี นน. โมเลกุล = 1.008x2 + 18 = 18.004 ===> Approx 18
นั่นหมายถึง น้ำ 1 โมล มีน้ำหนัก 18 กรัม จะประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 2 กรัม และ ออกซิเจน 1 กรัม
ต่อไปขอพูดถึงค่าพลังงานของพันธะ(Bond Energy)ซักหน่อย
การจะแยกโมเลกุลออกมาต้องใส่พลังงานเข้าไปเพื่อให้อะตอมแตกตัวออกมา
ในวิชาเคมีมัธยมปลายก็เคยมีสอนไว้ ว่า สร้างคาย สลายดูด คือถ้าสร้างพันธะใหม่จะคายพลังงานออกมา
ถ้าต้องการสลายพลังงานต้องใส่พลังงานเข้าไผ
O-O มีค่าพลังงานพันธะ 118.3 Kcal /mole
H-H ค่าพลังงานพันธะ 104.2 Kcal /mole
H-O ค่าพลังงานพันธะ 101.5 Kcal /mole
H-OH ค่าพลังงานพันธะ 119.7 Kcal/mole
ดังนั้นการจะแยกน้ำออกมาเป็นแกส ต้องใส่พลังงานเพื่อสลายพันธะดังนี้
1 แยก H-OH ===> 119.7
2 แยก H-O ===> 101.5
รวมเป็น 119.7 + 101.5 = 221.2 Kcal/mole
เมื่อแยกออกมาแล้ว H ก็จะรวมกับ H เป็น H2 จะคายพลังงานออกมา 104.2
O ก็จะรวมกับ O เป็น O2 คายพลังงานออกมา 118.3/2 = 59.15
รวมการคายพลังงานออกมา 104.2+ 59.15 = 163.35
พลังงานที่คายนี้หายไปไหน ???
หายไปในรูปความร้อนครับ เซลแยกน้ำ จะต้องร้อนเสมอเพราะสาเหตุนี้ครับ
อย่า อย่าเพิ่งแย้งเรื่อง H-H ครับ ผมยังเขียนไม่จบ
------------------------------------------------------
ความร้อนที่คายออกมาในคำตอบที่แล้วเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
คือ ถ้าจ่ายไฟเข้าไปในเซลล์ที่แยกน้ำอย่างไรก็ต้องมีความร้อนเกิดขึ้นเสมอ
ถ้าแยกน้ำ 18 กรัมออกไปเป็นแกสได้ จะมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณนั้น
ถ้ามากกว่านั้นหมายถึงอะไร ???
หมายถึงพลังงานส่วนที่ใส่เข้าไปนั้นไม่ได้แยกน้ำเป็นแกสครับ แต่กลายเป็นไป
เป็นการ "ต้มน้ำ" นั่นเอง
ใส่พลังงานเข้าไป 221.2 Kcal แต่โดนโยนทิ้งไปเฉย ๆเป็นความร้อน 163.35
พลังงานโดยรวมเหลือ 221.2-163.35 = 57.85 Kcal
เมื่อหารด้วย น้ำหนักของน้ำคือ 18 กรัม จะเป็นค่า 3.2 Kcal/กรัม
ค่านี้หมายถึงอะไร ???
==========================================
หมายถึงทุก ๆ 1 กรัมของน้ำที่ถูกแยกสลายกลายเป็นแกสแล้วนำแกสไปเผา
จะได้พลังงานออกมา 3200 แคลอรี คือสามารถทำให้น้ำ 1 กก อุณหภูมิสูงขึ้นไป 3.2 C
ในขณะที่พลังงานขาเข้าคือ 221.2 / 18 = 12.28 Kcal/กรัม
ทำให้น้ำ 1 กก อุณหภูมิสูงขึ้นได้ถึง 12.28 C
หายไปถึง 12.2 - 3.2 = 9 องศา คิดเป็น 3.2/12.2 x100 = 26% เท่านั้น
มาดูในแง่ของไฟฟ้าบ้าง
มันเป็นกฏครับของฟาราเดย์ กฏคือกฏ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต่างกับทฤษฎีที่เปลี่ยนได้
ผมสรุปให้แล้วกันนะครับ
ไฟฟ้า 1 ฟาราเดย์ สามารถแยกน้ำได้จำนวน 1 โมล
1 ฟาราเดย์คือจำนวนประจุทั้งหมด 96,500 คูลอมบ์
1 คูลอมบ์คือจำนวนประจุไฟฟ้าที่กระแสไหล 1 แอมป์ภายใน 1 วินาที
1 ชมมี 60x60 = 3,600 วินาที
ดังนั้น 1 ฟาราเดย์คือ 96,500/3,600 =26.8 แอมป์
คือต้องใข้กระแสไฟฟ้าจำนวน 26.8 แอมแปร์เป็นเวลา 1 ชม จึงจะแยกน้ำได้จำนวน 18 กรัม
สังเกตุว่าผมจะไม่พูดถึงแรงดันไฟฟ้าเลย เพราะการแยกน้ำใช้จำนวนประจุเป็นสำคัญ
==================================================
ขออภัยครับ ในคำตอบที่ 38 เขียนผิดไปหน่อยผมลืมหารสอง
1 ฟาราเดย์ แยกน้ำได้จำนวน 9 กรัมครับ ไม่ใช่ 18 กรัม
คราวนี้ที่ชอบใช้กันจริง ๆ คือ HHO นั่นหมายถึง อะตอมของไฮโดรเจนที่แยกออกมาได้จะยังไม่รวมตัว
เป็นโมเลกุล นั่นหมายถึงพลังงานส่วนที่สร้างพันธะจำนวน 104.2 Kcal จะไม่สูญเสียไปเป็นความร้อน
และอะตอมของออกซิเจนก็ยังไม่รวมตัวเป็นโมเลกุลได้พลังงานกลับคืนมาอีก 118.3/2 = 59.15 KCal
รวมทั้งหมด 163.35 Kcal
นั่นคืออิเลคโตรไลเซอร์จะไม่เกิดความร้อนขึ้นเลย แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้เกิดความร้อนขึ้นเสมอ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น HHO จริง ๆ ??
ง่ายมากครับ สามารถคำนวณได้จากกฎของฟาราเดย์
แต่สิ่งที่ต้องรู้เพิ่มอีกคือ คุณสมบัติของแกส ไม่ว่าแกสใด ๆ ในโลกนี้ จำนวน 1 โมล
ที STP จะมีปริมาตร 22.4 ลิตรเสมอ
1/2 โมล์ของน้ำเสียค่าไฟฟ้า 2.1x26.8 = 56.28 Whr
คิดทีละครึ่งคิดยาก ขอคิดแบบเต็มก้อนดีกว่า
1 โมลของน้ำเสียพลังงานไฟฟ้า = 56.28x2 = 112.56 Whr
ถ้าเป็น HHO ต้องได้แกส 22.4+22.4+22.4 = 33.6 ลิตร
ดังนั้นอย่างเก่งที่สุด ระดับจ้าวยุทธภพ
การผลิตแกส 1 ลิตรต่อชม ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า = 112.56 / 33.6 = 3.35 Whr
หรือถ้าแบบเห่ย ๆ ก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า = 112.56 /16.8 = 6.7 Whr
คราวนี้จะทดสอบว่าของคุณได้ระดับไหนก็คำนวณโดยประมาณจากกระแสไฟฟ้า
ที่จ่ายให้แก่เครื่องอิเลคโตรไลเซอร์
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าใช้ไฟ 10 A ที่แรงดัน 13.8 โวลต์ กำลังไฟฟ้า 138 วัตต์
เครื่องนี้ผลิตแกสได้อยู่ในช่วง
สูงสุด 138/3.35 = 41.2 ลิตรต่อชม --> 0.686 ลิตรต่อนาที
ต่ำ 138/6.7 = 20.59 --> 0.343 ลิตรต่อนาที
ไม่มีทางเกินค่านี้ได้ถ้าเกินไปมาก แสดงว่า "โม้"
เครื่องตามที่โฆษณาใช้ไฟ 30 A ก็ผลิตได้อย่างมากที่สุด 2.06 ลิตรต่อนาที
ปริมาตรทั้งหมดคิดที่ STP นะครับ คือ 0 C ที่ แรงดัน 1 บรรยากาศ
ทีอุณหภูมิห้องก็ใช้กฏของแกสคำนวณเองนะครับ
================================================
มีการนำแกสนี้มาจุดไฟหรือไปเผาอะไรก็แล้วแต่ ได้อุณหภูมิที่สูงจนเป็นที่มาของข้อกล่าวอ้างว่า
ถ้านำแกสชนิดนี้ฉีดเข้าห้องเผาไหม้จะทำให้เชื้อเพลิงที่หลงเหลือจากการเผาไหม้ สามารถเผาไหม้ได้หมดจด
ทำให้ประหยัดน้ำมัน
ก่อนอื่นผมต้องขออธิบายระหว่าง ค่าความร้อนกับอุณหภูมิ (Heat Value ,Temperature) เสียก่อน
ของบางอย่างอุณหภูมิสูงจริง ๆ แต่ค่าความร้อนต่ำ บางอย่างค่าความร้อนสูงแต่อุณหภูมิไม่สูงนัก
ขอยกตัวอย่างน้ำที่ใช้ชงกาแฟ อุณหภูมิซัก 70-80 องศา แค่เทใส่แก้วมือเราก็ไม่สามารถจับได้แล้ว
อจจะพองได้ ส่วนสะเก็ดไฟของเหล็กที่กระเด็นมาจากเครื่องเจียร อุณหูมิหลายร้อยองศา
เมื่อกระเด็นโดนผิวยังเฉย ๆ อย่างมากก็คัน ๆ เพราะอะไร ??
เพราะ Heat Value ของสะเก็ดไฟมันต่ำมากเมื่อโดนผิวความร้อนจะถ่ายเทสู่สิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว
และอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมแทบไม่ถูกกระทบเลย เหมือนกับเทน้ำจากแก้วลงในบ่อน้ำ
ระดับน้ำในบ่อก็ไม่ได้สูงขึ้น
การจุดระเบิดในกระบอกสูบก็เช่นกันความร้อนจากแกสนี้แม้อุณหภูมิสูงก็จริงแต่มีปริมาณจิ๊บจ๊อยเหลือเกิน
จะไปช่วยเผาไหม้อะไรได้
ตามตำตอบที่แล้ว สมมุติว่าผลิตแกสได้ 2 ลิตรต่อนาที
สมมุติเครื่องยนต์ 4 สูบขนาด 2,000 ซีซี หมุนที่ 2,000 รอบต่อนาที
คือจุดระเบิด 1000 ครั้งต่อนาที
แกสมหัศจรรย์ที่เข้าเครื่องคือ 2 ลิตร/1000 = 2 ซีซี ต่อการจุดระเบิด 1 ครั้ง
ต่อสูบคือ 1/2 ซีซี ครับ
คำนวณย้อนกลับไปได้ครับว่า 1/2 ซีซีน่ะ ได้พลังงาน หรือได้ความร้อนซักกี่มากน้อย
คิดเป็นไฮโดรเจนแบบที่เป็นอะตอมล้วน ๆ เลยก็ได้ มันคือไฮโดรเจนจำนวน
(0.5/22400) x 1 = 2.232 x 10 ^-5 กรัม
อย่าทำมาหากินกับคนที่ลำบากเลยครับ
ปัจจุบันนี้ต่างก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้าอยู่แล้ว
===============================================
ใส่แกสเทพนี้เข้าไปแค่นิดหน่อยแต่ประหยัดได้ถึง 60% ผมว่ามันจะเกินไปหน่อย
เครื่องแคท หรือ คัมมินส์ หรือแม้แต่เครื่องปั่นไฟฟ้า คงประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มากมาย
เอาไปขายเรือประมงก็คงดี ไม่ต้องมาประท้วงเรื่องน้ำมันแพง ชาวมหาชัย,ชาวแม่กลองอยากได้อยู่แล้ว
ประหยัดได้ขนาดนี้เครื่องละห้าหกแสนขายได้สบาย ๆ วิ่งเรือหาปลาไม่กี่เที่ยวก็คุ้มแล้วครับ
หรือเอาไปขาย VSPP ที่ปั่นไฟขายให้แก่การไฟฟ้าภูมิภาค แถวชลบุรีก็มีโรงมันชลเจริญ
รับรองเขาซื้อแน่นอน
ความจริงทริคง่าย ๆ ที่จะประหยัดนั้น มันอยู่ที่การจูนหรือปรับแต่ง O2 หรือ MAP เท่านั้น
เพราะค่าอัตราส่วนเฉพาะของเชื่อเพลิงที่ 14:1 นั้น จริง ๆ ไม่ใช่ค่าที่เผาไหม้ได้สมบูรณ์ที่สุด
แต่เป็นค่าที่ Compromise คือเป็นค่าที่ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดไม่สูงเกินไป
และ NOx ไม่สูงเกินไป ถ้าปรับให้เป็นซัก 18:1 ก็จะเผาไหม้ได้สมบูรณ์ประหยัดขึ้น
แต่ว่า NOx จะสูงเกินค่ามาตรฐาน เพราะความร้อนในห้องเผาไหม้จะสูงขึ้น
ปรับยังไงคงไม่ต้องสอนท่านสมภารทั้งหลายนะครับ ที่นี่เซียน ๆ เก่ง ๆ มากมาย
จาก หนุ่มกระโทก
........................................................................
ผม TTC 035 ต้องขอบคุณ น้าหนุ่มกระโทก ที่นำเสนอข้อมูลดีดี ให้ได้อ่านศึกษากันต่อ