คำตอบที่ 22
fiogf49gjkf0d
ภาพสีที่เผยแพร่โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นหรือ JMA ซึ่งทำจำลองขึ้นจากภาพอินฟราเรดดาวเทียม MTSAT ในคราวเดียวกันกับภาพที่แล้ว แสดงให้เห็น "รูเข็ม" ศูนย์กลางของซูเปอร์ไต้ฝุ่นโดดเด่นอยู่ในทะเล ไม่ไกลจากฝั่งเกาะลูซอน ฟิลิปปินส์ ซึ่ง "เมกี" จะไปถึงในเช้าวันจันทร์ (18 ต.ค.) นี้.
นักวิทยาศาสตร์ในเวียดนามอธิบายเมื่อปีที่แล้วว่า พายุเกดสะหนา (Ketsana) ที่พัดเข้าฝั่งในวันที่ 29 ก.ย.2553 เป็นเพียงไต้ฝุ่นระดับ 2 เทียบไม่ได้กับเมกิ และ ยังอ่อนตัวลงเป็นระดับ 1 (C1) ขณะพัดผ่านจังหวัดในเขตที่ราบสูงภาคกลาง แต่เกดสะหนาสร้างความเสียหายรุนแรงเนื่องจากเคลื่อนที่ช้าเพียง 15 กม./ชม.
นั่นก็คือ ยิ่งเคลื่อนที่ช้า เวลาในการทำลายล้างสรรพสิ่งที่อยู่เบื้องล่างก็ยาวนานยิ่งขึ้น สร้างความเสียหายได้มากขึ้น
ตามรายงานของสำนักพยากรณ์อากาศแห่งฟิลิปปินส์บ่ายวันอาทิตย์นี้ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นเมกี ยังคงอยู่ห่างจากเกาะลูซอนไปทางตะวันออกราว 450 กม. ความเร็วลม 230 กม./ชม. กับความเร็วใกล้สูญกลาง 195 กม./ชม. และ กำลังปั่นความเร็วขึ้นเรื่อยๆ ขณะเคลื่อนเข้าฝั่ง 24 กม./ชม.
ช่วงสุดสัปดาห์นี้ทางการฟิลิปปินส์อพยพราษฎรออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยแล้วหลายพันคน และ อาจจะต้องบังคับให้ราษฎรอีกจำนวนหนึ่งอพยพหากยังไม่สมัครใจ
ที่จะเคลื่อนย้ายจากพื้นที่อันตรายต่างๆ ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งซูเปอร์ไต้ฝุ่นกำลังจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินเลื่อน ดินถล่ม
แต่ละปีฟิลิปปินส์เผชิญกับไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อนกว่า 20 ลูก บางลูกเป็นความหายนะ
ในช่วงปลายเดือน ก.ย.-ต้น ต.ค.ปีที่แล้ว ไต้ฝุ่นเกดสะหนา กับไต้ฝุ่นป้าหม่า (Parma) ที่พัดเข้ากรุงมะนิลาติดๆ กัน ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในยุคใหม่ และ ยังทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 คน