คำตอบที่ 3
fiogf49gjkf0d
หลายคนอาจเข้าใจว่า แม่น้ำตรงท่าน้ำปากเกร็ดและท่าน้ำวัดสนามเหนือ หรือวัดกลางเกร็ดคือ "แม่น้ำเจ้าพระยา"
แต่จริงๆ แล้วเดิมจะเรียกว่า "คลองลัดเกร็ด" และกลายเป็น "แม่น้ำลัดเกร็ด" ในที่สุด
โดยส่วนที่เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาจะต้องแล่นเรือเลยคุ้งน้ำตรงวัดฉิมพลีออกมา และมีป้ายบอกนี่แหละครับ
>>> ก๊อปมาจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94
-ประวัติเกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เป็นเกาะกลางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.12 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,489 ไร่[2] เป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นส่วนใหญ่
-ความเป็นมา
เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ[3] คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย"[4] หรือ "คลองเตร็ดน้อย"[5] ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมตอนหนึ่งว่า
"...ในปีขาล จัตวาศก ทรงพระกรุณาโปรดให้พระธนบุรีเป็นแม่กอง เกณฑ์พลนิกายคนหัวเมืองปากใต้ให้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อย ลัดคุ้งบางบัวทองนั้นคดอ้อมนัก ขุดลัดตัดให้ตรง พระธนบุรีรับสั่งแล้วถวายบังคมลามา ให้เกณฑ์พลนิกายในบรรดาหัวเมืองปากใต้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อยนั้นลึก ๖ ศอก กว้าง ๓ วา ยาวทางไกลได้ ๒๙ เส้นเศษ ขุดเดือนเศษจึ่งแล้ว..."[5]
ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศเนื่องจากไหลทางตรงได้สะดวกกว่าและกัดเซาะตลิ่งทำให้คลองสายนี้ขยายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุในโฉนดชื่อว่า เกาะศาลากุล ตามชื่อวัดศาลากุลที่สร้างโดยเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุล) ตั้งแต่สมัยธนบุรี ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ด จึงเรียกเป็น เกาะเกร็ด[6]
จนกระทั่งผ่านไปกระแสน้ำได้ค่อยๆชัดคลองน้อยให้ใหญ่ขึ้นจนถูกตัดขาดจากแผ่นดินกลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำในที่สุด
- ประวัติ
เกาะเกร็ดเป็นสถานที่ขึ้นชื่อของชุมชนกลุ่มชาวมอญและมีเครื่องปั้นดินเผาชั้นดี เป็นสินค้าประจำของเกาะเกร็ด โดยมี พระเจดีย์มุเตา ของวัดปรมัยยิกาวาส เป็นสัญลักษณ์ประจำฝากท่าน้ำของเกาะเกร็ด
fiogf49gjkf0d
แก้ไขเมื่อ : 6/10/2554 17:05:07
แก้ไขเมื่อ : 6/10/2554 17:08:58