คำตอบที่ 1
fiogf49gjkf0d
บทความดีดี นี้ นำมาจากเวบ gasthai.com ขออนุญาตินำมาเพื่อเป็นวิทยาทานครับ..
.................................................................................................................................
มาตรฐานในการติดตั้งแก๊สรถยนต์เบื้องต้น (26/11/2548)
.................................................................................................................................
ข้อมูลที่รวบรวมจากผู้ใช้งานจริงเพื่อนำมาประกอบการเลือกอู่ในการติดตั้ง LPG เท่านั้น ไม่ได้เป็นแบบมาตรฐานอย่างเป็นทางการที่กรมการขนส่งรับรองใดๆ
มารตฐานในการติดตั้งแก๊สรถยนต์เบื้องต้น
1. อัตราการเร่งต้องไม่ต่างจากน้ำมัน
2. มีกล่องหลอกหัวฉีด
3. น้ำมันไม่หายไปจากถัง เวลาใช้แก๊ส
4. ไม่โชว์ error ต่างๆ ที่หน้าปัดรถยนต์
5. ถังแก๊ส ต้องเป็นถังใหม่ เพื่อความปลอดภัย
6. หม้อต้ม หากเป็นมือ2 ต้องเปลี่ยนผ้าใหม่แล้ว
7. ต้องมีใบวิศวกรให้( หรือเปล่า )
8. ต้องมีการตรวจเช็คหลังการติดตั้งให้ รับประกันอย่างน้อย 1 ปี มีใบรับประกันจากอู่ว่าประกันค่าแรงและอะไหล่
9. การเดินสายไฟ หรือท่อต่างๆ ต้องมีการหุ้มป้องกัน
10. สามารถปรับไปใช้น้ำมัน/แก๊ส ขณะเครื่องติดได้
11. การ start สามารถเลือกได้ทั้งแก๊ส และ น้ำมัน โดยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเครื่อง
12. ไม่มีกลิ่นแก๊สเข้ามาในรถยนต์
13. งานติดตั้งภายในเรียบร้อย ไม่มีสายไฟระเกะ ระกะ
14. เจ้าของอู่ไม่ขูดเลือดมากเกินไป
15. ต้องป้องกันไม่ให้ระบบหม้อน้ำมีปัญหา
16. เกย์วัดระดับแก้สในรถต้องตรงหรือใกล้เคียง
17. อู่ที่ติดตั้งระบบแก้สต้องทดสอบการใช้น้ำมัน และยอมรับว่ารถมีสภาพปกติก่อนติดแก้ส
18. มีฟิวส์ตัดระบบที่เจ้าของรถถอดได้ เพื่อไปใช้ระบบน้ำมันในกรณีที่ระบบแก้สมีปัญหา และระบบตัดสวิทช์ไม่ทำงาน
19. การเจาะรูสองรูเพื่อเดินสายแก้สที่ตัวถังห้องเก็บของ ต้องมีการซีลอย่างดี ป้องกันไม่ให้น้ำหรืออากาศเข้า ด้านล่าง
20. ต้องสอนให้เจ้าของรถรู้วิธีดูแลระบบแก้สเบื้องต้น และสามารถปรับจูนด้วยตนเองได้ ถ้าเป็นระบบ mixer 21. ใบรับรองไอเสีย Emission จะต้องปรับให้อยู่ในเกณฑ์ของกรมการขนส่ง หรือไม่เกินตอนใช้น้ำมัน เพราะขนส่งจะเข้มงวดและยกเลิก ตรอ ที่รับเงินแล้วปล่อยผ่าน ตอนนั้น ระบบ Mixer จะได้มีการปรับปรุง
22. สะอาด ไม่เอามือสกปรก ไปจับเบาะ หรืออุปกรณ์ภายในรถ
23. ติดตั้งกรองแก๊ส
24. ใช้สายอ่อน เป็นสายเติม ไม่ใช่ใช้ท่อทองแดง
25. มีการทดสอบ วาล์วเติม ว่าสามารถทำงาน ปกติ ในขณะที่ท่อขาด ให้เจ้าของรถดูได้
26. ใช้ท่อหุ้มท่อทองแดงชนิดหนา ทนทานต่อการ ขูดขีด และการกระแทก
27. ต้องเดิน ท่อทองแดง ไว้ใต้ท้องรถ โดยห่างจากแหล่งความร้อนเช่น ท่อไอเสีย และไม่ตำกว่าจุดตำสุดของรถ เพื่อป้องกันการกระแทก จากใต้ท้อง
28. การดัดท่อภายในห้องเก็บสัมภาระ (ที่ถังแก๊ส) ต้องมีความสมมาตร สั้นยาวแต่ละข้างควรเท่ากัน ไม่ดูเกะกะ
29. พยายามติดตั้งหัวเติมในที่มิดชิด ได้ไม่โผล่ออกมามากแบบแท็กซี่
30. ถ้ารถเป็นระบบหัวฉีด ควร มีระบบชดเชยรอบแอร์ และเดินเบาคงไม่ ไม่เกิน 900 รอบ ในขณะเปิดและปิดแอร์ รวมถึงรถเกียร์ออโต้ เมื่อใส่เกีนร์ D หรือ R รอบเครื่องต้องไม่ตก และเครื่องไม่สั่น
มาตรฐานอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง
1. ถังมิลติวาล์ว 48-55 ลิตร มีโซลินอยด์ที่คอถัง ถ้าไฟไม่จ่ายแก๊สไม่ไหล มัลติวาล์วมาตรฐานยุโรป ECE R 67-01 (00)มัลติวาล์วที่มีโซลินอยด์ จะปล่อยแก๊สออกจากถังก็ต่อเมื่อมีไฟมา ดังนั้นตอนดับเครื่อง จอดอยู่ หรือถ้าท่อแก๊สรั่วและเครื่องดับ แก๊สจะไม่ออกจากถังเลย ทันสมัยและปลอดภัยกว่าถังมือหมุน (ดูดีๆ นะครับ มัลติวาล์ว บางที่ไม่มีโซลินอยด์ และบางทีไม่มีเกจ์วัดปริมาณแก๊สที่ข้อต่อสายเข้ามาดูในรถได้ ต้องลำบากเปิดท้ายรถดู นอกจากนี้ มัลติวาล์วได้ประกบกับถังที่มีแก๊สแรงดันสูงอยู่ตลอดเวลา จึงควรสนใจว่าไม่ว่าผลิตที่ใด ได้ผ่านมาตรฐานใดๆ ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะนั่นเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้วย)
++ มาตรฐาน ECE R 67-01 นี้เข้มงวดมาก เพราะในยุโรปมีกว่า 10 ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้ควบคุม ใครจะติดตั้งแก๊สในรถ นี่นับเป็นหนึ่งในหลายมาตรฐานที่เชื่อถือได้++
ในการติดตั้งถังปกติ ควรเจาะหกรู หรือห้ารู ยึดถังรูสองหุนครึ่งถังสามหุนสี่หรือสามรู กรณีที่มียึดกลางรูนึงในข้างหนึ่ง ถ้าพื้นที่ติดขัด รูร้อยท่อหายใจโปโล สองรู เกือบสี่สิบมิล รูที่ร้อยท่อโปโล จะใส่ยางวงกุ๊นขอบกันบาดท่อ และต้องฟิตต่อกัน ระหว่างยางขอบกับท่อโปโล ก่อนเอาขาถังประกบ ควรยิงซิลิโคนบางๆ รอบรูน็อต ด้านล่างไม่รองแหวนเปล่าๆ ให้มีเหล็กแบนยาวสองถึงห้านิ้วประกบก่อน เพื่อให้กระจายแรงกระชาก ก่อนใส่แหวนอีแปะและน็อตตัวเมีย ถ้าน็อตยาวพอ จะใส่ตัวเมียสองตัวต่อตัวผู้หนึ่งตัวกันคลาย พ่นสีดำอีกทีในจุดยึดใต้ท้อง และแหวนอีแปะที่ยึดถังกับขา หรือขากับรถด้านบน แหวนต้องหนาและกว้างกว่าปกติ ชุบซิงค์ ท่อโปโลที่ใช้ก็อย่างหนา ขายึดถังหนาสองหุน (บางที่ใช้หุนกว่า)
2. ท่อแก๊สเป็นทองแดงอย่างหนา เบอร์ 18 (บางที่ใช้บางกว่าเป็น เบอร์ 19) หุ้มด้วยท่อยางทุกจุด ถ้ามีพื้นที่พอจะเดินวนกลมๆ ให้ยืดหยุ่นได้
3. หม้อต้มอิตาลี หรือตุรกีใหม่ มาตรฐานยุโรปสูงสุด ECE R 67-01 (00) เลือกให้ตรงตามแรงม้าหรือพื้นที่ติดตั้ง หม้อต้มต้องเหมาะกับแรงม้า ไม่ใช่ซีซี และไม่ว่าจะผลิตที่ไหน ให้ถามหาหรือดูมาตรฐานด้วย เพราะต้องทำงานภายใต้แรงดัน จึงควรมีความปลอดภัย
4. มีตัวไส้กรองแก๊สแยก ก่อนเข้าหม้อต้ม ระบบส่งเชื้อเพลิงใดๆ ควรมีการกรอง บางที่ไม่มีกรอง อ้างว่าไม่จำเป็นเพราะไม่อยากเพิ่มต้นทุน ตัวกรองนี้ไม่ว่าผลิตที่ใด ก็ควรผ่านมาตรฐานที่เชื่อถือได้ด้วย เพราะมีแก๊สแรงดันสูงผ่านตลอดเวลา
5. ไฟที่จะไปติ๊กแก๊ส ไม่ใช่เปิดสวิทช์กุญแจแล้วไฟไปที่ติ๊กตลอด จะไปแค่ 2-3 วิ ถ้าเครื่องไม่หมุน ไฟจะไม่ไปติ๊กแก๊สต่อ (ยกเว้นรถบางคันที่สายไฟมีปัญหามา เช่น รถวางเครื่องหรือรถเครื่องคาร์บิวบางคัน) 6. การต่อท่อทองแดงแบบตาไก่ หรือดับเบิลแฟล์ ไม่ต่อแบบซิงเกิลแฟล์ (ไม่มีการบานหัวแป๊บชั้นเดียว (แบบซิงเกิลแฟร์) ซึ่งปลายแป๊บจะแตกง่าย)
7. ท่อโปโลย่น ระบายแก๊สจากคอถัง (ถ้ารั่ว ) เป็นแบบอย่างดี สั่งผลิตแบบหนาพิเศษ ไม่มีการผ่า ไม่มีซึม ร้อยผ่านยางกลมที่สอดไว้กับพื้นรถ กันบาดท่อโปโล
8. ดิจิตอล แก๊ส มิเตอร์ แสดงเลขเป็น 1-99%แม่นยำกว่าต่อขึ้นหน้าปัด มีสวิทช์เลือกแก๊ส/น้ำมันในตัว ไม่ต้องมีสวิทช์โยกแบบโบราณ
9. เข็มขัดรัดท่อทุกตัว ของดีแบบขันแน่น ไม่ใช่แบบบีบหรือหนีบเอา มีขอบเชิดขึ้นไม่บาดสาย ไม่ใช่แบบชุบซิงค์ขอบแบน
10. กล่องตัดหัวฉีดๆ ปิดสนิทและจะไม่ยกเลย ไม่ใช่ยังกระพริบเบาๆ
11. มิกเซอร์ มีขนาดและทรงที่คำนวน พร้อมทดสอบมาอย่างดี
12. ท่อยางน้ำ-แก๊สทุกเส้นใหม่ ยี่ห้อดี เป็น 2 ชั้น ทนแรงดันสูง
13. มีจุกปิดที่เติมแก๊ส พร้อมกันหายด้วยสายสลิง ดูดีและทนทาน
14. เช็คการรั่วของแก๊ส ด้วยแก๊ส-ดีเทคเตอร์ดิจิตอล ถ้ารั่วจะร้องดัง วัดทุกจุด แล้วอาจตามด้วยฟองผงซักฟอก ไม่ได้ใช้ฟองเช็คอย่างเดียว
15. แก๊สเต็มถัง
GasThai.Com ขอขอบคุณ
รวบรวมข้อเขียนจากเพื่อน คุณต่าย
ส่งข้อมูล คุณนัท305
ข้อแนะนำ ข้อเขียน เพื่อนๆห้องแก็ส
............................................................................................................................