คำตอบที่ 12
fiogf49gjkf0d
กรณีศึกษาที่ 1.. Terrano II ตาม Spec. ใน Catalog ระบุว่า..
อัตราทดเฟืองท้าย... 4.625 หรือ 8:37
ขนาดยาง... 235/75 R15
อัตราทดเกียร์... คิดที่เกียร์ 4 = 1.000 เพื่อสะดวกในการคำนวณ
เรามาคำนวณเรื่องยางกันก่อน..จะได้
235/75 R15 >> แก้มยางมีความสูง 235x0.75 = 176.25 mm
ดังนั้น.. เราจะได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาง
= ( 235 mm x 2 ) + ( 15 นิ้ว x 25.4 mm )
= 733.50 mm หรือ
= 28.8779 นิ้ว
ผู้ใช้รถ Offroad ส่วนมากจะนิยมเปลี่ยนขนาดยางให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
โดยใช้วิธีเปลี่ยนอัตราทดเฟืองท้ายให้ทดได้มากขึ้น
สมมุติว่า.. ใช้อัตราทดเฟืองท้ายใหม่เป็น 4.875 หรือ 8:39
ความแตกต่างระหว่าง 4.625 กับ 4.875 คือ
4.875 / 4.625 = 1.05454 เท่า
ดังนั้น.. เมื่อเราใช้อัตราทดเฟืองท้ายใหม่ = 4.875
เราก็สามารถใช้ยางให้ใหญ่ได้ถึงขนาด
28.8779 นิ้ว x 1.054054 เท่า = 30.4389 นิ้ว
สรุป..
เดิม.. อัตราทดเฟืองท้าย 4.625 = ขนาดยาง 28.8779 นิ้ว (235/75 R15)
ใหม่.. อัตราทดเฟืองท้าย 4.875 = ขนาดยาง 30.4389 นิ้ว ( ได้ใช้ขนาดยางใหญ่ขึ้นอีก 1.561 นิ้ว หรือ = 245/75 R16 ( 30.4685 นิ้ว) )
.................................................................................................
ที่พี่ย้งถามมา.. " อ้าว...แล้วที่รอบเท่ากันใครเร็วกว่า แล้วใครกินนำมันมากกว่าครับ "
งง?? นิดๆนะพี่ย้ง.. "ที่รอบเท่ากัน".. รอบอะไรละพี่??
มันมีตั้ง 2 รอบแน๊ะ.. คือ
รอบของเครื่องยนต์หมุน กับ
รอบของล้อที่หมุนบนถนน
กรณีศึกษาที่ 2 ยาง 235/75 R15 และอัตรทดเฟืองท้าย 4.625
ยางจะมีเส้นรอบรูป = PI x D = 3.1415 x 733.50 mm = 2,304.3582 mm
กรณีที่ 2.1
ถ้าเราสนใจเรื่องการกินน้ำมัน..
เราจะพิจารณาที่ "งาน" ( Work ) ที่ได้จากการวิ่งบนถนน ว่าเราใช้รถเพื่อต้องการไปถึงจุดหมายปลายทาง
ยางหมุน 1 รอบได้ระยะทาง 2,304.3582 mm.. ที่เฟือง 4.625 เพลาต้นกำลังต้องหมุน = 4.625 รอบ
ดังนั้น.. ถ้าเปรียบเทียบกับอัตราทดเฟืองท้าย 4.875 แล้ว.. จะได้ว่า
ยางหมุน 1 รอบได้ระยะทาง 2,304.3582 mm.. ที่เฟือง 4.875 เพลาต้นกำลังต้องหมุน = 4.875 รอบ
จะเห็นได้ว่า..
ถ้าต้องการงานที่วิ่งบนถนน ระยะทาง 2,304 mm เท่ากันนั้น
ที่เฟือง 4.875 นั้น.. เพลาต้นกำลังต้องหมุน 4.875 รอบ
โดยต้องหมุนเพิ่มขึ้น = 0.250 รอบ
ซึ่งรอบที่เพิ่มขึ้นก็หมายถึงว่ามันจะต้องกินน้ำมันเพิ่มขึ้นเช่นกัน
กรณีที่ 2.2
ถ้าเราสนใจเรื่องรอบของเครื่องยนต์
จากกรณีที่ 2.1 เราจะพบว่า
การที่เราจะได้ "งาน" เท่ากันนั้น
เฟือง 4.875 >> ต้องใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงกว่าการใช้เฟือง 4.625 = 0.250 รอบ
กรณีที่ 2.3
ถ้าเราสนใจเรื่องแรงบิด ( Torque )
ปกติจากกราฟแสดงค่าแรงบิดของ KA24E
ก็จะเป็นกราฟเส้น ไต่ระดับขึ้นไปจนสูงสุดที่ 197 Nm ที่ 4,000 rpm.
ดังนั้น.. จากกรณีที่ 2.1
จะได้ "งาน" เท่ากัน
รอบเครื่องของ ที่เฟือง 4.875 ต้องหมุนมากกว่า 0.250 รอบ
ซึ่งเมื่อรอบเครื่องสูงขึ้นก็จะได้แรงบิดสูงมากกว่าเช่นกัน..
อธิบายมาตั้งยาวเลย... พอจะไหวมั๊ยครับ จะงง?? กันมั๊ยครับนี่..
ที่นี้.. ก็อยู่ที่ว่า จุดประสงค์ในการเปลี่ยน/ไม่เปลี่ยนอัตราทดเฟืองท้ายนั้น เราต้องการอะไร???...
สำหรับผม.. ขอใช้ยางให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่รถจะรับไหวละครับ..