คำตอบที่ 93
fiogf49gjkf0d
ไปเจอนี่มาข้อมูลใกล้เคียงที่สุด
เรื่อง ขอเชิญร่วมพิธีหล่อเกศและสมโภชน์พระพุทธชินราช อัญเชิญประดิษฐานในประเทศจีน
เรียน สมาคมจีน-Chinese Associations
เรื่อง ขอเชิญร่วมพิธีหล่อเกศและสมโภชน์พระพุทธชินราช อัญเชิญประดิษฐานในประเทศจีน
สิ่งที่ส่งมาด้วย
จดหมายเชิญสมาคมจีน จำนวน 19 ฉบับ
ที่มาโครงการคาราวาน
โครงการจัดสร้างพระพุทธชินราช
โปสเตอร์พระพุทธชินราช
หมายเหตุ: ขอความกรุณาช่วยประสานงานไปยังสมาคมอื่น ๆ ให้ด้วยครับ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
จาก นายธีรวัฒน์ วงศ์วรทัต นายกสมาคมกาแฟและชาไทย
โทรศัพท์ 08-1531-1190 0-2973-5090-5 โทรสาร 0-2973-5096-7
ความว่า
โครงการจัดสร้างพระพุทธชินราช
ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในโอกาสครบรอบ 35 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน
อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ 3 มณฑล (มณฑลยูนนาน, มณฑลเสฉวน และมณฑลกุ้ยโจว
สาธารณรัฐประชาชนจีน
1. ชื่อโครงการ โครงการจัดสร้างพระพุทธชินราชจำลองประดิษฐาน ณ 3 มณฑล ได้แก่ มณฑลยูนนาน,มณฑลเสฉวน และมณฑลกุ้ยโจว เพื่อเป็นที่ระลึกอันเป็นสิริมงคลยิ่ง ในโอกาสครบรอบ 35 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย จีน น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมิตรนานาชาติ สิบอันดับแรกที่ดีที่สุดในโลกของชาวจีน จัดขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี ของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
2. ที่มา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นราชนิกุลพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนมากครั้งที่สุด โดยเสด็จเยือนครบทุกมณฑลของจีน ทรงได้รับพระสมัญญานามด้วยว่า ทูตสันถวไมตรี ไทย จีน และได้รับการคัดเลือกจากประชาชนจีนให้เป็น 1 ใน 10 มิตรที่ดีที่สุดในโลกของชาวจีน ด้วยคะแนนที่สูงมาก จากกิจกรรมคัดเลือกมิตรที่ดีที่สุดในโลก 10 อันดับแรกซึ่งเป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงพระองค์เดียวที่ได้รับรางวัลดังกล่าว โดยสถานีวิทยุซีอาร์ไอ ร่วมกับสมาคมมิตรภาพวิเทศน์สัมพันธ์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และกรมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศแห่งประเทศจีน จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 60 ปี การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนเป็นพิเศษ ขณะพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าว ฟังถึงสาเหตุที่เลือกเรียนภาษาจีนว่า เป็นข้อเสนอของเสด็จแม่(สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ) "ตอนนั้น ข้าพเจ้าเพิ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัย ตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่าจะเลือกเรียนภาษาเยอรมัน แต่สมเด็จแม่ได้รับสั่งว่า เรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ล้วนเป็นภาษาตะวันตก คิดว่าน่าจะเรียนภาษาจีน ภาษาจีนเป็นภาษาประเทศตะวันออก คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์มากกว่า ข้าพเจ้าคิดว่า การเลือกเช่นนี้ถูกต้อง"
นับแต่นั้นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนพระราชหฤทัยวัฒนธรรมจีนอย่างมาก ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ทรงศึกษาภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนด้วยความพากเพียรวิริยะ โดยทรงรับการถวายการสอนจากครูสอนภาษาจีน 9 ท่านตามลำดับ จนไม่เพียงแต่มีพระราชกระแสรับสั่งด้วยภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่วเท่านั้น หากยังทรงพระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีน และนวนิยายจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทกวีสมัยราชวงศ์ถัง และสมัยราชวงศ์ซ่งของจีนอย่างมากและลึกซึ้ง ทรงพระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีนสมัยราชวงศ์ถังกว่า 100 บท เป็นภาษาไทย
หลังจากทรงศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงหวังที่จะสัมผัสสังคมจีนและการใช้ชีวิตในประเทศจีน ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา พระองค์ได้เสด็จฯ เยือนจีนกว่า 30 ครั้ง ทรงทัศนศึกษาทั่วประเทศจีน ทุกครั้งที่ทรงเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจในการเสด็จฯ เยือนจีน พระองค์ทรงบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ทรงพบเห็น ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "ย่ำแดนมังกร" "ใต้เมฆที่เมฆใต้" "มุ่งไกลในรอยทราย" พระราชนิพนธ์เหล่านี้ได้รับความสนใจอย่างยิ่งในประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประชาชนไทยเข้าใจและเรียนรู้ประเทศจีนได้มาก ขึ้น
ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่เสด็จฯ เยือนจีนเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1981 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสักขีพยานในการเปลี่ยนแปลงของจีนหลังดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ ทรงมีพระราชดำรัสว่า "28 ปีนี้ รู้สึกว่าประเทศจีนเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ว่า คนจีนและสถานที่ต่างๆ ในประเทศจีนก็มีลักษณะเป็นสากลมากขึ้น สิ่งที่ในโลกนี้มี ในเมืองจีนก็มีทั้งนั้น จีนติดต่อด้วยกันง่ายขึ้น รู้สึกว่าในด้านนี้จะเปลี่ยนแปลงมาก"
เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างคุณูปการสำคัญต่อการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-จีนและเสริมสร้างไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ เมื่อปี 2000 กระทรวงศึกษาธิการจีนทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "มิตรภาพด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน" เมื่อปี 2001 กองทุนวรรณคดีจงหวาของสมาคมนักเขียนจีนทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "วรรณคดีนานาชาติด้านความเข้าใจและมิตรภาพ" ปี 2004 สมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์ประชาชนจีนยกย่องให้ทรงเป็น "ทูตสันถวไมตรีมิตรของประชาชน" ซึ่งเป็นเกียรติยศสูงสุดที่สมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์มอบให้แก่มิตรชาวต่าง ชาติ
3. หลักการและเหตุผล ในโอกาสครบรอบ 35 ปี ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน กับ ราชอาณาจักรไทย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเทิดพระเกียรติน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมกาแฟและชาไทย สมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศมณฑลเสฉวน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู ร่วมกับคณะสงฆ์อำเภอปากช่อง วัดศิมาลัยทรงธรรม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และพุทธบริษัท ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมจัดสร้างพระพุทธชินราชจำลอง จำนวน 9 องค์ เพื่ออัญเชิญประดิษฐาน ณ ประเทศจีน จำนวน 9 แห่ง เพื่อเป็นที่ระลึกอันเป็นสิริมงคลยิ่ง ในโอกาสดังกล่าวและเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เป็นหลักทางจิตใจและความคิดของประชาชน
4. วัตถุประสงค์
1.เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.เพื่อเป็นกิจกรรมเฉลิมฉลองและเป็นที่ระลึก โอกาสครบรอบ 35 ปี ความสัมพันธ์ ทางการทูตไทย- จีน
3.เพื่อเป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและสร้างความสัมพันธไมตรีด้านพระพุทธศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
5. สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองในประเทศจีน จำนวน 9 องค์ 9 สถานที่ ดังนี้
5.1 วัดหยินเทียน นครเฉิงตู วัดเก่าแก่กว่า 1,000 ปี สร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างบูรณะ จะแล้วเสร็จในเดือน ตุลาคม 2553
- เจ้าอาวาส : พระพั้วจี้ อายุ 107 ปี
- ถวายพระพุทธชินราชจำลอง ขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว สูง 2 เมตร
5.2 สมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศ มณฑลเสฉวน เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของกระทรวงต่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบการส่งเสริมประสานความสัมพันธ์ทั้งในระดับราชวงศ์ ระดับรัฐบาล และ ระดับประชาชน/ สมาคมต่าง ๆ
- ประธานสมาคม Miss Qin lin
- ขนาดพระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว สูง 1 เมตร
5.3 ศูนย์ภาษา และวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยเฉิงตู
5.4 โรงเรียนประถมศึกษาเซียนเฟิงลู่ สิรินธร เป็นโรงเรียนที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทางทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอาคารเรียน หลังจากได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 2551 ตั้งอยู่เมืองเหมียนหยาง มณฑลเสฉวน
- พระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว สูง 1 เมตร
5.5 เมืองฉงชิ่ง เป็นมหานครแห่งที่ 4 ของจีน มหานครแห่งอุตสาหกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เมืองเศรษฐกิจ 1 ใน 4 ของประเทศจีน เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด จำนวน 32 ล้านคน
- พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว สูง 1 เมตร
5.6 เมืองกุ้ยหยาง เมืองหลวงของมณฑลกุ้ยโจว เป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญของประเทศจีน
-พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว สูง 1 เมตร
5.7 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุณหมิง
- พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว สูง 1 เมตร
5.8 สถานกงสุล ณ นครเฉิงตู
- พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว สูง 1 เมตร
5.9 จังหวัด สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน
- พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว สูง 1 เมตร
6. รูปแบบ/ ขนาด พระพุทธชินราชจำลอง หล่องด้วยทองเหลือง มี 2 ขนาด
ขนาดฐาน 29 นิ้ว จำนวน 1 องค์
ขนาดฐาน 16 นิ้ว จำนวน 8 องค์
7. วิธีการดำเนินการ
7.1 ขั้นตอนที่ 1
ปั้นแบบโดยช่างปั้นผู้มีชื่อเสียง ความชำนาญ พระพุทธชินราช โดยเฉพาะ
ประกอบพิธีการหล่อ ณ โรงหล่อพระอนุรักษ์ไทย จ.พิษณุโลก วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 15.19 น.
ประกอบพิธีสมโภชน์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร จ.พิษณุโลก ในวันที่ 29 กันยายน 2553
อัญเชิญพระพุทธชินราช 9 องค์ ประดิษฐาน ณ วัดศิมาลัยทรงธรรม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
7.2 ขั้นตอนที่ 2
2.1 ประกอบพิธีหล่อเกศพระพุทธชินราชทองคำ บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ พร้อมแผ่นจารึกพระนามย่อ สธ จำนวน 9 องค์ วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2553 เวลา 13.19 น. ณ วัดศิมาลัยทรงธรรม (ก.ม.8 ทางเข้าเขาใหญ่) ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
2.2 ประกอบพิธีบรรจุเกศ พระพุทธชินราช ประดับพระนามย่อ สธ และพิธีสมโภชน์ วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2553 ณ วัดศิมาลัยทรงธรรม
2.3 อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา รัตนาธิเบศร์ ระหว่างวันที่ 7 12 ตุลาคม 2553 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้ผู้มีจิตศรัทธา ได้กราบไหว้บูชา ก่อนอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ประเทศจีน
7.3 ขั้นตอนที่ 3
3.1 ทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระพุทธชินราชทั้ง 9 องค์ไปประดิษฐาน ณ 9 แห่ง ใน 3 มณฑล ประเทศจีน โดยขบวนคาราวานทางรถยนต์ จำนวน 35 คัน ออกจากรุงเทพฯ มณฑลเสฉวน ระยะทางกว่า 5,000 กิโลเมตร วันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2553 เวลา 10.19 น. ณ บริเวณลานด้านหน้า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ จ.นนทบุรี
7.4 ขั้นตอนที่ 4
คณะคาราวาน อัญเชิญพระพุทธชินราชจากประเทศไทย ร่วมกับ สำนักกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง และสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศ มณฑลเสฉวน และ ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมประกอบพิธีอัญเชิญพระพุทธชินราช ประดิษฐาน ณ สถานที่ 9 แห่ง
8. ที่มางบประมาณ - ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค
9. หน่วยงานรับผิดชอบ
- วัดสิมาลัยทรงธรรม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
- สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย
- สมาคมกาแฟและชาไทย
- ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา รัตนาธิเบศร์
10. สถานที่ติดต่อ
วัดสิมาลัยทรงธรรม
ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์. 082-237-5987
สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย
ชั้น 1 อาคารสารสนเทศน์ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ บางเขน เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2940-5425 โทรสาร 0-2940-5426
สมาคมกาแฟและชาไทย
65/11 ซอยแจ้งวัฒนะ 1 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02-973 5090 -5 โทรสาร 02-973 5096-7
www.thailandcoffeeandtea.com
สำนักงานกงสุลใหญ่ไทย ณ นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Royal Thai Consulate-General in Chengdu
12F Building No.3,Fund International Plaza , Hongkong Rd , Chengdu , SiChuan , China
Tel: +86 28-6689-7861 Fax : +86 28 -6689-7863
สมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศ มณฑลเสฉวน
(SIFA) Sichuan Provincial Peoples Association for Friendship With Foreign Countries
100 , East Section 3 , 1st Ring Rd. Chengdu , Sichuan ,6 1 0 0 6 6 P.R. Chana
Tel. 86-28-84366612
Fax. 86-28-84356822