คำตอบที่ 4
-ขอต่ออีกคต. เรื่อง้เกี่ยวกับรถใหม่ แต่ไม่ใช่โตโยต้า โดยผมคิดว่า เป็นระบบงานระดับและแบบเดียวกัน ดังนี้ครับ..
-ปี 1989 ผมซื้อรถฮอนด้า ซีวิคใหม่ที่กรุงเทพฯ พอครบระยะถ่ายน้ำมันเครื่องครั้งแรก ก็เข้าศูนย์ เจ้าหน้าที่รับรถเข้ามาตรวจสภาพรถก่อน เขาขีดวงล้อมจุดด่างเหมือนรอยซ่อมสี 3 จแห่ง หลังคา,ประตูซ้าย,ฝากระโปรงหลัง ผมต้องไปเพ่งมองกับเจ้าหน้าที่จึงเห็นว่าจริงด้วย ก็ต้องยอมเซ็นรับสภาพในใบรับรถ ว่ารถผมสภาพเป็นอย่างนั้น ไม่พอใจ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร....รถใหม่นะครับ
-ปี 1995 ผมซื้อรถซีวิค CBU รุ่น วีเทคตัวแรก จากโชว์รูมกาญจนบุรี เกิดแอร์เสีย / คอมเพรสเซอร์พัง ยังอยู่ในระยะประกัน แต่อะไหล่ไม่เหมือนรถประกอบใน ทางโชว์รูมกาญ ขอรถผมเพื่อส่งเข้ากทม. เข้าศูนย์สุขุมวิท ไปกลับเกือบอาทิตย์ พร้อมกับบอกว่า มีรอยถอดน็อต จึงไม่รับประกัน ผมหัวเสียมาก เพราะรถยังใหม่ไม่เข้าอู่หรือร้านทั่วไปอยู่แล้ว ผมต่อว่าทางศูนย์กาญว่าไม่ควรให้ความหวังเรื่องเคลมกับผม เพราะทำให้ผมเสียเวลาและเสียความรู้สีกด้วย เรื่องรอยถอดน็อตไม่เป็นความจริงให้ช่างที่ศูนย์กาญตรวจอีกครั้งก็ได้ (แตมานึกต่อมาว่าอาจเป็นศูนย์ที่กาญทำรอยก่อนส่งไปกทม. แต่จ้องมองดูด้วยตัวเองก็ไม่เห็นรอยอะไร) ...ผมต้องใช้รถที่ซื้อแพงกว่ารถประกอบในเป็นแสนแบบเปิดกระจกต่อมาอีกเป็นเดือน จึงหาคอมเพรสเซอร์ได้...บทเรียนสำหรับรถCBUที่เหนือชั้นกว่า ข้อดี(ประกอบนอก)ไม่เกิดผลชัด แต่ข้อด้อย(อะไหล่) ลำบากจังเลยครับ
-เรื่องรถใหม่กับเจ้าหน้าที่(ห่วยแตก)ยังมีอีก แต่ขอเล่าแค่เรื่องมาตราฐานการเอาตัวรอดสูงแบบไทยๆเท่านั้นพอ เพื่อเตือนให้ระวังกันบ้าง ..ส่วนที่เคยเล่าแล้วว่ามีคนจองรถVIOSใหม่ ตั้งแต่ยังไม่มีโบชัวร์ ทำให้คิดว่าคงไร้ผล คนไทยเราตีตั๋วเป็นสาวก และรักข้างเดียว แบบFEVER กันทั่วประเทศ.. เป็นโรคระบาดที่หาต้นตอและตัวแพร่เชื้อไม่พบ...จึงยังกำจัดหรือยับยั้งไม่ได้ ใครช่วยได้ขอให้เห็นแก่ส่วนรวมด้วยครับ...
-ผมเคยพิมพ์ไว้ในกระทู้อื่นว่า ขอให้คนอื่นมองความชอบรถของผมเป็นเรื่องแปลก อย่าทำตาม เพราะผมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี หมายถึงต่อส่วนรวมครับ..
แก้ไขเมื่อ : 9/5/2556 19:22:12