คำตอบที่ 7
ตาม พี่ไนล์ ว่า มา เกือบละครับ ....
ชีวิตจริง มัน คือ กฎความเฉื่อยครับ ..คือ วัตถุ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ...แรงกระทำ ที่ พิ้น (คือ ล้อ กับ พื้นถนน) โดย แรงจะพุ่งไปข้างหกน้า โดยขนานกับพื้นถนน ....ส่วน แรงเฉื่อย จะกระทำที่ จุด CG (หรือ C.O.G - Center of Gravity : จุดศูนย์กลางความเฉื่อย ก็ไม่เกี่ยง) โดย แรงจะพุ่ง จาก CG ไปทางหลังรถ ....
คราวนี้ แรงที่พื้น สามารถ ชนะ แรงเฉื่อยได้ (เพราะ รถพุ่งไปข้างหน้าได้ ...) มันเลยเกิด โมเมนต์ โดย มีแขนรัศมี การหมุน เท่ากับ ความสูงของ CG รถ คูณกับแรงเฉื่อย ที่พุ่งไปหลังรถ ....หน้ารถจึงลอยขึ้น มากกว่า หลังรถเสมอครับ ....
...ง่ายๆ สังเกตุอย่างนี้ครับ ...หากออกตัวแรงๆ รถสูง หน้ารถ จะกระดกมากว่า รถที่เตี้ยกว่า เพราะ แขนของแรง มันยาวขึ้น แม้ว่ารถทั้งสองคัน จะน้ำหนักเท่ากันก็ตามที .... (หรือจะนับตอนเบรกด้วย ก็ส่งผลเดียวกัน แแต่กลับทิศแรงครับ) เราถึงได้ข้อมูลง่ายๆ ว่า รถเตี้ย มักจะเกาะมากกกว่า รถสูง เพราะ ไอ้รัศมีแขนแรงจากจุด CG ถึงพื้นถนนนี่แหล่ะครับ ...
จริง วาดรูปอธิบายจะง่ายกว่า ....แต่ web Board ไม่มีกระดาน 55++
.... Alfa สุดยอดสำนักออกแบบ ที่สร้าง วัฒนาการกว่า 70% ของยานยนต์ยุคปัจจบันได้เดินตาม เคยบอกว่า อัตราเฉลี่ยน้ำหนัก รถยนต์ที่ดีที่สุด หน้า/หลัง ไม่ใช่ 50/50 แต่ตัวเลขที่เหมาะสม น่าจะเป็น 52/48 ...เมื่อก่อน เครื่องยนต์ น้ำหนักเยอะมาก เพราะไม่มี อัลลอยด์ ...alfa เคยเอาเครื่องไว้หน้า เอา เกียร์ไว้บนคานหลัง เพื่อกระจายน้ำหนักมาแล้ว....
ก่อนปัจจุบัน เครื่อง Mid Engine ก้อ เอาวิธีกระจายน้ำหนักแบบเดียวกับ Alfa มาใช้ ...จนกระทั่ง ปัจจุบัน มีญี่ปุ่นค่ายนึง บอกว่า การกระจายน้ำหนักรถ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ สูงสุด คือ 51.8 / 48.2 ซึ่ง เป็นค่ายที่ไม่เคยทำ Mid Engine เลย หากไม่ใช้รถแข่ง กรุป C ขึ้นไป ...และตอนนี้ เกือบจะครอง ทุก สถิติ ความเร็ว ของ Sport Production Car ถ้าไม่นับ การออกตัว 0-100 กม (..สถิตินี้ Porche เอาไปกิน) ...ส่วนที่เหลือที่วัดตัวเลขกัน 0-100 เมตร 0-400 เมตร 0-1 กม. ยัน ทอปสปีด รถคันนี้ ฟาดเรียบ .... !!
ลองหาดูเองนะครับ ว่า รถอะไร ??
แก้ไขเมื่อ : 1/9/2557 20:47:06