คำตอบที่ 8
"คอมมอนเรล ต้องโตโยต้า ดีโฟร์ดี"
เครื่องยนต์ 1KD-FTV 3,000 ซี.ซี. ดีโฟร์ดี ระบบคอมมอนเรล ไดเร็กอินเจ็กชั่น ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 16 วาล์ว เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุดถึง 125 แรงม้า (EEC net) ที่ 3,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 315 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800-2,600 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ 2KD-FTV 2,500 ซี.ซี. ดีโฟร์ดี ระบบคอมมอนเรล ไดเร็กอินเจ็กชั่น ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 16 วาล์ว เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุดถึง 102 แรงม้า (EEC net) ที่ 3,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 260 นิวตัน-เมตร ที่ 1,600-2,400 รอบต่อนาที
ความโดดเด่นของ สปอร์ต ครูสเซอร์ ใหม่ ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ที่โฉบเฉี่ยวสไตล์สปอร์ตมากขึ้นเท่านั้น แต่อยู่ที่ความแรงใหม่แบบประหยัดของเครื่องยนต์ D-4D ทั้ง 2 บล็อก ทั้งเครื่องยนต์รหัส 2KD-FTV ซึ่งเป็นบล็อกแรกที่เปิดตำนาน D-4D ของโตโยต้าจนกระหึ่มตลาดรถปิกอัพเมืองไทยนั้น และเครื่องยนต์รหัส 1KD-FTV อันโด่งดังของโตโยต้า
เทคโนโลยี "คอมมอนเรล" ไดเร็กอินเจ็กชั่น เป็นระบบที่ทำงานด้วยการเพิ่มแรงดันการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบท่อร่วมรางเดียว หรือ "คอมมอนเรล" ส่งไปยังหัวฉีดได้มากกว่าเครื่องยนต์ไดเร็กอินเจ็กชั่นธรรมดาถึง 8 เท่าด้วยปั๊มน้ำมันแรงดันสูง ฉีดน้ำมันได้ฝอยละเอียดกว่า ทำให้การเผาไหม้หมดจดซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการประหยัดน้ำมัน
ระบบ D-4D คอมมอนเรลจะทำงานร่วมกับระบบ ECU 32 บิท ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันอย่างแม่นยำในทุกระดับความเร็วรอบเครื่องยนต์โดยไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์ แต่จะฉีดตลอดเวลาไม่ว่ารอบต่ำหรือรอบสูง ทำให้อัตราเร่งดี สามารถเปลี่ยนเกียร์สูงในรอบต่ำได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ
การเผาไหม้ที่หมดจดจึงทำให้เป็นเครื่องยนต์ตัวแรกในประเทศไทยที่ผ่านมาตรฐานไอเสียของยุโรป EURO Step III ที่จะบังคับใช้ในปี 2547 แต่โตโยต้านำมาใช้ตั้งแต่ปลายปี 2544 หรือก่อนกำหนดถึง 3 ปี
เมื่อ D-4D ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีของเครื่องยนต์แบบ 16 วาล์ว ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ เทอร์โบ ที่ปกติใส่ไว้ในรถสปอร์ตก็ทำให้เพิ่มสมรรถนะในเรื่องความแรง ทั้งการออกตัว การเร่งแซง รวมทั้งการบรรทุกหนัก จึงกลายเป็นสุดยอดเครื่องยนต์ที่ทั้งประหยัดทั้งแรง
เครื่องยนต์ 2KD-FTV 2,500 ซี.ซี. ดีโฟร์ดี ระบบคอมมอนเรล ไดเร็กอินเจ็กชั่น ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 16 วาล์ว เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุดถึง 102 แรงม้า (EEC net) ที่ 3,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 260 นิวตัน-เมตร ที่ 1,600-2,400 รอบต่อนาที ซึ่งนอกจากจะทำให้สปีดต้นดี แรงปลายจัดจ้านแล้ว ยังขึ้นชื่อในเรื่องของความประหยัดอีกด้วย
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการทดสอบรถปิกอัพไฮลักซ์ ไทเกอร์ แบบขับเคลื่อนสองล้อ ที่ใช้เครื่องยนต์ 2KD-FTV D-4D ที่ความเร็วคงที่ 60 กม./ชม. ในสภาพการใช้งานจริง เปิดแอร์ แล้วปรากฏว่ามีอัตราการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงถึง 22.08 กม./ลิตร เมื่อเทียบกับรถโตโยต้ารุ่นเดียวกันที่ใช้เครื่องยนต์ตัวเดิมรุ่น 2L แล้วประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นถึง 21%
ส่วนเครื่องยนต์ 1KD-FTV 3,000 ซี.ซี. ดีโฟร์ดี ระบบคอมมอนเรล ไดเร็กอินเจ็กชั่น ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์ 16 วาล์ว เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุดถึง 125 แรงม้า (EEC net) ที่ 3,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 315 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800-2,600 รอบต่อนาที ซึ่งอัตราเร่งแซงเป็นเยี่ยมโดยไม่ต้องรอรอบหรือเปลี่ยนเกียร์บ่อย ทำให้มั่นใจในเรื่องความปลอดภัย
และยังคงความประหยัดตามแบบฉบับของเครื่องยนต์คอมมอนเรล โดยจากการทดสอบรถปิกอัพไฮลักซ์ ไทเกอร์ แบบขับเคลื่อนสองล้อ ที่ใช้เครื่องยนต์ 1KD-FTV D-4D ที่ความเร็วคงที่ 60 กม./ชม. ในสภาพการใช้งานจริง เปิดแอร์ แล้วปรากฏว่ามีอัตราการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงถึง 21.71 กม./ลิตร เมื่อเทียบกับรถโตโยต้ารุ่นเดียวกันที่ใช้เครื่องยนต์ตัวเดิมรุ่น 5L-E แล้วประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นถึง 16%
นับว่าเป็นอัตราการสิ้นเปลืองที่ต่ำมากด้วยกันทั้งสองรุ่น