จาก TEE 188 203.148.146.34
พฤหัสบดีที่ , 9/10/2546
เวลา : 10:53
อ่านแล้ว = 1785 ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
Turbo Timer
เครื่องยนต์เทอร์โบ มีความแพร่หลายในไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปิกอัพที่ปัจจุบันมีใช้กันทุกยี่ห้อ คนทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องเทคนิครถยนต์อย่างลึกซึ้ง ก็สามารถใช้งานได้อย่างไร้ปัญหา ไม่มีข่าวว่าจุกจิกหรือพังง่าย ทำให้ความหวาดระแวงเกี่ยวกับเทอร์โบเริ่มจางลงไป
แม้คลายความหวาดระแวง แต่ยังมีความสงสัยเหลืออยู่ โดยเฉพาะตัว เทอร์โบไทม์เมอร์ อุปกรณ์ตั้งเวลาเพื่อดับเครื่องยนต์ ที่มีสารพัดปัญหาคาใจ เช่น จำเป็นหรือไม่ ทำไมรถยนต์เทอร์โบจากโรงงานไม่มีมาให้ ทำไมต้องรอ เพราะหลายคนจอดแล้วดับเครื่องยนต์ทันทีก็ไม่เห็นพัง
คอลัมน์ประจำสัปดาห์
BMW Z4 Hamann
การดูแล Intercooler
ซูเปอร์ชาร์จ
NISMO 350Z CONCEPT
Benz C30 CDI AMG
อ่านเรื่องย้อนหลัง
ถ้าจะคลายความสงสัยในเรื่องนี้ ควรเริ่มทำความเข้าใจตั้งแต่พื้นฐานของเทอร์โบ การทำงาน ระบบต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้งาน และดูแลรักษาเครื่องยนต์เทอร์โบอย่างถูกวิธี
พื้นฐานเทอร์โบ
ตัวเทอร์โบประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ โข่งไอดี โข่งไอเสีย กังหันไอดี กังหันไอเสีย และเสื้อกลางที่เป็นชิ้นเดียวกับแกนเทอร์โบ
แกนเทอร์โบหมุนได้ด้วยไอเสียจากเครื่องยนต์ที่ต่อเข้าไปในโข่งไอเสีย จากความเร็วในการไหลและความร้อนของไอเสีย จะทำให้กังหันไอเสียหมุน และพาให้กังหันไอดีซึ่งติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกันหมุนตามไปด้วย จากนั้น ไอเสียก็จะถูกระบายออกไปสู่ท่อไอเสีย ส่วนกังหันไอดีที่หมุนก็จะดูดอากาศเข้าไปในโข่งไอดี เหวี่ยงหนีศูนย์กลาง และอัดเข้าสู่เครื่องยนต์หรืออาจผ่านอินเตอร์คูลเลอร์ก่อน เพื่อลดความร้อนของไอดี
เทอร์โบไม่ได้มีถังเก็บอากาศสำรองไว้ ไม่ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ไม่ต้องมีสายพานคล้อง แต่ใช้ไอเสียเป็นต้นกำลัง หมุนกังหันไอเสียเพื่อพาให้กังหันไอดีซึ่งอยู่บนแกนเดียวกันให้หมุนตาม และอัดอากาศเข้ากระบอกสูบ ไม่ได้นำไอเสียกลับเข้าเครื่องยนต์แต่อย่างใด
เทอร์โบ แรงได้อย่างไร
การใช้ไอเสียที่ไหลออกมาด้วยความเร็ว และมีความร้อนจัดหลายร้อยหรือเป็นพันองศาเซลเซียส สามารถทำให้กังหันไอเสีย (และกังหันไอดี) หมุนรองสูงหลายหมื่นรอบต่อนาที หรือเทอร์โบบางรุ่นก็หมุนเกินกว่าแสนรอบต่อนาที เพราะมีทั้งการขยายตัวของความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ และความเร็วของไอเสีย ที่เกิดจากการดันขึ้นของลูกสูบด้วย
เมื่อกังหันไอเสียหมุนเร็ว ก็จะพาให้กังหันไอดีหมุนเร็วไปด้วย ทำให้สามารถอัดอากาศเข้าสู่กระบอกสูบได้ปริมาณมาก และมีความหนาแน่นกว่าแรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบตามปกติ
เมื่อมีอากาศเข้าเครื่องยนต์มากขึ้น จึงสามารถเพิ่มการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากขึ้น ด้วยส่วนผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิง กับอากาศที่เหมาะสม ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มซีซี
นอกจากการใช้เทอร์โบในการเพิ่มกำลังให้เครื่องยนต์แล้ว ยังมีการใช้เพื่อลดมลพิษของไอเสียได้ด้วย เพราะการอัดอากาศที่มีความหนาแน่นมากกว่าการดูดตามปกติ ช่วยให้เครื่องยนต์ดีเซลเผาไหม้เชื้อเพลิงได้หมดจดขึ้น
ความร้อน ศัตรูของเทอร์โบ
เนื่องจากกังหันไอเสียต้องถูกเป่าผ่านตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน จึงต้องรับความร้อนจากไอเสีย และถ่ายเทความร้อนไปยังแกนกลาง ซึ่งต้องรับภาระทั้งหมุนรอบจัด และความร้อนสูง แกนที่สอดอยู่กับบูช แบริ่ง หรือลูกปืน จึงจำเป็นต้องมีการหล่อลื่น และระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่องที่มีการไหลเวียน
โดยต่อท่อมาจากระบบหล่อลื่นหลักของเครื่องยนต์ (ปั๊มน้ำมันเครื่อง) แบ่งน้ำมันเครื่องไหลมาผ่านเสื้อกลาง และแกนเทอร์โบ เพื่อหล่อลื่น และระบายความร้อน จากนั้นจึงไหลลงสู่อ่างน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เทอร์โบจึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องรับ 2 หน้าที่ คือ หล่อลื่น และระบายความร้อนทั้งเครื่องยนต์ และตัวเทอร์โบ จึงควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูง มีความหนืดที่เหมาะสม และเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดอย่างเคร่งครัด ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ยิ่งดี เพราะมักมีฟิล์มน้ำมันที่แข็งแรงกว่า และทนความร้อนได้สูงกว่า รวมทั้งคุณภาพดีสม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งาน
|