คำตอบที่ 1
ใน ปัจจุบันมีการนำเอาก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมและนำไปใช้ในการผลิตก๊าซหุงต้ม รวมถึงการใช้เป็นพลังงานทางเลือกในยายยนต์ (Natural Gas for Vehicles: NGV) โดยในปัจจุบันแหล่งก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้งานในประเทศไทยมาจาก 3 แหล่งหลัก ได้แก่
1. แหล่งก๊าซฯ ตะวันออก หรือ ก๊าซฯ ในทะเลจากอ่าวไทย ซึ่งมีประมาณ 75% ของก๊าซธรรมชาติทั้งประเทศ
2. แหล่งก๊าซฯ ตะวันตก หรือ ก๊าซฯ จากพม่ามีประมาณ 20%
3. แหล่งก๊าซฯ บนบกจาก อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร และ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ประมาณ 5%
ทั้ง นี้แหล่งก๊าซธรรมชาติในแต่ละแหล่งจะมีคุณภาพก๊าซที่แตกต่างกัน ดังนั้นในแต่ละพื้นที่ของผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ จำเป็นต้องปรับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมของตนเองให้สอดคล้องกับคุณภาพ ของก๊าซธรรมชาติที่กำหนดซึ่งดัชนีหลักที่ใช้วัดคุณภาพก๊าซคือค่าพลังงานความ ร้อนต่อหน่วยปริมาตร (Wobbe Index)
ในขณะที่ก๊าซ NGV ที่มีการกำหนดดัชนีวัดคุณภาพของก๊าซฯ ด้วยค่า Wobbe Index ถูกกำหนดอยู่ที่ 37-42 เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร (MJ/m3)
ใน ปี 2553 ปตท.ได้ขยายกำลังการผลิตพร้อมทั้งพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตก๊าซ ธรรมชาติที่ได้รับจากแหล่งอ่าวไทย ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้คุณภาพก๊าซฯ ที่ผลิตได้มีค่าความร้อนและ Wobbe Index สูงขึ้น กล่าวคือ จากปัจจุบันมีค่า Wobbe Index ของก๊าซฯ อยู่ที่ 40 เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร ในช่วงไตรมาส 3 ปี 255 และเมื่อนำคุณภาพก๊าซฯ ของแหล่งตะวันออกมาเปรียบเทียวกับคุณภาพก๊าซจากสหภาพพม่า ที่มีค่าความร้อนอยู่ที่ 37 เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร แล้วพบว่ามีความต่างกันอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถ NGV จะต้องมีการปรับจูนระบบการใช้ก๊าซ NGV ของ เครื่องยนต์ที่ต้องกำหนดเลือกใช้ก๊าซฯ จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นการจำกัดพื้นที่การใช้ของตนเอง ทำให้ไม่ความสะดวกในการใช้งานของผู้ขับรถ NGV เหมือนกับปัจจุบัน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดผลกระทบความไม่สะดวกของผู้บริโภค ปตท.จึงมีแผนงานในการปรับปรุงคุณภาพก๊าซ NGV จากแหล่งก๊าซตะวันออกให้มีค่า Wobbe Index เช่นเดิมเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ด้วยการติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคยังคงใช้ก๊าซ NGV ที่ มีคุณภาพเดียวกันทั้งประเทศ โดย ปตท. ได้เริ่มดำเนินการติดตั้งระบบดังกล่าวกับสถานีที่รับก๊าซฯ จากแหล่งก๊าซฯ ตะวันออกทั้งหมด 84 สถานี
ทั้งนี้วิธีการติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซ NGV เพื่อรักษาระดับ Wobbe Index จะเป็นเพียงแผนในช่วงระยะเวลา 4 - 5 ปี ในขณะที่แผนงานระยะยาว ปตท. จะทำการศึกษาแนวทางการกำหนดคุณภาพก๊าซ NGV เป็น 2 เกรด 2 ราคา ตามคุณภาพของก๊าซฯ แต่ละแหล่ง หรือวิธีการกำหนดให้ก๊าซ NGV เป็นเกรดเดียวทั่วประเทศด้วยการอ้างอิงคุณภาพก๊าซธรรมชาติจากแหล่งตะวันออก อย่างไรก็ตามการปรับปรุงคุณภาพก๊าซ NGV โดยรวมทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นการพิจารณาจากพื้นฐานที่ผู้ใช้รถ NGV ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดและได้รับความสะดวกมากที่สุด
ที่มา:http://www.siblor.com/?mode=content_detail&cid=460