คำตอบที่ 7
ตามนี้แล้วกันมีคนถามว่า WALKING SPEED คืออะไร อ้าวอ่านตามนี้แร้วกันครับ มีประโยชน์มาก ๆ ผมใช้ทักษะอันนี้แหละครับ....
เมื่อทราบข้อปฏิบัติแล้ว ม่านก็พร้อมที่จะทำความเข้าใจในการขับขี่รถ 4WD อย่างถูวิธี โดยแรกสุด ขอให้ทำความเข้าใจในธรรมชาติของรถ 4WD เนื่องจากระบบเคลื่อน 4 ล้อ เป็นระบบที่ทุกล้อทำการขับเคลื่อน และระบบของเฟืองท้าย อาจเป็นแบบธรรมดา ไม่ใช่แบบลิมิเต็ด สลปิ (LIMITED SLIP) ซึ่งจำเป็นต้องมีน้ำหนักกดในแต่ละคู่ล้อ จึงจะ ทำให้ล้อหมุนไปได้ ด้วยเหตุผลนี้ เราจำเป็นต้องขับ โดยพยายามให้ล้อแตะพื้นอย่างน้อย 3 จุด รถจึงจะสามารถเคลื่อนไปได้ วิธีการขับที่ง่ายที่สุด นั่นคือ การใช้ WALKING SPEED ในทุกอุปสรรค ขอให้ท่านผู้อ่านทดลอง เพื่อท่านจะได้ทราบถึงสมรรถนะของรถ 4WD ท่านจะรู้สึกถึงแรงดึงและดัน ของอัตราทดเกียร์ สโลว์ (4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1) โดยให้สังเกตถึงแรงดึงในขณะที่ขับลงเนินและแรงดันในขณะที่ขับขึ้นเนิน หากท่านมีความเข้าใจใน WALKING SPEED ดีแล้ว ท่านสามารถขับรถโดยไม่ต้องใช่เบรคเลย จนในที่สุดท่านจะทราบถึงขีดความสามารถของ WALKING SPEED และสามารถนำประโยชน์ไปใช้ได้จริงในบางลักษณะ ของเส้นทาง หรือบางกรณีก็จำเป็นต้องเปลี่ยนเกียร์และรอบเครื่อง เพื่อให้ผ่านอุปสรรคนั้นไปได้ 1. การขับผ่านอุปสรรคทอ่นไม้ขวางเป็นลูกระนาด ควรเลือกใช้เกียร์ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1 เนื่องจากเราไม่ควรทำความเร็วมาก เพราะอาจทำให้ ช่วงล่างเสียหายได้ ให้ใช้รอบเครื่องอยู่ที่ประมาณ 2,000 รอบ เมื่อรถคร่อมท่อนไม้ ล้อหน้าและ หลังจะถูกล๊อคโดยท่อนไม้ ในจังหวะนี้ให้ปี๊มคันเร่ง เพื่อให้รถสามารถข้ามท่อนไม้ไปข้างหน้าได้ ข้อควรระวัง : ห้ามกดคันเร่งแช่ ให้ขับในลักษณะกด-ปล่อยๆ ตามจังหวะของรถ และไม่ควรเลี้ยง คลัทช์ เพราะคลัทช์อาจไหม้ได้ 2. การขับขึ้นและลงทางลาดชัน ในการขับขั้นทางชั้น เราต้องปรับเบาะให้ตั้งขึ้นกว่าปกติ เพื่อแก้ทัศนวิสัยให้ดีขึ้น โดยไม่ลืมที่จะคาดเข็มขัดนิรภัยพร้อมกับกระจกข้างล่าง การขับขึ้นและลงทางชัน ให้ทดลองใช้ WALKING SPEED โดยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ ทั้งขึ้นและลง ถ้าหากทางขึ้นมีองศาชันมาก จนเกียร์ 1 ไม่สามารถขึ้นได้ ให้เลือก ใช้เกียร์ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 2 เพราะถ้าหากเราใช้เกียร์ 1 รอบเครื่องจะจัดเกิน ไป ทำให้รอบหมดเร็ว โดยที่ไม่สามารถไต่ขึ้นทางชันมากๆ ได้ และทำให้คลัทช์ สึกหรอมาก การที่เราเปลี่ยนไปใช้เกียร์ 2 ก็เพื่อทำให้ล้อหมุนจัดขึ้นในรอบเครื่อง เดิม ในขณะที่แรงบิดก็มีพอเพียงที่จะทำให้สามารถทำให้รถเคลื่อนที่ขึ้นไปได้ เราไม่ควรใช้เกียร์ 3 ในการขึ้นและลงเนิน เนื่องจากแรงบิดเกียร์ 3 ไม่พอ จะทำ ให้เครื่องยนต์ดับกลางเนิน ถ้าหากเราเปลี่ยนเกียร์ที่ต่ำลงไม่ทัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขับขึ้นทางชันที่มีผิวเปียกลื่นในขณะฝนตก เราจะต้องเลือกเกียร์ที่ถูก ต้องตั้งแต่ก่อนขึ้น เพราะหากใช้เกียร์ผิด รถจะไม่สามารถขึ้นได้และอาจะเป็น อันตรายถ้าหากเปลี่ยนเกียร์กลางเนิน กรณีรถดับกลางเนิน ให้ดึงเบรคมือพร้อมกับเหยียบเบรค เพื่อให้รถหยุดอยู่กับที่ และเมื่อแน่ใจว่ารถหยุดอยู่กับที่แล้ว จึงค่อยสตาร์ทเครื่องยนต์ พร้อมกับเข้าเกียร์ ถอยหลังและปลดเบรคมือ จากนั้นปล่อยให้รถถอยลงด้วยเกียร์ถอยหลัง โดยไม่ ต้องเหยียบคลัทช์, เบรค, คันเร่ง ถอยลงจนสุดเนิน แล้วจึงตั้งหลักใหม่ หากถอยลง มาไม่สุดแล้วเร่งสู้ ไม่มีทางที่จะทำให้รถขึ้นไปได้เลย ในทางตรงกันข้ามรถอาจจะ ไหลกลับกลังอย่างควบคุมไม่ได้ การขับรถลงเนินให้ลงด้วยเกียร์ 2 โดยไม่ต้องใช้ เบรค เนื่องจากเกียร์จะดึงรถ ในกรณีที่ชันจัดจริงๆ ให้ใช้เกียร์ 1 ได้ (เกียร์ 1 จะ ดึงรถให้เคลื่อนที่ช้ากว่าเกียร์ 2 จึงเหมาะที่จะใช้กับพื้นผิวที่ไม่สามารถใช้ความ เร็วได้ เช่น ลักษณะทางที่เป็นโขดหิน หากขับลงเร็วช่วงล่างอาจเสียหายได้) ข้อควรระวัง : ห้ามปล่อยรถไหลลงเนินเกียร์ โดยใช้เกียร์ว่างเด็ดขาด เพราะเบรค จะไม่สามารถทำให้รถหยุดได้ ซึ่งจะเป็นอันตราย 3. การขับรถพื้นเอียง การขัขขนานไปกับเพื้นเอียง ตำแหน่งและทิศทางของล้อหน้ามีความสำคัญมาก ผู้ขับจะต้องคาด เข็มขัดนิรภัย และลดกระจกข้างลง เพื่อชะโงกมองล้อได้ เมื่อรถท่านอยู่บนระนาบ ซึ่งมีความเอียงมาก ให้ใช้วิธีการเดินรถช้าๆ (WALKING SPEED) โดย รักษารอบเครื่องให้คงที่พร้อมกับระมัดระวังทิศทางของพวงมาลัยหน้า อย่าหักพวงมาลัยไปใน ทิศทางขึ้นเป็นอันขาด เนื่องจากรถอาจจะม้วนคว่ำลง ให้ปรับทิศทางพวงมาลัยไปในทิศทางลง เพื่อให้ล้อหน้ายันไม่ให้รถพลิกคว่ำได้ ข้อควรระวัง : ห้ามยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดของร่ายกางออกนอกรถ 4. การขับข้ามน้ำ มีข้อปฏิบัติที่แตกต่างจากกรณีอื่น นั้นคือ ห้ามใส่เข็มขัดนิรภัย พร้อมกันนั้นให้ไขกระจกข้างลง, ปลอดล็อกประตู และปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อเป็นการป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า ในกรณีที่เป็น รถที่มีระบบล็อคไฟฟ้า ในกรณีฉุกเฉินให้มุดออกทาง หน้าต่าง เมื่อเราเจอน้ำขวางเส้นทาง สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ คือ เดินลงสำรวจร่องน้ำเพื่อหาเส้นทางที่ง่ายที่สุดในการ ข้ามน้ำ ระดับน้ำที่ลึกที่สุดที่รถสามารถลุยผ่านได้ก็คือ ระดับมิดยางพอดี เนื่องจากไส้กรองอากาศอยู่ในระดับ เดียวกับไฟหน้า เราจึงควรหลีกเลี่ยงระดับน้ำที่ลึก กว่านี้ หากน้ำมีกระแสแรง การขับข้ามอาจต้องแน่ใจ ว่าระดับน้ำไม่สูงกว่าขอบยาง มิฉะนั้น จะถูกน้ำพัดไป เนื่องจากรถจะลอยและล้อจะไม่แตะพื้น จากนั้นให้ สัเงกตทิศทางและความแรงของกระแสน้ำ ว่าควรตัดกระแสน้ำมากน้อยเพียงใด หากมีกระแสน้ำ แรงมากก็ควรหลีกเลี่ยง การขับน้ำให้ขับด้วยความนิ่มนวล โดยใช้เกียร์ 4L (เกียร์ 1 ) ทั้งนี้เพราะเกียร์ 1 เป็นเกียร์ที่รถจะดับยาก ที่สุด และรถก็จะมีความเร็วต่ำ ซึ่งจะทำให้ช่วงล่าง ปลอดภัย ถ้าหากเราขับเร็วแล้วกระทบกับหินใต้น้ำ ช่วงล่างอาจเสียหายได้ ถ้าหากรถดับในน้ำ ห้ามสตาร์ทซ้ำเด็ดขาด เพราะน้ำ ได้เข้าไปในเครื่องยนต์แล้ว ให้ดึงรถขึ้นมาบนฝั่ง ทำการไล่น้ำออกจากระบบน้ำมันให้หมด แล้วจึงเช็ค ระบบไฟฟ้า จนแน่ใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยจึงค่อย สตาร์ท หลังจากทำการลุยน้ำ ให้ตรวจเช็คน้ำมันเกียร์, น้ำมัน เกียร์สโลว์, น้ำมันเฟืองหน้าและเฟืองท้าย ว่าน้ำเข้า ไปผสมในน้ำมันหรือไม่ หากมีน้ำผสมในน้ำมัน น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นสีขุ่นคล้ายสีกาแฟ หากน้ำเข้าเฟืองท้ายมาก ให้ทำการเปลี่ยนถ่ายทันที ข้อควรระวัง : ถ้าหากกระแสน้ำแรงมากจนแน่ใจไม่ สามารถขับผ่านกระแสน้ำได้ ให้เร่งเครื่องแล้วดับ กุญแจรถทันที เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนเข้าไป ในเครื่อง ระวังอย่าให้รถน็อคดับเอง หากแช่น้ำเป็น เวลานาน ให้นำรถขึ้นมาแล้วทำการไล่น้ำออกจาก ระบบเครื่องยนต์ หากกระแสน้ำแรงมากและจำเป็น ต้องผ่านจริงๆ ให้รถคันที่อยู่ข้างหลังโดยสายสลิงกับ ท้ายรถคันหน้า เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่ไม่ สามารถสุ้ความแรงของกระแสน้ำได้ 5. การขับรถบนทราย การขับบนทรายให้ใช้ WALKING SPEED ประกอบ กับลดแรงดันลมยางลงเหลือประมาณ 15-18 ปอนด์/ตร.นิ้ว หากมีอุปกรณ์พิเศษ (TIRE LOCK) ก็สามารถลดแรงดันลงเหลือเพียง 8 ปอน์ด/ตร.นิ้ว ได้ โดยที่ยางไม่หลุดขอบ การลดแรงดันลมยางก็เพือ่เพิ่มพื้นที่หน้าสัมผัสของ หน้ายางกับทรายให้มากขึ้น โดยเราจะต้องบรักษา รอบเครื่องให้คงที่ที่สุด ถ้าหากกดคันเร่งแรงเกิน ล้อจะขุดทรายฝังตัวเอง จะเห็นได้ว่าดอกยาง MUD-TERRAIN จะขุดทรายทำให้รถจมได้ง่ายกว่า ดอกยางแบบ ALL-TERRAIN หากเป็นทรายชายทะเล ซึ่งมีความร่วนซุยมาก เมื่อ เราตั้งหลักได้ ก็ให้ไล่เกียร์ได้ตามปกติ หากมีการ สะดุดในการขับรถอาจจะจมทรายได้ การขับบนทราย ที่ร่วนซุยมาก ให้หลีกเลี่ยงการเลี้ยวแคบๆ เนื่องจาก แก้มยางหน้าจะต้านทราย ทำให้จังหวะของรถเสียหาย ข้อควรระวัง : ถ้าหากรถจมทรายละเอียด ควรใช้รอก ไฟฟ้า (WINCH) ดึงรถขึ้น โดยไม่ต้องเร่งเครื่องยนต์ ห้ามเร่งสู้ เพราะนอกจากจะไม่ขึ้นแล้ว ทรายละเอียด ก็จะเข้าไปกัดตามซีลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสักหลาด กะโหลกล้อ, ซีลเฟืองท้าย, ซีลดุมล้อ รวมทั้งลูกรอกของ สายพาน ราวลิ้น ฯลฯ ทำให้เกิดความเสียหาย 6. การขับรถเนินสลับ ลักษณะของเนินสลับ คือลักษณะที่มีเนินซ้าย-ขวา สลับกัน เราสามารถใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1 หรือ 2 ก็ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ เพื่อที่เราจะได้ไม่ฝืน ไลน์ จะเห็นได้ว่า เมื่อผ่านเนินลูกแรกถึงเนินลูกที่ 2 หากเกิดอาหารงัดของรถ ทำให้รถมีลักษณะเป็นไม้ กระดกไม่สามารถขับต่อไปได้ เป็นเพราะเราฝืนพวง มาลัย ให้แก้โดยหักพวงมาลัยลงเนิน อย่าพยายาม ฝืนขึ้นเนิน เพราะรถจะไปไม่ได้ หากเราใช้กำลังพุ่ง ด้วยความแรง รถอาจจะดีดพลิกคว่ำได้ สรุปก็คือ เราจะขับอย่างไรก็ได้ให้ล้อแตะพื้น 3 จุด เป็นอย่างน้อย เราต้องชะโงกล้อหน้าว่าหักอยู่ในทิศ ทางใด หากรถกระดกไม่สามารถไปได้ให้หักพวงม ลัยกลับในทิศทางตรงกันข้าม แล้วรถจะไปได้เอง ให้ใช้ความนุ่มนวล ประกอบกับจังหวะเครื่องยนต์ และการแก้ทิศทางพวงมาลัยจึงจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง ที่สุด ข้อควรระวัง : อย่างไรก็ตามต้องรัดเข็มขัดนิรภัยและ ลดกระจกข้างลง เพราะเนินสลับ อาจทำให้รถพลิกคว่ำ ได้ง่าย หากใช้ความรุนแรง 7. การขับรถในโคลน ถ้าหากสามารถลดแรงดันลมยางได้ โดยอยู่ที่ประมาณ 15-18 ปอนด์/ตร.นิ้ว ได้ จะทำให้การขับในโคลนง่าย ขึ้นมาก ดอกยางที่ต้องใช้ในโคลน ก็คือ ดอกยางแบบ MUD-TERRAIN การขับรถในโคลน ให้เลือกใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 2 เท่านั้น (ยกเว้นเครื่องยนต์เบนซินที่มีซีซีต่ำ ให้ใช้ 4L ทีตำแหน่งเกียร์ 1) ลักษณะของโคลนที่มีพื้นล่างแข็งยางหน้าแคบจะให้ ผลในการจิกที่ดีกว่ายางหน้ากว้าง วิธีการขับก็ให้ขับ ตามร่องรถคันหน้า ไม่ตำเป็นต้องเปิดไลน์ใหม่ ในการขับในเส้นทางธรามชาติจริง ถ้าหากด้านข้างมี เหว ต้องยึดร่องเดิมเป็นหลัก ห้ามคร่อมหรือฝืนร่อง เด็ดขาด เพราะรถจะเสียหลักขวางลำ ซึ่งจะอันตราย มาก การขับคร่อมร่องนอกจากจะอันตรายแล้ว จะทำ ให้คันชัก คันส่ง และต่อมลูกหมากหักได้ หากเป็นลักษณะโคลนเละ ห้ามขับกระโจนลงบ่อโคลน เพราะโคลนจะกระเด็นขึ้นมาจับที่รังผึ้งหม้อน้ำ และห้องเครื่องทั้หงมด ผลก็คือ ความร้อนของเครื่อง ยนต์จะสูงมาก เนื่องจากดินอุดตันรังผึ้งหม้อน้ำ และไดชาร์จจะไม่ชาร์จไฟ เนื่อจากแปลงถ่านไม่ดีด ออก จะทำให้มีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า เหตุผลอีก ประการหึ่งก็คือ หากเรากระโจนลงในบ่อโคลน เราจะไม่รู้ได้เลยว่าข้างใต้โคลนนั้นมีอะไรอยู่ หาก เผอิญเป็นก้อนหินใหญ่ ก็จะทำให้ช่วงล่างพัง การดิ้นรนในกรณีจมโคลน (ในรถเครื่องยนต์ดีเซล ให้ใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 2 ห้ามใช้เกียร์ 1 เพราะ รอบเครื่องจัดเกินไป ไม่สามารถขึ้นได้ ส่วนในรถ เครื่องยนต์เบนซินที่มีซีซีต่ำ แรงบิดจะน้อยกว่า เครื่องยนต์ดีเซลให้ใช้เกียร์ 1) สามารถใช้รอบเครื่อง สูงได้ แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าล้อได้หมุนแล้วเล็กน้อย จึงเร่งรอบเครื่องสูงได้เลย ห้ามออกรถแบบกระชาก เพราะจะทำให้ฟันเฟืองท้ายเสียหาย หรือเฟืองเพลา ขับอาจจะรูดได้ ในขณะที่เร่งรอบสูงอยู่นั้นให้ส่ายพวง มาลัยซ้ายสลับขวาเพื่อหาพื้นผิวใหม่ในการดึงรถขึ้น จากหล่มโคลน ข้อควรระวัง : ในขณะที่ขับโคลนล้อจะเลื่อไถล บางครั้ง เมื่อเราหักเลี้ยวพวงมาลัยรถอาจจะไม่ไปในทิศทางที่ เราต้องการ จึงควรเพิ่มความระมัดระวัง ในการขับขี่ ให้มากขึ้น ควรทำการล้างอัดฉีดหลังจากการขับลุย โคลน เนื่องจากโคลนจะเข้าไปในเบรค ทำให้ผ้า เบรคหมดได้ และการระบายความร้อนเครื่องยนต์ก็ จะดีขึ้น ปัญหาที่พบอีกประการหนึ่ง คือ โคลนจะเข้าไปกัดซีล เฟืองท้าย ทำให้น้ำเข้าเฟืองท้ายโดยไม่รู้ตัว จึงจำเป็น ต้องเช็คซีลเฟืองท้ายทุกครั้งหลังจากลุยโคลนว่ามีรอย รั่วซึมหรือไม่ หากท่านอยู่ในป่า ต้องการล้างดินออกจารังผึ้งหม้อน้ำ ให้ใช้น้ำในลำธารสาดที่หม้อน้ำ พร้อมกับสตาร์ท เครื่องยนต์และเร่งรอบเครื่องประมาณ 3-4 พันรอบ เพื่อให้พัดลมหม้อน้ำดึงเอาน้ำที่มีดินละลายอยู่ผ่าน ทะลุรังผึ้งหม้อน้ำออกมา หากไม่เร่งเครื่องช่วยก็จะไม่ เป็นผล 8. การขับรถข้ามสะพานซุง ต้องใช้ความระมัดระวัง ถ้าเป็นไปได้ควรมีผู้บอกไลน์ โดยใช้สัญญาณมือไม่ควรใช้ความเร็ว และ ควรรักษารอบเครื่องให้คงที่ เพราะหากท่อนซุงลื่นประกอบกับเลอะโคลน การเปลี่ยนระดับความ เร็วอาจทำให้ล้อรถลื่นและตกสะพานได้ หากเป็นเวลากลางคืนให้เปิดไฟหรี่ เพื่อไม่ให้ไฟแยงตา ผู้บอกไลน์ และผู้บอกไลน์ควรถือไฟฉายส่องล้อทั้งสี่ให้แน่ใจว่าล้อทั้งสี่อยู่บนสะพานแล้วจ?ึง ส่งสัญญาณให้มาได้ เราควรใช้ 4L ที่ตำแหน่งเกียร์ 1 โดยเดินรอบเครื่องอย่างสม่ำเสมอ อาจใช้ WALKING SPEED โดยไม่ต้องแตะคันเร่ง และควรเตรียมพร้อมในการเหยีบเบรค หากผู้ดูไลน์สั่งให้หยุด จะเห็นว่า วิธีการรถขับเคลื่อนสี่ล้ออย่างถูก ไม่ใช่การขับด้วยความรุนแรงเพราะความรุนแรง จะทำให้รถมีปัญหา และไม่สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจึงควรฝึกทักษะจนเกิดความ ชำนาญสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ตัวอย่างอุปสรรคที่ยกมานี้ เป็นลักษณะอุปสรรคที่จะพบจริงในเส้นทางธรรมชาติแบบออฟโรด หากท่านขับได้อย่างถูกต้องก็จะช่วยป้องกันไม่ให้รถเกิดความเสียหาย และเพื่อเพิ่มความปลอด ภัยของตัวท่าน จากนี้ไปสิ่งที่ท่านต้องหาประสบการณ์ด้วยตัวท่านเอง ก็เหลือเพียงการอ่านไลน์ เท่านั้น....