คำตอบที่ 1
ปัญหาเกิดจากโรงแยกก๊าซของปตท.จากข้อมูลพบว่า กำลังผลิตของโรงแยกก๊าซ ที่ระยองทั้งหมดอยู่ในสภาพผลิตเต็มกำลังแล้ว
ขณะที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติ(วัตถุดิบของแอลพีจี)ในอ่าวไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถป้อนก๊าซดิบเข้าโรงแยกก๊าซได้ เช่นในปี 2550
- ไทยผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยได้ 2,350 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน
- แต่โรงแยกก๊าซรับก๊าซได้เพียง 1,770 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน
ทำให้ ปตท.ต้องนำก๊าซดิบที่ล้นเกินความจุของโรงแยกไปรวมกับมีเทนแล้วส่งไปผลิตไฟฟ้า ทำให้ทรัพยากรก๊าซดิบอันมีค่าต้องสูญเสียไปปีละมากๆ ยิ่งไปกว่านั้นในหนึ่งปีข้างหน้าก๊าซธรรมชาติจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากแหล่งอาทิตย์ ดังนั้น ประเด็นการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแอลพีจีจึงตกไป แต่ปัญหาการขาดแคลนแอลพีจีที่แท้จริงเกิดจากจำนวนโรงแยกก๊าซไม่เพียงพอซึ่งเกิดจากการบริหารที่ผิดพลาดของปตท.เอง ซึ่งอาจเป็นความจงใจของปตท.ก็เป็นได้
ข้าราชการของกระทรวงพลังงาน ตั้งแต่ปลัด รองปลัด อธิบดี ถึงผู้ตรวจราชการ
ต่างก็เป็นกรรมการ ประธานกรรมการ บริษัทพลังงานทั้งนั้น
ทั้งปตท. ปตท.สำราจและผลิต โรงกลั่นไทยออยล์ และอื่นอีกมากมาย
รายได้จากการเป็นกรรมการเป็นเงินหลายล้านบาทสูงกว่าเงินเดือนข้าราชการการมาก
ตกแล้วก็มีรายจากการประชุมครั้งละ 500000 ถึง 1000000 บาท
เรียกว่าทุนพลังงานครอบรัฐ!!!
ถ้าไม่แก้จุดนี้ประเทศพังแน่
LPG ส่วนใหญ่มาจากการแยกก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ทำไมต้องราคาตลาดโลกด้วยคะ
แล้วคนไทยเจ้าของทรัพยากรจะได้อะไร???