คำตอบที่ 18
'กรณ์'โยนคมนาคมขึ้นภาษีรถ'แอลพีจี'ขนส่งไม่เอา3.7หมื่น
Friday, 29 April 2011 05:48
'ขนส่งทางบก'อ้างผลศึกษากระทรวงอุตฯ เสนอขึ้นภาษีทะเบียนรถยนต์ใช้แอลพีจี 3.7 หมื่น/ปี
ความคืบหน้ากรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่27 เมษายน มีมติให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง เร่งพิจารณาการปรับเพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)เป็นเชื้อเพลิง เพื่อลดภาระการชดเชยแอลพีจีของรัฐบาล
เมื่อวันที่ 28 เมษายน นายกรณ์ จาติกวณิชรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่ารัฐบาลมีนโยบายชัดเจนต้องการลดการชดเชยก๊าซแอลพีจีลง โดยในส่วนรถยนต์ที่ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซแอลพีจีก็มีแนวทางจะขึ้นภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ ซึ่งเป็นอำนาจของกระทรวงคมนาคมจะพิจารณาและตัดสินใจส่วนกระทรวงการคลังพร้อมจะเสนอสูตรที่เหมาะสมให้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากได้รับหนังสือมอบหมายอย่างเป็นทางการจาก กพช.แล้ว จะมีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการขนส่งทางบกมาหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากกระทรวงคมนาคมยังไม่มีผลการศึกษาหรือแนวทางดำเนินการเรื่องดังกล่าว
นายเทียนโชติ จงพีร์เพียร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวยอมรับเช่นกันว่า กรมยังไม่เคยมีการศึกษาเรื่องนี้ แต่ทราบว่ากระทรวงอุตสาหกรรมเคยมีการศึกษาการปรับขึ้นภาษีป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์ที่เปลี่ยนไปใช้แอลพีจีไว้ เฉลี่ยคันละ 37,000 บาทต่อปี จากปัจจุบันที่จัดเก็บประมาณ 3,000-4,000 บาทต่อปีสำหรับรถยนต์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงเกินไปและยังไม่มีการชี้แจงที่มาที่ไปของตัวเลขดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ จึงยังไม่มีการพิจารณาเพิ่มเติม แต่ในรับทราบ จึงยังไม่มีการพิจารณาเพิ่มเติม แต่ในเมื่อ กพช.มีมติให้ศึกษาเรื่องดังกล่าว คงต้องหารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตัวเลขที่เหมาะสมอีกครั้ง
"ตอนนี้รถที่ใช้แอลพีจีมีอยู่หลายประเภทเช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุก และรถแท็กซี่เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทจะเก็บภาษีแตกต่างกันโดยเฉลี่ยสูงสุดอยู่ไม่เกิน 4,000-5,000 บาทต่อปีหากมีการปรับขึ้นภาษี ต้องมาพิจารณารถยนต์ในแต่ละประเภทด้วยว่าจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่" นายเทียนโชติกล่าว
นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ในเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ 2554 มียอดรถยนต์ที่จดทะเบียนใช้แอลพีจี 17,035 คัน ใช้ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี)1,078 คัน รวมรถยนต์ที่จดทะเบียนใช้แอลพีจีและเอ็นจีวี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว7,932 คัน ปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีทั่วประเทศมีประมาณ 6.76 แสนคัน ใช้เอ็นจีวีประมาณ1.89 แสนคัน
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า แนวทางการปรับขึ้นภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซแอลพีจีจะช่วยลดการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันไทยมีการนำเข้าก๊าซแอลจีพีประมาณ 1.1 แสนตันต่อเดือน โดยคาดว่าภายใน 5 ปี จะมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี
นายศิริศักดิ์กล่าวอีกว่า การขยายเวลาการตรึงราคาก๊าซ ทำให้ก๊าซเอ็นจีวีไม่เพียงพอต่อความต้อง การใช้ที่สูงขึ้น โดยกรมได้ส่งเจ้าหน้าที่สำรวจสถานีบริการทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงการให้บริการต่อไป
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมยังไม่มีแผนเก็บภาษีสรรพสามิตก๊าซแอลพีจี แม้ว่าจะมีเพดานให้เก็บได้ 9 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ซึ่งการปรับภาษีน้ำมันและก๊าซจะหารือกับกระทรวงพลังงานอย่างใกล้ชิดเพราะที่ผ่านมามีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลไป 5.30 บาทต่อลิตร โดยคาดว่าจะไม่มีการปรับขึ้นภาษีพลังงานในช่วงนี้ จนกว่าการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนปีนี้
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าได้หารือร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิค และอุตสาหกรรมแก้วและกระจก กรณี กพช.มีมติ
ลอยตัวก๊าซหุ้งต้ม (แอลพีจี) ในภาคอุตสาหกรรมโดยจะเริ่มทยอยปรับราคาในเดือนกรกฎาคมนี้
อาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นปิดกิจการของอุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรม
เซรามิค เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามเวลาอุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรม
เซรามิค เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามเวลาที่รัฐบาลกำหนดแน่นอน
ทั้งนี้ มติ กพช.เมื่อวันที่ 27 เมษายน รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนเรื่องมาตรการช่วยเหลือดังนั้น ส.อ.ท.จะเร่งทำหนังสือไปยังสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช.ภายใน 1-2 วันนี้ เพื่อสอบถามมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิค ส.อ.ท.กล่าวว่า สำหรับแนวทางที่กระทรวงพลังงานจะให้สินเชื่อผู้ประกอบการย้ายโรงงานไปอยู่ตามแนวท่อก๊าซธรรมชาตินั้น สามารถทำได้แต่เชื่อว่าจะเกิดปัญหาตามมาแน่นอน โดยเฉพาะปัญหาแรงงานเลิกจ้าง และการหาแรงงานใหม่ที่ต้องฝึกทักษะกันใหม่ นอกจากนี้อุตสาหกรรมเซรามิคของลำปางคงเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดไปแล้ว
นายสมชัย โอวุฒิธรรม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมแก้วและกระจกกล่าวว่า ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมแก้วกระจก มีจำนวน10 บริษัท มีแรงงานมากถึง 15,000 คน ซึ่งมาตรการลอยตัวก๊าซแอลพีจีของรัฐจะทำให้ผู้ประกอบการทั้งหมดต้องขาดทุนกระทั่งปิดกิจการแน่นอน จึงอยากให้รัฐจัดหาพลังงานทดแทนให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือสนับสนุนการย้ายโรงงานไปตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติด้วย
--จบ--
--มติชน ฉบับวันที่ 30 เม.ย. 2554 (กรอบบ่าย)--
http://its.in.th/index.php/component/content/article/1-latest-news/6989-37