คำตอบที่ 4
เบนซินถ้าไม่มีเทอร์โบ การลงกล่องมันช่วยได้แต่ไม่มาก
เครื่องดีเซลถ้าไม่มีเทอร์โบ ก็จอดป้ายแรกเหมือนกันอืดกว่าเบนซิน มันคือดีเซลยุคเก่า ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมมอนเรลหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งมลพิษเยอะ
การแก้ปัยหาดังกล่าว จึงแก้ด้วยการ เพิ่มเทอรโบเข้าไปในดีเซลคอมมอนเรล และเพิ่มกล่อง ECU กับเซนเซอร์เข้าไปด้วย
ผลที่ได้คือ เครื่องยนต์ดีเซลจากเดิมที่เคยอืดกว่าเบนซินและควันดำ จึงตอบสนองเร็วขึ้นมลพิษน้อยลง สามารถลดขนาดเครื่องยนต์ให้เล็กลงได้แต่กำลังเท่าเดิมหรือมากขึ้น
เบนซินการพ่วงกล่องหรือทำอย่างอื่น จึงเสียเปรียบดีเซลคอมมอนเรลด้วยขนาดเครื่องยนต์เดียวกัน
ถ้าเปรียบเทียบที่ขนาดเครื่องยนต์เดียวกัน ดีเซลจะได้กำลังมากกว่า ตอบสนองดีกว่า และประหยัดน้ำมันกว่า
แต่ถ้าจะให้เบนซินขึ้นคู่คี่สูสีหรือแรงกว่าดีเซล การใส่เทอรโบเข้าไป เหมือนกันจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าและไม่เสียเปรียบดีเซลคอมมอนเรลในยุคปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ดีเบนซินนั้นออกแบบให้เครื่องยนต์มีความทนทานน้อยกว่าดีเซลการบูสเทอร์โบมาก ๆ ไม่เป็นผลดีเพราะเครื่องยนต์จะทนไม่ไหว ถ้ายัดเทอร์ดบไปแล้วมันคือการดัดแปลงอย่างนึงอันเป็นการผิดเสปกข้อกำหนดของโรงงาน อาจทำให้เครื่องยนต์มีความทนทานลดน้อยลงได้ จึงควรระมัดระวังการบูสเทอร์โบอีกทั้งไม่ควรแช่ยาว ๆ ด้วยความเร็วสูง ต่อเนื่องตลอดเวลา
การติดเทอณโบเข้าไปให้อัตราเร่งมาไวขึ้นตอบสนองเร็วขึ้นเพิ่อความสนุกในการขับขี่เท่านั้น ไม่ควรเหยียบแช่กันยาว ๆ
อย่างไรก็ดี เครื่องดีเซล ที่มีการตบแต่งพ่วงกล่องสารพัด ก็มีปัญหาเช่นกัน ถ้าได้ทำอะไรนอกเหนือจากสเปกโรงงาน ถึงแม้ไม่ได้มีการตัดต่อมีแต่เพียงเพิ่มกล่องเข้าไปก็ตาม การเหยียบแช่ยาว ๆ ด้วยความเร็วสูง เครื่องยนต์ก็พังคาตรีนเหมือนกัน เพราะเสปกมันทนไม่ไหว การพ่วงกล่องเอาไว้จึงทำแค่ความสนุกสร้างแรงโม้และแรงม้าเอาไว้คุยหรือขับสนุกสนานเท่านั้น แต่จะไปเล่นเหยียบกันตลอดเวลา ยังไงก็พังครับ
*************************************************************************
ในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งทวีปอเมริกาเหนือจึงไม่นิยมรถยนต์ที่มีเครื่องขนาดเล็ก ไม่ว่าเบนซินหรือดีเซล อย่างเช่นรถปิคอัพหรือรถคอนวอย ของอเมริกา ไม่ว่าเบนซินหรือดีเซล จะมีเครื่องยนต์ขนาด 6500 ซ๊ซีขึ้นไป หรือรถยนต์อย่าง TOYOTA TUNDRA ก็มีซีซี 5700 เพราะในตอนแรกออกมาด้วยเครื่อง 4700 cc เอามาทำตลาด แต่ลูกค้าคนอเมริกันไม่ซื้อแม้จะได้กำลังเท่ากันก็ตาม เพราะเขาไม่นิยมเครื่องเล็ก ๆ มันโหนกำลังกันมากเกินไปหน่อยในการขับที่ความเร็วเท่ากัน ต่างกับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เหยียบแช่ยาว ๆ ออกแบบมาจากโรงงาน ยังไงเครื่องยนต์ก็ไม่พัง ขับสนุกและสบายกว่าขับรถที่เครื่องยนต์เล็ก ๆ
คนไทยเคยเอา อีสุ ดีแมก ไปแข่งกับเค้าทีนึง ฝรั่งทึ่งรถแค่ 3000 cc ให้กำลังเท่ารถใหญ่ แต่โทษทีเห็นแบบนั้นฝรั่งไม่มีเค้าเอาด้วยกับเครื่องเล็ก ๆ เพราะมันทำได้แค่ตอนแข่ง หลังจากนั้นเครื่องพังหมด เพราะมันเกินกำลังเครื่อง คนอเมริกันไม่ชอบเครื่องยนต์เล็ก ๆ แบบนี้
เปรียบกับคุณขี่มอไซด์ BMW 1200 cc คันล่ะ 1.2 ล้านบาท ขับถึงที่หมายสบายผิดกันมาก
ถ้าคุณจะขับมอไซด์ Kawasaki Ninja 250 cc มันก็ไปได้เหมือนกัน แต่กว่าจะตามเขาทัน เหนื่อยชิป ต้องลุ้นต้องเกร็งต่างกัน เยอะ ถ้าโมให้แข่งกับเค้าได้ แต่เครื่องยนตืก็สุ้เค้าไม่ได้อยู่ดี ม้จะได้ความเร็วพอกันหรือมากกว่า เพราะเหลือมันดีกว่าขาด เพราะถ้าขาดต้องโมเพิ่ม ที่เพิ่มเข้าไปไม่พอดีเท่าที่การออกแบบมาจากโรงงาน