คำตอบที่ 52
ข้อมูลพื้นฐานบ้านพอบือละคี
1. ชื่อหมู่บ้าน บ้านพอบือละคี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก พิกัด MV.113289
2. จำนวนประชากรในหมู่บ้านทั้งหมด
2.2 จำนวนหลังคาเรือน 38 หลังคาเรือน
2.3 จำนวนประชากรชาย 90 คน หญิง 94 คน รวมทั้งสิ้น 184 คน
3. อาณาเขตของหมู่บ้านทางการปกครอง
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านทีคุคี หมู่ที่ 4 ต. แม่สอง อ. ท่าสองยาง จ. ตาก
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านคุคี คุทะ หมู่ที่15 ต. แม่สอง อ. ท่าสองยาง จ. ตาก
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านสะซุยปู่ หมู่ที่ 4 ต. แม่สอง อ. ท่าสองยาง จ. ตาก
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านเชียงแก้ว หมู่ที่ 1 ต. แม่สอง อ. ท่าสองยาง จ. ตาก
4. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านโดยสังเขป
หมู่บ้านพอบือละคี ไม่มีประวัติบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ได้สอบถามจากผู้สูงอายุ โดยผ่านล่ามภายในหมู่บ้านได้ความว่า
บ้านพอบือละคี ได้ตั้งเป็นหมู่บ้านมานาน ประมาณ 100 - 150 ปี แต่ก่อนนั้น อาศัยเร่ร่อนเพื่อทำไร่ข้าว ต่อมาเมื่อได้รับผลผลิต
ก็จะย้ายหมู่บ้านตามพื้นที่ทำไร่ จนกระทั้งได้อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งและก่อตั้งเป็นบ้านพอบือละคีจนถึงปัจจุบัน
5. ลักษณะทั่วไปของหมู่บัาน
เป็นที่ราบเชิงเขามีบริเวณกว้างประมาณ1ตารางกิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 560 เมตร มีภูเขาล้อมรอบมีลำ
ห้วยชื่อกอบ่อโกรไหลผ่านมีน้ำตลอดปีสำหรับอุปโภคบริโภคใช้ในการเกษตรเป็นแหล่งอาหารไม่สามารถใช้ในการคมนาคนได้
6. ลักษณะพื้นที่ตามกฎหมาย
เป็นเลขพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
7. เผ่าพันธุ์
ราษฎรเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีบางส่วนนับถือผี
8. ภาษาที่ใช้
ส่วนมากใช้ภาษากะเหรี่ยงในการติดต่อสื่อสาร ส่วนน้อยที่ใชัภาษาไทย สำหรับเด็กวัยเรียนเริ่มที่จะใช่ภาษาไทย
9. การประกอบอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ รายได้เฉลี่ยต่อปี
ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ประกอบอาชีพทำไร่และรับจ้างมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 3000 บาท/คน/ปี
ส่วนมาก จะมีที่สำหรับปลูกข้าวไว้กินเอง ปีต่อปี พืชผักก็ปลูกตามพื้นที่ว่างเล็กๆน้อยๆ
10. ระดับการศึกษาของประชากร
10.1 ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 130 คน
10.2 ได้รับการศึกษาระดับ ป.1-6 จำนวน 40 คน
10.3 ได้รับการศึกษาจบชั้น ป.6 จำนวน 2 คน
10.4 ได้รับการศึกษาแต่ยังไม่จบชั้น ม.3 จำนวน 4 คน
10.5 ได้รับการศึกษาจบชั้น ม.6 จำนวน 1 คน
10.6 ได้การศึกษาจบชั้นปริญญตรี จำนวน - คน
10.7 ได้รับการศึกษาระดับ ม.4 - 6 จำนวน 2 คน
11. การสาธารณสุข
บ้านพอบือละคี ไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขแต่อย่างไร สถานบริการ ที่ใกล้ที่สุด คือ สาธารสุขชุมชนบ้านทีคุคี
ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านพอบือละคี ประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเท้าประมาณ 35 นาที
12. ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ค่านิยม ความเชื่อ
เช่นกันกับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ทั่วๆไป
13. สาธารณูปโภคที่มีอยู่ในหมู่บ้าน
1.) น้ำประปาภูเขา จากลำห้วยตะกอโกร
2.) ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ( พระราชทาน อยู่ที่ ศกร. )
3.) ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวนหลังคาเรือนละ 1 แผง
14. การคมนาคม
ออกเดินทาง รยบ. จาก กองร้อย ตชด.344 ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 ( แม่สอด-แม่สะเรียง )
ไปทางแม่สะเรียงจนถึงจุดตรวจบ้านแม่สอง ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง ของ สภ.อ.ท่าสองยางระยะทางประมาณ 30 กม.ใช้เวลา
ประมาณ 20 นาที จะมีทางแยกเลี้ยวขวาไปบ้านแม่ระเมิง ไปตามทางเลี้ยวขวาจนสุดถนนราดยางระยะทางประมาณ 33 กม.
ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. และถนนลูกรังถึงบ้านพอบือละคี ประมาณ 79 กม. ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 3 ชม. 30 นาที
15. ปัญหาของประชากรในหมู่บ้าน
17.1 ปัญหาด้านสาธารณสุข ,ประชากรส่วนใหญ่ป่วยเป็น ไข้มาลาเรีย,ท้องร่วง,ไข้หวัด
17.2 ปัญหาด้านการคมนาคม
17.3 ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
16. ความต้องการของหมู่บ้าน
18.1 สถานีอนามัย
18.2 ถนนเข้าหมู่บ้านสามารถใช้การได้ตลอดปี
18.3 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแนะนำอาชีพและส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้
ข้อมูลศูนย์การเรียน ตชด. บ้านพอบือละคี
1.ประวัติความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงศึกษาแผนที่ทางการศึกษา ( SCHOOL MAP ) ทรงพบว่า
ในพื้นที่ อำเภอท่าสองยาง และ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ยังมีพื้นที่หลายแห่งที่ ยังไม่มีการจัดการให้กับประชาชน
ดังนั้น เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ในการประชุมที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน จังหวัดเชียงรายได้มีพระราชกระแส
ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจัดตั้งสถานนีศึกษาในพื้นที่ อำเภอท่าสองยางตำตรวจตระเวนชายแดนจัดตั้งสถานนี
ศึกษาในพื้นที่ อำเภอท่าสองยาง จำนวน 5 แห่ง และ ในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จำนวน 2 แห่ง รวม 7 แห่งศูนย์การเรียน
ตำรวจตระเวนชายแดน บ้านพอบือละคี ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นหนึ่งในสถานศึกษาที่ได้จัดตั้งขึ้น
ตามพระราชกระแสกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบให้องกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ตั้งคณะทำงาน
มี พันตำรวจเอก เทพ อมรโสภิต ผู้กำกับการกองกัมกองตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 เป็นประธานขณะกรรมการอำนวยการ
ได้สั่ง ชุดช่างจากกำลังพลของ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 344 เข้ามาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2545
โดยจัดสร้างเป็นอาคารเรียนชั้วคราวขนาด 4x24 เมตร 4 ห้องเรียนจำนวน 1 หลัง อาคารประกอบได้แก่ โรงอาหาร ห้องน้ำ
ที่พักครู การก่อสร้าง ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากประชาชน การก่อสร้างได้สร้างเสร็จเมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2545
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้โปรดเกล้าพระราชทานงบประมาณในก่อสร้าง ให้ทั้งหมดเป็นจำนวน
เงิน 47,409 บาท ( สี่หมื่นแจ็ดพันสี่ร้อยเก้าบาทถ้วน )
ศูนย์การเรียน ได้เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2545
2. ปรัญญาของโรงเรียน
สร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณค่าชีวิต สัมฤทธิ์ผลความมั่นคง
3. จำนวนนักเรียนและครู
6.1. จำนวนนักเรียน
เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ป.4 มีนักเรียนทั้งหมด 92 คน ชาย 43 คน หญิง 49 คน
6.2. จำนวนครู
1. จ.ส.ต.สันทนา เรือนเมา ทำหน้าที่ ครูใหญ่
2. ส.ต.อ.ศรชัย ยอดมิ่ง
3. จ.ส.ต.ชาญชัย สายอ้าย
4. น.ส.อรสา อาสารักษาไพร
4. เขตบริการของโรงเรียน
4.1. บ้านพอบือละคี หมู่ที่ 4 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง
ระยะทางจากหมู่บ้านถึง ศกร.ตชด. 0.5 กิโลเมตร
จำนวนครัวเรือน 38 ครัวเรือน ประชากร 184 คน ชาย 90 คน หญิง 94 คน เชื้อชาติ (เผ่า) กะเหรี่ยง
4.2. บ้านสะซุยปู่ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง
ระยะทางจากหมู่บ้านถึง ศกร.ตชด. 3.0 กิโลเมตร
จำนวนครัวเรือน 22 ครัวเรือน ประชากร 106 คน ชาย 52 คน หญิง 54 คน เชื้อชาติ (เผ่า) กะเหรี่ยง
4.2. บ้านญะกะเตอโค๊ะ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง
ระยะทางจากหมู่บ้านถึง ศกร.ตชด. 5.0 กิโลเมตร
จำนวนครัวเรือน 17 ครัวเรือน ประชากร 86 คน ชาย 49 คน หญิง 37 คน เชื้อชาติ (เผ่า) กะเหรี่ยง