คำตอบที่ 1
ใครที่ยังไม่เคยไปสอบแล้วกลัวว่าข้อสอบจะยาก อย่ากลัวสอบตกเลยครับ ผมเพิ่งไปอบรมเหมือนกันคิดว่าคงสอบได้ เพราะเขาให้คะแนนผู้ที่เข้าร่วมอบรม 20 คะแนนแล้วที่เหลือสอบอีก 40 ข้อๆละ2คะแนนรวมเป็น80 คะแนนบวกคะแนนเข้าสอบอีก 20 คะแนน เต็มร้อยเลยครับ สำหรับข้อสอบก็ประมาณนี้ครับ ........
แบบทดสอบ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
วิชาที่1 ความรู้ทั่วไป กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ
1. สัญญาณเรียกขานสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดสมุทรปราการ คือ
ตอบ HS1...,HS0...,E21...,E20...,E22....
2. คำว่า กทช. ย่อมาจากอะไร
ตอบ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
3. INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION UNION ( ITO ) คือ
ตอบ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
4. สัญญาณเรียกขาน ( CALL SIGN ) กำหนดขึ้นเพื่อ
ตอบ เป็นชื่อเรียกขานของสถานีวิทยุ และ เป็นชื่อเรียกขานประจำตัวพนักงานวิทยุ
5. ประเทศไทยใช้สัญญาณเรียกขานระหว่างประเทศดังนี้
ตอบ HSA-HSZ และ E2A-E2Z
6. ประเทศไทยแบ่งนามเรียกขานเป็นกี่เขต
ตอบ 9 เขต
7. คำว่า " คลื่นแฮรตเชี่ยน " ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พศ. 2498 หมายความว่า
ตอบ 10 กิโลไซเกิลต่อวินาที และ 3,000,000 เมกกาไซเกิลต่อวินาที
8. คำว่า " เครื่องวิทยุคมนาคม " ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พศ.2498 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม ตามพระราชวิทยุคมนาคม (แบบที่3 ) พศ.2535 หมายความว่า เครื่องส่งวิทยุคมนาคมเครื่องรับวิทยุคมนาคม หรือเครื่องรับและเครื่องส่งวิทยุคมนาคม แต่ไม่รวม
ตอบ เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องรับหรือเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมด้วยคลื่นแฮรตเชี่ยน ตามลักษณะหรือประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวง
9. คำว่า " พนักงานวิทยุคมนาคม " ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พศ. 2498 หมายความว่า
ตอบ ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
10. ใบอนุญาติพนักงานวิทยุคมนาคม มีอายุ
ตอบ 5 ปี นับตั้งแต่วันออก
วิชาที่2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
1.รหัส Q ในรูปของคำถามที่หมายถึง " สถานีของท่านชื่ออะไร " คือ
ตอบ QRA
2. รหัส Q ในรูปของคำถามที่หมายถึง " ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ไหน " คือ
ตอบ QTH
3. QSL CARD ( คิว เอส แอล คาร์ด ) คือ
ตอบ บัตรรายงานผลการติดต่อสื่อสาร
4. คำว่า CQ ( ซีคิว ) หมายถึง
ตอบ การเรียกแบบไม่เจาะจงสถานี
5.การเรียกขานทางวิทยุสมัครเล่น เมื่อเรียกไปครั้งหนึ่ง ควรจะ
ตอบ รอสักครู่เพื่อให้สถานีฝ่ายถูกเรียกมีเวลาเตรียมตัวและตอบกลับมา
6. เหตุฉุกเฉินหมายถึง
ตอบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
7. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินต้องการความช่วยเหลือทางวิทยุโทรศัพท์ คือ
ตอบ MAYDAY ( เมย์เดย์ )
8. รายละเอียดการติดต่อสื่อสารที่ต้องบันทึกไว้ในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสารได้แก่
ตอบ 1.วันเดือนปี และเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการติดต่อแต่ละครั้ง
2. สัญญาณเรียกขานของคู่สถานีที่ติดต่อด้วย
3. ขนาดความถี่ที่ใช้ และหรือ ข้อสรุปข้อความที่ติดต่อแต่ละครั้ง
วิชาที่3 ทฤษฎีต่างๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
1. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงสภาพความผิดปกติในวงจรไฟฟ้าที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหล
ตอบ ลัดวงจร (SHORT CIRCUIT )
2. ไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) คือ
ตอบ 1.ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลทางเดียว
2. ไฟฟ้าที่มีค่าแรงดันไฟฟ้าสม่ำเสมอ
3. แรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้ากระเเสสลับที่ใช้ตามบ้านในประเทศไทยมีค่าเท่ากับ
ตอบ 220 โวลท์
4. ความถี่ของไฟฟ้าของไฟฟ้ากระเเสสลับที่ใช้ตามบ้านในประเทศไทยมีค่าเท่ากับ
ตอบ 50 เฮิรตซ์ ( Hz. )
5. เมื่อตรวจพบว่าฟิวส์ในเครื่องใช้ไฟฟ้าขาดวงจร จะมีหลักในการเปลี่ยนฟิวส์อย่างไร
ตอบ ตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ฟิวส์ขาดเสียก่อน แล้วจึงเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ โดยใช้แรงดันและกระแสไฟฟ้าเท่าเดิม
6. ตัวนำไฟฟ้าคืออะไร
ตอบ สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี
7. ไมค์โครโฟนทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็น
ตอบ พลังงานไฟฟ้า
8. กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น
ตอบ แอมป์แปร์
วิชาที่4 หลักปฎิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
1. หลักปฎิบัติในการใช้งานเครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบมือถือ ได้แก่
ตอบ 1.ใช้สายอากาศที่เหมาะสมกับความถี่รับ-ส่งของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
2.ใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับระยะทางในการรับ-ส่ง
3.ส่งเครื่องให้ช่างตรวจเป็นครั้งคราว
2. การรบกวนคลื่นความถี่วิทยุ มีสาเหตุจากอะไรบ้าง
ตอบ 1.มนุษย์ทำขึ้น
2.ปรากฎการณ์ธรรมชาติ
3. ข้อใดเป็นสายอากาศแบบทิศทาง
ตอบ สายอากาศยากิ ( YAGI )
4. สายดินที่ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้ารั่วออกมาจะได้ลงดินโดยไม่เกิดอันตราย
5. เหตุใดสายอากาศจังต้องแมทชิ่ง ( Matching ) กับเครื่องรับ-ส่ง วิทยุ
ตอบ 1.เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องรับ-ส่งวิทยุ
2.เพื่อให้คลื่นวิทยุแพร่กระจายได้แรงที่สุด
3.เพื่อให้เครื่องรับ-ส่งวิทยุในขณะรับสัญญาณจะรับได้เต็มประสิทธิภาพ
6. การใช้วิทยุรับส่งโดยขาดการดูแลรักษา อาจทำให้เกิดการชำรุดในกรณีใดบ้าง
ตอบ 1.รับ-ส่งไม่ได้
2.ส่งได้ รับไม่ได้
3.ความไวภาครับและกำลังส่งลดน้อยลงกว่าเดิม
7. มัลลิมิเทอร์ ( MULTIMETER ) คือเครื่องมือใช้วัดอะไร
ตอบ ค่าแรงดันไฟฟ้า,กระแสไฟฟ้า,ความต้านทาน
8. ดัมมีโหลด ( DUMMY LOAD ) คืออะไร
ตอบ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อแทนสายอากาศในขณะปรับแต่งและทดสอบเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
วิชาที่ 5 คุณธรรมและจริยะธรรมของนักวิทยุสมัครเล่น
1. นักวิทยุสมัครเล่นที่ดีควรมีจริยะธรรมด้านใดบ้าง
ตอบ 1.ทางกาย
2.ทางวาจา
3.ทางใจ
2. ความซื่อสัตย์สุจริตในข้อใดที่นักวิทยุสมัครเล่นควรยึดปฎิบัติ
ตอบ 1.ความสุจริตต่อบ้านเมือง
2.ความสุจริตต่อประชาชนและสังคม
3.ความสุจริตต่อหน้าที่
3. ข้อใดกล่าวถึง หลักจริยะธรรมทางวาจา ที่นักวิทยุสมัครเล่นที่ดีควรปฎิบัติ
ตอบ ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบหรือไม่พูดปดมดเท็จในการออกอากาศ
4. ข้อใดคือหลักจริยธรรมของนักวิทยุสมัครเล่นที่ควรถือปฎิบัติ
ตอบ 1.พึงละเว้นการเล่นวิทยุที่ก่อให้เกิดความลำคาญใจแก่ผู้อื่น
2.พึงละเว้นการเล่นวิทยุจนมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของครอบครัว การงาน โรงเรียนหรือชุมชน
3. พร้อมเสมอที่จะใช้ความรู้ความสามารถ เพื่อรับใช้ประเทศชาติ และชุมชน ของตนเองทั้งในยามปกติเเละเกิดภัยพิบัติ
5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการปฎิบัตตนที่ไม่เหมาะสมของนักวิทยุสมัครเล่นในขณะส่งออกอากาศ
ตอบ 1.ออกอากาศด้วยความมึนเมา ขาดสติสัมปชัญญะ
2.ออกอากาศด้วยความคึกคะนอง พูจจาหยอกล้อ ไม่สุภาพ
3.ออกอากาศพูจาเยาะเย้ย ถากถาง กระแนะกระแหนนักวิทยุสมัครเล่นท่านอื่น
6. ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมและจริยะธรรมที่นักวิทยุสมัครเล่นพึงปฎิบัติ (ไม่มีข้อใดถูกต้อง )
ตอบ 1.การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฎิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2.การรู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฎิบัติ อยู่ในความสัจความดี
3.การอดทน อดกลั้น อดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
โชคดีทุกท่านครับ