คำตอบที่ 7
ผมขอตอบเท่าที่พอจะทราบข้อมูลอยู่นะครับ
mile marker เป็นวินซ์ที่เขาระบุอัตรากำลังของแรงปั๊มเพาเวอร์ไว้ครับ ผมจำไม่ได้ว่าอย่างต่ำต้องดูดนำมันได้กี่แกลลอน/นาที แต่เท่าที่ทราบมีแต่พวกรถอเมริกันเท่านั้นที่กำลังปั่นเพาเวอร์พอ ตามspecที่ระบุอัตราความเร็วไม่ได้เป็นรองวินซ์ไฟฟ้า แต่จะสูสีกับ8274ครับ และกินไฟน้อยมากจนแทบไม่มีผลกระทบกับระบบไฟของแบตเลย สามารถดึงต่อเนื่องได้ไปเรื่อยและไม่มีตัดด้วย จะมี2สปีด สปีดเร็วจะเร็วมากเอาไว้เก็บสาย ส่วนสปีดช้าเอาไว้ดึง ถ้าลองปกติไม่มีนำหนักอาจจะเห็นว่ามันช้ากว่าวินซ์ไฟฟ้ามาก แต่เมื่อมีนำหนักมันก็คงความเร็วไว้ขณะที่วินซ์ไฟฟ้าจะกำลังจะตกลงจนเท่าๆกันกับมัน
ข้อสำคัญกำลังของมันนั้นมาจากแรงปั่นของเพาเวอร์ ถ้าแรงดันพอตามspecก็ใช้ได้ดี แต่ถ้าเพาเวอร์ใกล้ๆพังแล้วแทบหวังพึ่งมันได้ยากครับ และจุดอ่อนก็คือต้องติดเครื่องยนต์ตลอด อีกข้อถ้าเราหักเลี้ยวกำลังมันจะตกลงเพราะแรงดันส่วนหนึ่งต้องไปใช้ในการเลี้ยวนั่นเอง
แต่ถ้าจะให้แจ๋วชนิดที่สุดๆก็ติดตั้งตัวปั่นเพาเวอร์แยกไปเลยครับ เอาไว้ใช้กับวินซ์อย่างเดียวเลือกที่แรงดันสูงๆจะดีมาก ต่อไฟแยกเข้าตัวปั่นที่ว่านี้โดยเฉพาะเลย คราวนี้กำลังมันจะเหลือเฟือและไม่ต้องติดเครื่องยนต์ก็วินซ์ได้ ที่สำคัญตัวปั่นที่แยกนี้กินไฟน้อยกว่าวินซ์ไฟฟ้าอีก ดังนั้นมันสามารถวินซ์ได้นานกว่าวินซ์ไฟฟ้าในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ น่าจะเกินครึ่งชั่วโมงและไม่มีตัด แต่วินซ์ไฟฟ้าน่าจะไม่เกิน15นาที แต่ถ้าเครื่องยนต์ติดอยู่ละก็กดremoteแช่ยาวได้ตลอดไม่ต้องกังวลเลย
การดูแลก็ไม่ยุ่งยากและไม่ค่อยมีจุดเสียหายเพราะเป็นระบบแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนร้านไฮดรอลิคตามข้างถนนทั่วไปก็พอซ่อมได้ ติดเกย์วัดแรงดันไว้สักตัวเพื่อคอยตรวจเช็ค และสังเกตุพวกข้อต่อต่างๆอย่าให้มีนำมันซึมเท่านั้นเอง
ผมว่ามันเป็นระบบที่ดีนะแต่ต้องทำระบบเพิ่มเพื่อช่วยมันหน่อย เหมาะกับใช้งานหนักดังจะเห็นได้จากพวกรถขุดดิน แทรกเตอร์ รถบรรทุกดั๊มเขาก็ใช้ระบบไฮดรอลิคกันทั้งนั้นมันเหมือนอยู่ตรงกลางๆระหว่างวินซ์เพลากับวินซ์ไฟฟ้า ไปทีคต.1น่าจะหาให้ได้ครับ