คำตอบที่ 1
-ช็อคอัพมีหน้าที่ต้านหรือซับแรง(กระดอน) ...ซึ่งแรงกระทำนี้มีหลายระดับ ตัวกำหนดคือ น้ำหนักรถ / ขนาดล้อ(น้ำหนักล้อ) / ความเร็ว/สภาพถนน(อาจมีเหตุผลมากกว่านี้)
-น้ำหนัก เช่นตัวเปล่า / บรรทุก หรือเติมหลังคาและอื่นๆ ...
-ความเร็ว ...คือสร้างแรงกระทบที่ล้อเจอก่อนจะส่งผลไปเป็นการเหวี่ยง หรือทำให้ล้อเต้นขึ้นลงตามกลไกช่วงล่าง ซึ่งมีหลายแบบแตกต่างกัน เช่นแบบปีกนกมีเหล็กกันโคลงและทอร์ชั่นบาร์ต้านแรงอยู่ในระบบด้วย หรือแบบแหนบซึ่งอย่างเดียว หมายถึงล้อจะกระดอนในรัศมีของกลไกเหมือนๆกัน เป็นผลที่คล้ายแต่ช็อคอัพที่เหมาะจะไม่เหมือนครับ
-รถกระบะสแตนดาร์ด ออกแบบมาโดยข้อกำหนดทั่วไป เช่นเพื่อน้ำหนัก 1500-2500 กก. ค่ากลางของผู้ใช้คือ 2000 กก./ ความเร็วเหมาะสมกับช็อคอัพที่เลือกอยู่ที่ 0-120 ..ค่ากลางใช้งานคือ 60-100 กม./ชม. หมายถึงผลดีที่สุดของช็อคอัพอยู่ที่ย่านน้ำหนัก/ความเร็วที่เลือก ซึ่งเหมาะกับแบบรถที่วางขาย
-การใช้งานจริงแต่ละคนใช้อาจแตกต่าง การเลือกช็อคอัพ ถ้าตรงย่านใช้งานของผู้ใช้ ก็คือได้ผลดีๆก็คือถูกใจ...แต่อาจไม่ถูกกฏข้อบังคับทางหลวง
-รถที่ใส่ช็อคอัพค่า(หนึด)สูงกว่าเดิมมาก จะได้ผลดีในย่านความเร็วสูง และได้ผลเสียคือกระด้างกว่าเดิมในความเร็วต่ำ...
-สิ่งที่หลายคนลืมไปคือ การขับเร็วกว่าเดิมเพื่อหนีค่ากระด้างในย่านความเร็วต่ำ / เรียกความรู้สึกว่ารถเกาะถนนดีขึ้นมาดูบ่อยขึ้น หรือหมายถึงปรับตัวตามช็อตอัพที่เลือกมาใหม่โดยไม่รู้ตัว....เป็นข้อควรระวังของผู้ใช้งานรถแบบทั่วไป...
-หากทำความเข้าใจในเครื่องมือ ซึ่งมีเหตุผล หรือสมการกำหนดค่าการทำงาน หรือค่าเท่ากันทุกชิ้น(นัมเบอร์) จะทำให้เลือกได้ด้วยตัวเองว่าจะใช้แบบหนืดกว่าเดิมเท่าไรหรือเท่าเดิม
-คำถามคงเปลี่ยนไปเป็น แบรนด์ไหนทนคุ้มค่าเงินกว่ากัน เพราะแต่ละค่าย ไม่ได้ผลิตย่านใช้งานเดียว แต่มีอยู่บ้างที่เลือกผลิตเบอร์เฉพาะส่งเข้าตลาดมาขายเพื่อกลุ่มรถที่คาดคะเนไว้ เช่นแรนโช่ จับตลาดกลุ่มรถออฟโรดเส้นทางโหด น้ำหนัก 2 ตัน ความเร็ว 20-100กม./ชม เป็นต้นครับ ...
-หากเริ่มเข้าใจ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกอย่างไร ก็ควรแจ้งข้อมูลเพื่อผู้เข้าใจจะแนะนำได้...หากถามเรื่องยี่ห้อหรือแบรนด์ไหนดี คำตอบจะเปลี่ยนทางไป...
-จุดสังเกตผลอย่างหนึ่งคือผู้ขายอะไหล่ กับผู้เคยใช้งาน มักมีคำตอบต่างกัน และเรื่องแบบนี้ หลายปีตัดสินใจครั้ง พอผ่านไปหลายครั้งในเวลารวมทั่วไป ผลคือไม่มีอะไรที่คืบหน้าขึ้นเลย... ผมเห็นคำถามเรื่องช็อคอัพอะไรดี มากว่า 30 ปีแล้ว ..เป็นคำถามอมตะสำหรับคนไทย เพราะยี่ห้อที่(ไม่ดี)ติดรถมา ก็ยังยืนยงข้ามกาลเวลามาถึงปัจจุบันไม่เจ๊งหายไป...
-การชี้นำที่ผิดแต่อยู่ใกล้ตัวผู้ถาม พาความเข้าใจลงเหวไป หากแก้ไขที่ผู้ชี้นำไม่ได้...ผลก็คงจะเป็นเช่นนี้ต่อไป จนกว่าความเข้าใจในสมการของกลไกจะไปถึงผู้ต้องการคำแนะนำจริง..
-การชี้ที่ยี่ห้อช็อคอัพ..ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดที่นิยมในไทย มีปัญหาคือเป็นรสนิยมในการเลือกอย่างเดี่ยวๆไม่มีความเข้าใจ จะเป็นระเบิดเวลาของสังคมอย่างหนึ่งได้ครับ
-อีกข้อคือ ..ไม่ควรเรียกร้องผลสูงจากรถกระบะ การอ่านหรือฟังเรื่องฝันหวานของบางท่าน.. ก่อนหน้าสร้างความหวังกับรถตัวท่านเอง อาจเป็นเรื่องบิดเบี้ยวที่ไม่ตั้งใจ ควรระวังด้วยครับ...
แก้ไขเมื่อ : 17/5/2559 8:46:12