พุธ,1 มกราคม 2568

[back home]
จำนวนคนอ่าน 27830  คน


โดย คุณดุสิต

Airfoils สำหรับเครื่องบินเล็ก

         ประมาณ4ปีมาแล้ว คุณลุงชัยยู ชาวฝรั่งเศส อดีตนักบินของสายการบินAir France ผู้ซึ่งพยายามชักชวนให้ผม เห็นดีเห็นชอบไปกับFlying Wing ได้แปลหนังสือ Model Gliders Aerodynamics from RCM(French Radio Control Magazine) จากภาษาฝรั่งเศสมาเป็นภาษาอังกฤษมาให้ผม ในบทสุดท้ายของหนังสือ มีการบรรยายเกี่ยวกับ Airfoils ชนิดต่างที่ใช้สำหรับเครื่องบินเล็ก แต่เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องร่อน ดังนั้นAirfoilsจะเป็นของเครื่องร่อนเสียส่วนใหญ่ และเนื่องจากหนังสือเล่มนี้เก่ามากแล้ว Airfoils รุ่นใหม่ๆบางตัว อาจจะยังไม่มีหรือชื่อของAirfoilsอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

Valuable Profiles

HQ Airfoils.
  
HQ airfoils จัดเป็นairfoil รุ่นใหม่ที่ได้มีการออกแบบมาสำหรับเครื่องบินเล็ก ออกแบบโดย Professor Helmut Qabeck หนึ่งในทีม F3B ของเยอรมัน ถ้าจะให้พูดอย่างเจาะจง Airfoil ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเครื่องร่อน สำหรับแข่งขันโดยเฉพาะ Ralph Decker ได้ใช้HQ 2,5/9 ชนะWorld Championในปี1983 และเครื่องร่อนที่ใช้Airfoil HQ 2/9 ก็ยังเคยครองสถิติความเร็วของ F3Bด้วย (R.Liese, Europe Championship, Israel. 1986, 124.78km/h) การใช้งาน Airfoils HQ จึงอยู่ในแวดวงของเครื่องร่อนที่ใช้สำหรับแข่งขันF3B หรือเครื่องร่อนที่ใช้สำหรับaerobatics(HQ 1/9,1/10,1.5/9,1.5/10) หรือในบางที่ก็มีการ
apply ไปใช้สำหรับเครื่องร่อนขนาดใหญ่ๆ (3.4m.)โดยจะลดความยาว Chord ลงเพื่อให้ปีกมีขนาดเหมือนของFull Scale(HQ 3/12 to 3/15,3.5/10 to 3.5/12) CGของairfoil HQ สามารถเลื่อนมาด้านหลังได้มาก โดยที่ยังมี stabilityที่ดี Flapsสามารถมีขนาดได้20%ของChord เพื่อให้Airfoil HQ ได้ประสิทธิภาพสูงตามที่ถูกออกแบบมา การสร้างปีกต้องกระทำอย่างพิถีพิถัน มักสร้างปีกโดยใช้ Mould ชื่อAirfoil HQ ตัวเลขชุดแรกบอกค่า Camber ตัวเลขชุดต่อมาบอกค่าความหนา

NASA GA (W) Airfoils.
  
Airfoil NASA GA(W) ออกแบบโดย Professor Withcom ที่Langley Wind Tunnel. ถูกออกแบบสำหรับเครื่องบินFull Scaleขนาดเล็ก มีคุณลักษณะสามารถทำงานที่Re.ต่ำๆได้ดี ซึ่งก็มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับAirfoilที่เราใช้สำหรับเครื่องบินเล็ก GA(W)2 ดูเหมือนจะเป็นตัวที่ดีที่สุด ความหนาที่ลดลงไม่ทำให้ประสิทธิภาพของAirfoilลดลงแต่อย่างใด ยังคงให้แรงยกที่สูง ในขณะเดียวกันDragก็สูงมากด้วย Airfoils นี้ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับเครื่องร่อน แต่สามารถนำไปใช้ได้กับ Aerobatic Model Airplane.

RG Airfoils.
  
RG Airfoils เป็นAirfoilsที่มีเป้าหมายเดียวกับHQ Airfoilsแต่ทันสมัยกว่า ออกแบบโดย R.Gisberger ออกแบบมาสำหรับใช้กับเครื่องร่อนF3Bโดยเฉพาะ และยังมีคุณลักษณะเหมาะสม ที่จะนำไปใช้สำหรับ เครื่องร่อนขนาดใหญ่(Bigger Models)สำหรับการบินแบบDulation(Long lasting)และความเร็ว(Speed Contests)  ด้วยประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมทำให้มันเป็น Airfoils
ที่ประสพผลสำเร็จอย่างมากมาย ในการแข็งขันเครื่องร่อนแบบF3B ที่มีชื่อเสียงมากก็คงเป็นเจ้าRG15 [ซึ่งผมก็โดนมากับตัวเอง มีอยู่ช่วงหนึ่งผมกับคุณชัยยูจะออกแบบFlying Wingแข่งกันว่าของใครจะมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน ในช่วงแรกๆคุณชัยยูมักจะใช้ Airfoils HQ ในช่วงนั้นผมชนะขาดทั้งDulationและ Speed ปีกบินของผมใช้ EH1.5/9 จนคุณชัยยูเปลี่ยนมาใช้RG15 แกชนะตลอดทั้งสองแบบ ถ้าเริ่มต้นที่ความสูงเท่ากัน เครื่องของคุณชัยยู บินได้ไกลกว่าและเร็วกว่า ถ้าวัดเวลาที่อยู่ในอากาศ ของแกอยู่ได้นานกว่าไม่น้อยกว่า5นาที
เมื่อเปรียบเทียบกับHQ เมื่อความหนาของAirfoilsมีขนาดเท่ากัน RG Airfoilsจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าHQ Airfoilsเล็กน้อย แต่มีค่าแรงต้าน(Coefficient of Drag Cd)ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่าง HQ 2.5/9กับRG15 RG15มีขนาดเล็กกว่าHQ 2.5/9เพียง1/1000แต่มีแรงยกมากกว่า ชื่อของ RG Airfoils ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับ ขนาดของมัน ตัวเลขเป็นเพียงชื่อรุ่น

Aerospatiale Airfoils.
  
Aerospatiale Airfoils มีลักษณะเหมือน NASA GA(W) คือออกแบบมากสำหรับเครื่องบินFull Scaleขนาดเล็ก Airfoils นี้มีค่า CLmaxสูงมาก ในAirfoilsทั่วๆไปค่าCLmaxที่ปลอดภัยอยู่ที่1.2 แต่สำหรับAirfoilsแบบนี้ Clmaxมีค่าถึง1.8 ซึ่งเหมาะที่จะใช้สำหรับFull Scaleมากกว่า (ดูเหมือนว่าเขาออกแบบ Airfoil นี้มาสำหรับเครื่องบินที่จะบินลงในสนามหลังบ้านได้) RA 163C3 เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับAerobatic Model ส่วนC3W3 เหมาะสำหรับเครื่องบินเล็กที่ต้องการแรงยกสูงมาก เช่นเครื่องบินลากเครื่องร่อน[Towing Model Airplane] RA16มีประสิทธิภาพสูงมากเมื่อนำไปใช้กับเครื่องบินขนาดเล็ก[Full Scale small tourism airplane] 

Ritz Airfoils.
   ถ้าจะพูดถึง Sure ValueหรือLong time tested. ต้องยกให้ Ritz Airfoils ถึงแม้จะเป็นAirfoilsที่มีอายุมากแล้ว แต่ก็ยังนิยมใช้กันอยู่โดยเฉพาะพวกเครื่องร่อนขนาดใหญ่[Big Scale Models][4m. Span] และยังสามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องบินเล็ก[Aerobatics]หรือเครื่องร่อน

     ชื่อของRitz Airfoilsจะบอกคุณลักษณะสามอย่าง ชุดแรกค่าCamber ชุดที่สองThickness max.point ชุดที่สาม Relative Thickness ยกตัวอย่าง Ritz 2.30.12 Camber 2% Thickness max.point 30% Relative Thickness 12% Ritz Airfoils ชุดที่1เหมาะสำหรับเครื่องร่อนจำพวกAerobatic ชุดที่3 เหมาะสำหรับSlope-Soaring [Graupner 'Discus',Multiplex 'ASW 22 จะใช้ Ritz 3.30.15-3.30-12] ส่วนชุดที่2 ใช้สำหรับเครื่องร่อนที่อยู่ระหว่าง Aerobaticกับ Slope-Soaring
CoordinatesของAirfoilsชุดนี้ถูกนำมาคำนวนใหม่ด้วยComputer ที่ ENSMA [Reseach and learning French school at POITIERS] [คิดว่าGraupnerและ Multiplexคงเป็นคนออกเงินให้]
CGโดยประมาณของRitz Airfoils อยู่ที่ประมาณ30%สามารถเลื่อนไปได้ถึง37%[Ritz 1.30.10] แต่ต้องการนักบินที่เก่งๆหน่อยมาบิน

Gottingen Airfoils
   ถ้าจะพูดถึงAirfoils ที่เก่าแก่ที่สุดต้องยกให้Gottingen Airfoils ออกแบบมาสำหรับFull Scale Gliders[สมัยที่คนออกแบบยังใช้ Sliding ruleในการคำนวน] เครื่องร่อนโบราณๆ[Full Scale]มักจะใช้Airfoils นี้ ดังนั้นอย่างไปหวังว่าจะได้ประสิทธิภาพอะไรจากAirfoils นี้ แต่ยังไงก็ตามยังนิยมนำมาใช้กับScale Modelsที่เป็นรุ่นโบราณๆเพื่อให้มีลักษณะและคุณสมบัติเหมือนFull Scale[ GO 533,535 ใช้ในเครื่องร่อนKA8[รู้จักไหมเอย ดังมากนะครับตัวนี้] และเครื่องร่อนASK13]
CGของAirfoilsแบบนี้ควรให้อยู่ไปข้างหน้าจากปกติซักหน่อย เพื่อให้คุณลักษณะในการบินเหมือนตัวจริง[Full Scale]

M.Selig Airfoils
   คนนี้ละครับเป็นโต้โผใหญ่แห่งUIUC Selig Airfoilsเป็นการนำHQ Airfoilsมาคำนวนใหม่[Re-calculated from the distribution laws(of thickness)] ดังนั้นAirfoilsทั้งสองแบบจึงมีขนาดและประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน 
Selig Airfoilsที่นิยมใช้กัน[เฉพาะในUSA เครื่องร่อนขนาด2m.ที่ออกแบบและผลิตในอเมริกา มักจะใช้AirfoilsของSelig ปีกของ Top flight P-47 ก็ใช้ AirfoilsของSelig ][ ต้องขอโทษที่ผมค้นหาชื่อของAirfoilsนี้ที่ใช้กับเครื่องร่อนไม่เจอ อยู่ที่ไหนซักแห่งในกองหนังสือ RCM] ประสิทธิภาพของSelig Airfoils ดีพอๆกับ HQ/RG Airfoils

M.H.Airfoils
  
Martin Heperle ชาวเยอรมันเจ้าของWeb.beadec[http://beadec1.ea.bs.dlr.de/]อันโด่งดัง Matin Heperle แกสนใจเกี่ยวกับAirfoilsสำหรับเครื่องบินPylon นั้นหมายถึงมีแรงเสียดทานต่ำ[Minimum drag] ต้องมีแรงยกสูงที่มุมปะทะปีกมากๆโดยไม่ก่อให้เกิดDragมากเกินไป[ตามปกติเครื่องบินเล็กถ้าทำการเลี้ยววงแคบๆความเร็วจะลดลงมาก เครื่องบินPylonถูกออกแบบมาให้ความเร็วขณะที่เครื่องบินทำการเลี้ยวลดลงน้อยที่สุด] และMartin Heperle ยังได้ออกแบบAirfoilsอีกหลายตัวสำหรับปีกบินF3A[Model Flying Wings] ชื่อของM.H. Airfoils เป็นแค่ตัวเลขSerial numbers ของAirfoils. 

[ปล.มีบทความหนึ่งของMartin Heperleที่แกวิจารณ์การวิจัยLow Speed AirfoilsของM.Selig แกสับซะเละ ทำงานหนักน่าชื่นชมแต่ผลที่ได้ไม่ถูกต้อง อะไรทำนองนี้แหละ / ดุสิต]

Clark Airfoils.
   มีใครไม่รู้จัก Airfoil Clark Yบ้าง Clark Y เป็น Airfoilsที่โด่งดังมาก มีลักษณะเด่นคือมีชายล่าง[Lower Surface] ที่ตรง มีการนำClarky Yไปใช้ใน เครื่องบินฝึกหัด[Beginner Trainer model] เครื่องร่อนฯลฯ เอาเป็นว่าไม่รู้จะใช้อะไร คิดถึงClark Y 

     Clark Y เป็นAirfoilsที่มีค่าCamberที่สูง มีชายล่างที่ตรง [Flat] ทำให้การสร้างปีกทำได้ง่าย Clark Yรุ่นหลังๆได้ถูกคำนวนค่าCoordinates ของ Profilesใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ผสมด้วยมีการวิเคราะห์ ปรับปรุง Aerodynamicsให้ดีขึ้น ทำให้ Clark Yเป็นAirfoils ที่มีประสิทธิภาพที่ดี อัตราส่วนของแรงยก/แรงต้าน[Lift/drag ratio] สูง จึงเหมาะที่จะนำไปใช้กับเครื่องบินTrainer สำหรับเครื่องบินที่มีขนาดเล็กมากๆ[มีChordสั้นมากๆ] Clark Y ก็ยังเป็นAirfoilsที่มีประสิทธิภาพที่ดีอยู่[นั้นหมายความว่ามันสามารถทำงานได้ที่Reแถวๆ60,000]

   Clark X มีค่าCamberที่น้อยลง[จาก 3.6% เป็น3%] ทำให้มันมีรูปร่างที่บางลง เหมาะที่จะนำไปใช้งานแบบเดียวกับ    Clark Y คือนำไปใช้กับเครื่องบิน Trainer
   Clark CHY มีค่าCLสูงกว่า Clark X และ Clark Y ยังคงเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเครื่องบิน Trainer แต่สามารถนำไปใช้กับเครื่องร่อนได้ด้วย
CG.อยู่ประมาณ 27-30% และมี Airfoils Reference line วัดจากชายหลัง 3 องศา[ ชายล่างของ Airfoilsไม่ใช่ Airfoil Reference line]

Wortmann Airfoils.
  
Wortmann Airfoils เป็นAirfoilsที่มีชื่อเสียงมากสำหรับเครื่องร่อนFull Scale ด้วยที่มันเป็นAirfoilแบบ Laminar Flow หลังจากปี 1970ได้มีการทดลองนำมาใช้กับเครื่องร่อนScale Models[ขนาดกางปีก 4 m.] ซึ่งคาดว่าจะมีประสิทธิภาพที่ลดลง เพราะค่าRe. Numberของเครื่องModelsต่ำกว่าเครื่องFull Scaleมาก แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เครื่องร่อนModels มีประสิทธิภาพที่ดีมาก

      ชื่อของ Airfoils เริ่มต้นด้วยตัวอักษรFX แบบที่ไม่มีFlap ตัวเลขชุดแรกมาเป็นปีที่ออกสู่สาธารณะ ชุดต่อมาเป็นความหนา[FX61.147 Created 1961 relative thickness 14.7%] ส่วนแบบที่มีFlap ตัวเลขชุดแรกเป็นปีที่ออกสู่สาธารณ ตัวอักษรตัวต่อมาจะเป็นKที่แสดงว่าเป็นAirfoilsที่มีFlap ตัวเลขชุดต่อมาเป็นความหนา ตัวต่อไปเป็นค่าความกว้างของFlap[FX62K131/17 Created 1962 Flap profiles relative thickness13.1% Flap chord 17%]

     ตัวที่ดีที่สุดคือ FX60-126 ซึ่งใช้ในเครื่องร่อนแบบFull Scale สามารถนำมาใช้กับเครื่องร่อน[Scale Model]แต่ต้องระมัดระวังเรื่องตำแหน่ง CG เพราะอันตรายมาก เมื่อนำมาใช้กับเครื่องร่อน[Scale Model] ประสิทธิภาพของการบินเกาะThermal อยู่ในเกณฑ์ดีมาก การทำTransition Speeds [กดหัวเครื่องร่อนลงเพื่อเพิ่มความเร็ว] ทำความเร็วได้มาก และที่สำคัญการควบคุมการบินยอดเยี่ยมมาก
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ต้องสร้างปีกให้มีขนาดอย่างถูกต้องโดยเฉพาะบริเวณชายหน้าต้องมีขนาดถูกต้องที่สุด CG.มีค่าอยู่ประมาณ30-40%ขึ้นอยู่กับความชำนาญของนักบิน

  •    FX 61-126/1 เป็นรุ่นที่มีการRe-Calculatedใหม่ ทำให้มีค่าRe.มีค่าต่ำลง

  •    FX 61-140 มักรู้จักกันในนาม Aerobatics Airfoils ปกติมักใช้สำหรับเครื่องร่อนขนาดกางปีก 4 m. ซึ่งต้องการค่าCLสูงๆ แต่Airfoilsนี้ก็มีปัญหานิดหน่อยคือมันสร้างยากโดยเฉพาะบริเวณชายหลัง

  •    FX62K131/17 เหมาะสำหรับเครื่องร่อนที่ต้องการมีFlap เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบินเกาะ Thermal แต่Flapต้องไม่กางลงมากกว่า4-5 องศา และเมื่อต้องการความเร็วเพิ่มก็เพียงให้Flap กระดกขึ้นประมาณ 5 องศา ขนาดความยาวของChordต่ำสุด250มม.

  •    FX66S161 ใช้กับเครื่องร่อนScaleModel แบบแรกที่ทำด้วย Plastic

  •    FX LV 152K 25 และ FX 71L 150/30 ออกแบบมาสำหรับแพนหางระดับและแพนหางดิ่งของเครื่องร่อนแบบFull Scale หรือบางทีก็เอามาใช้กับปีกสำหรับเครื่องร่อนAerobatics[Full Scale][MU28] สำหรับเครื่องบินเล็ก สามารถเอามาใช้กับเครื่องบินPattern หรือเครื่องบินเล็กที่มีขนาดใหญ่ๆ 

Eppler Airfoils
  
Professor Richard Eppler ได้ออกแบบAirfoils สำหรับเครื่องบินเล็กแทบทุกชนิด และ Airfoils ส่วนใหญ่จะมีค่าRe.ค่อนข้างต่ำ Eppler Airfoilsเป็นAirfoilsที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง 
Eppler 168-169,474-475[Symmetrical Profile] ออกแบบมาสำหรับเครื่องบินเล็กAerobatics 168-169 มีประสิทธิภาพดีกว่า 474-475 นิดหน่อย ความยาวChord ต่ำสุด240มม. CL=0.3[Max finesse] ความเร็วStall ต่ำมากและอาการStallจะเป็นไปอย่างนิ่มนวล

  •     Eppler 174-182 เป็นชุดของAirfoilsสำหรับปีกบิน 174[หรือ 387]และ178 ออกแบบมาสำหรับ Fast Speed Slope Soaring Gliders 178มีชายล่างที่ตรง[flat]ทำให้ทำสร้างปีกได้ง่าย 182 ใช้กับเครื่องร่อนที่มีความเร็วสูงๆ[Fast gliders only] ค่าA.R ต้องสูงกว่า12 ประสิทธิภาพอยู่ที่การออกแบบขนาดของปีก Clmax มีค่าค่อนข้างสูง

  •    Eppler 184 เป็นAirfoilsแบบ Autostable[Reflex] สำหรับ Flying Wing without Sweep[Plank] แต่น่าจะเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเครื่องบินปีกสามเหลี่ยม[Delta Wings]มากกว่า แต่ต้องออกแบบให้มีWing Chordที่กว้างและWing Loadที่ต่ำ[2.5kg/sq.m]

  •    Eppler 186 สำหรับปีกบิน[Flying Wing] มีค่าCm0เป็น+ ซึ่งเป็นสิ่งที่Flying Wingต้องการ เวลาสร้างต้องสร้างให้เบาที่สุด ความยาวChordต้องไม่ต่ำกว่า200 มม. AR.ไม่เกิน10 CGอยู่ที่ประมาณ 14-19 %

  •    Eppler 193 ตัวนี้เป็นairfoilที่มีคนรู้จักมากที่สุด เพราะมันสามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องบินเล็กทุกชนิด ขนาดเอาไปทำเป็นแพนหางดิ่งหรือแพนหางระดับของเครื่องบินเล็กก็ยังได้ เครื่องร่อนF3Bก็ยังสามารถเอาไปใช้ได้ เพราะEppler 193 มีค่า Clmax ที่สูง ค่าCd ที่ต่ำ ระยะCGกว้างแต่ต้องไม่เกิน35% และที่สำคัญเป็นAirfoilที่สร้างง่าย ตัวนี้ละครับเป็นAirfoilยุคใหม่ที่มีคุณค่ามากที่สุดที่จะมาแทนที่Clark Y

  •    Eppler 193gUk 24 ตัวนี้ก็คล้ายๆกับ193 มีชายล่างที่ตรงเหมือนกันแต่ออกแบบมาให้ใช้Flapได้ ขนาดของflapประมาณ24% ของchord และสามารถกางได้ถึง15องศา 

  •    Eppler 195-197,201-203 เหมาะสมมากสำหรับเครื่องร่อนที่มีกางปีกประมาณ 3-4 เมตร โดยมีค่าAR.ประมาณ 15-20 ขนาดChordเล็กสุดไม่ต่ำกว่า 180 มม. เนื่องจากมีความหนามากทำให้โครงสร้างของปีกแข็งแรงมาก CG.อยู่ที่ประมาณ30%เหมือนกับAirfoilsอื่นๆ ในการสร้างปีกอนุญาตให้มีความผิดพลาดในการสร้างได้ไม่เกิน 5%

  •    Eppler 203 ใช้ได้กับเครื่องร่อนขนาดใหญ่ โดยจะใช้ร่วมกับEppler 193 [Root 203 ,Tip 193] จากการผสม Airfoilsแบบนี้ทำให้ได้เครื่องร่อนที่มีประสิทธิภาพทั้งAerobaticและการบินแบบปกติ[Soaring big gliders] MFE 205.925 K 22.5 ตัวนี้พัฒนามาจาก Eppler 222 มีคุณสมบัติเป็นLaminar Airfoil ค่าCl สูง ค่าCd ต่ำ Airfoil นี้เหมาะสำหรับSlope Soaring และเครื่องร่อนที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า[Electric Gliders] Cl มีค่าอยู่ประมาณ 0.15-0.6 ทำให้สามารถบินได้หลายลักษณะ

  •    Eppler 209 เมื่อใช้ร่วมกับ205หรือ207 และมีWash-outที่Wing Tip ก็เป็นการผสม Airfoil ที่นิยมใช้กันมากสำหรับเครื่องร่อน

  •    Eppler 211 ออกแบบมาให้สามารถทำงานได้ที่ค่า Re.ต่ำกว่า100,000 สำหรับเครื่องร่อนF3B แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีประสิทธิภาพสู้ HQ/RG Airfoils ไม่ได้ อย่างไรก็ตามสามารถนำมาใช้ร่วมกับ 205[Root 205,Tip 211]

  •    Eppler 212 เป็นการนำ 211 มาปรับปรุงใหม่ ทำให้ได้Airfoils ที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องร่อน ที่ต้องการความเร็วค่อนข้างสูง แต่ต้องการออกแบบเครื่องร่อนให้มีแพนหางระดับใหญ่กว่าปกติ เพราะEppler212มีCm0ค่อนข้างสูง

  •    Eppler 214 ใช้กับเครื่องร่อนF3B โดยใช้ร่วมกับพวงหางแบบตัวV ค่าCGอยู่ประมาณ 35-39% สามารถใช้Flap โดยมีขนาดได้ถึง25%ของChord มีมุมกางFlapประมาณ 5-6 องศา และสามารถทำSpeed Transitionได้ดี

  •    Eppler 220และ 221 ออกแบบมาสำหรับเครื่องบินPylon โดยAirfoilsเหล่านี้จะทำงานด้วยค่าRe.ที่สูงมาก[ประมาณ 420,000] แต่เมื่อความเร็วลดลงประสิทธิภาพของAirfoilจะลดลงอย่างรวดเร็ว ค่าCd ต่ำมากๆ แรงยกของปีกจะน้อยมากเมื่อบินระดับแต่จะมีแรงยกมากเมื่อเครื่องบินทำการเลี้ยว แต่ค่าCdยังคงมีค่าต่ำมากอยู่ เนื่องจากEppler 221 มีความหนาน้อยมาก ทำให้ในการสร้างปีกMain Spar ต้องแข็งแรงมาก เมื่อนำมาใช้งานจริงๆ

  •    Eppler220ประสพความสำเร็จมากกว่า ด้วยความสามารถในการเลี้ยวที่ดีกว่า

  •    Eppler 222 -230 ก็เป็นAirfoilsอีกชุดหนึ่งสำหรับปีกบิน ทันสมัยกว่าชุด 174-186 Eppler 230 ใช้กับปีกบินที่ไม่มีมุมSwept back CGอยุ่ที่ประมาณ 14-15%

  •    Eppler 374 ตัวนี้ดังมาก ใช้กับเครื่องร่อนพวกAerobatic มีความสามารถที่จะบินInvertได้ดี CG ค่อนข้างอยู่ไปข้างหน้าซักเล็กน้อย ทำให้คุณลักษณะในการบินร่อนไม่ค่อยดี

  •    Eppler 385 เหมาะสำหรับเครื่องร่อนจำพวกบินช้าๆ[Slow gliders] และมีWing Load ต่ำมากๆ[2.5kb/sq.m] ถ้าเปรียบเทียบกับAirfoilsชนิดอื่นๆของEppler เครื่องร่อนที่ใช้Airfoilนี้สามารถทำการบินได้ดีในบรรยากาศที่นิ่ง[Calm Weather] ในขณะที่เครื่องร่อนแบบอื่นทำการบินไม่ได้ ค่าความกว้างของChordต่ำกว่า220มม.ไม่ได้ AR.มีค่าอยู่ประมาณ 15 ดังนั้นเครื่องร่อนควรจะมีกางปีกไม่ต่ำกว่า3.0ม.

  •    Eppler 387 ออกแบบให้มีคุณสมบัติแบบเดียวกับ 385 แต่ได้เพิ่มเติมคุณสมบัติให้บินได้เร็วขึ้นสำหรับเครื่องร่อนจำพวก Slope Soaring ความกว้างของ Chord ต่ำกว่า 180 มม.ไม่ได้ AR.ต้องมากกว่า 12

  •    Eppler 385 และ 387 Mod 4.0,10.0 เป็นการปรับปรุงเพื่อให้มีความเร็วมากขึ้นอีก ให้เหมาะสำหรับเครื่องร่อน จำพวกSlope Soaring

  •    Eppler 392 มีประสิทธิภาพสูงมากในการบินแบบThermal เครื่องร่อนต้องมีกางปีกไม่ต่ำกว่า 3 ม. ความเร็วของเครื่องร่อนค่อนข้างช้า แต่เมื่ออยู่ใต้ Pumping clouds มันจะมีประสิทธิภาพมาก

    Naca Airfoils.
        ไม่ต้องบอกก็ต้องรู้ว่าเป็นของอเมริกา[National Advisory Comitee for Aeronautics,The ancester of the NASA ]

   NACA ไม่ใช่ Airfoil แรกที่ถูกออกแบบมาในอเมริกา แต่เป็น Airfoils แรกที่ออกแบบโดย ใช้การคำนวนทางวิทยาศาสตร์ เริ่มกำเนิดในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่1และครั้งที่2 ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของNACA Airfoils จะไม่ได้ออกแบบมาสำหรับค่าRe.ที่ต่ำๆ แต่ก็มีบางตัวที่สามารถนำมาใช้ได้กับเครื่องบินเล็กแบบScale Models.

  •    NACA แบบมีตัวเลข4ตัว ตัวแรกเป็นค่าCamberสูงสุด ตัวที่สองเป็นตำแหน่งของCamber ตัวที่3-4 เป็นค่าความหนาของAirfoils[ NACA 2415 จะมีค่า Max.Camber 2% ที่ตำแหน่ง40%ของ chord มีRelative Thickness 15%

  •    NACA แบบมีตัวเลข5ตัว[Geometrical and Aerodynamics numbering] อธิบายลำบากยกตัวอย่างเลยดีกว่า [NACA 23012 จะมีค่าCl=2x3/2=0.3 Max curve at 15% Relative Thickness 12%]

  •    NACA M3 เป็น Symmetrical Profile เหมาะที่จะนำมาใช้กับแพนหางระดับหรือแพนหางดิ่ง สำหรับเครื่องบินเล็กที่มีขนาดใหญ่ๆ หรือสำหรับปีกเครื่องบินที่ต้องการบินเร็วมากๆ

  •    NACA 009 ก็เหมือนเดิม เหมาะสำหรับชุดพวงหางของเครื่องบินเล็ก ใช้ได้ตั้งแต่เครื่องบินฝึกหัดไปจนเครื่องร่อน

  •    NACA 1410 มีCamberนิดหน่อย ทำให้มีแรงยกนิดหน่อย เหมาะสำหรับเครื่องบินที่ต้องการบินเร็วๆ หรือ เครื่องร่อนประเภท Slope soaring

  •    NACA 2409 มีคุณสมบัติคล้ายกับ NACA 1410

  •    NACA 2412 เหมาะสำหรับเครื่องบิน Trainer

  •    NACA 2415 มีค่าCl สูงมากขึ้น เป็นตัวที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องบิน Trainer

  •    NACA 2512 และ NACA 2515 มีคุณสมบัติคล้าย NACA 2412,2415 แต่จุดMax Thickness ขยับไป ข้างหลังเล็กน้อย ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเมื่อบินทวนลม

  •    NACA 4409และ NACA 4412 เหมาะสำหรับเครื่องร่อน

  •    NACA 4415 เหมาะสำหรับเครื่องบินที่มีWing Load ต่ำๆ
    Airfoils ในกลุ่มของ4400 มีประสิทธิภาพเรื่องArobaticไม่ดีเท่ากลุ่มของ2400หรือ2500 แต่ก็เป็นAirfoilsที่ยังนิยมใช้กันอยู่ การสร้างปีกทำได้ไม่ยาก ขนาดของChordมีขนาดเล็กที่สุดไม่ต่ำกว่า150 มม. CG.มีตำแหน่งอยู่ที่ประมาณ 32-33%

  •    NACA 6049และNACA 6412 เหมาะสำหรับเครื่องร่อนที่ต้องการบินช้าๆ ประสิทธิภาพในการบินThermalดี

  •    NACA 23012และ NACA 23015 เหมาะสำหรับเครื่องบินเล็กที่ต้องการคุณสมบัติอยู่กลางๆ คือบินได้ดีกว่าTrainer ความเร็วสูงขึ้น ทำการบินAerobaticได้ และเนื่องจากAirfoilsแบบนี้มีบริเวณชายหลังที่ค่อนข้างหนา ทำให้การสร้างปีกทำได้ง่าย CG อยู่ที่ตำแหน่งประมาณ 30%

  •    NACA ยังมีAirfoilsที่เป็นLaminar เหมือนกันแต่เป็นที่รู้จักน้อยมาก

  •    NACA 63415 ออกแบบในปี1963 มีค่าCamber 4% 8ความหนาของAirfoils 15% มีคุณสมบัติพอๆกับ FX 61140 เมื่อใช้ในเครื่องร่อนที่มีกางปีก4 ม.

  •    NACA 643618 เหมาะสำหรับเครื่องร่อนAerobatics ที่มีWing Loadสูง[4.5kg/sq.m] CG อยู่ที่ประมาณ 40% สามารถทำงานได้ที่Re.ต่ำกว่า 100,000

  •    NACA 63A408ถึง 412 และ NACA 63A608ถึง 612 ยังคงมีใช้อยู่กับเครื่องร่อนแบบScale Models โดยมีขนาดความกว้างของChordน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 150 มม. CG.อยู่ประมาณ 35-38% แต่อย่าลืมว่าพวก Laminar Airfoilsต้องการการสร้างปีกที่มีความถูกต้องสูงมาก

    EH Airfoils
      
    EH Airfoils ออกแบบโดย John Yost สำหรับปีกบินแบบSwept Wing . ปีกบิน Penumbra ใช้ EH 1.0/9.0 มีประสิทธิภาพพอๆกับMH Airfoils จุดประสงค์ในการออกแบบเหมือนกับMH คือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการWinchเครื่องร่อนขึ้นสู่อากาศ

    คงจบเรื่อง Airfoils สำหรับเครื่องบินเล็กและเครื่องร่อนแต่เพียงเท่านี้ คิดว่าคงมีประโยชน์แก่วงการเครื่องบินเล็กบ้านเราบ้าง ขอขอบคุณชัยยู ผู้เป็นเจ้าของบทความ สวัสดีครับ

ชัยยู/ดุสิต
[back home]


Home | Bicycle | Offroad | Fishing | Radio Control | GPS Conner | Second hand | Member area
Copyright © 2000, www.WeekendHobby.com, All right reserved.

Contact Webmaster