คำตอบที่ 1
วิธีการพันมอเตอร์ Brushless แบบต่างๆ
วิธีกาพันมอเตอร์ Brushless
แบบการพันมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน Brushless นั้นมีวิธีการพันหลายแบบตามความต้องการของผู้ใช้และความแรงที่ได้ก็แตกต่างกันไป เพื่อให้ได้ความแรงออกมาตามที่ต้องการมีวิธีการคำนวณที่สลับซับซ้อนบ้างแตกต่างกันไปแล้วแต่วิธีการในที่นี่จะไม่กล่าวถึง และบางครั้งการพันของมอเตอร์ที่ทำขายเป็นชุดเพื่อให้นำมาพันด้วยตนเองจะบอกจำนวนรอบการพันจำนวน kv ที่ได้ออกมาจากการพันเป็นตารางไว้ให้แล้ว
1. การพันมอเตอร์ Brushless ที่ทำขึ้นมาเองจากการดัดแปลงทำจาก CD Rom ที่สามารถนำมาใช้งานได้ค่อนค้างดีจะมีขาที่ใช้พันลวด stator 9 ขา จำนวนขั้วแม่เหล็กที่นำมาใช้แล้วได้ผลดีก็คือ 12 ขั้ว โดยใช้แม่เหล็กขนาด 6X6X1 มม. ติดเข้าไปกับเบล ลวดที่นำมาใช้ก็มีตั้งแต่เบอร์ 27, 29 32 33 แลว้แต่จะหาได้ ถ้าเส้นโตหน่อยก็พันเส้นเดียวได้เลย ถ้าเส้นเล็กๆ พวก 32 , 33 ก็พันกันทีละ 2 , 3 เส้น จำนวนก็ประมาณ 12-18 รอบ พันให้เต็มทุ่นแต่อย่าให้ล้นเพราะว่าจะไปชนกับฝาเบลได้ จำนวนรอบก็พยายามทดสอบกันดูครับ ส่วนที่ผมพัน CD Rom ใช้ลวดเบอร์ 33 พัน 3 เส้น 16 รอบ ก็ได้ความแรงพอประมาณจับกระแสได้ที่ประมาณ 7 แอมป์
จากรูปด้านล่างเป็นวิธีการพันลวดของ APEX แบบ 9 ขา
โดย: Changbin (เจ้าบ้าน ) [10 พ.ย. 48 12:55] ( IP A:203.151.33.220 X: )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
การต่อมอเตอร์ใช้งานของมอเตอร์ Brushless มี 2 แบบคือ
1. การต่อแบบ Star แบบดาว จะได้แรงฉุดเยอะ กินกระแสน้อย เหมาะที่จะใช้กับใบใหญ่ พวก slowfly จะดี
2. การต่อแบบ Deltar แบบสามเหลี่ยม จะได้รอบจัด กินกระแสเยอะเหมาะกับใบเล็กพวกใบ 8060 8040 พวกนี้ หรือใส่กับใบ 8X6 ก็ได้ สำหรับคนชอบบินเร็ว
โดย: Changbin (เจ้าบ้าน ) [10 พ.ย. 48 15:12] ( IP A:203.151.33.220 X: )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 2
ส่วนการพันมอเตอร์แบบ 12 ขาก็จะมีการพันหลายแบบ แล้วแต่จำนวนขั้วแม่เหล็กที่ใช้ มอเตอร์กระดิ่งที่ลองนับดูของตัวลงท้ายด้วย 12 (ถ้าผิดก็ขอโทษด้วยจะกลับไปนับใหม่) จะมีขั้วแม่เหล็ก 14 ขั้ว (อัน) ตามรูปที่เอามาลงเอามาจากเว็บของเยอรมันครับลองดูเขาบอกว่าแรงดี ตามสัญญลักษณ์ที่บอกจะเขียนดังนี้ 12N10P แสดงว่าขาพันลวดจำนวน 12 ขา แม่เหล็ก 10 ขั้ว (อัน)
ตามรูปด้านล่างเป็นแบบ 12N14P และ 12N10P จะพันเหมือนกัน
โดย: Changbin (เจ้าบ้าน ) [11 พ.ย. 48 14:08] ( IP A:203.151.33.220 X: )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 3
อีกแบบของการพัน 12N16P ลองเข้าไปดูตามลิงค์นี้http://www.powerditto.de/Schema.html
โดย: Changbin (เจ้าบ้าน ) [11 พ.ย. 48 14:16] ( IP A:203.151.33.220 X: )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 4
ยกข้อความมาจากหัวข้อ Brushless
ตอนนี้เล่นเครื่องบินไฟฟ้าคงไม่มีอะไรจะฮิตเกินมอเตอร์บรัสเลส ไม่ว่าจะจากการทำเองประเภทแฮนด์เมด หรือมอเตอร์บรัสเลสจากประเทศจีน Tower Pro เขาแหละครับ ขายรวมกับสปีดซึ่งขนาด 15 -30 แอมป์ก็ถูกลงมาก พันเดียวก็ซื้อได้แล้วคุณภาพก็พอประมาณต้องรอการทดลองจากเพื่อนๆ ที่ใช้งานอยู่ไม่ทราบว่าในระยะต่อไปจะเป็นเช่นไร ส่วนมอเตอร์ Tower Pro ไม่ต้องพูดถึงสมกับราคาครับบางตัวก็ดีบางตัวก็...... QC ...คงจะไม่ผ่านแน่เลยลวดพันกระจุยกระจายติดกับแม่เหล็กบ้าง.... ก็คิดเอาว่าซื้อของถูกแล้วได้ตัวเคสกับแม่เหล็กแรงๆ มาแล้วก็หาลวดมาพันกัน ...เห็นพี่เขาแกะมาก็ลองพันกันดูผมก็เลยซื้อลวดเบอร์ 33 มาพันกันใครต้องการก็แจ้งมาแล้วกันขายเป็นเมตร
เดี๋ยวมีอะไรคืบหน้าจะมาลงไว้ให้เรื่อยๆ
19 ก.ค.48
รายงานการใช้ CD rom Brushless
กลับมารายงานต่อจากผลการทดลองใช้มอเตอร์บรัสเลส CD rom brushless ขนาดสเตเตอร์ 24 มม.กว่า ๆ กับเครื่องบิน EZS-3 ทำจากฟิวเจอร์บอร์ดเครื่องบินตัวเก่งของผมและเป็นเครื่องไว้ทดลอง Phototype ของเราเอง ใส่โน่นยัดนี่ตัดแปะได้ทุกอย่างดูสภาพเอาแล้วกันครับ แต่ทนดีมากกับปีกโฟมพับขนาด 5 มม. กว้าง 12 ซม. ยาว 18 นิ้ว โดยปกติก็ใช้บินกับเครื่องบินกระป๋องจนดัดแปลงมาใช้กับวิทยุมาตรฐานติดเซอร์โว 2 ตัวกับมอเตอร์ 180 จน ได้มาทำการทดลองมอเตอร์บรัสซึ่งกว่าจะได้ทดลองก็นานมากแล้วรอตังซื้อสปีดจนราคามันลงมาพอรับได้ก็เลยซื้อมาลองเล่นสปีดของ Tower Pro 40A ราคา พันกว่าบาท ได้มาก็จัดการเลยต่อกับมอเตอร์เข้าเช็คกราวน์แล้วไม่ลงมอเตอร์หมุนได้คล่องตัวดี ทดลองสตาร์ทดู โอ้โห แม่เจ้าประคุณเอ๋ยแรงดีจังเลย จับแทบไม่อยู่ต้องหาที่ยึดมอเตอร์เพื่อทดลองแรงขับกันก่อน
มอเตอร์ที่ผมมีคุณ บาสเป็นคนพันให้ มี 2 แบบ คือว่าพันแบบ STAR และ DELTA จากการทดลองเดี๋ยวรายงานเป็นชุด ๆ แล้วกัน
วิธีการพันแบบ STAR ก็คือการพันแบบเอาปลายสายของทุกขดมารวมกันแล้วก็ไฟเข้าเฟสใครเฟสมันถ้ากลับทางหมุนก็สลับสายกันสองเส้นก็จะหมุนได้อีกทาง จะกินไฟน้อยมากจากการเทียบกับจำนวนรอบที่เท่ากันดังนั้นเมื่อต้องการให้ได้กินกระแสมากน้อยก็ลดจำนวนรอบเอา ถ้ารอบน้อยก็กินกระแสเยอะ รอบเยอะกินกระแสน้อย ทดลองจับกระแสดูที่ใบ 8X4 GWS ได้ที่ 3 แอมป์กว่า ๆ ใช้แบต Li-ion 1250 3 cell ความเร็วรอบพอประมาณไม่เร็วมากใช้บินกับเครื่องได้สบายๆ
แต่พอเปลี่ยนใบมาใช้ 8X6 สีดำบินง่ายกว่าแต่ต้องลดคันเร่งลงมาอีกความเร็วลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 8.4 ผลการทดสอบใช้ได้ดีบินสนุกค่อนข้างเร็วทั้งสองใบบินประมาณ 5 นาทีเอาลงมาเช็คความร้อนไม่ร้อนแต่แบตอุ่นๆ (ระวังแบต Li ion จ่ายกระแสได้ไม่เยอะ จะพังได้ง่าย)(ลวดเบอร์ 28 ไม่ทราบจำนวนรอบ)
วิธีการพับแบบ DELTA ก็พันโดยนำปลายสายของขดต่อกับอีกขดตามกันไปจนครบเฟสเมื่อเทียบจำนวนรอบต่อการพันทั้งสองแบบแล้วเดลต้าจะได้รอบที่เยอะกว่าและแรงกว่ากินกระแสเยอะกว่า ผมทดลองใส่กับใบ 8X4 ได้รอบที่ค่อนข้างจัดมากกดคันเร่งไม่ได้เลยแรงกระฉูดดีมากได้รอบทันใจ ทดลองบินกับเครื่องตัวเดิมลองจับกระแสดูได้สูงสุดเร่งเต็มที่ได้ประมาณ 6 แอมป์กว่าๆ ที่ Li ion 1250 3cell ทดรองบินดูก็เร็วดีครับใช้ได้ต้องเร็วๆ นิดหนึ่ง(ลวดเบอร์ 28 ไม่ทราบจำนวนรอบ)
เมื่อเห็นว่าใช้ได้แล้วก็เลยลองพันด้วยตัวเอง 1 ตัวขนาด สเตเตอร์ 24 มม. เท่ากันได้รับอุปกรณ์การทำจากคุณ พิรุณ ให้มาแกนกลางกับเพลาระบายความร้อน ผมซื้อลวด เบอร์ 33 ซึ่งพยายามหาที่มีฉนวนหุ้มหนาๆ ทนความร้อนได้เยอะๆ แพงกว่าลวดปกติ คนขายที่ร้านบอกว่าทนได้ 200 องศา ก็ซื้อมา 1 กก. วัดลวด ความยาว 3 เมตร พัน 3 เส้นพร้อมกัน พันจำนวน 16 รอบได้พอดี พัน 1 เว้น 2 ครบ มัดไว้ใช้กาว CA หยอดไว้ แล้วก็พันจนครบ 3 ชุด เสร็จแล้ววิธีการต่อแบบ สตาร์ก็เอาปลายสายทุกเส้นมาบัดกรีเข้ากันก็ใช้ได้แล้วทดลองวัดกับสเตเตอร์ดูว่าลงหรือเปล่าใช้ได้ก็จัดการต่อสายไฟทดลองใช้เลย ถ้าจะต่อแบบเดลต้าก็จับปลายสายเข้าเป็นคู่ๆ คือ ต้นสาย 1 ต่อเข้ากับปลายสาย 3 ต้นสาย 2 ต่อเข้ากับปลายสาย 1 ต้นสาย 3 ต่อเข้ากับปลายสาย 2 ผมทดลองวิธีการต่อสายโดยการจับคู่ปลายสายเอาคือว่าพันทีเดียวเลยแล้วทดลองจับคู่สายดูว่าแบบไหนกินกระแสและแรงขับขนาดไหน ลองวัดกระแสดูการต่อแบบสตาร์จะกินกระแสน้อยมากที่ ประมาณ 0.8 แอมป์รอบจะไม่มากนัก ส่วนการต่อแบบเดลต้าจะได้รอบที่เร็วและแรงกว่าเยอะมาก จับกระแสดูที่ไม่ได้ใส่ใบประมาณ 3 แอมป์กว่าๆ
วันอาทิตย์ที่ผ่านมาเลยนำไปทดลองที่สนามดูตอนเช้ารอบแรกใช้มอเตอร์คุณบาสบินวนๆ ได้สัก 2-3 รอบเอ้าทำไมเอื่อยๆๆ แรงหมดไปเฉย ก็เลยเอาเครื่องลงเดินไปเก็บเอ้าพี่ท่านใบกับอะแด๊ปเตอร์ผมหลุดหายไปทั้งยวงเลยเหลือแต่มอเตอร์โล้นดำๆ เนื่องจากว่าแกนที่โผล่มาจาก cd rom มันค่อนข้างสั้น แล้วก็กวดน๊อตยึดได้น้อยมาก ก็เลยเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์พันเองมาก็มือลองดูบ้างจัดการเปลี่ยนยึดง่ายๆ เนื่องจากมีท่อระบายความร้อนได้มาจากคุณพิรุณ ก็
โดย: [0 3] ( IP )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 5
เลยยึดง่ายๆ เอาเทปสองหน้าแปะเข็มขัดรัดสายไฟยึดใช้ได้ ปรับบิดขวาเล็กน้อยก้มนิดหน่อย ผมพันต่อแบบเดลต้าใช้ใบ 8X4 GWS Li ion 1250 3 cell มีลมพอประมาณค่อนข้างแรงพุ่งไปจากมือด้วยคันเร่งประมาณ 60 ขึ้นได้สบายๆ อัพ ขึ้นไปเรื่อยๆ เบาหวิวเลยครับเร็วจังเลยเอาขึ้นไปไว้สูงแล้วก็ลดคันเร่งบินสู้ลมได้ เร็วมากเลยความเร็วจี้ดเลยสำหรับคนชอบความเร็วนี่ต้องขนาดนี้ผมไม่ได้กล้าเร่งเต็มที่ตลอดเพราะกลัวแบตจะเสียด้วยบินได้ประมาณ 6-7 นาทีก็เลยเอาลงมาเช็คความร้อนดูปรากฎว่ามอเตอร์ไม่ค่อยร้อนเท่าไร แต่แบตค่อนข้างร้อนๆ ก็ขอจบการรายงานไว้แค่นี้ก่อนผมอยากให้ทุกคนทดลองพันดูได้ด้วยตัวเอง ตื่นเต้นดีครับฝีมือเราเอง
ลวดเบอร์ 33 พัน 3 เส้น 16 รอบ กระแสที่ประมาณ 6 แอมป์กว่าๆ
ใบ GWS 8X4 Li ion 1250 3 cell
1 ส.ค.48
Changbin
การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องเบื้องต้นเท่าที่ปรากฎและตรวจพบ
1.สำหรับมอเตอร์ CD Rom และกระดิ่ง อาการสตาร์ทไม่ออกกระตุก กึ๊ก กึ๊ก แล้วก็นิ่ง
-ในเบื้องต้นให้ลดคันเร่งลงมาก่อนเพื่อความปลอดภัยของสปีดในทันทีที่สตาร์ทไม่ออก ทิ้งไว้สักพักแล้วเพื่อความแน่ใจลองอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังเหมือนเดิม ทำตามข้อต่อไป
-ถอดสปีดไปลองกับมอเตอร์ตัวอื่นถ้าปกติ แสดงว่ามอเตอร์มีปัญหา
-อย่าเพิ่งรื้อมอเตอร์ให้ตรวจสอบขั้วสายไฟจากมอเตอร์ไล่ดูว่าเส้นใด เส้นหนึ่งขาดหรือมีการหลุดของการบัดกรีหรือไม่ ถ้าเป็นมอเตอร์กระดิ่งพัน 3 เส้น อาจมีเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ให้ทำการบัดกรีใหม่ ถ้าขั้วไฟไม่แข็งแรงก็บัดกรีใหม่ให้แข็งแรง (ขั้วสายไฟที่ปลั๊ก Dean คู่ละ 90 แพงมากผมเปลี่ยนเป็นขั้วทองเหลืองกลมธรรมดาที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆ ไป ตัวละ 2 บาท+สายหุ้มคู่ละ 5 บาท ก็ใช้ได้แล้ว) กรณีของ CD Rom เมื่อมีการหมุนมอเตอร์จะสวนทางกับแกนสเตเตอร์ได้อาจทำสายไฟหลุดลองเช็คดูให้ดี
-เมื่อลองแล้ว ดูแล้วยังเหมือนเดิม เช็คสายไฟทีละเส้นกับกาวด์ดูว่ามีการช๊อตลงกราวด์หรือไม่ ใช้มีเตอร์วัด ตั้งค่าที่วัดความต้านทางโอม
เดี๋ยวมาต่อ to be continue
ส่วนด้านล่างเป็นลิงค์ที่เข้าไปดูเพิ่มเติม
1.http://members.jcom.home.ne.jp/4223215501/CD_Brushless.htm
2.http://www.turbinenmuseum.de/Modellbau/BLMC__UK_/blmc__uk_.html
3.http://www.powerditto.de/navigationengl.html หน้าภาษาอังกฤษ
3.1http://www.powerditto.de/Schema.html วิธีการพันลวด
3.2http://www.powerditto.de/12N10P.html
3.3http://www.powerditto.de/9N12PC_light.html
4.http://www.aerodesign.de/peter/2001/LRK350/SPEEDY-BL_eng.html
โดย: Changbin (เจ้าบ้าน ) [25 ก.ย. 50 9:47] ( IP A:58.181.145.220 X: )
--------------------------------------------------------------------------------