คำตอบที่ 1
พระกำแพงเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี
พระกำแพงเม็ดขนุนกรุทุ่งเศรษฐี จ. กำแพงเพชร เป็นพระพิมพ์ปางลีลา ศิลปสมัยสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร พุทธลักษณะองค์ประทับยืน ทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกริยาเดิน
พระพิมพ์ปางลีลานี้มีความหมายเช่นเดียวกับ พระพุทธรูปปางลีลา คือ..... สร้างเป็นอนุสรณ์แสดงถึงพระพุทธองค์ ทรงเที่ยวจาริกสั่งสอนเผยแพร่พระพุทธศาสนา แก่ประชาชนตามแคว้นต่างๆ
ดังมีกล่าวในพุทธประวัติว่า......." เสด็จไปจำพรรษา ณ ปัณฑุกัม - ผลศิลาอาสน์ ภายใต้ไม้ปาริฉัตตกะ ณ ดาวดึงส์พิภพ ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา กับเทวดาทั้งหลาย ได้ประทับพรรษา ณ ดาวดึงนั้น พรรษาหนึ่ง เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้วจึงเสด็จลงจากเทวโลก ในการเสด็จลงจากเทวโลกเรียกกันว่า เทโวโรหนสมาคม "
พระกำแพงเม็ดขนุน มีชื่อดังกล่าวเพราะรูปร่างคล้ายกับ " เม็ดขนุน " บ้างก้อเรียกว่า " พระกำแพงเขย่ง " เป็นพระกรุพบตามวัดร้างต่างๆ ทั้งในเขตเมืองนครชุม และนอกเมือง ที่เรียกกันว่า ลานทุ่งเศรษฐี
มีทั้งเนื้อดินเผา , เนื้อชินเงิน ,และเนื้อว่าน................ความนิยาในพระกำแพงเม็ดขนุนนี้มีมาก่อนพระกำแพงซุ้มกอ และเคยอยู่ในทำเนียบ " ชุดเบญจภาคี " ก่อนกำแพงซุ้มกอด้วย
พระกำแพงเม็ดขนุน การจำแนก " พิมพ์ " อาศัยขนาดเป็นตัวกำหนด โดยแบ่งเป็น ขนาดใหญ่ หรือพิมพ์ใหญ่ และขนาดเล็ก หรือ พิมพ์เล็ก ซึ่งทั้งสองขนาด รายละเอียดหรือพุทธลักษณะจะเหมือนกัน แตกต่างกันที่ขนาดกรอบพิมพ์ และสัดส่วนองค์พระ " โดยส่วนหนึ่ง เกิดจากการเผา ทำให้ขนาดต่างกันออกไป "
และอาจเป็นไปได้ว่า มี " แม่พิมพ์หลายตัว คือ มากกว่าหนึ่งพิมพ์ขึ้นไปนั่นเอง "
แต่โดยรวมแล้วนักสะสมฯ ไม่นิยม แยกพิมพ์แต่อย่างใด เช่นเดียวกับพระกำแพงพลูจีบ
เว้นแต่พระกำแพงซ้มกอเท่านั้นที่แยกพิมพ์ เพราะมีความแตกต่างให้เห็น
สำหรับขนาด จะกว้างประมาณ 1.5 ซม. และสูงประมาณ 3.5 ซม. ถึง 4 ซม.ด้านหลังอูมนูน ปรากฎลายนิ้วมือ หรือ รอยปาด และรอยคลึงให้เห็น บางแห่งจึงนูนสูง บางแห่งจึงเป็นแอ่งลงไป มิใช่ราบเรียบเว้าโค้งอย่างสมดุลย์
ส่วนสีเนื้อ (ณ ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเนื้อดินเผา ซึ่งเป็นเนื้อมาตราฐานนิยมเท่านั้น) แบ่งออกเป็นสามสี คือ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว ( คราบสีต่างๆ)
โดยมากจะพบเป็นเนื้อแดง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่หายากกว่าพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก้อยังพบเยอะกว่า พระกำแพงพลูจีบ
พระส่วนใหญ่ ( ของแท้ ) สภาพเดิม ไม่ผ่านการใช้มีน้อยมาก
นอกจากนี้บางองค์ยังผ่านการตบแต่ง โดยเซียนรุ่นเก่า จะสะกิด หรือขูดเซาะร่องซุ้มให้ลึกชัด ซึ่งจะช่วยให้แลดูองค์พระกึ่งกลางโดดเด่นยิ่งขึ้น พระที่ผ่านการตบแต่งดังกล่าว สังเกตุได้จาก " เนื้อล้น " ในร่องจะไม่มี ( พบมากที่ด้านขวาองค์พระ )
สำหรับการพิจารณานั้นก่อนอื่นต้องจำพิมพ์ หรือมองโครงสร้างลักษณะว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้อธิบายค่อนข้างยาก แต่นักสะสมที่ " เป็น " นั้นล้วนอาศัยความจำ ถ้าจำได้ก้อไม่ใช่ของยาก...........หากมองด้วยตาเปล่า " ผ่าน " จึงส่องไล่ดูจุดสังเกตุต่างๆ
จุดสังเกตุที่พอเป็นแนวทางในการพิจารณาได้นั้น มีหลายแห่ง แต่ " ไม่ควรยึดติดเป็นสิ่งตายตัวว่าจะต้องมีทุกแห่ง" และทุกองค์เสมอ สำหรับ " ของเเท้ "
ทั้งนี้เพราะพระพิมพ์โบราณกดด้วยมือหากหนักเอียงไปด้านใด ด้านนั้นก้อจะชัดเจนกว่าอีกด้านหนึ่ง
หรือบางท่านกล่าวว่า....... ได้ล่างเสียบน - ได้บนเสียล่าง ได้ซ้ายเสียขวา - ได้ขวาเสียซ้าย
สำหรับจุดสังเกตุที่นักเล่นรุ่นเก่า สอนชี้แนะให้เด็กรุ่นหลังๆ พอจะกล่าวให้ทราบก้อมีอยู่ 2 ตำแหน่งคือ
1. จุดกลม หรือเรียกกันว่า " ลูกบอล " ที่ระหว่างเท้าทั้งสองข้าง
2. รอยงัดเฉียง ที่มุมขวาด้านบน ส่วนใหญ่จะปรากฎพบ แต่บางองค์ไม่มีก้อมี......
แต่ที่ สำคัญ...........และเป็นด่านสุดท้ายในการชี้ขาด เก๊ - แท้ก้อคือ " เนื้อพระ "
หากท่าน ดูเนื้อพระกรุเมืองกำแพงเป็น หรือมีพระกำแพงพิมพ์อื่นๆ ก้อใช้หลักการพิจารณาแบบเดียวกัน กล่าวโดยสังเขปก้อคือ เนื้อพระจะละเอียดหนักนุ่ม ปราศจากกรวดทรายหยาบๆ มีแร่ดอกมะขามแต้มอยู่ในเนื้อ ส่วนผิวจะมีคราบราดำ และคราบน้ำว่านในบางองค์
องค์ที่โชว์นี้ ผ่านการใช้มาบ้าง แต่ยังคงสภาพความสวยงาม สมบูรณ์ เนื้อหาจัด เนื้อละเอียดหนึกนุ่ม ตามแบบฉบับ ดินกำแพงเพชร และ พิมพ์หรือ จุดสังเกตุชัดเจน ตามแบบฉบับ ของนักเลงพระยุคเก่าชัดเจน ................
นำเสนอโดย...... เชษฐ สุวรรณภูมิ
http://www.facebook.com/chet7000#!/chet7000?sk=photos
แก้ไขเมื่อ : 20/1/2555 14:08:08
แก้ไขเมื่อ : 27/1/2555 18:39:50