คำตอบที่ 3
copy ข้อมูลของคุณ HAMzzzzz มาให้อ่านครับ... เห็นแก่ตั้งใจเขียนไว้ดีเหมาะกับมือใหม่ที่กำลังตัดสินใจครับ...
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อวิทยุสื่อสาร
มีเพื่อนๆผู้สนใจวิทยุสื่อสารซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่พึ่งสอบได้ใบประกาศพนักงานวิทยุสมัครเล่น หรือสนใจจะซื้อเครื่องวิทยุสื่อสารย่านความถี่ CB เพื่อมาใช้งาน ได้สอบถามมาทาง E-mail เป็นจำนวนมากว่ามีวิธีการดูคุณสมบัติของวิทยุในแต่ละรุ่นอย่างไร ผมจึงเสนอข้อแนะนำในการเลือกซื้อวิทยุสื่อสารในหน้านี้เลยดีกว่า
1. ชนิดของวิทยุสื่อสาร ก่อนอื่นเลยท่านต้องเลือกเอาว่าต้องการวิทยุแบบมือถือ (Handy) หรือวิทยุในรถยนต์ (Mobile)์ ส่วนใหญ่แล้วนักวิทยุที่มีเครื่องวิทยุเครื่องแรกในชีวิตก็จะเลือกแบบมือถือครับ เพราะพกพาไปไหนก็ได้ ราคาก็ถูกกว่า เมื่อมีแบบมือถือเบื่อแล้วอยากมีสัญญาณแรงๆก็จะเปลี่ยนไปใช้แบบรถยนต์แทน เครื่องมือถือจะมีกำลังส่งหรือวัตต์ (Watt) ์สูงสุดที่ 5 วัตต์ ส่วนเครื่องในรถยนต์ก็จะมีกำลังส่งสูงสุดที่ 10 วัตต์ เครื่องในรถยนต์นั้นจริงๆเค้าออกแบบมาเพื่อใช้ในรถยนต์นะครับ (ชื่อมาก็บอกอยู่แล้ว) แต่ถ้าเราไม่ต้องการใช้ในรถยนต์ก็สามารถนำมาใช้ในบ้านได้ครับไม่ผิดกติกา
2. ราคา เมื่อท่านตัดสินใจจะเป็นเจ้าของเครื่องวิทยุสื่อสารแล้วคงจะต้องดูที่ราคาที่ท่านสามารถยอมรับได้ซะหน่อย การซื้อวิทยุช่วงที่ดีที่สุดคืองาน "HAM Sale" ครับ เพราะร้านที่จัดแสดงก็จะลดราคาเครื่องกันสนั่น แต่ช่วง 3-4 ปีนี้งาน Ham sale หายไปเลยครับ อาจจะต้องรอเศรษฐกิจดีขึ้นก่อนก็ได้ แต่บางครั้งก็พบงาน Ham sale ได้ตามที่มีการ Eye Ball ของนักวิทยุของต่างจังหวัดครับ แต่ก็มีบางร้านเค้าจัดเองก็มีครับ ก็ต้องติดตามข่าวสารกัน ถ้าร้านไหนมีจัดรายการพิเศษก็แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์มาที่ Webmaster ได้ครับ
3. ยี่ห้อ เครื่องวิทยุสื่อสารที่กรมไปรษณีย์โทรเลขท่านอนุญาติให้ใช้ได้มีหลายยี่ห้อครับ ดูได้จากหน้า "เครื่องมือสื่อสาร" ของแต่ละความถี่จาก THHAM.COM ครับ ยี่ห้อหลักๆก็มี ICOM, YAESU, KENWOOD, STANDARD เป็นต้น ซึ่งยี่ห้อที่กล่าวมาจะเป็นยี่ห้อที่เค้าผลิตเครื่องมานานแล้ว ส่วนยี่ห้ออื่นก็อาจจะพึ่งผลิต หรือเป็นของประเทศอื่นไม่ใช้ของญี่ปุ่น ก็จะมีความนิยมน้อยลงไป แต่ราคาก็จะถูกลงไปด้วย
4. รุ่น อันนี้ก็ถือเป็นการตัดสินใจที่ยากมากเลยครับ เพราะเมื่อเราเลือกยี่ห้อได้แล้ว ในแต่ละยี่ห้อก็มีหลายรุ่นให้เลือกอีก ก็ขึ้นอยู่กับหน้าตา การออกแบบของเครื่องที่ถูกใจเราละครับ ถ้าเป็นรุ่นใหม่ก็จะมีในประกาศเช่นกันว่าอนุญาตให้ใช้รุ่นใด ส่วนรุ่นที่ไม่มีในประกาศเข้าใจว่าบริษัทผู้ผลิตได้เลิกการผลิตไปแล้ว แต่ก็สามารถหามือสองมาใช้ได้ครับ
5. อื่นๆ ส่วนอื่นๆก็มีเช่นการบริการหลังการขาย การซ่อมเครื่องโดยตัวแทน (Service Center) อะไหล่ของเครื่อง ราคาอะไหล่ ราคาอุปกรณ์เสริม เช่นแบตเตอรี่ ไมค์ แท่นชาร์ต เนื่องจากวิทยุสื่อสารจะไม่เหมือนโทรศัพท์มือถือซึ่งจะเปลี่ยนรุ่นใหม่ออกมาเร็วมาก และราคาจะลดลงรวดเร็ว แต่วิทยุสื่อสารบางยี่ห้อปล่อยว่างไว้เกือบ 4-5 ปีถึงจะออกรุ่นใหม่เพราะฉะนั้นเราจะต้องได้ใช้เครื่องอีกนาน บางทีก็ซ่อมแล้วซ่อมอีก เครื่องจะไม่ค่อยเชยเร็ว ก็ควรจะพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อนะครับ
เมื่อพอจะตัดสินใจในระดับหนึ่งแล้วว่ามียี่ห้อใดรุ่นใดที่เราชอบบ้าง โดยดูจากลักษณะภายนอก ลองจับถือดู หรือลองกดปุ่มเล่นก่อนก็ได้ ต่อไปเราก็มารู้จักวิธีการดู Specification หรือ สเป็ค ของเครื่องกันดีกว่า
1.ความถี่ (Frequency) : ดูว่าเครื่องสามารถรับ และส่งในช่วงความถี่ที่เราจะต้องใช้งานได้หรือไม่ บางเครื่องไม่สามารถปรับความถี่ให้เล็กลง เช่น 12.5 kHz ซึ่งปัจจุบันความถี่ของนักวิทยุสมัครเล่นจะมีระยะห่างเท่านี้
2. กำลังส่ง (Output Power) : ควรจะดูว่าใช้แรงดัน (V) และกระแส (A) ที่เท่าใดจึงจะได้กำลังส่งสูงสุด ซึ่งเครื่องมือถือก็จะไม่เกิน 5 วัตต์ ส่วนเคลื่อนที่หรือประจำที่ก็ 10 วัตต์ ที่สำคัญคือมือถือครับ ว่าเราจะใช้แพ็คถ่านรุ่นใด จะได้กำลังส่งสูงสุด บางแพ็คจะให้กระแสสูงทำให้เราสามารถเปิดเครื่องใช้งานได้นาน แต่กำลังส่งไม่ถึง 5 วัตต์ อันนี้จะเหมาะกับผู้ที่ติดต่อกับศูนย์เป็นประจำ เพราะศูนย์ควบคุมจะใช้เสาสูงเราก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้กำลังส่งมาก แต่ถ้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นซึ่งติดต่อกันเองมากกว่าก็พิจารณาดูครับ
3. ความไวในการรับ (Sensitivity) : จะบอกเป็นค่าแรงดัน (V) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น uV ถ้าตัวเลขนี้ของรุ่นใดมีค่าน้อยกว่าแสดงว่ามีความไวในการรับดี กว่ารุ่นที่มีตัวเลขมาก แต่บางครั้งรุ่นที่มีความไวในการรับดีก็อาจจะไม่ดีเสมอไป เพราะจะรับสัญญาณรบกวนมาด้วย ยิ่งถ้าการกรองความถี่ที่ไม่ต้องการของเครื่องไม่ดีแล้วละก็ทำให้เกิดการรับสัญญาณรบกวนมากขึ้น
4. ขนาด : ขนาดความกว้าง, ยาว, สูง ลองเปรียบเทียบกันดู รวมถึงน้ำหนักด้วย
ส่วนที่เหลือก็สอบถามกับผู้ที่ใช้รุ่นนั้นๆดูนะครับ
จาก HAM zzzzzzzz 202.133.134.14 อังคาร, 20/5/46 เวลา : 09:46