คำตอบที่ 37
โรงเรียนบ้านหัวขัว ตำบลโนนราษี อำเภอบรบือ จ.มหาสารคาม 44130
โทร.0-6857-9654(ผอ.),0-7853-3977(สุรพัฒน์) E-mail:churat49@yahoo.co.th
-----------------------
ข้อมูลพื้นฐาน ร.ร.บ้านหัวขัว ต.โนนราษี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม 44130
สภาพทั่วไปและที่ตั้ง
โรงเรียนบ้านหัวขัว อำเภอบรบือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยได้แยกมาจากโรงเรียนบ้านเหล่าผักหวาน ใช้ศาลาการเปรียญวัดบ้านหัวขัวเป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลโนนราษี อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ 28 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา ลักษณะชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก จำนวน 120 ครัวเรือน อยู่ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม 50 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอบรบือ 23 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมเส้นทางหลวงชนบท อยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอบรบือ กับ อำเภอนาดูน ประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 98 มีอาชีพเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน ชุมชนมีความสัมพันธ์กับโรงเรียนในระดับค่อนข้างดี
ข้อมูลด้านนักเรียน
โรงเรียนเปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา-ระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนห้องเรียนในปีการศึกษา 2548 จัดเป็น 8 ห้องเรียน มีนักเรียนชาย 33 คน นักเรียนหญิง 33 คน รวมทั้งสิ้น 66 คน ระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 12 คน ระดับประถมศึกษา 54 คน อัตราส่วนครูต่อนักเรียน 1:16 จำนวนนักเรียนต่อห้อง 8:1 อัตราการเรียนต่อ ร้อยละ 100 อัตราการมาเรียน ร้อยละ 100
ข้อมูลครู
ครู ในโรงเรียนมีจำนวน 5 คน เพศชาย 3 คน เพศหญิง 2 คน มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท 1 คน สูงกว่าปริญญาตรี 1 คน ระดับปริญญาตรี 2 คน และ ต่ำกว่าปริญญาตรี 1 คน อายุเฉลี่ยของครูประมาณ 38 ปี ประสบการณ์ทำงานของครูโดยเฉลี่ยประมาณ 14 ปี ชั่วโมงสอนโดยเฉลี่ยของครู 25 ชั่วโมง ครูได้รับการอบรมสัมมนาโดยเฉลี่ย 20 ชั่วโมง
ข้อมูลทรัพยากรและงบประมาณ
โรงเรียนบ้านหัวขัว มีอาคารเรียนแบบ สปช. 103/26 อยู่ 2 หลัง มีห้องเรียน 6 ห้อง จัดเป็นห้องพักครู 1 ห้อง ห้องอนุบาล 1 ห้อง มีอาการที่จัดสร้างเองคือ อาคารโรงอาหาร สภาพชำรุด ใช้การไม่ได้ อาคารห้องสมุดขนาดเล็กที่ก่อสร้างเอง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 2 หลัง 3 ที่ ใช้การได้ดี 1 ที่ มีอาคารแยกขยะพร้อมกับเตาเผาขยะที่จัดสร้างให้โดยองค์การแพลน มีสนามฟุตบอล 1 สนาม สนามตะกร้อ 1 สนาม และ สนามวอลเลย์บอล 1 สนาม ก่อสร้างเอง โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการประมวลผลงานต่าง ๆ จำนวน 2 เครื่อง ได้รับบริจาคเพื่อใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 1 เครื่อง
ผลงานของโรงเรียน
โรงเรียนผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับ 5 ดาว และระดับจังหวัด ประจำปี 2545 โครงการดีเด่นได้แก่ โครงการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเรียนรู้ โครงการกีฬาภายในโรงเรียน โครงการกองทุนเพื่อการศึกษา ผลงานด้านการเรียน เข้าร่วมแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการระดับกลุ่มได้รับรางวัลดีเดเยี่ยมและระดับดี 10 รางวัล และรางวัลดีเดยี่ยมระดับเขตการศึกษา โครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น การถักเปลจากเศษผ้า งานอื่นๆมีผลงานดีเด่น ด้านการจัดกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และมูลนิธิศูนย์พัฒนาคุณธรรม กิจกรรมตลาดนัดเยาวชนเชิงสร้างสรรค์จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค 4
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
โรงเรียนมีวิทยากรท้องถิ่นช่วยสอนวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ เช่น การสานสวิง การจักสาน การถักทอ การประกอบอาหาร งานใบตอง การเลี้ยงปลา ช่างไม้ เป็นต้น มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล วัดประจำหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน สถานประอบการอาชีพอิสระ มีทุ่งนาโดยรอบบริเวณโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง คือ องค์พระบรมธาตุนาดูน ป่าลูนลำพัน กู่บ้านแดง กู่สันตรัตน์ กู่บัวมาศ อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ เป็นต้น
ปัญหาความต้องการ
1. ซ่อมแซมอาคารเรียน (พื้นห้องเรียน/เพดาน) หลังคาบางส่วน 2. ถังเก็บน้ำฝนถาวร 3. สนามเด็กเล่น 4. ปรับปรุงถนนภายใน
5. อุปกรณ์การเรียน 6. สื่อพัฒนาคุณลักษณะ/พัฒนาการด้านการรับรู้ 7. อื่นๆ ตามที่เห็นสมควร