จาก ดอส แอนเทนน่า IP:61.90.49.250
อาทิตย์ที่ , 28/11/2547
เวลา : 08:54
อ่านแล้ว = ครั้ง
เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
|
สนใจนะครับติดต่อกันได้ 02-7564050 , 07-9042253
ท่านอาจจะเคยเจอเพื่อนสมาชิกติดตั้งกันบนรถยนต์กันบ้างแล้วนะครับ ผมเขียนบทความลงหนังสือ 100 วัตต์ เล่มที่98 เดือน มกราคม 47 คงจะเคยเจอกันมาบ้างแล้ว วันนี้เลย เอามาลงให้ดูกันอีกที
ข้อความข้างล่างเป็นบทความอ่านก็ได้ไม่อ่านก็ได้นะครับ ข้ามไปดูรูปกันได้เลย
แนะนำ การบวกค่า C สายอากาศ CL2E กระบอกใส ให้ทนกำลังส่งสูง และเรื่องความร้อนของสายอากาศ CB245 ที่ทำให้เครื่องอาจจะพังได้
นี่คือผลการทดลองของกระผมที่อยากจะให้เพื่อนสมาชิกไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่สมัครเล่น หรือจะเป็นย่าน CB245 ทุกท่านทราบถึงการทำงานของ C ในที่นี้คือ capacitor ที่ใส่ไว้ในกระบอกโคนล่างของสายอากาศติดรถยนต์ ชนิดต่างๆ เพื่อเป็นการ แมตต์ชิ่ง สายอากาศ ที่มีอิมพิแดนซ์สูงให้ต่ำลงมาใกล้เคียงการใช้งานของเราคือที่ 50 โอห์ม ซึ่งสายอากาศบางต้นไม่จำเป็นต้องใช้ C ในการแมตต์ชิ่ง ยกตัวอย่างสายอากาศชนิด 5/8 แลมด้า ที่ใช้การแมตต์ชิ่งแบบ อินเนอร์แทปคอยล์ ของตัวสายอากาศ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าผู้ผลิตรายใดจะทำการแมตต์ สายอากาศชนิดติดรถยนต์มาแบบไหน แบบที่ใช้ C และแบบที่ไม่ใช้ C ก็เหมือนกันขึ้นอยู่ที่ว่าการแมตต์นั้นทำให้สายอากาศต้นนั้นมีค่าความต้านทานใกล้เคียงจุดที่เราพอจะใช้งานได้หรือไม่ ในที่นี้คือ VSWR ไม่เกิน 1.5:1 ส่วยใหญ่จะเป็นเช่นนั้น ยกเว้นแต่ว่าเราสามารถที่จะนำมาถอดออกและทำการแมตต์ชิ่งกันใหม่ให้ได้ค่า VSWR ที่ต่ำและมีความแรงของสัญญาณมากขึ้น
การบวกค่า C มีอยู่ 2 วิธี คือ การบวกให้ค่าC เพิ่มขึ้น และ การบวกให้ค่า C ลดลง
วิธีการบวกค่า C ไม่เหมือนกับค่าของ R คือจะสลับกัน ถ้าเป็นค่า C เอามาอนุกรมกันค่าของ C จะลดลงจากเดิม แต่ R ค่าจะเพิ่มขึ้น และถ้าเอา C มาขนานกัน ค่าของ C จะเพิ่มขึ้นจากเดิม และค่าของ R จะลดลง การบวก C เพิ่มเพื่อให้ C ทนกำลังส่งสูงๆของเครื่องวิทยุสื่อสารได้ และ C จะไม่เกิดความร้อนในตัวมันเอง เราจะสังเกตได้จากการกดคีย์ค้างไว้นานๆ คือนานกว่า 1 นาทีขึ้นไป จะเห็นได้ว่าค่าของ C ที่ใช้มีแรงดันน้อยจะเกิดความร้อนที่กำลังส่งสูงคือสังเกตจากค่า VSWR จะค่อยๆเพิ่มขึ้น ดูได้จาก C เซรามิค ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปถ้าเกิดความร้อนจะมีของเหลวไหลซึมออกมาจากตัว C นั้น ถ้าเราใช้ไปนานๆจนของเหลวที่ใส่มาในตัว C หมดลงไปจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของค่า C และอาจจะเกิดการแตกและพังได้ แต่ถ้าเราใช้ค่า C ที่มีแรงดันสูงคือเกินจาก 100V ขึ้นไปแล้วความร้อนแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการบวกค่า C เพิ่มขึ้นจากธรรมดา1ตัวเป็น2ตัวถึง4ตัวขึ้นในกลุ่มสมาชิกที่มีความรู้และเป็นนักพัฒนาสายอากาศ
ยกตัวอย่างในรูปที่ 1 เป็นการบวกค่าของ C จะมีตัวอย่างอยู่ 3 วิธี
1.เป็นการใช้ C แบบธรรมดาที่มีใช้ทั่วไปคือ 8PF ขนาด 50V-500V แล้วแต่ว่าโรงงานผู้ผลิตนั้นจะใส่มาให้ ส่วยใหญ่มักจะเห็นแต่ขนาด 50V มากกว่า แต่ CL2E ของ JAPAN แท้ๆจะเป็นขนาด 500V มาจากโรงงานเลย
2.เป็นการบวก C เพิ่มจากเดิมเป็น4ตัวคือเอา 8PF มาอนุกรมกัน 2ตัวค่าจะลดเหลือเป็น4PFและค่าแรงดันจะไม่เพิ่มคงที่คือ500V เอา2ชุดที่อนุกรมกันไว้มาขนานกัน คือ 4+4=8PF แรงดันเพิ่มเป็น 1000V
3.เป็นการบวก C เพิ่มจากเดิมเป็น2ตัวคือเอา 4+4=8PF เลยคือผมหาได้ค่า 4PF 1000V 2ตัวซึ่งหายากมาก และมีราคาถูกกว่าแบบ 8PF 500Vที่บ้านหม้อมีขายเสียอีกในที่นี้จะได้แรงดันเป็น 2000V
จากรูปในแบบที่2 มีเพื่อนสมาชิกทำกันอยู่แต่มีขอเสียตรงที่ว่ามีจำนวนของ C มากคือ 4ตัวจะมีการสูญเสียจากจุดบัดกรีของ C ที่นำมาอนุกรมกันและนำมาขนานกันอีกผมทดลองทำดูแล้วสู้แบบที่3ไม่ได้เพราะในแบบที่3นั้นใช้ C น้อยกว่าคือ 2ตัวไม่ค่อยสูญเสียเลยและในการรับส่งแบบที่3จะดีกว่าและทนกำลังส่งสูงกว่าด้วยแต่ไม่มีใครทำเพราะหาค่า C ที่มีแรงดัน 1000V ไม่ได้เพราะ 4PF ในท้องตลาดมีแค่50V มีก็แต่ค่า 8PF 500V ซึ่งมีขายในบ้านหม้อและราคาก็แพงอยู่ที่ตัวละเกือบ 10 บาท เลยนิยมใช้กันเพราะหาได้ง่าย ผมสามารถหา C ค่า 4PF ขนาด 1000V ได้และมีเยอะซะด้วย ถ้าเพื่อนสมาชิกท่านใดสนใจก็มาแบ่งไปใช้กันได้นะครับ
ดูจากรูปที่ 2 เป็นตัวอย่างของจริงที่ผมได้ทำขึ้นคือการใช้ C แบบ 4ตัวและแบบ 2ตัว คอยล์ที่ใช้เป็นคอยล์ที่ทำจากเงินแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ความโตของลวดอยู่ที่ 2 มิล จะมีผลด้านการรับส่งที่ดีกว่าคอยล์ทองแดงมากอย่างเห็นได้ชัด จะเป็นเงินแท้หรือเงินชุบก็มีค่าเท่ากันเพราะกระแสไฟฟ้าเดินทางที่ผิวของโลหะ ไม่ได้เดินทั้งเส้นคอยล์ผมลองแล้ว บางคนอุปทานกันไปเองเกี่ยวกับเงินชุบว่าอาจจะไม่ดีสู้เงินแท้ไม่ได้ เราก็หาที่เขาชุบเงินแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่มีปัญหาแล้ว ส่วยใหญ่นะครับสายอากาศที่เขาบอกว่าเงินแท้นะชุบทั้งนั้นไม่เชื่อลองไปขูดดูกันนะ เงินแท้มันแพงกว่ามากตอนนี้ราคาทองมันขึ้นเงินมันก็ขึ้นตาม อีกอย่างขนาดของลวดที่นำมาทำคอยล์ก็มีผลซึ่งปรกติจะใช้ลวดทองแดงเบอร์ 14AWG แต่พอลองมาใช้เบอร์ 12AWG ผลการรับส่งก็ดีกว่ากันอีกเป็นงั้นไปเพื่อนๆลองนำไปทำดู
ในรูปที่ 3 ต้นซ้ายสุดและต้นกลางเป็นสายอากาศย่าน CB245 โคนใสโชว์คอยล์เงิน ใช้ C ค่าต่างๆ กันไปแล้วแต่รุ่นและแบบของสายอากาศ ใช้ C ขนาด 1000V หมดทุกต้น ต้นขวาสุดคือ สายอากาศ CL2E ย่านสมัครเล่น และเป็นตันที่ใช้ C 4PF 1000V 2ตัว ในการทดสอบดูจากในรูปที่ 4
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมีกำลังส่งออกอากาศที่ 50 Watt แล้วเราวัดค่า VSWR ได้ 1:1.3 ถ้าเราปรับ range ของเครื่องวัด (ในที่นี้ใช้ VSWR ยี่ห้อ DIAMOND) ไปที่ REFECT แล้ววัดค่า Watt ที่ย้อนกลับเข้าเครื่องวิทยุอาจจะอยู่ที่ประมาณ 5-10 Watt แล้วแต่สายอากาศบางรุ่นอาจจะแตกต่างกันในที่นี้ผมใช้สายอากาศ CL2E ซื้อตามท้องตลาดทั่วไปวัดค่าได้อยู่ที่ 7 Watt เพื่อนๆ สมาชิกลองคิดดูว่าเราส่งออกไป 50 ย้อนกลับมา 7 มันมากแค่ไหน นี่แค่ VSWR แค่ 1:1.3 นะแล้วถ้ามากกว่านี้จะแค่ไหน เราติดอยู่กับค่านิยมเดิมๆ ที่ว่าไม่เกิน 1:1.5 ถือเป็นใช้ได้ เราลองมาวัดแบบอ่านค่า REFECT กันบ้างดีไหมครับ ถ้าวัดได้ค่า REFECT น้อยๆไม่ถึง 0.5 Watt ที่กำลังส่ง 50 Watt ค่าVSWR จะอยู่ที่ประมาณ 1:1.1 เลยทีเดียว เพื่อนๆลองคิดดูว่าการรับส่งจะดีขนาดไหนกับ REFECT ขนาดนี้ สายอากาศประจำที่ก็เหมือนกันครับลองวัดค่ากันดูบ้าง ไม่งั้นเครื่องวัดกำลังส่งยี่ห้อ BIRD ของU.S.A.คงขายไม่ได้แน่ ถ้าเราวัดแต่VSWR กันอย่างเดียว แต่บางคนไม่นิยมใช้เพราะราคามันแพงมาก ณ.ปัจจุบันนี้ราคาอยู่ที่ 2 หมื่นกว่าบาท เลยไม่เป็นที่นิยมใช้กัน แต่เรามี VSWR ก็สามารถวัดค่า REFECT ได้เพราะมันมีอยู่ในตัวอยู่แล้ววัดได้ใกล้เคียงกันมากเลยทีเดียวครับ
ดูจากรูปที่ 6 เป็นการวัดค่า REFECT ของกำลังส่งที่ย้อนกลับเข้าเครื่องโดยใช้สายอากาศ CL2E ที่ได้ทำการประกอบขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชิ้นส่วนที่สามารถถอดออกได้ทุกชิ้นส่วน ทดลอง กับเครื่อง ICOM 2100T กำลังส่งที่ 25Watt วัดค่า REFECT ได้ไม่ถึง 0.1Watt เพื่อนๆลองคิดดูว่าสายอากาศต้นนี้จะสุดยอดขนาดไหนและค่าของ VSWR ดูได้จากรูปที่ 5
ผลการทดสอบสัญญาณเป็นที่น่าพอใจมากรับส่งได้ไกลเครื่องวิทยุไม่ค่อยร้อนเพราะกำลังส่งย้อนกลับแทบไม่มีเลย และผลการทดลองออกอากาศนั้นติดรถยนต์แล้วเดินทางออกจาก กรุงเทพถึงศรีราชา จ.ชลบุรีก็ยังสามารถติดต่อกับสถานีที่บ้านกรุงเทพ ได้สบายซึ่งได้ระยะทางไกลมาก การทดลองนี้คงไม่พอถ้าอยากทราบว่าถ้าเราบวกค่า C เพิ่มแล้วมันแรงขนาดไหนเพื่อนๆก็ลองถามสมาชิกที่ใช้สายอากาศที่บวก C เพิ่มดูก็น่าจะได้คำตอบที่ดีกว่าผมก็ได้ครับ
แล้วทิ้งท้ายอีกเรื่องก็เป็นการทดสอบสายอากาศ CB2 ให้กับเพื่อนๆ สมาชิกที่เล่น CB245 นะครับ ว่าทำไมเครื่องมันพังกันบ่อยจัง เนื่องจากสาเหตุที่ว่าสายอากาศชนิดนี้มีการใช้พลาสติกที่นำมาใช้ทำกระบอกห่วงกลางเสาเนื้อของพลาสติกไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้จึงทำให้เกิดอาการเก็บความร้อนไว้ภายในตัวเนื้อพลาสติกเอง เมื่อเวลาเรากดคีย์นานเกิน 1 นาทีขึ้นไปแล้วทำให้เกิดความร้อนบริเวณนั้นทำให้ค่าของ VSWR เพิ่มขึ้นและค่าของ REFECT ก็ขึ้นด้วย แล้วเพื่อนสมาชิกก็คิดดูแล้วกันว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น มีสายอากาศเป็นบางยี่ห้อเท่านั้นที่จะเป็นแบบนี้ได้โรงงานผู้ผลิตต้นแบบพลาสติกเขาดีทดลองแล้วใช้ได้ไม่ร้อน เพื่อนสมาชิกบางคนอาจจะบอกว่าทำไมของผมมันไม่เห็นเป็นไรเลย ก็ตอนท่านวัดค่ากันนะท่านกดคีย์กันนานเท่าไร เต็มที่ก็ไม่เกิน 10 วินาที ก็ปล่อยกันแล้ว เพื่อนสมาชิกลองคิดดูสิว่าถ้าเราเดินทางต่างจังหวัดไกลๆแล้วกดคีย์คุยกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆหลายๆ ชั่วโมง ความร้อนมันจะสะสมขนาดไหนแล้วเราจะรู้ไหมรถมันก็วิ่งอยู่ไม่ได้จอดคงต้องต่อพ่วง VSWR ไว้ตลอดเวลาละสิ ถึงจะรู้ได้ว่ามันเปลี่ยนแปลงอะไรไหม แล้วผมก็มีวิธีแก้ที่ได้ผลดีซะด้วย ทำการทดลองกดคีย์แบบต่อเนื่องนาน 5 นาทีไม่หยุด ค่าของ VSWR ก็คงที่ REFECT ก็ไม่เพี้ยน เนื่องจากผมได้ทำการเปลี่ยนชุดพลาสติกตรงห่วงกลางเสาจากสีดำแบบธรรมดามาเป็นแบบใสแทน ดูจากรูปที่ 7 เพราะแบบใสนี้ระบายความร้อนได้ดีมาก เหนียวและแตกยากมาก ผมทำการทดสอบโดยเอาฆ้อนที่ใช้สำหรับตอกตะปูสร้างบ้านกระหน่ำไปกว่า 20 ครั้งยังไม่แตกเลย แล้วขนาดกดคีย์นาน 5 นาทีไม่เกิดอะไรขึ้นเลยที่กำลังส่ง 50Watt ด้วยเครื่องโมบาย ICOM 2100FX จับดูก็ยังไม่ร้อนเลยครับถ้าเป็นแบบสีดำนะร้อนใส้กลางละลายไปแล้วทุกอย่างมีวิธีแก้ไขครับผม
สุดท้ายนี้ผมก็อยากให้เพื่อนๆสมาชิกลองนำไปทำแก้ไขดัดแปลงกันดูนะครับการทดลองนี้ผมได้กระทำขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางให้แล้วถ้าเพื่อนสมาชิกท่านใดอ่านบทความนี้แล้วไม่ถูกหลักจากความเป็นจริงก็บอกกับเพื่อนสมาชิกด้วยว่าตรงนี้ถูกหรือตรงนี้ผิด ก็ว่ากันไปนะครับ และถ้าเพื่อนสมาชิกท่านใดสนใจที่จะหาอุปกรณ์ที่ผมได้ทดลองทำมาทั้งหมดแล้วก็ติดต่อมาได้หรือจะเอากันแบบทั้งต้นเลยก็มีนะครับ แล้วถ้าผมทำการทดสอบอะไรดีๆอีกก็จะเขียนมาฝากกันใหม่ในโอกาศหน้านะครับผม
|