ศุกร์,22 พฤศจิกายน 2567
 
มีคนอ่านแล้ว 31774 คน [ Home ]
      


การปรับแต่งเครื่องบินเล็กตอนที่ 2
Tip Weight, Elevator Alignment, Engine Thrust
โดย คุณดุสิต

5.Tip Weight วิธีที่ 1
      ปกติในการประกอบ-สร้างเครื่องบินเล็กเราจำเป็นต้องมีเช็ค Balance ของปีกว่ามีน้ำหนักเท่ากันทั้งสองข้างหรือ ไม่และเมื่อ เครื่องบินถูกประกอบเสร็จแล้วจำเป็นต้องเช็ค Static Balanceของเครื่องบินอีก เพราะน้ำหนัก ของเครื่องบิน ทางด้านซ้าย และขวา อาจจะ ไม่เท่ากันเพราะน้ำหนักของส่วนประกอบอื่นๆ เช่นเครื่องบิน ที่วางเครื่อง ตะแคง 90 องศา น้ำหนักของเครื่องยนต์ และท่อไอเสีย อาจจะทำให้เครื่องบิน หนักไปทางด้านปีกขวา ให้บินเครื่องบิน ในแนวระดับ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าTrim ของ Aileron ถูกต้อง นั้นหมายความว่าปีกของเครื่องบินต้องอยู่ในแนวระดับ ต่อไปให้Rollเครื่องบินเพื่อให้เครื่องบินอยู่ในท่าInvert ในขณะที่เครื่องบินอยู่ในท่านี้ต้องไม่แตะต้องภาคบังคับ Aileron ให้สังเกตดูว่าปีกของ เครื่องบินว่ามีปีกข้างไหน มีอาการตก หรือเอียงลงมาหรือไม่
  • ถ้าไม่มีปีกข้างใดตกหรือเอียง แสดงว่าปีกเครื่องบินทั้งสองข้างมีน้ำหนักเท่ากัน
  • ถ้าปีกซ้ายตก แสดงว่าปีกซ้ายหนักกว่าปีกขวา ให้ถ่วงน้ำหนักที่ปลายปีกขวา
  • ถ้าปีกขวาตก แสดงว่าปีกขวาหนักกว่าปีกซ้าย ให้ถ่วงน้ำหนักที่ปลายปีกซ้าย
6.Tip Weight วิธีที่ 2
      ให้บินเครื่องบินหันหัวเข้าหาหรือหันหัวออกจากผู้ทำการบิน บินทวนลมและให้มีความสูงมากซักหน่อย ลดเครื่องยนต์มาที่ Ideal แล้ว ค่อยๆบังคับเครื่องบินให้ทำท่าVertical drive เมื่อเห็นว่าบินดำลงมาเป็นเส้นตรงดีแล้ว ให้ดึง UP บังคับให้เครื่องบิน ออกจากการบินดำกลับมาบินระดับใหม่อย่างทันที [ตอนออกควรบินออกแบบSquare corner] แล้วให้สังเกตดูว่า มีปีกข้างไหน มีอาการตกหรือเอียงลงมาหรือไม่
  • ถ้าไม่มีปีกข้างใดตกหรือเอียง แสดงว่าปีกเครื่องบินทั้งสองข้างมีน้ำหนักเท่ากัน
  • ถ้าปีกซ้ายตก แสดงว่าปีกซ้ายหนักกว่าปีกขวา ให้ถ่วงน้ำหนักที่ปลายปีกขวา
  • ถ้าปีกขวาตก แสดงว่าปีกขวาหนักกว่าปีกซ้าย ให้ถ่วงน้ำหนักที่ปลายปีกซ้าย
     ยังมีวิธีทดสอบเรื่องนี้อีกแบบ ให้ทำการบินท่า Inside Loop พยายามบินให้ค่อนข้างเร็วและวงของ Loop มีขนาดค่อนข้างเล็ก และให้บินเครื่องบินหันหัวออกจากผู้สังเกต ถ้าเครื่องบินมีทิศทางเปลี่ยนไป เนื่องจาก มีปีกข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการตกลง แสดงว่าปีกข้างนั้นหนัก ถ้าเครื่องบินสามารถทำท่า Outside Loop ได้ให้บิน ทำท่าOutside Loop ด้วย ให้สังเกตว่าปีกเครื่องบิน ตกไปทางข้างเดียวกับเมื่อทำInside Loop
7. Elevator Alignment
    ในเครื่องบินเล็กทั่วๆไปที่ชุดพวงหาง แผ่นElevatorจะมีสองชิ้น ซ้ายและขวา ปกติเรามีวิธีทำให้แผ่น Elevator ทั้งสองแผ่นทำงาน ได้พร้อมกันได้สองแบบ วิธีแรกเราจะยึดแผ่น Elevator ทั้งสองแผ่นเข้าด้วยกัน ส่วนมากจะใช้ลวด PIANO เป็นตัวเชื่อมต่อ [ตัวอย่างเช่นเครื่องบิน Trainer ปีกบน หรือ Sporter] หรือบางแบบอาจจะ ใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวเชื่อมต่อ
    ส่วนอีกวิธี แผ่น Elevator ทั้งสองแผ่นจะทำงานแยกเป็นอิสระจากกันโดยที่ปลายคันชักจะแยกเป็นสองด้าน ไปเชื่อมต่อ กับแผ่น Elevator แต่ละด้าน [ เครื่องบินPattern ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ ]

     จะเห็นได้ว่าโอกาสที่แผ่น Elevator ทั้งสองชิ้นจะมี Alignment ที่ไม่เท่ากันมีมาก ถ้าทำการสร้าง อย่างไม่ระมัด ระวัง อาจจะเพราะ การประกอบตัวเชื่อมต่อไม่ดี หรือติดตั้งระบบคันชักของ Elevator ไม่ดี ก็จะเป็นสาเหตุทำให้ Alignment หรือระยะ การเคลื่อนที่ ของ Elevator ผิดพลาดได้ วิธีการทดสอบ บินเครื่องบิน ให้หันหัวออกจาก ผู้บังคับ ดึง UP บังคับให้ เครื่องบินทำ Inside Loop และให้คอยสังเกตว่าเครื่องบินมีอาการRollหรือไม่
  • ถ้ามีเครื่องบิน Roll ไปทางด้านไหน เสร็จแล้วให้บังคับเครื่องบินในท่า Invert แล้วดัน Down บังคับให้เครื่องบินทำ Outside Loop แล้วให้คอยสังเกตว่าเครื่องบินมีอาการRollหรือไม่
  • ถ้าเครื่องบินไม่มีอาการ Roll ในขณะทำLoop แสดงว่า Elevator มี Alignment ดีอยู่แล้วไม่ต้องปรับแต่งอะไรอีก
  • ถ้าเครื่องบินมีอาการ Roll ไปทางด้านเดียวตลอดเมื่อทำ Inside Loop หรือ Outside Loop แสดงว่าแผ่น Elevator ทั้งสองข้างมี Alignment ไม่เท่ากัน ให้ค่อยๆเล็งดูว่าชิ้นไหนสูง ชิ้นไหนต่ำ ถ้าใช้ไม้บรรทัด มาเป็นตัวช่วยในการเล็งระดับจะช่วยได้มาก จะปรับตัวที่สูงกว่าลงมาหรือจะปรับตัวที่ต่ำกว่าขึ้นไปก็ได้
  • ถ้าเครื่องบินมีอาการ Roll ไปคนละด้านกันเมื่อทำ Inside Loop และ Outside Loop แสดงว่าระยะ การเคลื่อนที่ของแผ่น Elevator ทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน ก่อนอื่นให้ตรวจสอบ ระยะ Horn ว่ามีระยะเท่ากันหรือไม่ และให้ตรวจสอบการติดตั้งระบบคันชักของ Elevator ว่าติดตั้งถูกต้องหรือไม่ เพราะถ้า Alignment ของตัวคันชักไม่ถูกต้อง จะทำให้ส่วนปลายของคันชัก เคลื่อนที่เป็นระยะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
     รูปข้างบนแสดงการติดตั้งระบบคันชักของ Elevator ให้สังเกตว่าเราจะต้องพยายาม ให้ตัวคันชักเคลื่อนที่ อยู่ในแนวเส้น Center lineของลำตัวเครื่องบิน เพื่อให้ส่วนปลายของคันชักที่ไปต่อกับ Elevator แต่ละด้านมีขนาด การเคลื่อนที่เท่ากัน ให้สังเกต ตำแหน่งของ Elevator Servo ที่จะทำให้ตัวคันชักอยู่ในแนว Center line ให้สังเกตว่าตัวคันชัก จะเป็นตัวกำหนด ตำแหน่ง ที่จะติดตั้ง Elevator Servo
8.มุม Dihedral ของปีก
     วิธีการทดสอบของหัวข้อนี้ ใช้สำหรับทดสอบมุม Dihedral ของปีก เครื่องบินที่ถูกออกแบบ และสร้างมาอย่างดี จะสามารถ เลี้ยวด้วย Rudder โดยใช้โดยที่เครื่องบินจะมีอาการปีกเอียงลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    ในการออกแบบเครื่องบิน ถ้าเราต้องการให้เครื่องบินที่ออกแบบ มีคุณลักษณะสามารถคืนอาการ Roll กลับมาอยู่ ในแนวระดับได้เอง เราเรียกคุณลักษณะนี้ว่า Built-in stability About Roll Axis ตัวที่ทำให้เกิด Built-in stability มีสองตัวคือ Dihedral ของปีกและตำแหน่งของ CG ว่าอยู่ต่ำกว่าแนวแกนของปีกมากแค่ไหน
     ยกตัวอย่างเมื่อเราดัน Rudder ไปทางขวา เครื่องบินต้องหมุนรอบแกน Yaw Axis ไปทางขวาตามแรงที่เกิดที่ Rudder เป็นผลให้ ปีกทางซ้ายมีความเร็วและมุมปะทะของปีกมากกว่าปีกทางขวา ทำให้ปีกด้านซ้าย มีแรงยกมากกว่า ปีกด้านขวา เป็นผลให้เครื่องบินเอียงปีกมาทางด้านขวาแต่เมื่อ Rudder กลับมาอยู่ในตำแหน่งปกติ จะไม่มี แรง มากระทำที่ Rudder เพื่อทำให้เครื่องบินหมุนรอบแกนYaw Axis อีกต่อไปเครื่องบินจะหยุดการเลี้ยว แต่ปีกเครื่องบิน ยังอยู่ในสภาวะเอียงอยู่ ถ้าปีกของเครื่องบินมีมุม Dihedral มากพอ เมื่อถึงตอนนี้ แรงยกที่กระทำที่ปีกซ้าย จะมีขนาด ของแรงน้อยกว่า แรงยกที่กระทำ ที่ปีกขวา ด้วยขนาดของแรง ที่ไม่เท่ากันจะทำให้ปีกของเครื่องบิน คืนกลับมา ในแนวระดับ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นขนาด ของ แรงยกที่กระทำ ต่อปีกทั้งสองข้างจะกลับมาเท่ากันอีก
     วิธีการทดสอบ ให้บินเครื่องบินทวนลม ดัน Rudder ไปทางด้านไหนก็ได้ เพราะยังไงๆก็ต้องทำ การทดสอบ ทั้งสองด้าน และให้สังเกตอาการ Roll ของเครื่องบิน
  • ถ้าเครื่องบินเล็กมีมุม Dihedral ของปีกมากเกินไป เครื่องบินจะมีอาการบินดังนี้
    เครื่องบินมีอาการRoll ไปในทิศทางเดียวกับRudder [ Proverse Roll] ให้สังเกตว่าอาการRollที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเหมือน Barrel Roll มากกว่าAxial Roll
    หรือเมื่อเครื่องบินทำท่า Knife Edge เครื่องบินมีอาการพยายามจะ Roll ออกจาก Knife Edge
    หรือ เครื่องบินบินท่า Invert ได้ไม่ดี การบังคับยาก
     ในทางตรงกันข้ามถ้าเครื่องบินมีมุม Dihedral ของปีกน้อยเกินไป เครื่องบินอาจจะมีอาการบินดังนี้
  • เครื่องบินมีอาการ Roll ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของ Rudder
    หรือเครื่องบินทำท่า Knife Edge เครื่องบินมีอาการพยายามจะพลิกตัวมาหงายท้อง[Tuck under]
    หรือเครื่องบินทำท่า Inside loop เครื่องบินมีแนวบินที่ไม่ค่อยตรง[Poor Tracking]
    หรือเครื่องบินมีอาการบินที่ไม่ค่อย Stable เมื่อบินระดับ
    การปรับเพิ่มหรือลดค่าDihedralของปีกให้ค่อยๆปรับที่ละน้อย ครั้งละไม่เกิน 1/8"
9.Engine Thrust
Engine Right Thrust
     เครื่องบินเล็กจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องยนต์ให้มีมุมเอียงไปทางด้านขวา[เมื่อมองจากทางด้านหลังของเครื่องบิน] ที่เราต้องติดตั้งเครื่องยนต์ให้มีมุมเอียงไปทางขวาเพื่อชดเชยค่าแรงบิดที่เกิดจากการหมุนใบพัดของเครื่องยนต์ เจ้าแรงบิดนี้จะมีขนาดขึ้นอยู่กับ ขนาดของเครื่องยนต์ รอบของเครื่องยนต์ และขนาดของใบพัด ไม่มีเครื่องบิน ชนิดใดที่มีการปรับมุมเครื่องยนต์ไปทางซ้าย [Left Thrust] เครื่องยนต์จะหันไปทางซ้ายได้มากที่สุดคือแนว Center Line สำหรับเครื่องบินทั่วๆไป Right Thrust ประมาณ 3 องศาน่าจะเพียงพอ ส่วนเครื่องบิน Pattern บางทีอาจจะถึง 6 องศา
      วิธีการทดสอบไม่มีค่อยยาก เพียงดึงเครื่องบินให้ไต่ขึ้นไปในแนวตั้งเครื่องบินจะค่อยๆมีความเร็วลดลง คอยสังเกต อาการของเครื่องบินมีอาการเซไปทางไหน ให้พยายามปรับTrimของ Rudderจนเครื่องบินสามารถบินไต่ได้ตรง นำเครื่องบิน ลงมาวัดว่า Rudder ถูก Trimไปกี่องศาแล้วให้ปรับเครื่องยนต์เอียงไปเป็นมุมครึ่งหนึ่งของ มุม Rudder Trim ที่วัดได้ และให้บินทดสอบ แบบเดิมอีก ปรับจนกว่าเครื่องจะบินไต่เป็นแนวตรงได้เอง
  • ถ้าเครื่องบินเซไปทางซ้ายแสดงว่าจำเป็นต้องเพิ่มค่า Right Thrust ของเครื่องยนต์อีก
  • ถ้าเครื่องบินเซไปทางขวาแสดงว่าค่า Right Thrust มีค่ามากเกินไป ให้ลดค่า Right Thrust ลง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าค่าตรงกลาง ถ้าเครื่องยนต์มีแนวThrust อยู่ในแนวตรงกลางแล้วเครื่องบินยังเซไปทางขวา แสดงว่าเครื่องบินมีการสร้างที่ผิดพลาดอะไรบางอย่าง
    อีกวิธีให้บินเครื่องบินบินออกจากตัวผู้ทดสอบและให้บินทวนลม บังคับเครื่องบินให้ทำท่าLOOP ให้สังเกตตอนเครื่องบินกำลังจะถึงยอดLOOPว่าเครื่องบินมีอาการเซไปทางด้านไหนหรือไม่
  • ถ้าเครื่องบินเซไปทางซ้ายแสดงว่าจำเป็นต้องเพิ่มค่า Right Thrust ของเครื่องยนต์อีก
  • ถ้าเครื่องบินเซไปทางขวาแสดงว่าค่า Right Thrust มีค่ามากเกินไป ให้ลดค่า Right Thrust ลง


Engine UP/DOWN Thrust
       สิ่งที่เป็นตัวกำหนดค่า Engine Up/Down thrust คือตำแหน่งของปีก ชนิดของ Airfoil [Drag ที่เกิดจากปีกเครื่องบิน จะทำให้เครื่องบินเกิด Pitch Upward] และตำแหน่งของเครื่องยนต์
      เครื่องบินปีกบน[ Shoulder wing, High wing] เครื่องยนต์จะวางอยู่ในแนว Center line ของลำตัวเครื่องบิน ปีกจะวางอยู่เหนือแนว Center line เครื่องบินแบบนี้จะมี Engine Thrust เป็น - [ Engine Down Thrust] ยิ่งปีกวางอยู่เหนือแนว Center line มากเท่าไร มุมEngine Down Thrust ก็จะมากตามไปด้วย ส่วนเครื่องบิน ปีกล่าง[ Sproter ] เครื่องยนต์จะวางอยู่ในแนว Center line ปีกจะวางอยู่ต่ำกว่าแนว Center line เล็กน้อย เครื่องบินแบบนี้มักจะมีมุม Engine Down Thrust ค่อนข้างน้อย หรือไม่มีเลย ส่วนเครื่องบิน พวกที่มีปีก อยู่เหนือแนว Center line และมีเครื่องยนต์ติดตั้งอยู่บนปีกอีกทีหนึ่ง[ เช่นพวกเครื่องบินน้ำ ] พวกนี้จะมีมุม Engine Thrust เป็น + [ Engine Up Thrust ][ จากการแลกเปลี่ยนความรู้กันใน WEB Board และผลจากการ ทดลองสร้าง และบินเครื่องบิน ลักษณะนี้ของสมาชิกคนหนึ่งที่ศรีราชาได้ข้อประมาณว่า เครื่องบินขนาด .46 จะมีมุม Up Thrustอยู่ที่ประมาณ +3 องศา ] เครื่องบินแบบนี้ถ้ามุมEngine Up Thrust มากไม่พอเครื่องบิน จะมีอาการเลี้ยวยาก แต่ถ้ามีมากเกินไป เมื่อเร่งเครื่องยนต์ เครื่องบินจะมีอาการ Zoom Up
      ส่วนพวกเครื่องบิน Pattern ซึ่งเครื่องยนต์จะวางอยู่ในแนว Center line ส่วนปีกก็มักจะวางอยู่ใกล้กับแนว Center line มากเช่นกัน เครื่องบินแบบนี้มักมีEngine Thrust เป็น 0 วิธีการทดสอบเรื่องนี้แบบง่ายๆ ก็ให้บินเครื่องบิน ในแนวระดับด้วยความเร็วปกติ และให้เบาเครื่องยนต์ลงทันที ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ทันทีที่เบาเครื่องยนต์เครื่องบิน จะยังสามารถบิน ในแนวระดับ ต่อไปได้ซักพักแล้ว เครื่องบินจะค่อยๆร่อนลงม าอย่างช้าๆ แต่ถ้าทันทีที่เบา เครื่องยนต์แล้ว เครื่องบินมีอาการเงยหัวขึ้นทันทีทันใด[Jump up] แสดงว่ามุม เครื่องยนต์เป็น Down Thrust มากเกินไป และถ้าเครื่องบินมีอาการ หัวตกทันทีที่เบาเครื่องยนต์ แสดงว่ามุมเครื่องยนต์เป็น Up Thrust มากเกินไป และยังมีข้อสังเกตอื่นๆอีกเล็กน้อย คือถ้าสังเกต ว่าเพื่อทำให้เครื่องบินสามารถบินระดับได้ Elevator มี UP-Trim มากเกินไปโดยไม่สมเหตุสมผล ให้คาดคะเนไว้ก่อนว่าเครื่องบินอาจจะมีมุมDown Thrust มากเกินไป หรือElevator มี Down-Trim มากเกินไปก็ให้คาดว่ามุมDown Thrust น้อยเกินไป หรือ มีมุมUp Thrust มากไป
      ส่วนอีกวิธี ให้บินเครื่องบินขวางลมและให้บินหันหัวออกจากตัวผู้สังเกตการณ์ บังคับเครื่องบินให้ไต่เป็น แนวตรงขึ้นไป ปล่อยการบังคับ Elevator ให้เป็นอิสระ แล้วให้สังเกตว่าในขณะที่เครื่องบิน กำลังไต่อยู่เครื่องบิน มีอาการเซไปทางด้านไหน


Home | Bicycle | Offroad | Fishing | Radio Control | GPS Conner | Second hand | Member area
Copyright © 2000, www.WeekendHobby.com, All right reserved.

Contact Webmaster